TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessถึงเวลาธุรกิจประกันรถยนต์ ต้องดิสรัปตัวเอง ก่อนจะโดนดิสรัป

ถึงเวลาธุรกิจประกันรถยนต์ ต้องดิสรัปตัวเอง ก่อนจะโดนดิสรัป

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 นี้ อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยก็ได้รับผลกระทบ คนในวงการมีการพูดถึงขั้น ตลาดรถยนต์ใหม่ของไทยปีนี้จะหดตัวลงกว่า 35% แนวโน้มยอดขายรถยนต์ใหม่ในประเทศในช่วง 10 ปีข้างหน้าจะลดลง จะเห็นได้จาก พ.ศ. 2563 ยอดขายลดลง 21.4% เมื่อเทียบกับยอดขายปีพ.ศ. 2562 โดยมียอดขายอยู่ที่ 792,146 คัน แต่คาดการณ์ว่าปี พ.ศ. 2564 สถานการณ์อาจจะดีขึ้น  

นอกเหนือจากธุรกิจรถยนต์จะได้รับผลกระทบแล้ว ธุรกิจประกันภัยรถยนต์ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย การประกันภัยรถยนต์มี 2 ประเภท ได้แก่ การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ และ การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ในส่วนของภาคบังคับคงไม่มีปัญหา ทุกคนควรต้องทำประกัน แต่ในส่วนของประกันภาคสมัครใจ หลายคนมีความลังเล โดยเฉพาะรถยนต์ที่ใช้มามากกว่า 2-3 ปี จากเดิมเคยมีประกันภัยชั้น 1 ก็เริ่มต่อรองเรื่องเบี้ยประกัน จนถึงขั้นอยากทำประกันชั้นอื่นแทน เช่น เคยทำประกันชั้น 1 เมื่อครบอายุ จะต่อประกันชั้น 3 พลัส

แม้ผู้ประกอบการจะพยายามสรรสร้างประกันรูปแบบใหม่ ๆ ที่สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป มานำเสนอ โดยเน้นที่การบริการที่สะดวก รวดเร็ว เข้าใจง่ายเหมาะสม และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างทันท่วงที  เช่น ประกันเปิด-ปิด  หรือประกันตามใช้งานจริง แต่ผู้ที่ซื้อประกันมีความรู้สึกไม่คุ้มค่าที่จะซื้อความเสี่ยงดังกล่าว เนื่องจาก ปีที่ผ่านมาจำนวนการใช้รถก็น้อยลง จากการทำงานที่บ้าน (work from home) จากมาตรการล็อกดาวน์ ของภาครัฐ 

ดังจะเห็นจากตัวเลข ปี พ.ศ.  2563 อุบัติเหตุที่ลดลงส่งผลให้การเคลม (เรียกร้องสินไหมทดแทน) น้อยลง และส่งผลต่อเนื่องให้อัตราค่าสินไหมทดแทน (Loss Ratio) ประกันภัยรถยนต์ปรับลดลง 4% สู่ระดับ 60% จากปี 2562 ที่อยู่ราว 64-65% ปีก่อน ดังนั้น คาดว่าปีนี้ราคาเบี้ยประกันภัยรถยนต์มีแนวโน้มปรับลดลงราว 10%

บริษัทประกันหลายแห่งยอมรับว่า อัตราส่วนค่าสินไหมทดแทน (Loss Ratio) ซึ่งคำนวณจาก อัตราส่วนระหว่างความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว (incurred losses) กับเบี้ยประกันภัยที่ถือเป็นรายได้ (earned premium) ต่ำลงมาก เช่น บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด เผยว่า ค่าสินไหมของบริษัทอยู่ต่ำกว่า 60% เพราะอุบัติเหตุในปีที่ผ่านมาปรับลดลงมาก และคาดว่าจำนวนเบี้ยประกันภัยรถยนต์ในตลาดจะไม่เพิ่มขึ้นมากนักจากกำลังซื้อที่ลดลง ดังนั้น จะมีการออกแบบประกันภัยใหม่ ๆ ทั้งรูปแบบและเงื่อนไข ออกมาเป็นทางเลือกให้ลูกค้าเลือกซื้อเฉพาะความคุ้มครองที่ต้องการ โดย ปี พ.ศ. 2564 เบี้ยประกันภัยรับรวมของบริษัท น่าจะอยู่ประมาณ  30,000 ล้านบาท ทรงตัวเมื่อเทียบกับปี 2563

ส่วนสมาคมประกันวินาศภัยไทย เผยตัวเลขภาพรวมเบี้ยประกันภัย ไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ. 2564 ประมาณ 65,780 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.4% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนประกันรถยนต์มีเบี้ยรับ 38,169 ล้านบาท ยังเติบโตได้ 2.5% แต่ภาพรวมยอดขายรถใหม่ช่วง ม.ค.-ก.พ. ปี 2564  ติดลบไปกว่า 18.4% 

ด้านบริษัท แมคคินซีย์ แอนด์ คอมปะนี ไฟแนนซ์เชียล เซอร์วิส นิวยอร์ค เคยวิเคราะห์แนวโนมธุรกิจประกัน ปี 2030 เรื่องผลกระทบของ AI ต่ออนาคตของการประกันภัย ว่า ในปี ค.ศ. 2030 จะเกิด แนวโน้มธุรกิจประกันภัย 4 อย่าง คือ 

  1. ช่องทางจำหน่ายประกัน โดยใช้ Internet of Thing (IoT) จากแก็ดเจ็ดอัจฉริยะทั้งหลายที่มีเซ็นเซอร์ เก็บข้อมูลจากทุกอย่างที่ใช้ในชีวิตประจำวัน แล้ววิเคราะห์การจัดจำหน่ายประกันที่ใช่ และเหมาะสมกับชีวิตประจำวัน พร้อมการเสนอขายแบบเรียลไทล์
  2. สินค้าประกันที่หลากหลายและเจาะลึก บริษัทประกันจะต้องสามารถใช้ข้อมูลทางสุขภาพจะเจาะลึกมากขึ้น เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์หลากหลายเฉพาะเจาะจงบุคคล ในขณะที่คนจะซื้อบริการเท่าที่จำเป็น 
  3. การเคลมประกันภัยรถยนต์น้อยลง เพราะรถยนต์ยุคใหม่พัฒนาและมีความปลอดภัยมากขึ้นจาก ระบบ IoT และ AI เข้ามาดูแลผู้ซื้อประกันมากขึ้น แบบ 24×7
  4. เทคโนโลยี AI จะมีบทบาทในธุรกิจประกันภัย โดยเฉพาะขั้นตอนการนำข้อมูล (Database) มาวิเคราะห์ตลาด ราคาเบี้ย และประกันให้กับลูกค้า 

จะเห็นว่า ทุกคนเชื่อว่าแนวโน้มการเคลมประกันจะน้อยลง ส่งผลให้การทำประกันภัยรถยนต์ลดลงด้วย ทั้งในส่วนของรูปแบบ เงื่อนไข และวิธีการ เพราะด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่มีความ ปลอดภัยสูง ช่วยให้อุบัติเหตุลดลง ถึงเวลาที่ผู้ประกอบการจะต้องพยายามหาผลิตภัณฑ์ใหม่ มานำเสนอลูกค้า มิเช่นนั้นจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ