TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessเปิดมุมมอง 'คนทำสื่อ' จากอาเซียน การสร้างรายได้ การปรับตัว การเอาตัวรอด

เปิดมุมมอง ‘คนทำสื่อ’ จากอาเซียน การสร้างรายได้ การปรับตัว การเอาตัวรอด

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์รวมพลังคนทำสื่อในภูมิภาคจัดงานเสวนาพิเศษ หัวข้อ “ความอยู่รอดของสื่อออนไลน์ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง”

โดยเชิญบรรณาธิการและผู้บริหารสื่อดังออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นงานสัมมนาระดับภูมิภาค จัดเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน โดย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

โดยมีผู้ผลิตสื่อออนไลน์จากประเทศไทย พม่า เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย กัมพูชา และลาว มาแลกเปลี่ยนและถกเกี่ยวกับปัญหา เคล็ดลับ และแนวทางการทำธุรกิจสื่อออนไลน์ แบ่งเป็น 3 หัวข้อหลักดังต่อไปนี้ 1. Content strategy การวางยุทธศาสตร์คอนเทนต์กับกลุ่มเป้าหมาย : เหมาะกับนักข่าวและกองบรรณาธิการ คอนเทนต์ครีเอเตอร์ 2. Business model โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่ช่วยต่อยอดสื่อ : เหมาะสำหรับผู้บริหารองค์กร ฝ่ายกลยุทธ์ ฝ่ายการตลาด 3. Monetization การหารายได้ใหม่ๆ บนออนไลน์ : เหมาะสำหรับ ฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย 

นอกจากนี้ การสัมมนายังพูดถึงกลยุทธ์การนำเสนอข่าว รูปแบบการทำธุรกิจ และวิธีการสร้างรายได้จากการทำธุรกิจสื่อออนไลน์ เปิดการสัมมนาโดย ชวรงค์ ลิมป์ปัทมาปาณี ประธานผู้ก่อตั้งสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ด้วยการฉายภาพสถานการณ์สื่อและทิศทางสื่อที่เปลี่ยนไป

จากปี 1997-2007 เว็บเป็นแค่ช่องทางเลือกในการนำเสนอข่าวสาร ถูกใช้เพื่อสร้างแบรนด์เป็นหลัก และเอาไว้ใช้สื่อสารกับผู้ติดตามที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ ข้อมูลส่วนใหญ่ที่นำเสนอก็นำมาจากสื่อกระแสหลักแทบทั้งสิ้น ไม่มีการสร้างคอนเทนต์ใหม่ ต่อมามีสื่อที่ทำเว็บไซต์ข่าวโดยเฉพาะเกิดขึ้น เริ่มที่อินโดนีเซีย และต่อมาที่มาเลเซีย

ช่วงปี 2008-2013 เว็บไซต์กลายเป็นแหล่งสร้างรายได้ กลายเป็นธุรกิจใหม่ และเกิด bussiness model ที่จะหากลุ่มผู้อ่านผู้ติดตามใหม่ๆ ต่อมาในช่วงปี  2014 มีการหารายได้จากช่องทาง Social Media ต่างๆ มากขึ้น และส่งผลกระทบต่อสื่อกระแสหลัก รวมถึงเกิดกระแสข่าวปลอม (fake news)

หัวข้อ  Content strategy development of content presentation and strategy from a perspective to build the credibility and confidence of the public

Min Thaw Htut, Executive Director of Eleven Media Group, Myanmar Eleven Media กล่าวว่าMyanmar Eleven Media เป็นกลุ่มสื่อใหญ่ที่สุดในประเทศ มีการว่าจ้างพนักงานกว่า 250 คน ปี 2021 เมื่อรัฐบาลพม่ากลับมาควบคุมการปกครองอีกครั้ง ก็พบกับปัญหามากมาย ทั้งการแบนสื่อสังคมออนไลน์ การปิดกั้นข้อมูล ค่าเงินที่ได้รับผลกระทบทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น สื่อในประเทศมากกว่าร้อยละ 90 ได้รับเงินจากแหล่งรายได้ที่ไม่เปิดเผยในการสื่อข้อมูลที่มีลักษณะเป็นโฆษณาชวนเชื่อ และมีประเด็นซ่อนเร้นในการนำเสนอ ปัจจุบัน มีสื่อเอกชนเหลือเพียงสองราย ก่อนโควิด มีหนังสือพิมพ์ 7 แบรนด์ โดยตลอด 23 ปี Eleven Media พยายามที่รักษาความเป็นอิสระ โดยได้รับรายได้จากการขายระบบสมาชิก และโฆษณา ขณะที่กองบรรณาธิการต้องเผชิญกับการถูกแทรกแซงจากรัฐบาล บรรดาบรรณาธิการถูกฟ้องร้อง เป็นต้น

ตลอด 23 ปีที่ผ่านมา Eleven Media Group พยายามรักษาความน่าเชื่อถือ โดยยังคงยึดถือหลักการที่ว่า หากทำข่าวที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องไม่ได้ ก็อย่าทำ อย่ารายงานข่าวที่บิดเบือน หรือยอมทำข่าวที่ถูกกำหนดประเด็นซ่อนเร้น (agenda-based) ปัจจุบัน Eleven Media ก็ยังมีสื่อสิ่งพิมพ์ และแมกกาซีนอยู่ 

Thong Sovan Raingsey, General Director of Koh Santepheap Media, Cambodia กล่าวว่า กลุ่ม Koh Santepheap Media เป็นสื่อ mass media รายใหญ่ของประเทศกัมพูชา เริ่มธุรกิจจากปี 1968 ขยายสู่ทีวีออนไลน์ แตกไลน์ไปทำธุรกิจอื่นๆ เช่น ร้านอาหาร กลายเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ มีหน่วยงานทำงานด้านโปรดักชันของตัวเอง ด้วยตัวผู้บริหารเป็นคนชอบเรื่องอาหารจึงมีการผลิตคอนเทนต์ด้านนี้มาโดยตลอด จากข้อมูลที่ได้จากผู้อ่าน และผู้ติดตาม จึงเปิดธุรกิจร้านอาหาร เพิ่งเริ่มธุรกิจร้านอาหาร ต่อมาเปิดร้านอาหารสาขาสองอีกด้วย การสร้างฐานคนดูผ่านช่องทางต่างๆ จะไม่ซื้อแอด (ad boost post) แต่ต้องการผู้ติดตามแบบ organic (เติบโตแบบเป็นธรรมชาติ)

Somsack Pongkhao, News Editor of Vientiane Times, Lao PDR
เปิดสื่อหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษฉบับแรกในประเทศ (เริ่มปีเดียวกับที่ประเทศไทยและลาวเปิดสะพานมิตรภาพ ปี 1994) ปัจจุบันทำ online products อื่นๆ มากขึ้น เหตุการณ์สื่อถูกดิสรัปต์ไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ สื่อสิ่งพิมพ์ปิดตัวลง และเข้าสู่การเป็นสื่อออนไลน์มากขึ้น คนในประเทศลาวยังคงติดตามและเชื่อถือสื่อจากภาครัฐ บริษัทเอกชนเป็นผู้ตามเกินร้อยละห้าสิบ

ในประเทศลาว คนลาวซื้อสินค้าและติดตามข่าวสารจากเฟซบุ๊ก การโฆษณาในเฟซบุ๊กไม่ได้มีราคาแพง ขณะที่ TikTok  ยังไม่ได้สร้างอิทธิพลมากนัก การแพร่ระบาของโควิดทำให้พฤติกรรมการเสพสื่อของคนลาวต่างไป สถานการณ์สื่อสิ่งพิมพ์ที่หยุดการพิมพ์ ยังไม่สามารถหารายได้ทดแทนจากการปรับตัวเป็นสื่อออนไลน์ ประเทศลาวยังไม่ได้จดทะเบียนการรับรายได้ที่แบ่งจากการเข้าดู หรือการใช้เฟซบุ๊ก และยูทูป สื่ออื่นๆ ต้องปรับตัวด้วยการหารายได้ทางอื่นเสริม เช่น รับจ้างผลิตสื่อเฉพาะด้านให้แบรนด์ เช่นสื่อบนเครื่องบิน ต้องค้นหาตลาดใหม่ๆ และทำ Advertorial มากขึ้นร่วมกับแบรนด์ นอกจากนี้คนลาวนิยม การอ่าน E-Paper ทำโปรเจกต์  ตอนนี้รายได้ยังมาจากโฆษณาในหนังสือพิมพ์ราวร้อยละ  60-70

Business Model

Session 2 ชื่อ Business Model: How online media in the SEA redesigned their business models to attract more readers and viewers while the global platforms are changing.

Do Minh Thu, Executive, VietnamPlus Online News, Vietnam กล่าวว่า ด้วยการที่ VietnamPlus Online News เปิดตัวมาทีหลัง (ปี 2008) เป็นหน่วยงานข่าวของรัฐบาล แม้ต้องทำงานภายใต้ข้อกำหนดมากมาย ก็ต้องหาหนทางต่างๆ ดึงดูดความสนใจผู้ชม และต้องแข่งขันกับเอกชนให้ได้ เช่น การสร้าง Creative Journalism with “RapNewsPlus” เช่น ทำงานร่วมกับศิลปินแรป โดยทำเป็นรายงานข่าวรายสัปดาห์

ปัจจุบัน ตอนนี้ มีกองบรรณาการที่มีผู้สื่อข่าวไม่มากแต่ใช้ฐานนักข่าวจากจาก Vietnam News Agency ที่มีขนาดใหญ่กว่า มีการใช้ A.I. เพื่อเก็บข้อมูคนที่มาเว็บไซต์ และวิเคราะห์ว่า คนที่มาชอบข่าวอะไร สร้างฐานข้อมูล ด้วยการลงทุนสร้างคอนเทนต์ที่เจาะลึก จ้างนักเขียนที่มีชื่อเสียง และมีการสร้างรายได้จากการทำข้อมูล และให้พ้อยต์สำหรับการอ่าน เป็นการสร้างมูลค่าให้กับคอนเทนต์ ซึ่งยังอยู่ในขั้นการทดลอง มีการนำระบบ Subscription มาใช้ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ เช่น game news เพื่อให้คนสนใจอ่านข่าวมากขึ้น เพื่อสร้างการตอบโต้จากผู้อ่านมากขึ้น

Resette Santilan Adel, Online Writer/Editor of Philstar.com, Philippines กล่าวว่า Philstar.com เป็นสื่อออนไลน์ที่เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือพิมพ์ชั้นนำ Philippines Star ด้วยการเป็นเวอร์ชันออนไลน์ จึงทำงานได้คล่องตัว และสามารถสร้างความนิยมในฐานะสื่อออนไลน์ที่รายงานข่าวได้อย่างรวดเร็ว อธิบายสถานการณ์ และเล่าเรื่องได้ดี  รายได้หลักมาจากผู้มาลงโฆษณา ขณะที่การใช้ Cookies และ Tracking เริ่มไม่เป็นผล และยังต้องเผชิญกับข้อมูลข่าวลวง การเติบโตขึ้นของ Gen Zs และตอนนี้มีคู่แข่งสำคัญคือ A.I. ในประเทศคนอ่านยังไม่พร้อมที่จะจ่ายเงินเพื่ออ่านข่าว

การปรับคอนเทนต์ คือการทำคอนเทนต์ที่สั้นลง การทำ LIVE ใช้ Social Media มากขึ้นน ในฟิลิปปินส์มีรูปแบบข่าวใหม่ ๆ ที่ผสมผสานกับการบันเทิงมากขึ้นและนำเสนอในรูปแบบ

Adek Media Roza Director of Katadata Insight Center, Indonesia กล่าวว่า Katadata Insight Center เป็นอายุองค์กร 11 ปี (ก่อตั้งปี 2021) มีความเชื่อที่ว่า องค์กรข่าวที่ขายข่าวล้วน ๆ ต่อไปไม่ได้อีกแล้ว แม้ข่าวนั้นจะมีคุณภาพ (Quality Journalism) มีความน่าเชื่อถือ และสร้างแรงกระเพื่อมให้สังคมได้ก็ตามเพราะมีการแข่งขันสูงและหากต้องการให้คนติดตามเป็นจำนวนมาก ๆ อาจจะต้องสูญเสียคุณภาพและความน่าเชื่อถือไป
 
ปัจจุบัน มีพนักงานกว่า 200 คนที่ทำงานทั้งกองบรรณาธิการและงานด้านอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับกองบรรณาธิการเพื่อสร้างรายได้มาสนับสนุนการทำงานของการผลิต Quality Journalism

แม้สถานการณ์ของสื่อดีกว่าประเทศอื่นเพราะในประเทศนี้สื่อมีความเป็นอิสระที่จะสามารถวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลได้อย่างเสรี แต่ก็ยังคงต้องเจอการแข่งขันสูงและการเปลี่ยนแปลงของนิเวศน์สื่อ ชื่อ Katada มาจากการคำว่า “คำ” และ “ข้อมูล” เพราะมีความเชื่อเรื่องการใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ จึงเน้นเรื่อง Data Journalism และต้องมีการเช็คอย่างถ้วนถี่ และให้ความสำคัญกับคุณภาพของสื่อที่แตกต่างจากสื่อออนไลน์อื่น ๆ การสร้างรายได้จากการทำข่าว ฟันเธงเลยว่าไม่สามารถเลี้ยงดูองค์กรได้ จึงต้องทำธุรกิจอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง เช่น การทำ Data Center ทำ Event Management ทำ Media Network วางโฆษณาผ่านสื่อ มีการทำ Databanks

ประมาณหนึ่งปี Katadata สามารถทำอีเวนต์ออนไลน์มากกว่า 400 รายการ ด้วยการเป็นองค์กรข่าว จึงสามารถเชิญบุคคลสำคัญมาพูดในงานต่างๆ ได้ และทำข่าวรายงานอีเวนต์นั้นๆ สร้างมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้มีการให้บริการจัดทำบริการเทรนนิ่ง และทำ Market Research ในหลายๆ อุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น การเงิน เศรษฐกิจดิจิทัล โลจิสติกส์ สิ่งแวดล้อม ประกัน พลังงาน SMEs รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภค

Monetization Opportunity

Session 3: Monetization Opportunity: News Providers in the Changing World

Chia Ting Ting Chief Commercial Officer, Malayasiakini, Malaysia กล่าวว่า Malayasiakini เป็นสื่อออนไลน์รายแรกของมาเลเซียในยุคที่ยังไม่มีคู่แข่งออนไลน์ ในยุคที่ไม่มี Google Ads หรือโฆษณาออนไลน์ และแบรนด์ต่างๆ ไม่ซื้อโฆษณาออนไลน์ แต่สามารถขยายตัวและอยู่รอดมาได้กว่า 25 ปี เธอตั้งคำถามว่า แบรนด์ซื้ออะไรกั้นแน่ในยุคปัจจุบันนี้ แบรนด์ไม่ได้ซื้อ Impression หรือ Pageviews หรือมาขอให้ช่วยลง Ads ให้อีกต่อไป แต่ซื้อ “Leads” ซื้อคำปรึกษา หรือต้องการกลุ่มลูกค้าผ่านสื่อของเรา

สื่อนำเสนอ “Strategic Advertising” ไม่พอแล้ว ต้องคิดถึง “Psychology Advertising” หลายๆ แบรนด์กำลังมองหา ความแตกต่างในการแข่งขัน โดยอาศัยมีเดียทำ “360 Communication Plan” ที่ต้องมี Public Relationship, Event Organising, Customer Engagement ทีมสื่อที่ดูแลลูกค้าต้องช่วยลูกค้าล็อคเป้า ออกแบบข้อความที่ตรงตามวัตถุประสงค์ได้ สามารถที่จะจูงใจ หรือเปลี่ยนใจคนอ่านได้

ตัวอย่างเช่น ลูกค้าที่เป็นธนาคารก็อยากจะได้ “Leads” ที่ทำให้แบรนด์นำเสนอเงินกู้ได้ตรงกลุ่ม ด้วย Malaysiakini เป็นเว็บที่เน้นเนื้อหาเกี่ยวกับการเมือง ขณะที่คนรุ่นใหม่ในมาเลเซียไม่ได้สนใจการเมือง ทางเว็บไซต์จึงจัดอีเวนต์ Metaverse แล้วใส่เนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองในรูปแบบทันสมัยและสนุก ทำอวตาร์ ทำห้อง Virtual แล้วให้สิทธิ์เป็นสมาชิกฟรี

ในส่วนการทำงานด้านคอนเทนต์ การทำ Branded content อย่างเดียวไม่พอ ต้องทำ Interactive content หรือใช้หลักการ gamification เช่นทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านการใช้น้ำของรัฐบาล ออกแบบ interactive แล้วสามารถเลือกดูว่า ประเทศไทย หรือเมืองไหนใช้น้ำมากน้อยแค่ไหน จากนั้นเก็บข้อมูลผู้ใช้ไปด้วยกัน นอกจากนี้ก็ต้องทำ Affiliate Marketing ได้ ร่วมแจกของได้

แม้จะเป็น Politics แต่ก็มีผู้อ่านและผู้ติดตามเป็น Business & Finance เป็นจำนวนมาก และอย่าลืมว่า Email Marketing เป็นสิ่งสำคัญ

Rawee Tawantarong, President of Society of Online News Provider (SONP) Thailand กล่าวว่า ในโลกยุคปัจจุบัน King คือ Content ส่วน Queen คือ Data และมี Childs คือ Platforms รูปแบบการเป็น “news” ก็เปลี่ยนไป ผู้คนกำลังมองหา “Information” มากกว่า ทำให้การทำ Green Content เป็นสิ่งสำคัญ ผู้คนแทบจะไม่สนใจว่า ใครเป็นคนบอกเล่า  News นั้นๆ ขณะที่ SEO ให้น้ำหนักไปที่ การวิเคราะห์ บทสัมภาษณ์ มากกว่า ผู้คนอยากรู้ว่า พวกเขาจะได้รับผลกระทบอะไรบ้างจากเหตุการณ์นั้นๆ

ผู้คนอยากได้ความรู้สึก “hopeful” ตัวอย่างเช่น GenZ เขาสนใจอะไร สรุปได้มาก็คือ สี่ด้านคือ Global Warming, Racial-Harassment, Mental Health, และ How to and Money

Mass marketing ไม่ใช่คำตอบ ตอนนี้ต้องมาดู Niche Marketing เพราะแบรนด์พร้อมจะจ่ายไปยังกลุ่มลูกค้าที่ตรงกับเป้าหมายมากกว่าไปเล่น Mass  โดยให้มองความสำคัญของ Audience ในด้าน Behavior, Interest, Brand, Love of Brand,  Location และ Platform 

วิทยาแสงอรุณ
Contributing Writer


 




 

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ