TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyChatGPT : AI เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น หรือควรระวังตัวมากขึ้น?

ChatGPT : AI เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น หรือควรระวังตัวมากขึ้น?

วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจนองค์ประกอบต่าง ๆ ของศาสตร์ดังกล่าวมอบคุณประโยชน์แก่มนุษยชาติมาหลายยุคหลายสมัย วิทยาศาสตร์แปลว่าการค้นหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ซึ่งควรเป็นเรื่องที่ไม่มีพิษไม่มีภัย แต่ก็เป็นความจริงที่ว่าทุกสิ่งนั้นอาจดีหรือร้ายขึ้นอยู่กับมนุษย์ผู้นำไปใช้

ความพยายามอย่างต่อเนื่องของเราในการจำลองและถอดรหัสความนึกคิดของมนุษย์ทำให้วันนี้ เราก้าวเข้าสู่ยุคปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) อย่างที่พาดหัวข่าวฮือฮากันล่าสุดก็คือ ChatGPT เครื่องมือล่าสุดที่เป็นบอต AI แบบข้อความซึ่งอาศัยความสามารถของ AI ขั้นสูง ที่ทำได้ทั้งการแก้บั๊กในการเขียนโค้ด การเขียนสูตรอาหาร การสร้างแอนิเมชัน 3 มิติ ไปจนถึงการแต่งเพลงใหม่ได้ทั้งเพลง เรียกว่า ChatGPT ได้แสดงศักยภาพของ AI ที่น่าตกใจในการปลดล็อกความสามารถใหม่ๆ ที่เหลือเชื่อ

แต่ขณะเดียวกันหลายคนก็มองว่า AI เป็นดาบสองคม หลายปีที่ผ่านมามีความกังวลกันว่าปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ที่กำเนิดขึ้นมาจะยึดครองโลกเข้าสักวัน วันนี้ผู้ใช้มีเครื่องมือและผลิตภัณฑ์ระบบรักษาความปลอดภัยที่ใช้ศักยภาพของ AI เพื่อจัดการกับอุบัติการณ์ด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์จำนวนมหาศาลโดยใช้มนุษย์ให้น้อยที่สุด อย่างไรก็ดี นั่นหมายความว่าแฮกเกอร์มือสมัครเล่นก็อาจใช้เทคโนโลยีเดียวกันเพื่อพัฒนาโปรแกรมมัลแวร์อัจฉริยะและลอบโจมตีเป้าหมายโดยไม่รู้ตัวได้เช่นกัน

แชตบอตยุคใหม่สร้างปัญหาจริงหรือไม่

นับตั้งแต่การเปิดตัว ChatGPT เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา บรรดาผู้เชี่ยวชาญและนักวิจารณ์ด้านเทคโนโลยีต่างกังวลถึงผลกระทบของเครื่องมือสร้างคอนเทนต์จาก AI โดยเฉพาะในด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ซอฟต์แวร์ AI จะทำให้อาชญากรรมทางไซเบอร์กระจายไปทั่วหรือไม่

ในงาน Black Hat และ Defcon ซึ่งเป็นงานสัมมนาด้านระบบรักษาความปลอดภัยจัดขึ้นที่ลาสเวกัส ทีม GovTech (Government Technology Agency) ของสิงคโปร์ได้สาธิตให้เห็นว่า AI สามารถร่างอีเมลฟิชชิงได้ดีขึ้นและเขียนข้อความฟิชชิงได้อันตรายยิ่งกว่าฝีมือมนุษย์

นักวิจัยใช้แพลตฟอร์ม GPT-3 ของ OpenAI ร่วมกันผลิตภัณฑ์บริการ AI อื่นๆ โดยมุ่งเป้าไปที่การวิเคราะห์ลักษณะนิสัยส่วนตัวเพื่อสร้างอีเมลฟิชชิงซึ่งปรับแต่งให้สอดคล้องกับพื้นเพและลักษณะของเพื่อนร่วมทีม อีกทั้งนักวิจัยยังได้พัฒนาระบบในการปรับแต่งอีเมลให้สมจริงยิ่งขึ้น ก่อนส่งถึงเป้าหมาย จนได้เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถระบุใจความเฉพาะ เช่น อ้างอิงกฎหมายของสิงคโปร์ เมื่อสั่งให้ระบบสร้างคอนเทนต์ถึงเป้าหมายที่เป็นคนสิงคโปร์

ผู้พัฒนา ChatGPT กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า เครื่องมือที่ขับเคลื่อนโดย AI มีความสามารถในตัวในการรับมือและปฏิเสธคำขอใช้งานที่ไม่เหมาะสม  ซึ่งแม้ตัวระบบจะมีมาตรการป้องกันที่ออกแบบมาเพื่อจัดการกับอาชญากรรมรูปแบบต่างๆ แต่ก็ชัดเจนว่าเพียงแค่ปรับแต่งระบบเล็กน้อย เราก็สามารถสร้างอีเมลฟิชชิงที่แทบจะไร้ช่องโหว่และดูคล้าย ‘มนุษย์อย่างไม่น่าเชื่อ’

เปิด 4 ข้อดี ChatGPT ใช้ประโยชน์จาก Generative AI ลดเวลาทำงาน ยกศักยภาพธุรกิจ

ควรจัดการกับปัญหาเหล่านี้อย่างไร

รายงานมัลแวร์เรียกค่าไถ่ประจำปี 2022 จาก Unit 42 พบว่า จากการรับมืออุบัติการณ์ที่ผ่านมา ค่าไถ่เฉลี่ยที่คนร้ายเรียกร้องมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 144% ในปี 2565 กลายเป็น 2.2 ล้านดอลลาร์ ขณะที่การจ่ายค่าไถ่เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 78% เป็น 541,010 ดอลลาร์ และประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 6 ในแถบญี่ปุ่นและเอเชียแปซิฟิก ทั้งนี้ เมื่อคิดตามจำนวนการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่  อีกทั้งยังคาดการณ์ว่าแนวโน้มดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเพราะเครื่องมือในตลาดมืดบนเว็บจำหน่ายกันในราคาต่ำสุดเพียงแค่ราว 10 ดอลลาร์เท่านั้น และยังมีเครื่องมือในแบบบริการระบบมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (ransomware-as-a-service) และเครื่องมือแนว AI เช่น ChatGPT ที่ทำให้อาชญากรไซเบอร์สามารถก่อเหตุได้ง่ายขึ้น

ภัยคุกคามที่ขยายตัวในรูปแบบอันชาญฉลาดกว่าเดิมและการแฮกที่อาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงทำให้อุตสาหกรรมระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ต้องเตรียมตัวต่อกรกับช่องโหว่และรูรั่วที่คิดค้นโดย AI ให้ดี แนวทางในระยะยาวของอุตสาหกรรมนี้ไม่สามารถพึ่งพากลุ่มนักล่าวายร้ายที่คาดเดาและจัดการกับปัญหาแบบสุ่มไปเรื่อยๆ ได้อีกต่อไป

เวลานี้เราต้องการมาตรการอัจฉริยะเพื่อปราบภัยคุกคามที่ถือกำเนิดขึ้นใหม่ ข่าวดีด้านหนึ่งในวันนี้ก็คือ ระบบโต้ตอบอัตโนมัติ หรือ Autonomous Response สามารถจัดการกับภัยคุกคามได้โดยไม่ต้องพึ่งมนุษย์ อย่างไรก็ดี การโจมตีที่อาศัย AI เข้ามาช่วยจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเราในวันข้างหน้า ดังนั้นธุรกิจ ภาครัฐ และคนทั่วไปที่ต้องเผชิญกับมัลแวร์อัตโนมัติดังกล่าว ควรหันไปพึ่งพาเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เช่น AI และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML)  ให้มากขึ้นเพื่อสร้างระบบโต้ตอบอัตโนมัติของตนเอง

Amity เสริมแกร่งบริการแชตบอต เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ใช้เทคโนโลยี ChatGPT เป็นรายแรกของไทย

การใช้เครื่องมือ AI อย่างมีจริยธรรมและความรับผิดชอบ

ธุรกิจต่างๆ ต้องพบเจอกับความท้าทายหลายเรื่องในด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่ใช้ AI ทั้งความซับซ้อนทางเทคโนโลยีไปจนถึงปัจจัยด้านมนุษย์ กล่าวได้ว่าเราจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงสมดุลที่พอเหมาะระหว่างจักรกล มนุษย์ และจริยธรรม

การกำหนดนโยบายองค์กรถือเป็นเรื่องสำคัญในการทำธุรกิจอย่างมีจริยธรรม ขณะเดียวกันก็ช่วยปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ให้ดียิ่งขึ้น เราต้องสร้างเฟรมเวิร์กทางกฎหมายและการกำกับดูแลให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดความมั่นใจในเทคโนโลยี AI มากยิ่งขึ้นว่าการนำไปใช้งานจะเป็นไปอย่างปลอดภัย เชื่อถือได้ และเพื่อความยั่งยืนของโลกเท่านั้น ซึ่งในที่สุดสมดุลอันละเอียดอ่อนระหว่าง AI และมนุษย์จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์โดยมีความเชื่อมั่น ความโปร่งใส และความรับผิดชอบช่วยเสริมประโยชน์ของจักรกลได้ในที่สุด

บทความโดย ฌอน ดูก้า รองประธาน และหัวหน้าหน่วยระบบรักษาความปลอดภัย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค และญี่ปุ่น พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

การคาดการณ์ 5 เทคโนโลยีของภาครัฐในปี 2566

NTT DATA เผย 3 แนวโน้มเทคโนโลยี ที่มีต่อโลกปัจจุบันและอนาคต

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ