TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistSVB ถึง Credit Suisse ... วิกฤติความเชื่อมั่น

SVB ถึง Credit Suisse … วิกฤติความเชื่อมั่น

นับตั้งแต่เกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์เมื่อปี 2008 เป็นต้นมา การล้มละลายของ Silicon Valley Bank (SVB) แบบสายฟ้าแลบได้สร้างผลสะเทือนให้กับวงการธุรกิจธนาคารของสหรัฐไม่น้อย ใครจะไปเชื่อว่าธนาคารที่มีอายุเกือบ 40 ปี ผลประกอบการดีมาตลอด  เพิ่งได้รับยกย่องจาก Forb ว่าเป็นหนึ่งในธนาคารที่ดีที่สุดของสหรัฐ เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ กลับต้องมาพังครืนในพริบตา 

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับ SVB สะท้อนถึงสถาบันการเงินที่เป็นเหยื่อจากการสิ้นสุดยุคดอกเบี้ยต่ำ เนื่องจากได้รับผลกระทบโดยตรงจากกรณีธนาคารกลางสหรัฐหรือ ‘เฟด’ (Federal Reserve System) ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อมาอย่างต่อเนื่องและยังมีท่าทีว่าจะปรับขึ้นไปเรื่อยๆจนกว่าระดับเงินเฟ้อจะเป็นที่น่าพอใจ 

เหตุการณ์นี้เกิดในวันที่ 10 มีนาคม 2566 เมื่อ SVB ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดใน Silicon Valley และใหญ่เป็นอันดับ 16 ของสหรัฐอเมริกา มีสินทรัพย์ 700,000 เหรียญ หรือมีขนาดใหญ่กว่าแบงก์ใหญ่ของไทย 2 แบงก์รวมกัน ซึ่ง SVB มีลักษณะพิเศษตรงที่ความเชี่ยวชาญในการให้บริการทางการเงินการธนาคารกับกลุ่มสตาร์ตอัพ และบริษัท เทค เป็นหลัก 

จับตาวิกฤติ Silicon Valley Bank หรือจะเป็นชนวนใหม่ซ้ำรอย Lehman Brothers

ปัญหาทั้งหลายเกิดจาก SVB มีวิธีการบริหารเงินต่างจากธนาคารพาณิชย์ทั่วๆไปโดยจะทำธุรกิจด้วยการรับฝากเงิน และปล่อยกู้แก่ผู้ต้องการเงินทุนจะมีกำไรจากผลต่างของดอกเบี้ย แต่ SVB เลือกนำเงินฝากของเหล่าสตาร์ตอัพ ไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวแทน  

ที่ผ่านมาปัญหายังไม่โผล่ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยสหรัฐอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ไม่มีปัญหาอะไร แต่หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 คลี่คลาย สหรัฐต้องเจอปัญหาเงินเฟ้อพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์เฟด ในฐานะธนาคารกลาง ต้องใช้มาตรการทยอยขึ้นดอกเบี้ยสกัดไม่ให้เงินเฟ้อสูง ปกติอัตราดอกเบี้ยจะแปรผันตรงข้ามกับตราสารหนี้ นั่นหมายความว่า พันธบัตรรัฐบาลที่ SVB ถือไว้มีมูลค่าลดลงเรื่อย ๆ เข้าตำรา ‘น้ำลดตอผุด’ นั่นเอง

ประกอบกับกลุ่มสตาร์ตอัพที่ฝากเงินไว้กับ SVB เริ่มมีปัญหาธุรกิจ ขาดสภาพคล่อง จึงมาถอนเงินเพื่อประคับประคองธุรกิจ ไม่ได้มาแค่รายสองรายแต่แห่ถอนพร้อม ๆ กัน จนเกิดกรณีที่เรียกว่า ‘Bank Run’ เพราะธนาคารมีเงินสดไม่พอจ่ายคืน จำเป็นต้องขายพันธบัตรแบบขาดทุน ประมาณว่าขาดทุนถึง 62,000 ล้านบาทเลยทีเดียว

ยิ่งมีข่าวแพร่ออกไปบรรดาผู้ฝากเงินก็ยิ่งพากันแห่ถอนหนักขึ้นเรื่อย ๆ เพราะกลัวแบงก์ล้มขณะที่สถาบันประกันเงินฝากของสหรัฐ คุ้มครองเงินฝากให้แค่ 250,000 เหรียญหรือ 8.5 ล้านบาทเทานั้น เท่ากับกว่าใครที่ฝากมากว่านี้ ส่วนที่เกินก็จะสูญทันที ปรากฏว่าเงินที่ถูกถอนทั้งหมดราว 1.5 ล้านล้านบาท แต่ SVB มีเงินสดแค่ 33,000 ล้านบาท ไม่สามารถหาเงินคืนในส่วนที่เหลือได้ 

สุดท้าย สถาบันประกันเงินฝากจึงต้องเข้ามาอุ้มผู้ฝากเงินโดยประกาศคุ้มครองเงินฝากทั้งหมด เพื่อไม่ให้กระทบกับเศรษฐกิจภาพรวม สตาร์ทอัพจะได้มีเงินไปหมุน ไปจ่ายพนักงานพร้อมกับสั่งปิด SVB ทันที

งานนี้ต้องบอกว่าทางการสหรัฐได้ยื่นมือเข้ามาแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลาม แต่กระนั้นก็ตามยังมีSignature Bankต้องเจอปัญหาเดียวกันและก่อนหน้าSVB ก็มี  Silvergate Bank เจอวิกฤติไปก่อนหน้าเพียงวันเดียว

‘ความวัวไม่ทันหายความควายก็เข้ามาแทรก’ ไม่ทันข้ามสัปดาห์ เหตุการณ์นี้ก็มาโผล่ในยุโรป เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ราคาหุ้นธนาคาร Credit Suisse ร่วงลงมา 24% ถือว่าต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ หลังจากธนาคารยอมรับในรายงานว่า พบความอ่อนแอในรายงานทางการเงินทำให้ ธนาคารแห่งชาติซาอุดิอาระเบีย (Saudi NATIONAL Bank) ประกาศไม่อัดฉีดเงินทุนให้ Credit Suisse ทำให้ในวันรุ่งขึ้นราคาหุ้นธนาคารก็ลงลงอีก 30% จึงสร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้ฝากเงิน

SCB CIO มองบทเรียนจากกรณี SVB จะทำให้ Fed เริ่มส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยช้าลง

เหตุการณ์ของ Credit Suisse แม้จะไม่ใช่เพิ่งเกิด แต่มีปัญหามานานและไม่กี่ปีมานี้ก็มีเรื่องอื้อฉาวหลายครั้งทั้งเรื่องฟอกเงินและอื่นๆทำให้ต้องสูญเสียเงินมหาศาล แต่เนื่องจาก Credit Suisse  มีประวัติเป็นธนาคารเก่าแก่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1856 เป็นธนาคารใหญ่เป็นอันดับ 2 ของสวิส มีสินทรัพย์มากกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ อีกทั้งได้ชื่อว่าเป็น 1 ใน 30 ธนาคารที่มีอิทธิพลต่อการเงินของโลก และมีความเชื่อมโยงต่อการเงินโลก

เมื่อมีปัญหาทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าจะกลายเป็นไฟลามทุ่ง ธนาคารกลางสวิสเซอร์แลนด์จึงต้องออกมาเร่งดับไฟทันทีโดยอัดฉีดเงินก้อนใหญ่จำนวน 5.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐหรือ 1.85 ล้านล้านบาท เพื่อให้มีสภาพคล่อง

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งกับ SVB และ Credit Suisse สะท้อนให้เห็นการทำงานที่เด็ดขาดฉับไวของทางการสหรัฐและสวิส เรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาให้เร็วที่สุด เพื่อสกัดไม่เกิดวิกฤติความเชื่อมั่นรุนแรงมากกว่านี้ 

สำหรับประเทศไทย แม้ว่าทั้งสองเหตุการณ์จะอยู่ห่างไกลนับหมื่นกิโล แต่ในยุคสังคมไร้พรมแดนที่คนติดตามข่าวสารผ่านโซเชี่ยล ส่งข้อมูลถึงกันเพียงชั่วพริบตา ทันทีที่เกิดเหตุการณ์ก็มีผลต่อตลาดหุ้นไทยที่อ่อนไหวก่อนหน้านี้แล้ว ก็ร่วงระเนระนาดแดงเถือกเกือบทั้งกระดานตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อม ๆ กับตลาดหุ้นทั่วโลกนักลงทุนต่างเจ็บตัวไปตาม ๆ กัน 

ในส่วนสถาบันการเงินอาจจะยังไม่กระทบ เพราะแบงก์ไทยกับ SVB และ Credit Suisse ไม่ได้มีความเชื่อมโยงอะไรมากนัก ประกอบกับฐานะทางบัญชีธนาคารไทยยังเข้มแข็ง เพราะเคยมีบทเรียนทั้งวิกฤติต้มยำกุ้งและวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ทำให้มีการปิดจุดอ่อนได้ระดับหนึ่ง จะเห็นได้จากผลประกอบการที่ผ่านมาแบงก์ไทยมีกำไรอู้ฟู่

แม้อาจจะไม่ได้รับผลสะเทือนแต่บทเรียน SVB และ Credit Suisse ครั้งนี้คงทำให้แบงก์พาณิชย์ไทยคงต้องกลับมาทบทวนตัวเองที่ผ่านมาอาจจะเน้นผลกำไรด้วยนโยบายสินเชื่อด้วยโปรโมชั่นลดแลกแจกแถมสารพัดต่อไปนี้ต้องหันกลับมาเน้นสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางธุรกิจให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น 

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บ้านปู เพาเวอร์ เผยแผนธุรกิจสร้างเมกะวัตต์คุณภาพ

ชวนส่อง ChatGPT รุ่นอัปเกรดล่าสุด GPT-4 แชตบอทเอไอ กับความสามารถใกล้มนุษย์ไปอีกขั้น

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ