TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessไวซ์ไซท์ ทุ่ม 4 ล้านบาท ออกแบบบ้านใหม่ Wisesight BASE33 ตอบโจทย์การทำงานที่เปลี่ยนไป

ไวซ์ไซท์ ทุ่ม 4 ล้านบาท ออกแบบบ้านใหม่ Wisesight BASE33 ตอบโจทย์การทำงานที่เปลี่ยนไป

โควิดสร้างการเปลี่ยนแปลงทุกย่อมหญ้า หนึ่งในนั้นคือการให้คุณค่ากับชีวิตและการทำงาน รวมถึงสร้างทักษะการทำงานในรูปแบบใหม่ที่ไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ ทำให้เกิดปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของหลายบริษัท บางบริษัทประกาศคืนพื้นที่เช่า ปรับรูปแบบการทำงานเป็น work from home 100% บางแห่งใช้วิธีผสมสานปรับลดขนาดพื้นที่ทำงานเพิ่มสัดส่วนการทำงานจากที่บ้าน หนึ่งในนั้น คือ ไวซ์ไซท์

ไวซ์ไซท์รื้อออฟฟิศเดิมและออกแบบออฟฟิศใหม่บนพื้นที่เดิมบนพื้นที่ 1,234 ตารางเมตร ภายใต้แนวคิดใหม่ที่ไม่ยึดติดโต๊ะทำงาน (ไม่มี fix desk) ยึดคอนเซปต์การทำงานแบบยืดหยุ่น ที่พนักงานสามารถเลือกทำงานได้ทั้งที่บ้านและที่ออฟฟิศ อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

แทนที่จะคืนพื้นที่เช่าออฟฟิศเพื่อประหยัดงบค่าเช่าออฟฟิศปีละเป็นสิบล้านบาท ไวซ์ไซท์กลับทุ่มเม็ดเงิน 4 ล้านบาทเพื่อรื้อและสร้างออฟฟิศใหม่บนพื้นที่เดิม เพื่อให้สอดรับกับการทำงานในรูปแบบใหม่ ทำออฟฟิศเพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกันของพนักงาน ชุมชน และอื่น ๆ ที่การทำงาน WFH ให้ไม่ได้

กล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ที่ทุ่มงบรีโนเวท 4 ล้านบาท รื้อปรับปรุงพื้นที่การทำงานทั้ง 1,234 ตารางเมตรใหม่หมด เพราะเชื่อว่าคนให้คุณค่ากับการทำงานเปลี่ยนไปจากก่อนหน้าที่จะมีโควิด ลักษณะงานของ Wisesight สามารถทำงานแบบ WFH 100% ก็ทำได้เพราะช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำแบบนั้นและได้ผลดี แต่ทว่าการ WFH ไม่ได้ตอบโจทย์พนักงานทุกคนได้ 100% จริง ๆ ปัญหาพื้นฐานยังคงมีอยู่ อาทิ ลักษณะการนั่งทำงาน โต๊ะเก้าอี้ (แม้ว่าจะมีสวัสดิการเรื่อง office supplyให้) สังคมการพูดคุยในที่ทำงาน น้องบางคนบ้านเป็นห้องแถวที่ชั้นล่างขายของ บางคนประชุมนำเสนองานลูกค้ายายมาเคาะห้องให้ทานข้าวเพราะได้เวลาทานข้าวแล้ว นั่นคือวิถีของบ้าน ไม่ใช่วิถีของอฟฟิศ น้องมีปัญหาต่างคนต่างรูปแบบกันไป ทำให้ต้องมาคิดเรื่องการออกแบบพื้นที่ทำงานใหม่หลังโควิด 

ไม่ได้ทำออฟฟิศเพื่อประสิทธิภาพการทำงาน เพราะประสิทธิภาพการทำงานนั้นทำได้ด้วยการทำงานแบบ WFH ออฟฟิศที่ออกแบบและตกแต่งใหม่จึงไม่มีที่นั่งทำงานประจำที่ของพนักงาน ยกเว้นเฉพาะที่จำเป็น อาทิ บัญชี แอทมิน ไอที ที่ต้องมีโต๊ะทำงานประจำเพื่อเก็บเอกสาร ผู้บริหารเองก็ไม่มีโต๊ะทำงานของตัวเอง แค่แยกโซนผู้บริหาร และมี Phone Booth ให้พนักงานสามารถประชุมออนไลน์ได้ และเมื่อไม่มีโต๊ะทำงานประจำ ออฟฟิศมีล็อกเกอร์ให้พนักงานเก็บของ อาทิ รองเท้าวิ่ง รองเท้าตีแบด เป็นต้น 

“การเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้จำเป็นต้องถูกสื่อสาร และเรียนรู้กัน หากให้ทำงานที่บ้านทั้งหมด ออฟฟิศจะกลายเป็นฟรีแลนซ์ และคงไม่สามารถทำให้ฟนักงานฟรีแลนซ์ทำงานได้ 100 กันพร้อมกัน มันไม่เกิดการรวมพลัง” 

“เวลาทำงานกับน้องอายุน้อย ๆ เจน Y และ Z มีแนวคิดที่ไม่เหมือนกับเจน X เราไม่ได้ต้องการระเบียบ ไม่ได้ต้องการวินัย แต่ต้องการประสิทธิภาพ เราจะสนับสนุนเขาอย่างไรให้เขาสร้างประสิทธิภาพได้เต็มที่ เมื่อน้องเขารู้ว่าเราเต็มที่กับเขา เขาก็สร้างประสิทธิภาพที่เต็มที่ เขาทำงานหนักมากได้ตอลดเวลา เขามีเวลา เขามีแรง เหมือนเราช่วงวัยนั้น”

นโยบายคือให้แต่ละทีมทั้งหมด 32-35 ทีม ตกลงกันเองว่าจะทำงานกันแบบไหน ทีมไหนจะเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศวันไหนอย่างไร ด้วยข้อจำของพื้นที่ไม่สามารถรองรับคนได้ 230 คนได้พร้อมกัน จึงไม่สามารถกลับไปเป็น fix desk ได้เหมือนจะเกิดการระบาดของโควิด ซึ่งตอนนั้นเข้าทำงานพร้อมกันได้สูงสุด 160-170 คน พอช่วงโควิดพนักงานเพิ่มเป็น 180 คน ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาพนักงานเพิ่มเป็น 230 คน การออกแบบและจัดการพื้นที่ 1,234 ตารางเมตร ภายใต้แนวคิดที่ไม่มี fix desk นี้ นอกจากจะเพิ่มความยืดหยุ่นของการใช้พื้นที่และเพิ่มประสิทธิภพาการทำงานแล้ว ยังรองรับการขยายตัวของบริษัทและจำนวนพนักงานที่เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย 

“เราดูแลชีวิตเขา เขาดูแลงานให้เรา” 

ทีมธุรกิจทั้ง Business Developmen และ Business Analist ทีมขาย ทีมสื่อสาร ทีมสนับสนุนธุรกิจ รวมกันรวม 50 คน มีทีมนักวิเคราะห์ข้อมูล 80 คน ทีมวิศวกรและทีมผลิตภัณฑ์​ 45-50 คน ทีม real-time monitoring ให้ลูกค้าซึ่งเป็นพนักงาน outsource อีก 100 กว่าคน และมีทีม supervisor ที่คอดยดูแลทีม outsource อีก 10 กว่าคน และทีมบริหารจัดการออฟฟิศ (ไอที บุคคล และแอดมิน) อีกราว 30 คน 

“พนักงาน HR ของเราสูงมาก โดยเฉลี่ยเขามี HR 1:100 แต่ของเรา 1:30 เพราะเราให้สำคัญเรื่องน้อง เราต้องใช้ talent เยอะ ซึ่ง talent ปัจจุบันมีตัวเลือกมาก บริษัทใหญ่ที่มีเงินเดือนเป็นจุดแข็ง จุดแข็งของเรา คือ ความหลากหลายของข้อมูล และพันธกิจที่เป็นบริษัทข้อมูลที่สร้างรายได้จากการข้อมูลจริง ๆ เราทำธุรกิจอยู่บนข้อมูล หากน้องอยากได้ทักษะการทำข้อมูลเพื่อสนับสนุนธุรกิจที่หลากลหายประมาณ 30 อุตสาหกรรม นี่คือโรงเรียนที่ดีของน้อง ๆ อยากให้น้อง ๆ อยู่ที่นี่แล้วเขาเก่งขึ้น”

กล้า กล่าวว่า อัตราการเปลี่ยนงานที่นี่มีบ้างแต่ไม่สูงมาก น้องส่วนใหญ่เป็นเด็กจบใหม่ ที่นี่คือที่ทำงานที่แรกของเขา การดึงตัวจากบริษัทอื่นทั้งวิศวกรคอมพิวเตอร์และข้อมูลสูง อยู่ในวิกฤติของการขาดแคลนคนและเกิดการดึงคนกัน พนักงานอายุงาน 10 ปีมี 3 คนจากอายุบริษัท 15 ปี 

กลุ่มพนักงานที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของ Wisesight คือ first jobber เพราะเป็นจุดที่ทำให้บริษัทสามารถขยายกำลังทีมได้เร็ว และที่สำคัญกลุ่มนี้นอกจากจะมีพลังและความหลากหลายแล้ว กลุ่มคนกลุ่มนี้มีความเข้าใจโลกของโซเชียลมีเดียโดยไม่ต้องปรับทัศคติหรือเพิ่มทักษะ เพราะโซเชียลมีเดียคือโลกของเขา 

“เราเป็นพื้นที่ทำงานจริง ไม่ใช่โรงเรียนสอนคน เรามีพันธะสัญญาที่สูงกับลูกค้า ผิดพลาดไม่ได้ คนที่ทำงานกับเรา เขาจะเก่งขึ้น ลูกค้าที่ทำงานกับเราล้วนรวยกว่าเรา รายใหญ่กว่าเรา เราอาจจะไม่มีซูเปอร์แมนที่จะไปทำงานใหญ่ ๆ ได้ด้วยคน ๆ เดียว แต่เรามีน้อง ๆ ที่รวมพลังกันได้และทำงานใหญ่ ๆ ได้ เราเคารพในตัวน้อง ๆ”

Wisesight BASE33 …. Hybrid Workplace

พนักงานสามารถเลือกทำงานได้ทั้งที่บ้านและที่ออฟฟิศ อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

“ตั้งแต่ช่วงหลังวิกฤตการณ์โควิดเป็นต้นมา เราพบว่าในอนาคตเราต้องการความยืดหยุ่นในการทำงานอย่างสูง ทำให้เราดำเนินการปรับรูปแบบพื้นที่ทำงานของเราให้กลายเป็น ‘Hybrid Workplace’ เน้นให้ทุกคนได้เข้ามาสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน พื้นที่ที่ออกแบบมาจึงไม่เหมือนการทำงานในยุคก่อนที่ต้องนั่งทำงานต่อเนื่องวันละ 8 ชั่วโมง แต่พนักงานสามารถยืน นั่ง เดินทำงานตามจุดต่าง ๆ ได้ และจุคนได้มากกว่า 200 คน เรามองว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นได้ทั้งที่ทำงาน และที่ที่ทุกคนได้มาใช้เวลาในช่วงต่าง ๆ ของการทำงานร่วมกัน”

ซึ่งคอนเซปต์นี้ถูกประยุกต์ในพื้นที่ทุกตารางเมตรของ BASE33 โดยแบ่งออกเป็น  4 โซนหลัก ๆ ได้แก่

THE FRONT 

สัมผัสความเป็นไวซ์ไซท์ได้ตั้งแต่ก้าวแรกด้วยจอ Command Center ขนาดใหญ่ที่แสดงผลข้อมูลบนโลกโซเชียลในหลากหลายรูปแบบ ให้คุณไม่พลาดในการเกาะติดทุกกระแสโซเชียลแบบเรียลไทม์ในบรรยากาศสบายๆ แบบเป็นกันเอง โดยไม่จำกัดเพียงแค่ลูกค้า หรือพาร์ทเนอร์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการทำงานต้องพบปะกับเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการทั่วไป เช่น พนักงานส่งเอกสาร สินค้า และผู้สมัครงานด้วย

THE CAFE

โซนคาเฟ่ ถูกออกแบบมาใหม่ทั้งหมด เพื่อรองรับกิจกรรมในหลากหลายรูปแบบของทีมงานกว่า 200 ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการจัดประชุม และสัมนาภายใน, งานเลี้ยงสังสรรค์, การจัดอีเวนท์รูปแบบต่างๆ รวมไปถึง มีความเหมาะสมในการนั่งทำงาน สืบเนื่องมาจากช่วงโควิดที่คนนิยมไปนั่งคาเฟ่ ไวซ์ไซท์จึงอยากทำให้พื้นที่นี้เป็นคาเฟ่ของทุกคน คาเฟ่ที่สามารถนั่งทำงานจริงและใช้ชีวิตไปได้พร้อม ๆ กัน โดยเรามีบาร์ขนาดใหญ่ที่เปิดต้อนรับตลอด 24 ชั่วโมงรวมถึงเบียร์แท็ป, อาหาร ขนม และเครื่องดื่มที่สามารถบริการตัวเองได้ที่ตู้กดอัตโนมัติ พร้อมผ่อนคลายไปกับกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ บอร์ดเกม, ปิงปอง, พูล ทุกคนจึงสามารถชวนเพื่อน ๆ มาใช้เวลาร่วมกันได้ตลอดวัน

THE STUDIO

โซนสตูดิโอที่ถูกจัดเตรียมขึ้นมาเพื่อรองรับการผลิตสื่อในรูปแบบใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายทำไลฟ์, การถ่ายวีดีโอ, การสัมนาออนไลน์ และการทำการสื่อสารในรูปแบบอื่น ๆ ให้สอดรับกับรูปแบบการทำงานของคนในปัจจุบัน

THE ROOMS

โซนห้องประชุมที่ออกแบบมาเพื่อรองรับและตอบโจทย์การใช้งานของคนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นห้องประชุมขนาดใหญ่ที่สามารถจุคนได้ถึง 30 คน ไปจนถึงห้อง Phone Booth สำหรับการประชุมออนไลน์ขนาดเล็กสำหรับ 1-2 คน ที่เพิ่มยืดหยุ่นในการประชุมยุคใหม่

เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งคือ ชื่อของห้องประชุมที่ถูกตั้งขึ้นตามเฉดสีแดงซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของไวซ์ไซท์ ได้แก่ Wine, Scarlet, Crimson, Ruby, Raspberry, Imperial, Burgundy และ Rose ซึ่งสะท้อนความแตกต่างที่ลงตัวของทุก ๆ คน

ทั้งหมดนี้เป็นภาพรวมของรูปแบบสถานที่ที่ถูกออกแบบมารองรับการทำงานแบบ Hybrid Working ที่ใช้ข้อมูลบนโลกโซเชียลเป็นองค์ประกอบในการวางคอนเซปต์เพื่อให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การทำงานของคนรุ่นใหม่ให้สามารถใช้พื้นที่การทำงาน และใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างลงตัว

ขณะที่ พุทธศักดิ์ ตันติสุทธิเวท รองผู้อำนวยการฝ่ายการบริการวิเคราะห์ข้อมูล บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เผยเทรนด์การทำงาน และเทรนด์โซเชียลในช่วงครึ่งปีแรกของ 2565 ที่น่าจับตามองผ่าน 2 มิติ ด้วยกัน คือ

1. เทรนด์การทำงาน

เสียงของคนบนโลกโซเชียลมากกว่า 64% คิดว่าการทำงานที่บ้านเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากสามารถจัดสรรเวลาการทำงานได้และทำให้เนื้องานที่ออกมามีประสิทธิภาพดีกว่า นอกจากนี้ ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และมีเวลาที่เหลือทำกิจกรรมอื่นๆ กับคนในครอบครัวได้ ในขณะที่ 26% มองว่าการทำงานที่บ้านทำให้เสียสุขภาพกายและใจ เกิดความเครียดได้ง่าย พื้นที่แวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน รวมถึง เหงาและอยากเจอผู้คน

ดังนั้น หากกลุ่มคนบนโลกโซเชียลจะออกมาทำงานที่ออฟฟิศ ออฟฟิศแห่งนั้นจะต้องเป็น ‘ออฟฟิศที่อยู่แล้วสบายใจ’ คือ จัดการทำงานอย่างเป็นระบบ มีความเป็นมืออาชีพ มีค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม เพื่อนร่วมงานเปิดใจรับฟังความคิดเห็นอย่างเข้าใจ ตัวงานมีคุณค่าและสนุกที่ได้ทำ

2. เทรนด์โซเชียลในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565

แบ่งออกเป็น 3 ส่วน

  1. Spectrum of Attitude: โซเชียลมีเดียเป็นพื้นที่สาธารณะที่เต็มไปด้วยความคิดเห็นจากคนหลากหลายประเภท มีทั้งความคิดเห็นที่ตรงกัน และต่างกัน ซึ่งทำให้เกิดการถกเถียงหรือที่เรียกว่า ดราม่า นั่นเอง โดยตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา มีดราม่าเกิดขึ้นทั้งสิ้น 760,000 ข้อความ และได้รับเอ็นเกจเมนต์รวม 187,000,000 เอ็นเกจเมนต์ โดย 8 เรื่องหลักที่ทำให้เกิดเรื่องดราม่า ได้แก่ 1.) สิทธิส่วนบุคคล (Privacy) 2.) ความเชื่อ (Belief) 3.) ปัญหาสังคม (Social Issue) 4.) คุณค่าชีวิต (Life Value) 5.) เพศ (Gender) 6.) เชื้อชาติ (Racism) 7.) สิทธิมนุษยชน (Human Rights) 8.) ความแตกต่างทางความคิดระหว่างหนุ่มสาวและผู้สูงอายุ (Generation Gap)

    สิ่งที่แบรนด์สามารถทำได้เพื่อหลีกเลี่ยงดราม่าเหล่านี้ คือ 1.) มีหลักการที่ถูกต้อง 2.) ถ่อมตน 3.) เปิดใจรับฟังผู้บริโภค และไม่เอาตนเองเป็นที่ตั้ง
  2. The norm is shifting: ผู้บริโภคในยุคนี้มองหามาตรฐานการให้บริการที่สูงขึ้นจากแบรนด์ รวมถึง ต้องการให้แบรนแสดงจุดยืนที่ชัดเจนในเรื่องต่างๆ เช่น ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ ในช่วง Pride Month ที่ผ่านมาผู้บริโภคเริ่มให้ความสนใจกับแบรนด์ที่ส่งเสริมเรื่อง LGBTQ+ อย่างยั่งยืนมากกว่าแบรนด์ที่เปลี่ยนโลโก้เป็นสีรุ้ง หรือจัดแคมเปญเดินขบวน ดังนั้น คำแนะนำสำหรับแบรนด์ที่จะมัดใจผู้บริโภคได้ คือ จริงใจ, สม่ำเสมอ, และไม่ทำตามกระแส
  3. Short, Fast, and Repeat: แพลตฟอร์ม TikTok ทำให้กระแสวิดีโอขนาดสั้นกลับมาบูมอีกครั้ง ซึ่งตัวแแพลตฟอร์มเองก็เป็นแหล่งกำเนิดเทรนด์ กระแสเต้น กระแสเพลง รวมถึง อาหารการกินและการรีวิว ถือว่าเทรนด์เหล่านี้คล้ายกับดราม่าก็ได้เพราะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แต่ช่วงเวลาที่คนให้ความสนใจนั้นลดลง แต่ก่อนไวรัลอยู่ในความสนใจได้เกือบหนึ่งสัปดาห์ แต่ในปัจจุบันเพียงแค่สองวันไวรัลเหล่านั้นก็หายไปแล้ว 

“ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โซเชียลมีเดียไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่เกิดขึ้นเลย คาแรคเตอร์ของคนบนโลกโซเชียลก็ยังคงคล้ายคลึงกับปีก่อน ทำให้เรายังไม่เห็นอะไรใหม่ ผมขอเรียกยุคนี้ว่าเป็นยุค ‘Fast & Furious Consumer’ เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นไว และจบไวมาก แบรนด์จึงควรตั้งสติ และถามตัวเองอยู่เสมอว่าเทรนด์นี้เราควรเข้าไปข้องเกี่ยวด้วยหรือไม่ หรือเทรนด์นี้ส่งผลเสียหรือดีต่อภาพลักษณ์แบรนด์มากกว่ากัน เพราะการทำอะไรตามกระแสก็ไม่ได้การันตีว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป” พุทธศักดิ์ กล่าว

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ