TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessอีวีจีน มีบทบาทสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านภูมิทัศน์ยานยนต์ไทย

อีวีจีน มีบทบาทสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านภูมิทัศน์ยานยนต์ไทย

ผู้ผลิตยานยนต์สัญชาติจีนมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนผ่านของภูมิทัศน์ยานยนต์ของไทย ทั้งการส่วนส่งเสริมการลงทุน การพัฒนา และการเข้าถึงยานยนต์ไฟฟ้า (EV)

เมื่อไม่นานนี้ สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัวของจีนว่า จำนวนผู้ผลิตยานยนต์สัญชาติจีนที่เพิ่มขึ้นในไทยช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้กระตุ้นยอดการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าทั่วไทย เนื่องจากยานยนต์จากผู้ผลิตจีนมีราคาในระดับที่เอื้อมถึงได้ และมีค่าบำรุงรักษาที่ลดลงท่ามกลางต้นทุนเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้น

สุรพงษ์ ระบุว่า ยานยนต์จีนที่เข้าสู่ตลาดไทยได้ขยายการเข้าถึงเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและล้ำสมัยสู่ฐานผู้บริโภคที่กว้างขึ้น ด้วยการลดช่องว่างราคาระหว่างยานยนต์ที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงแบบดั้งเดิมและยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งกลายมาเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จในตลาดไทย

ข้อมูลจากสภาฯ เผยว่าในปี 2023 มีการจำหน่ายยานยนต์นั่งส่วนบุคคลราว 407,000 คันในไทย โดยในจำนวนนี้เป็นยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (BEV) มากกว่า 73,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 603.66 จากปี 2022

ด้านกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่ายานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ที่จดทะเบียนในไทยเมื่อปีที่ผ่านมาเป็นแบรนด์ของจีนมากกว่าร้อยละ 80 โดยแบรนด์ยานยนต์สัญชาติจีน อาทิ เอ็มจี (MG) ของเอสเอไอซี (SAIC) เกรท วอลล์ มอเตอร์ส (Great Wall Motors) บีวายดี (BYD) เนตา (Neta) ฉางอัน (Changan) และจีเอซี ไอออน (GAC Aion) ต่างนำเข้ายานยนต์ไฟฟ้าของตนสู่ตลาดไทยแล้ว

อนึ่ง ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนาภาคอุตสาหกรรมยานยนต์มาอย่างยาวนาน โดยในมุมมองของสุรพงษ์ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่เกิดใหม่นี้ ถือเป็นคลื่นลูกใหม่ในการลงทุนและการพัฒนาที่สำคัญสำหรับไทย

สุรพงษ์มองการที่ผู้ผลิตยานยนต์สัญชาติจีนหลั่งไหลเข้ามาในไทย เป็นส่วนส่งเสริมในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย โดยเฉพาะด้านการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และยังทำให้ไทย ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสถานีชาร์จและโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต

สุรพงษ์ระบุว่าผู้ผลิตยานยนต์สัญชาติจีนหลายรายเตรียมพร้อมที่จะลงหลักปักฐานการผลิตในไทย บริษัทเหล่านี้จะมาพร้อมพันธมิตรด้านห่วงโซ่อุปทานของตนเอง ซึ่งจะผลักดันให้เกิดการลงทุนในไทยมากขึ้น สร้างโอกาสการทำงานสำหรับคนไทย และกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว

ทั้งนี้ สุรพงษ์ทิ้งท้ายด้วยการแสดงความหวังว่ายานยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในไทยจะสามารถส่งออกไปยังตลาดอื่นๆ นอกเหนือจากตอบสนองความต้องการในไทยเพียงอย่างเดียว

เมื่อไม่นานนี้ สุรพงษ์ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัวของจีนว่า จำนวนผู้ผลิตยานยนต์สัญชาติจีนที่เพิ่มขึ้นในไทยช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้กระตุ้นยอดการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าทั่วไทย เนื่องจากยานยนต์จากผู้ผลิตจีนมีราคาในระดับที่เอื้อมถึงได้ และมีค่าบำรุงรักษาที่ลดลงท่ามกลางต้นทุนเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้น

สุรพงษ์ระบุว่ายานยนต์จีนที่เข้าสู่ตลาดไทยได้ขยายการเข้าถึงเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและล้ำสมัยสู่ฐานผู้บริโภคที่กว้างขึ้น ด้วยการลดช่องว่างราคาระหว่างยานยนต์ที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงแบบดั้งเดิมและยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งกลายมาเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จในตลาดไทย

ข้อมูลจากสภาฯ เผยว่าในปี 2023 มีการจำหน่ายยานยนต์นั่งส่วนบุคคลราว 407,000 คันในไทย โดยในจำนวนนี้เป็นยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (BEV) มากกว่า 73,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 603.66 จากปี 2022

ด้านกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่ายานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ที่จดทะเบียนในไทยเมื่อปีที่ผ่านมาเป็นแบรนด์ของจีนมากกว่าร้อยละ 80 โดยแบรนด์ยานยนต์สัญชาติจีน อาทิ เอ็มจี (MG) ของเอสเอไอซี (SAIC) เกรท วอลล์ มอเตอร์ส (Great Wall Motors) บีวายดี (BYD) เนตา (Neta) ฉางอัน (Changan) และจีเอซี ไอออน (GAC Aion) ต่างนำเข้ายานยนต์ไฟฟ้าของตนสู่ตลาดไทยแล้ว

อนึ่ง ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนาภาคอุตสาหกรรมยานยนต์มาอย่างยาวนาน โดยในมุมมองของสุรพงษ์ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่เกิดใหม่นี้ ถือเป็นคลื่นลูกใหม่ในการลงทุนและการพัฒนาที่สำคัญสำหรับไทย

สุรพงษ์มองการที่ผู้ผลิตยานยนต์สัญชาติจีนหลั่งไหลเข้ามาในไทย เป็นส่วนส่งเสริมในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย โดยเฉพาะด้านการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และยังทำให้ไทย ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสถานีชาร์จและโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต

สุรพงษ์ระบุว่าผู้ผลิตยานยนต์สัญชาติจีนหลายรายเตรียมพร้อมที่จะลงหลักปักฐานการผลิตในไทย บริษัทเหล่านี้จะมาพร้อมพันธมิตรด้านห่วงโซ่อุปทานของตนเอง ซึ่งจะผลักดันให้เกิดการลงทุนในไทยมากขึ้น สร้างโอกาสการทำงานสำหรับคนไทย และกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว

ทั้งนี้ สุรพงษ์ทิ้งท้ายด้วยการแสดงความหวังว่ายานยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในไทยจะสามารถส่งออกไปยังตลาดอื่นๆ นอกเหนือจากตอบสนองความต้องการในไทยเพียงอย่างเดียว

ที่มา: Xinhuathai

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ