TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyธุรกิจค้าปลีกและอาหารจานด่วน ดัน GapMaps เติบโตในไทย

ธุรกิจค้าปลีกและอาหารจานด่วน ดัน GapMaps เติบโตในไทย

GapMaps ผู้เชี่ยวชาญด้านแมปปิ้งซอฟต์แวร์บนคลาวด์จากออสเตรเลีย ที่เปรียบเสมือนเครื่องมือช่วยเหลือองค์กรธุรกิจด้วยกลยุทธ์การใช้แผนด้านเครือข่ายและการวางแผนด้วยข้อมูลทำเลที่ตั้งในแต่ละพื้นที่ได้อย่างชาญฉลาด ปัจจุบัน GapMaps กำลังขยายธุรกิจไปทั่วโลกโดยตั้งเป้าหมายขยายไปยัง 21 ประเทศรวมถึงประเทศไทย แม้ว่าจะอยู่ในช่วงของโควิด-19

กลุ่มธุรกิจค้าปลีกก็ได้มีการปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบความต้องการใหม่ ๆ ของลูกค้า รวมถึงมีการสร้างช่องทางการตลาดใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น สำหรับประเทศไทย GapMaps เติบโตอย่างแข็งแกร่งในส่วนของธุรกิจจัดส่งอาหารจานด่วน ซึ่งธุรกิจกลุ่มนี้โดยปกติมีความต้องการข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลเชิงลึกในการช่วยให้ผู้ค้าปลีกสามารถวางแผน และมองเห็นศักยภาพของตลาดที่กำลังเติบโตได้ดียิ่งขึ้น

ซิสโก้ เปิดตัวโครงการ Country Digital Acceleration

Amazfit เพิ่มงบการตลาด ปี’ 65 รุกทั้งออนไลน์ – ออฟไลน์ เพิ่มช่องทางขายปลีก

แอนโธนี่ วิลลันธี ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ GapMaps กล่าวว่า “นับตั้งแต่ปี 2551 เรารุกเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นถึง 5 แหล่งในแต่ละปี สร้างรายได้ที่เติบโตในระดับตัวเลขสองหลักเมื่อเปรียบเทียบกันแบบปีต่อปี การเติบโตดังกล่าว เพราะซอฟต์แวร์ของ GapMaps ใช้งานง่าย และสามารถสร้างแผนที่ที่มีรายละเอียดและซับซ้อนมากได้

โดยมีข้อมูลเชิงประชากร รวมถึงข้อมูลของภาครัฐ และอุตสาหกรรมล่าสุดในการช่วยลูกค้าเลือกสถานที่ตั้งทำเลที่เหมาะสมกับความต้องการทางธุรกิจโดยเฉพาะ” แอนโธนี่ กล่าวเสริมว่า “วันนี้ เรามีแบรนด์ต่าง ๆ ที่นำเอา GapMaps มาใช้งานประมาณ 500 แบรนด์ เพื่อเป็นเครื่องมือในการเลือกทำเลที่ตั้ง เช่น ฟิตเนส สถานีบริการน้ำมัน ร้านขายของชำ ร้านอาหารจานด่วน ศูนย์การค้า และร้านสะดวกซื้อ” ทิม ชอว์ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนการตลาด ของ GapMaps กล่าวว่า

“ลูกค้าชาวออสเตรเลียของเราหลายราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบรนด์ระดับโลก ได้สนับสนุนให้ GapMaps เปิดตลาดใหม่ ๆ เพื่อให้กลุ่มธุรกิจสามารถใช้ GapMaps ในต่างประเทศได้ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้เราตัดสินใจว่าจะขยายธุรกิจไปที่ประเทศใดบ้าง”

ประเทศไทยที่กำลังจะผ่านพ้นช่วงของการกักกันจากการระบาดของเชื้อ โควิด-19 GapMaps เฝ้าสังเกตและติดตามสถานการณ์พฤติกรรมของผู้บริโภคใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นในพื้นที่ภาคกลางโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า และย่านค้าปลีกอื่น ๆ

“สิ่งที่ยังคงน่าสนใจก็คือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายหลังจาก โควิด- 19 ยังคงมีความไม่แน่นอน” ชอว์ กล่าวเสริมว่า “และสิ่งที่เราคาดไว้ก็คือ ความไม่แน่นอนที่เกิดในประเทศต่าง ๆ เนื่องจากความแตกต่างในข้อกำหนดในการล็อคดาวน์หรือแม้กระทั่งการคลายและยกเลิกข้อกำหนด อย่างไรก็ตามเราเห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในจังหวะการฟื้นตัวระหว่างห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่และขนาดเล็กในเขตภาคกลาง ซึ่งพบเห็นความไม่สอดคล้องกันระหว่างพื้นที่ใจกลางเมืองขนาดใหญ่เปรียบเทียบกับใจกลางเมืองขนาดเล็กกว่าและหัวเมืองของแต่ละภูมิภาค”

“เมื่อแบรนด์มีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ หมายความว่าแบรนด์สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการจัดการวางแผนฟื้นฟูสาขาร้านค้าเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ภายใต้ “วิถีใหม่” ที่เกิดขึ้นทั่วโลกภายหลังการระบาดของเชื้อโควิด-19 ครั้งนี้”

ลูกค้าของ GapMap ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นแบรนด์ต่าง ๆ เช่น Domino’s, KFC, Starbucks, Burger King, Subway และ McDonalds Eat’n’Go แฟรนไชส์ของ Domino’s, Cold Stone และ Pinkberry ในเคนยาและไนจีเรีย ล้วนได้รับประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกที่ GapMaps มอบให้

แพท แมคไมเคิล กรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Eat’n’Go กล่าวว่า “GapMaps มีคุณสมบัติเฉพาะตัวในการสร้างข้อมูลตำแหน่งและข้อมูลเชิงลึกคุณภาพสูงในประเทศที่การจัดการข้อมูลมีความท้าทายเป็นอย่างมากได้ ทั้งนี้ คุณภาพของข้อมูลและแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่ายของ GapMaps ช่วยให้เราสามารถขยายสู่ตลาดโลกและช่วยให้กระบวนการวางแผนขยายเครือข่ายที่ก่อนหน้านั้นทำได้ยากสามารถจัดการได้อย่างง่ายมากขึ้น”

กลยุทธสร้างการเติบโต

ชอว์ กล่าวเสริมว่า “นอกจากนี้ GapMaps ยังมองเห็นโอกาสในการเติบโตที่สำคัญ เราเดินหน้าและทำตลาดเชิงรุกและสร้างฐานลูกค้าในท้องถิ่น การมีข้อมูลจาก GapMaps และการทำตลาดเชิงรุก เป็นปัจจัยผสมผสานที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นกลยุทธ์ในการสร้างการเติบโตที่ดีให้กับธุรกิจ”

“ในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร้านอาหารจานด่วนเป็นหนึ่งในภาคส่วนที่เติบโตเร็วที่สุดแม้ว่าการเติบโตของประชากรจะชะลอตัวลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่การเติบโตของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นถึงสี่เท่า ซึ่งเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการลงทุนของร้านค้าและแหล่งช้อปปิ้งจากแบรนด์ระดับโลก”

การเข้าถึงข้อมูลประชากรในบางประเทศนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะข้อมูลสำมะโนประชากรที่มีอยู่มีอายุมากกว่าหนึ่งทศวรรษ และข้อมูลนั้นมักจะกว้างเกินไปและไม่สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการทำเลที่ตั้งในแต่ละท้องถิ่นได้ ชอว์ กล่าวเสริมว่า

“GapMaps มีคุณสมบัติที่ช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลประชากรข้อมูลอุตสาหกรรม และข้อมูลภาครัฐในแต่ละประเทศเพื่อให้มีข้อมูลเชิงลึกและละเอียดมากพอสามารถเจาะลึกลงพื้นที่ระยะทาง 100 – 250 เมตร เพื่อระบุพื้นที่ในการตั้งหน้าร้านที่เหมาะสม คุณสมบัติเหล่านี้ช่วยให้ลูกค้ามีกระบวนการวางแผนการตลาดและสร้างประสบการณ์แบบเดียวกับที่เกิดขึ้นในออสเตรเลีย”

ภาคธุรกิจวางแผนขยายตัว

ชอว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “นอกเหนือจากภาคธุรกิจค้าปลีกแล้ว GapMaps วางแผนขยายไปสู่ภาคอุตสาหกรรมสำคัญอื่น ๆ ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในออสเตรเลีย เช่น กลุ่มการดูแลผู้สูงอายุ การแพทย์ และสุขภาพ เนื่องจากข้อมูลในประเทศเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้มากขึ้น สำหรับการทำตลาดในประเทศไทยเรามุ่งเน้นที่ภาคธุรกิจค้าปลีกและจัดส่งอาหาร ซึ่ง GapMaps สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้าได้ทันที”

“แม้ว่าการแพร่ระบาดจะส่งผลกระทบต่อหมวดค้าปลีก เช่น อาหารและการดูแลสุขภาพ แต่อย่างไรก็ดีสถานการณ์ดังกล่าวได้ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่แบรนด์ระดับโลกและ แบรนด์ท้องถิ่นได้ใช้เวลาในการเริ่มต้นใหม่ คิดตริตรองและประเมินกลยุทธ์ใหม่ ในการวางแผนเครือข่ายและการตัดสินใจเกี่ยวกับการวางทำเลที่ตั้ง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับช่วงเวลาหลังล็อกดาวน์” GapMaps จัดตั้งทีมที่ปรึกษาเพื่อดูแลลูกค้าในทุกตลาด ทีมงานนี้เป็นทีมเดียวกันกับที่สร้างแพลตฟอร์ม GapMaps และให้บริการคำปรึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและการวิจัยเพื่อช่วยเหลือลูกค้าด้วยข้อมูลเชิงลึก กลยุทธ์ และแผนธุรกิจใหม่ ๆ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ