TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessโควิด-19 กระทบ Sharing Economy ทรุด

โควิด-19 กระทบ Sharing Economy ทรุด

ถอยหลังกลับไปสัก 5-10 ปี กระแสธุรกิจ Sharing Economy เป็นเทรนด์ธุรกิจกระแสใหม่ของโลกที่มาแรง และทำเงินแบบที่เรียกว่า “จับเสือมือเปล่า” ไม่ว่าจะเป็น Airbnb, UBER, Grab หรือธุรกิจแบบ Expedia ที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคในการค้นหา จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบิน แบบเบ็ดเสร็จในที่เดียว

-ศบค. ยัน “ไทยชนะ” ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล
-ผลสำรวจเผย คนไทยเริ่มปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายแบบ “New Normal”

แต่เพียง 3-4 เดือน เมื่อไวรัสโควิด-19 ถล่มโลก ซึ่งตอนนี้มีตัวเลขผู้ติดเชื้อทะลุ 5 ล้านคน เสียชีวิตอีกเป็นแสน ๆ… ธุรกิจ Sharing Economy โดยคลื่นมหาโรคระบาดกวาดเรียบ… และต้องประกาศลดพนักงานเป็นพัน ๆ ซึ่งหนึ่งใน New normal ที่ทำให้ธุรกิจ Shairing Economy ไปต่อได้ยากในช่วงนี้คือ Social Distancing นั่นเอง ทำให้เหล่าบริษัท Shairing Economy ต้องปลดคนออก

แม้ว่าเป็นครั้งหนึ่งที่ยากลำบากของบริษัทและพนักงาน… แต่มีสิ่งหนึ่งที่เป็นปรากฎการณ์ที่เหล่าบริษัทใหญ่ ๆ ต่างช่วยกัน คือการช่วยหางานใหม่ให้กับพนักงาน และส่งต่อไปยังบริษัทอื่น ๆ แม้กระทั่งคู่แข่ง

Airbnb

ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม Airbnb ประกาศเลิกจ้างพนักงาน 1,900 คน จาก 7,500 คน เพื่อลดค่าใช้จ่าย แน่นอนว่าเป็นการตัดสินใจที่ไม่ง่าย เพราะการเลิกจ้างในครั้งนี้ อาจทำให้พนักงานต้องว่างงานอีกนาน ดังนั้นไบรอัล เชสกี้ ซีอีโอ ของ Airbnb ช่วยพนักงานด้วยการหางานในบริษัทอื่นรวมถึงบริษัทคู่แข่งให้กับพนักงาน ตอนนี้ เชสกี้ กำลังคิดหนักว่าจะทรานส์ฟอร์มธุรกิจอย่างไร ในเมื่อการท่องเที่ยวของโลกต้องเปลี่ยนแปลงอีกระยะใหญ่ และต้องปรับธุรกิจให้เข้าสู่ยุค New Normal ด้วย

Uber

ขณะที่อูเบอร์ ซึ่งเป็นเจ้าแรก ๆ ในการสร้างแพลตฟอร์มให้คนมีรถยนต์ส่วนตัว มาให้บริการรับส่งผู้โดยสารได้ ก็ประกาศเลิกจ้างพนักงาน 3,700 คน หรือประมาณ 14% ของพนักงงานทั้งหมด 26,900 คน ซึ่งอูเบอร์ ก็ได้จัดทำเว็บไซต์เพื่อให้บริษัทอื่นๆ สามารถเข้ามาว่าจ้างคนขับรถส่วนตัวที่พร้อมให้บริการรับส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้า ร่วมถึงส่งตรงไปยัง Amazon ที่ธุรกิจขนส่งที่กำลังต้องการแรงงานอย่างมากในยุคโควิด-19 … และนี่เป็นเพียงยกแรก เพราะอาจจะมีการเลิกจ้างระลอกถัดไปของอูเบอร์อีก หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น

Grab

อีกหนึ่งผู้ให้บริการรับส่งผู้โดยสาร สินค้า และอาหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการที่เป็นเจ้าใหญ่ของตลาดในประเทศไทย แม้จะยังไม่ประกาศเลิกจ้างพนักงงาน แต่มีมาตรการขอให้พนักงานหยุดงานโดยไม่รับเงินเดือน เพื่อไม่ให้กระทบการเงินของบริษัท และสามารถที่จะสามารถประคองธุรกิจต่อไปได้

Expedia

มาต่อกับที่เว็บไซต์บริการท่องเที่ยว ที่เมื่อปีที่แล้วยังมีการประเมินว่ายังมีการเติบโตอย่างมาก ซึ่งในวันนั้น Expedia เป็นบริษัทที่มีมูลค่าถึง 600,000 ล้านบาท แต่เพียงไม่กี่เดือนผ่านมา แทบไม่เห็นอนาคตว่าธุรกิจท่องเที่ยวจะสามารถฟื้นตัวอย่างไร โดยเฉพาะการเดินทางท่องเที่ยวไปในต่าง ๆ ประเทศ ในแง่ของการเดินทางทางเครื่องบิน ที่พัก ซึ่งล่าสุด Expedia ในฮ่องกงและสิงคโปร์ ก็เริ่มที่จะเลิกจ้างพนักงงาน และอาจจะเลิกจ้างเพิ่มเติมในประเทศอื่น ๆ ในเอเชียอีก โดยคาดว่าตัวเลขพนักงานที่จะถูกเลิกจ้างประมาณ 3,000 คน

Agoda

ขณะที่คู่แข่งอย่าง Agoda ก็ประกาศออกมาแล้วว่าจะลงปรับลดพนักงงานในเอเชียลง 1,500 คน เพื่อลดค่าใช้จ่าย ซึ่งก่อนหน้านี้ จอห์น บราวน์ ซีอีโอ แห่ง Agoda ประกาศไม่รับค่าจ้างตลอดทั้งปี 2020 ไปแล้ว แต่ก็ช่วยได้ไม่มากนัก เพราะอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกระทบหนักมาก ทั้งนี้จอห์น บราวน์ ย้ำว่าจะไม่มีการลดพนักงานเพิ่มอีก…แม้ว่าจะเป็นการสร้างกำลังใจให้พนักงาน แต่ความไม่แน่นอนของสถานการณ์อาจจะปรับเปลี่ยนไปได้ตลอด

ตอนนี้ความหวังของธุรกิจ Sharing Economy รวมไปถึงธุรกิจอื่น ๆ คือ “วัคซีน” ที่จะช่วยหยุดการระบาดของไวรัส และทำให้ผู้คนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติให้ได้มากที่สุด แม้ว่าจะต้องมีความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ เกิดขึ้น

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ