TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessเดอะมอลล์ จะเป็นทั้งปลาใหญ่และปลาเร็ว ในธุรกิจค้าปลีก ได้ไหม

เดอะมอลล์ จะเป็นทั้งปลาใหญ่และปลาเร็ว ในธุรกิจค้าปลีก ได้ไหม

กระแสข่าวปลด ผู้บริหารระดับสูงของ เดอะมอลล์ กรุ๊ป นับ 10 คน จนเป็นที่ร่ำลือในวงการค้าปลีก ถึงความถดถอยของอาณาจักรแห่งนี้ เพราะผู้บริหารที่ออกครั้งนี้มีอายุการทำงานสูงถึง 37 ปี เป็นคนที่ทำงานร่วมหัวจมท้ายกันของเดอะมอลล์แรก ๆ

-“วุฒิศักดิ์ คลินิก” ฤาจะเป็นอีกหนึ่งฝันร้ายของ วิชัย ทองแตง
-“เพาเวอร์บาย x บีทูเอส” โมเดลใหม่ Synergy หนีตาย หรือแค่สีสันวงการค้าปลีก

จริงอยู่ อาณาจักรเดอะมอลล์ อาจได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด เพราะรู้กันว่าตลาดค้าปลีกหดตัว 14% คิดเป็นเม็ดเงินที่หายไปราว 500,000 ล้านบาท จากมูลค่าตลาดค้าปลีกปี 2562 ที่อยู่ราว 3.5 ล้านล้านบาท โดยมีผลกระทบจาก 3 ปัจจัยหลัก ๆ คือ จำนวนนักท่องเที่ยวที่หดตัวลง, กำลังซื้อที่ลดลง, สต๊อกสินค้าที่ขาดแคลน แต่ทันทีที่รัฐบาลประกาศ ให้ห้างสรรพสินค้ากลับมาเปิดดำเนินการได้ แม่ทัพหญิงที่ชื่อ ศุภลักษณ์ อัมพุช ก็มีความเคลื่อนไหวในการจัดทัพใหม่ทันที

เริ่มจากมีผู้บริหารระดับสูงลาออก 10 คนอย่างที่เป็นข่าว หรือนี่จะเป็น 1 ใน กลยุทธ์การปรับตัวครั้งนี้ หลังจากนั้นก็ มีการปรับโรงสร้างใหม่ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

1.กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate /RE) ดูแลโดย นายเกรียงศักดิ์ ตันติพิภพ ดูเรื่องการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ ทั้งช้อปปิ้งมอลล์ ทโครงการมิกซ์ยูส โรงแรม เอนเตอร์เทนเมนต์ ซึ่งกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่สร้างรายได้หลัก ประมาณ 65% ของรายได้ทั้งหมด
2.กลุ่มเทรดดิ้ง (Trading /TR) ดูแลโดย นายจักรกฤษณ์ กีรติโชคชัยกุล เพาเวอร์มอลล์ สปอร์ตมอลล์ กูร์เมต์มาร์เก็ตและการตลาดทั้งหมด จะมีสัดส่วนรายได้ในประมาณ 35%
3.กลุ่มบัญชีและการเงิน และไอที ดูแลโดย นางสาววรรณา เพิ่มสุวรรณ

นอกจากนี้ยังให้วิภา อัมพุช ไพลิน อัมพุช พลอยชมพู อัมพุช และ วรามาศ ภัทรประสิทธิ์ มาช่วยงาน รวมทั้งมีการดึงผู้ชำนาญ เชี่ยวชาญ ในวงการค้าปลีกจากต่างประเทศ เช่น จากวอลมาร์ท จากบิ๊กซี จากลาฟาแยตต์ฝรั่งเศส และจากลาซาด้า มาช่วยงานกับเดอะมอลล์ด้วย และเดอะมอล์ยังปรับตัวกับ 3 เรื่องหลัก คือ

1.ความเป็นสากล (Globalization)
2.ความเป็นดิจิทัลและเทคโนโลยี (Digitaliztion)
3.การจับตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ (Tourism) ซึ่งจะช่วยให้ เดอะมอลล์สามารถไปต่อได้

เพราะที่ผ่านมา เดอะมอลล์ถือเป็นธุรกิจที่ดีวันดีคืน เติบโตอย่างต่อเนื่อง ดูได้จากผลประกอบการที่ดี มีกำไรต่อเนื่องติดต่อกันทุกปี

ปี 2557 มีรายได้ 23,409 ล้านบาท กำไร 1,176 ล้านบาท
ปี 2558 มีรายได้ 23,570 ล้านบาท กำไร 1,001 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้ 24,225,582,624 บาท กำไร 1,130,197,439 บาท
ปี 2560 รายได้ 24,881, 272,294 บาท กำไร 1,254,371,485 บาท
ปี 2561 รายได้ 25,418,944,763 บาท กำไร 1,619,928,539 บาท

ที่มา: สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และ ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

ปีนี้ ถือว่าเดอะมอลล์ มีอายุครบ 40 ปี ยังมีแผนพัฒนาและขยายธุรกิจ รวมทั้งร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจทำโครงการเมกะ โปรเจ็กต์ ภายใต้โรดแมพ 5 ปี (ปี พ.ศ. 2562 – 2566) ทั้งการปรับภาพลักษณ์เดอะมอลล์ทั้ง 6 สาขา และโครงการใหม่ ๆ โดยทุ่มงบกว่า 80,000 ล้านบาท

โครงการรีโนเวตเดอะมอลล์ ทั้ง 6 สาขา ภายใต้แนวคิด “The Mall Lifestore : A Happy Place To Live Life” เปลี่ยนโลโก้ใหม่ เป็นตัว M ซึ่งถูกดีไซน์ให้ดูมีเอกลักษณ์ เเข็งเเรง เรียบง่าย ทันสมัย ใช้สีเเดงล้วน แทนโลโก้เดิมที่ใช้มานาน

เริ่มจากเดอะมอลล์ สาขางามวงศ์วาน มีการรีโนเวตตั้งแต่ปลายปี 2562 นับเป็นดอกาสดีที่ ช่วงดำเนินการ ห้างปิดเพราสถานการณ์โควิดพอดี โดยชั้น 4 เป็นโซน The Living รวมของแต่งบ้าน เครื่องครัวสุดชิค ศิลปะเเละหนังสือ มุมใหม่ๆ อย่าง Nature Market สำหรับคนที่ชื่นชอบสินค้าออร์เเกนิก ส่วนชั้น 6 เป็นพื้นที่ฟู้ดคอร์ต ภายใต้ชื่อ “กูร์เมต์อีทส์” โดยรวมร้านอาหารสตรีตฟู้ดชื่อดังกว่า 30 ร้าน และชั้น 7 เป็นโรงหนังเอสเอฟเอ็กซ์ซีนีม่าที่มีการปรับโฉมใหม่ โดยทุ่มเงินกว่า 200 ล้านบาทเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่มากขึ้น

จากนั้นในปี 2563 จะทำการรีโนเวตเดอะมอลล์ ท่าพระ ในปี 2564 เดอะมอลล์ บางแค และเดอะมอลล์ บางกะปิ ในปี 2566 ส่วนเดอะมอลล์ สาขารามคำแหงจะทุกทิ้ง แล้วปรับโฉมใหม่เพื่อเป็นคอมเพล็กซ์ ในรูปแบบ “MIXED USE COMPLEX”  บนพื้นที่กว่า 30 ไร่  โดยมีพื้นที่ใช้สอยกว่า 230,000 ตารางเมตร  ใช้เม็ดเงินลงทุนประมาณ 10,000 ล้าน  โดยขณะนี้เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้ว คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2564 รองรับรถไฟฟ้าสายสีส้ม

โครงการ บางกอกมอลล์ (Bangkok Mall) บนถนนบางนา – ตราด ตัดกับ ถนนสุขุมวิท มีสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีอุดมสุข และบางนา ในอนาคตพื้นที่ดังกล่าวจะมี รถไฟฟ้าสายสีฟ้าอ่อน หรือ รถไฟฟ้าไลท์เรล สายบางนา–ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  บางกอกมอลล์เป็น MIXED USE COMPLEX  ที่มีทั้งศูนย์การค้า ที่อยู่อาศัย และออฟฟิศ แบบครบวงจรภายใต้คอนเซ็ปต์ CITY WITHIN THE CITY มีพื้นที่โครงการทั้งหมด 100 ไร่ รวมพื้นที่โครงการกว่า 1,200,000 ตารางเมตร มูลค่าการลงทุนรวมอยู่ที่ 20,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่ก่อตั้งกลุ่มเดอะมอลล์ เดิมมีกำหนดเปิดให้บริการทั้งโครงการภายในปี 2566 ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงาน แต่จะเปิดในกำหนดการเดิมหรือไม่นั้น คงต้องดูสถานการณ์โดยรวมของสภาพตลาด

โครงการ “ดิ เอ็มสเฟียร์” (The Emsphere) บนใจกลางสุขุมวิทบนพื้นที่โครงการกว่า 200,000 ตารางเมตร   ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท ระหว่างซอยสุขุมวิท 22 และ ซอยสุขุมวิท 24 ปัจจุบันยังไม่ได้ดำเนินโครงการ แต่มีแผนจะเปิดให้บริการช่วงปลายปี 2565 หากแล้วเสร็จจะเป็นศูนย์การค้าแห่งที่สามในกลุ่มดิเอ็มดิสทริค คือ ดิ เอ็มโพเรียม, ดิ เอ็มควอเทียร์ และดิ เอ็มสเฟียร์ รวมพื้นที่ทั้งหมด 650,000 ตารางเมตร

ส่วนในต่างจังหวัดยังมีโครงการศูนย์การค้า บลูเพิร์ล ที่จังหวัดภูเก็ต ประเมินไว้ว่า ใช้เงินลงทุนประมาณ 7,000-12,000 ล้านบาท จะเห็นว่าโครงการที่เดอะมอลล์มีแผนจะดำเนินการ จำเป็นต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมาก ดังนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะใช้เม็ดเงินตัวเองลงทุนหรือกู้ธนาคาร ก่อนหน้านี้ เดอะมอลล์มีแผนจะเข้าระดมเงินทุนในตลาดหลักทรัพย์ เหมือนเช่น เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น แต่ถึงวันนี้ แนวทางการเข้าตลาดหุ้นมีทั้งข้อดี และข้อเสีย ดังนั้นอาจะต้องพิจารณาแนวทางอื่น แล้วชั่งน้ำหนักประโยชน์ที่จะได้รับด้วย

อาณาจักร เดอะมอลล์ทุกวันนี้ มีมูลค่าธุรกิจเกือบหมื่นล้าน ถือเป็นธุรกิจที่ใหญ่มากและมีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น จริงอยู่ทุกวันนี้ไม่ใช่วันเวลาของปลาใหญ่ กินปลาเล็กแล้ว แต่เป็นเรื่องของปลาเร็วกินปลาช้า สำหรับผู้หญิงที่ชื่อ ศุภลักษณ์ อัมพุช เธอคงถามว่า “แล้วทำไมปลาใหญ่จะเป็นปลาเร็วไม่ได้” ในเมื่อการจัดทัพทุกวันนี้ คือการเตรียมพร้อมที่จะพุ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

-โฟลว์แอคเคาท์ เปิดบริการระบบบัญชีออนไลน์ บนคลาวด์ ของ AWS
-ธ.กสิกรไทย ครึ่งปีแรก ปี 63 กำไร 9,550 ลบ.
-นักการตลาดไทยมอง ‘นวัตกรรม’ กลยุทธ์อันดับ 1 ปฏิวัติการตลาดในประเทศ
-เปิดบทเรียนการต่อสู้และฟื้นตัวธุรกิจทาง Facebook จากผู้ประกอบการร้านอาหาร ‘เป็นลาว’

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ