TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistฟุตบอลโลกที่กาต้าร์ carbon neutral จริงหรือ

ฟุตบอลโลกที่กาต้าร์ carbon neutral จริงหรือ

ก่อนจะเริ่มบทความนี้ ขอเท้าความถึงความหมายของคำว่า carbon neutrality ก่อน คำที่พูดกันมากในวันที่โลกต้องเผชิญกับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่นำมาทั้งความแห้งแล้ง น้ำท่วม และภัยอื่นๆต่อมนุษยชาติ

carbon neutrality หรือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน คือ การที่ปริมาณการปล่อยคาร์บอน (CO2) เข้าสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับปริมาณคาร์บอนที่ถูกดูดซับกลับคืนมาผ่านป่าหรือวิธีการอื่น

เช่น ถ้ามีผู้จัดงานเทศกาลงานหนึ่งโปรโมทว่างานของเขามีความเป็นกลางทางคาร์บอน นั่นแปลว่าถ้างานนั้นประเมินว่าจะมีการปล่อย CO2 2,500 ตัน เขาต้องไปปลูกต้นไม้ 1.3 ล้านต้นเพื่อทำให้งานเป็นกลางจริงๆ หรือด้วยวิธีการออฟเซ็ทอื่นๆ

คราวนี้กลับเข้าเรื่อง

สืบเนื่องมาจากการโฆษณาของกาต้าร์ว่างานฟุตบอลโลกครั้งนี้เป็นครั้งแรกของโลกที่ carbon neutral ทำให้ องค์กรไม่หวังผลกำไรอย่าง Carbon Market Watch ต้องเข้าไปตรวจสอบและออกรายงานเมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ชี้ว่าตัวเลขที่นำมาใช้ในการคำนวณต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และตั้งคำถามเกี่ยวกับผลดีต่อสภาพภูมิอากาศจากโครงการออฟเซ็ทต่างๆที่กาต้าร์ซื้อมาเพื่อชดเชยการปล่อย CO2

กาต้าร์ประเมินว่างานนี้จะปล่อย CO2 ประมาณ 3.6 ล้านตัน หรือเท่ากับที่ประเทศคองโกปล่อยทั้งปี โดยมากมาจากการใช้เครื่องบินและห้องพักโดยผู้เดินทางมาเข้าชมกว่า 1 ล้านคน และจากการก่อสร้างสนามกีฬา 7 แห่ง
กาต้าร์บอกว่า ออฟเซ็ท CO2 ด้วยการติดตั้งไฟโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ระบบการใช้พลังงานแบบมีประสิทธิภาพ และโครงการสีเขียวต่างๆภายในประเทศ

ในรายงานของ Carbon Market Watch กาต้าร์คำนวณการปล่อย CO2 ของการสร้างสนามกีฬา ต่ำกว่าความเป็นจริงไป 1.6 ล้านตัน อ้างว่าการปล่อยที่เหลือจะนำไปคำนวณกับงานที่จะจัดต่อไป ทั้งที่ในความเป็นจริง ถ้าไม่มีฟุตบอลโลก กาต้าร์ก็คงไม่สร้างสนามกีฬาเหล่านี้ขึ้นมา

นอกจากนั้น ในตัวเลขการปล่อย CO2 51% จะมาจากการเดินทาง แต่รายงานชี้ว่านั่นยังไม่รวมถึงการปล่อยจากการเดินทางจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเข้าชม ทั้งนี้คาดว่าจะมี 160 เที่ยวบินเข้ามาที่กาต้าร์ต่อวันจากประเทศต่างๆเช่นคูเวต โอมาน ซาอุดิอาราเบีย และอาหรับเอมิเรตส์ เนื่องจากห้องพักในกาต้าร์มีไม่เพียงพอ

นอกจากนั้น ในการออฟเซ็ท CO2 1.8 ล้านตัน
มีรายละเอียดของโครงการแค่สำหรับ 200,000 ตัน และโครงการเหล่านี้เป็นโครงการเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนในเซอร์เบีย ตุรกี และอินเดีย ซึ่งโดยมากลงทุนโดยกาต้าร์

ในรายงานข่าวของช่องข่าวเยอรมนี Deutsche Welle ยังได้สัมภาษณ์กรีนพีซในภาคพื้นตะวันออกกลางและอาฟริกาตอนเหนือ ที่บอกว่าการออฟเซ็ทไม่ให้ประโยชน์จริงๆกับสภาพภูมิอากาศ เพราะเราควรจะคิดเรื่องลดการปล่อยที่แหล่งกำเนิด นอกจากนั้นยังต้องมาดูเรื่องการใช้น้ำและขยะ โดยคาดการณ์ว่า แต่ละแม็ทช์จะใช้น้ำประมาณ 10,000 ลิตร ซึ่งมาจากการกลั่นน้ำทะเลที่ใช้พลังงานสูงและทิ้งน้ำเค็มที่เหลือลงสู่ทะเล สร้างผลเสียกับสัตว์น้ำ
ส่วนขยะ กาต้าร์คาดว่าจะรีไซเคิลขยะ 60% ที่เหลือจะเอาไปเผาเพื่อผลิตพลังงาน ซึ่งต้องใช้พลังงานและหมายถึงการปล่อย CO2 เพิ่ม

Deutsche Welle รายงานว่างานกีฬาใหญ่ๆในโลกก็ปล่อย CO2 สูง เช่น ฟุตบอลโลกปี 2018 ที่รัสเซียปล่อย 2 ล้านตัน โอลิมปิกปี 2016 ที่ริโอ เดอ จาไนโร ปล่อย 4.5 ล้านตัน

นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหลายคนบอก Deutsche Welle ว่าเสียดายที่งานกีฬาใหญ่ๆพวกนี้พลาดในการสร้างแรงบันดาลใจให้คนดูทั่วโลกถึงความจำเป็นในการลดการปล่อย CO2

เอาละ เขาไม่ทำ แฟนบอลในไทยทำเองก็ได้ แม้จะมีคนใจดี เอาทั้งภาษี ทั้งเงินจาก บ.เอกชนซื้อลิขสิทธิให้เราได้ดูทุกแม็ทช์ แต่ถ้าเราเลือกดูเฉพาะทีมที่ชอบ ก็น่าจะประหยัดไฟไปได้เยอะนะ

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

MORE โศกนาฏกรรมหุ้นไทย

COP 27 กับการหารือกลไกตลาดคาร์บอนเครดิต

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ