TH | EN
TH | EN
หน้าแรกInterview“อุ้ม - อรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์” กับพันธกิจ "ธุรกิจ" กับ “ความยั่งยืน” ของดีแทค

“อุ้ม – อรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์” กับพันธกิจ “ธุรกิจ” กับ “ความยั่งยืน” ของดีแทค

บริษัท โทเทิ่ล  แอ็คเซ็ส คอมมูนนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)  หรือ ดีแทค หนึ่งในผู้เล่นคนสำคัญในตลาดโทรคมนาคมประเทศไทย ผู้มีบุคลิกโดดเด่นน่าจนจำแบบ “คนใจดี” ที่สั่งสมมาในสายเลือดของคนดีแทค แม้จะถูกมองว่าประสบผลสำเร็จในมุมธุรกิจไม่หวือหวาแต่ “ความดีทั่ว ดีถึง” ก็ยังเป็นแกนกลางสำคัญของธุรกิจดีแทคจากรุ่นต่อรุ่น

วันนี้ดีแทคได้ปฎิวัติการทำ CSR แบบดั้งเดิมด้วยการลุกขึ้นมาเป็นแกนนำสำคัญเพื่อสร้างธุรกิจยั่งยืนให้กับโลกและประเทศไทยบนความเชื่อที่ว่า ความยั่งยืนไม่ได้สร้างได้ด้วยคนคนเดียว หรือองค์กร ๆ เดียว แต่ทุกคนจะต้องลุกขึ้นมาขับเคลื่อนความยั่งยืนร่วมกันในทุกมิติ ทั้งในมิติของบุคคล องค์กร และสังคมภายใต้การนำทัพของ “อุ้ม- อรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์” ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาที่ยั่งยืน ดีแทค ผู้หญิงเก่ง ทัศนคติดี บุคลิกใจดี

เธอมองว่า ความยั่งยืน ไม่ได้สร้างได้ภายในวันเดียว แต่ต้องอาศัยเวลาและความร่วมมือของทุกคน แม้จะเป็นเรื่องที่ท้ายทายแต่ก็ไม่ยากที่จะสร้างขึ้นมาให้ได้หากสร้างความเข้าใจให้ตระหนักถึงความสำคัญและควรก้าวออกจากการทำเพื่อสังคมแบบเดิมไปในมิติของการสร้างความยั่งยืนที่วัดผลได้อย่างแท้จริง

อรอุมา ได้แชร์มุมมองการสร้างความยั่งยืนไว้อย่างน่าสนใจกับ The Story Thailand ว่า ความยั่งยืนสามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งในมุมบุคคลและการดำเนินธุรกิจว่า ความยั่งยืนไม่ได้เริ่มต้นที่ความดีมิติเดียว สิ่งสำคัญที่สุด คือ การวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน ต้องมองให้ออกว่ากำลังดำเนินชีวิตหรือดำเนินธุรกิจอยู่ท่ามกลางความเสี่ยงอะไร ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ในขณะเดียวกัน อะไรคือโอกาสระยะสั้นและระยะยาว และเมื่อวิเคราะห์แล้วสามารถพลิกความเสี่ยงให้กลับกลายเป็นโอกาส นั่นคือหัวใจสำคัญ และต้องมองให้ขาด เพื่อปลายทางการสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้น

โดยแก่นความคิดด้านการสร้างความยั่งยืน แบ่งออกเป็นหลายมิติ มิติแรกในแง่ความเสี่ยงของธุรกิจจะต้องมองในหลายมิติ รอบด้าน 360 องศา เช่น ในมิติของเทคโนโลยีธุรกิจกำลังถูกดิสรัปด้วยเทคโนโลยี และสร้างความเสี่ยงอะไรให้กับธุรกิจ หากยังดำเนินธุรกิจแบบเดิม

มิติต่อมา อย่ามองความยั่งยืนเป็นเรื่องเฉพาะตัวเอง แต่ต้องมองออกถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทั้งหมดมาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ จนมีคนเรียกว่ายุคแห่ง Stakeholder Economy หรือยุคเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม ซึ่งก้าวข้ามยุคของ ผู้บริโภค และผู้ถือหุ้นไปแล้ว แต่ธุรกิจกิจจะต้องเข้าใจผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อยู่โดยรอบธุรกิจ อาทิ หน่วยงานกำกับดูแล สังคม สื่อมวลชน 

โดยมีโซเชียลมีเดียเป็นแรงกระตุ้นให้ทุกคนยืนอยู่ในที่โปร่งใส ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจเผชิญหน้ากับแรงกดดันรอบด้าน ในขณะที่ปัญหาต่างในวันนี้ที่มองออกไปเห็น เป็นสิ่งที่ไม่สามารถแก้ได้ด้วยใครคนใดคนหนึ่ง เพราะล้วนเป็นปัญหาเชิงระบบและโครงสร้างที่ถูกนั่งทับเอาไว้นาน 

“แต่ก่อนอาจจะไม่รู้สึกในเรื่องของทรัพยากรเพราะมีมากมายมหาศาลเหลือกินเหลือใช้ แต่ในวันนี้ไม่ใช่แบบนั้นแล้วโลกกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤติทรัพยากรขาดแคลนน้ำ ปัญหาดินเสีย ที่เป็นเทรนด์ที่ต้องการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาช่วยกันลงมือกอบกู้แก้ไขและป้องกัน”

เช่นกันดีแทคที่ดำเนินธุรกิจอยู่ภายใต้แรงกดดันมหาศาล เองวันนี้จำเป็นต้องระบุ ความเสี่ยงของบริษัทในฐานะ Telco คืออะไร โอกาสคืออะไร ถ้าสามาถพลิกวิกฤตินั้นให้กลายเป็นโอกาสได้ โดยรับฟังความคิดเห็น ความสนใจ รวมถึงการเห็นความเสี่ยงของ Stakeholder ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทั้งหมดมาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เฉพาะในมุมของผู้ลงทุน เทเลนอร์

ประกอบไปด้วย 1.ความเป็นส่วนตัว (Privacy) 2. สิทธิส่วนบุคคล (Human rights) 3.การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Chang) 4.ช่องว่างทางดิจิทัล (Digital Divide) 5.Supply Chain ห่วงโซ่อุปทานยั่งยืนนับตั้งแต่การจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ รวมทั้งการส่งเสริมให้มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี 6.สุขภาพและความปลอดภัย(Health&Safety)

ดีแทคมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลจาก Stakeholder แบบเปิดใจรับฟังเริ่มมองเห็นความสนใจที่ไม่เหมือนกัน นำสิ่งเหล่านั้นมาทำแผนสร้างความยั่งยืน เพราะหากไม่ทำนั้นคือการเผชิญหน้ากับความเสี่ยงโดยไร้แผนรองรับ อาจทำให้พลาดฉกฉวยโอกาสเอาไว้ได้ 

ที่สำคัญ ธุรกิจกำลังยืนอยู่ในจุดที่ผู้บริโภคมีความคาดหวังสูง การให้บริการด้าน 4 P Product (ผลิตภัณฑ์) Price (ราคา) Place (ช่องทางจัดจำหน่าย) Promotion (การส่งเสริมการขาย) เป็นแค่ความต้องการพื้นฐาน มากไปกว่านั้นผู้บริโภคคาดหวังให้บริษัททำงานด้านคนและเกี่ยวกับโลกและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ปัจจุบันแบรนด์ที่ถูกโจมตีและได้รับความนิยมลดลงจากผู้บริโภคเป็นเพราะขาดความเชื่อถือจากสังคม เริ่มเห็นพลวัตผู้บริโภคกดดันและคาดหวังให้องค์กรทำมากกว่าการออกสินค้าและบริการที่ดี แต่ต้องทำอะไรที่เชื่อใจได้แก่ผู้บริโภคและสังคม 

ดีแทคได้ประกาศกรอบความยั่งยืนปี 2021-2023 เพื่อบริหาร 7 เสาหลัก การดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ จากการจัดทำการประเมินสาระสำคัญ (Materiality Assessment) บนประเด็นความเสี่ยงทั้งในปัจจุบันและอนาคต สอดรับกับสิ่งที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของธุรกิจโทรคมนาคม ประกอบด้วย 

เสาต้นที่ 1 การรักษาธรรมาภิบาลและจริยธรรมยกระดับบรรทัดฐานในการดำเนินธุรกิจใหม่ ด้วยดีแทคธรรมาภิบาล มีกระบวนการกำกับดูแลคู่ค้า ให้แน่ใจว่าจะไม่เกิดความเสี่ยง เช่น การคอร์รัปชัน และความเสี่ยงอื่น

เสาต้นที่ 2 การปกป้องสิทธความเป็นส่วนตัว ด้วยการสร้างความไว้วางใจด้วยมาตรฐานปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล

เสาต้นที่ 3 บริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับคู่ค้าสู่มาตรฐานยั่งยืน ช่วยยกระดับมาตราฐานผู้จัดหาสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายและมาตรฐานสากล

เสาต้นที่ 4 การสร้างสังคมดิจิทัลสำหรับทุกภาคส่วน ลดความเหลื่อมล้ำขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจดิจิทัลเต็มรูปแบบ ดีแทคเริ่มโครงการ dtac Safe internet เพื่อการใช้อินเทอร์เน็ตปลอดภัยในเด็กและเยาวชน ต่อยอดเป็นโครงการเน็ตทำกินให้และสูงวัย 50+ และมีเป้าหมายนำกลุ่มคนที่หล่นอยู่ในร่องของดิจิทัล เช่น กลุ่มคนตาบอด ผู้สูงอายุ ชุมชนห่างไกลเข้าถึงประโยชน์ของดิจิทัลอย่างเท่าเทียมกัน ด้วยการเพิ่มทักษะดิจิทัล ดีแทคจะเป็นผู้เปิดประตูทัศนคติให้รู่ว่าดิจิทัลเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ และทำให้เห็นว่าอินเทอร์เน็ตไม่ใช่ค่าใช้จ่ายแต่คือต้นทุนชีวิตที่ต่อยอดสร้างโอกาสใน

เสาต้นที่ 5 การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบรับผิดชอบสังคมอย่างยั่งยืน ด้วยการประกาศลดก๊าซเรือนกระจกลง 50% ในปี 2023 วางแผนการใช้พลังงานทางเลือก การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในโครงการ “ทิ้งให้ดี” โดยไม่ฝังกลบเป็นศูนย์ ภายในปี 2022 

เสาต้นที่ 6 การเคารพหลักสิทธิมนุษยชนเรื่องใหญ่ที่มองข้ามไม่ได้ ด้วยการยกระดับมาตรฐานการเคารพหลักสิทธิมนุษยชน ด้วยการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในทุกส่วนของกระบวนการดำเนินธุรกิจในทุก ๆ 2 ปี และดีแทคมีหน้าที่ปกป้องสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในการแสคงออกซึ่งความคิดเห็น และปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า

เสาต้นสุดท้ายต้นที่ 7 การสร้างสุขภาวะในการทำงาน ปรับสู่วิถีการทำงานใหม่ประกาศการทำงานแบบยืดหยุ่นให้คงอยู่ถาวร ตอบรับกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง

การได้ทำงานด้านควายั่งยืนของอุ้ม ถือเป็นความโชคดี ด้วยทัศนะคติความเชื่อด้านความยั่งยืนที่ตรงกัน ทำให้คุณค่าของคนและคุณค่าของธุรกิจลงตัวกันได้แบบพอดี จนกลายเป็นแรงผลักแบบทวีคูณช่วยเร่งความยั่งยืนของดีแทค เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมและนำเทรนด์

เธอเริ่มต้นการทรานฟอร์มดีแทคจากการทำ CSR แบบดั้งเดิม ด้วยการเปลี่ยนผ่านวิธีคิดเข้าสู่กรอบการทำงานแบบยั่งยืน และออกแบบความยั่งยืนเข้าไปอยู่ในธุรกิจอย่างแท้จริง

ทั้งนี้ ทักษะสำคัญของคนที่ทำงานด้านความยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อสร้างสมดุลความยั่งยืนกับธุรกิจให้เกิดเป็นรูปธรรม คือ 1.การมองให้แตกถึงความเสี่ยงความแตกต่างและจุดเด่นของธุรกิจที่ยืนอยู่ 2.ต้องมองเทรนด์ให้ออก วันนี้ความยั่งยืนคือเทรนด์ที่ยังมาไม่ถึง และวันนี้ต้องเข้าใจให้ได้ว่าจากวันนี้ไปสู่เทรนด์องค์กรต้องเดินอย่างไร 3.นำเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมาสื่อสารให้เข้าใจในปัจจุบัน เพื่อจะได้เดินไปตามแผนที่วางไว้บนความเข้าใจเดียวกัน 4.การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจที่เติมเต็มและช่วยกันสร้างหรือสร้างสรรค์สิ่งที่ดีมีประโยชน์แก่องค์กรกรและสังคม เพื่อนำไปสู่บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจไปพร้อมกับการสร้างสิ่งใหม่ ๆ 

การสร้างมาตรฐานความยั่งยืนในองค์กร คือ ความท้าทายสำคัญ โดยเธอวางเป้าหมายสร้างความยั่งยืนไว้ใน DNA ของดีแทค ทั้งในมุมของคน องค์กร และการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างความภาคภูมิใจว่าดีแทคคือส่วนงานเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความยั่งยืนให้กับโลก

โครงการที่ภูมิใจ คือ เน็ตทำกิน ซึ่งต่อยอดมาจากโครงการเดิมชื่อ เน็ตอาสา อาสาช่วยคนตัวเล็กที่สุดในสังคม เช่น ชนกลุ่มน้อย อดีตผู้ต้องขัง กลุ่มคนที่ตกอยู่ในรองของสังคม เป็นโครงการที่จับต้องง่ายเข้าใจง่าย เข้าถึงคนหมู่มาก

ดีแทคต้องการทำให้คนรู้สึกได้ว่าดิจิทัลเท่ากับโอกาส วันนี้คนที่ให้โอกาสนั้น คือ ดีแทค และวันหนึ่งเมื่อเขาเข้าใจสิ่งนั้นเขาจะออกไปไขว่ขว้า (โอกาส) นั้นมาไว้เอง นี่คือเป้าหมายปลายทางของดีแทค 

แม้อนาคตหากการศึกษาแนวทางควบรวมธุรกิจระหว่างดีแทคและทรูสำเร็จ ผู้บริหารระดับสูงจากเทเลนอร์ตอบคำถามที่เธอสงสัย(ว่าการแผนการสร้างความยั่งยืนยังจะดำเนินต่อไปได้ไหม) ว่าเทเลนอร์จะยังคงมีเป้าหมายที่ชัดเจนด่นความยังยืนในธุรกิจที่อยู่อย่างเหนี่ยวแน่น

การสร้างความยั่งยืนเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน เมื่อทุกคนตะหนักและร่วมมือกันพราะการสร้างความยั่งยืนสร้างไม่ได้ด้วยตัวคนเดียว” อรอุมา กล่าวทิ้งท้ายด้วยรอยยิ้มแห่งความมั่นใจ

อศินา พรวศิน – สัมภาษณ์
ณวะรา เพชรกุล – เรียบเรียง

อาร์พาเน็ตเกิร์ล แบรนด์เสื้อผ้าเด็กในธีมคุณหนู ให้คุณภาพมาก่อนราคาสร้างฐานแฟนคลับจากโลกออนไลน์

ดีแทคชู “ดีทั่วดีถึง เพื่อชีวิตเท่าเทียม” ฟื้นฟูประเทศก้าวข้ามวิกฤติโควิด-19

“บ้านฉันมีเน็ตใช้แล้ว” ชุมชนบ้านใหม่สามัคคี ลำปาง หลังรอมา 18 ปี ดีแทคลุยเชื่อมต่อ

ดีแทคเน็ตทำกิน ปั้นผู้ประกอบการวัยเก๋า 50+ หนุนเศรษฐกิจสูงวัย

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ