TH | EN
TH | EN
หน้าแรกSustainabilityฟูจิตสึ ชู 3 แนวทาง ขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ระบบดิจิทัลอย่างยั่งยืน

ฟูจิตสึ ชู 3 แนวทาง ขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ระบบดิจิทัลอย่างยั่งยืน

จากรายงาน “Our Common Future” ของสหประชาชาติตั้งแต่ปี 2530 ให้คำจำกัดความของคำว่า ความยั่งยืน อย่างชัดเจนว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน คือ การพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ทำให้ความสามารถในการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นต่อไปต้องลดลง”

จากรายงาน “Fujitsu Future Insights Global Sustainability Transformation Survey Report 2023” ที่ศึกษาแนวโน้มสำคัญในโลกและความเป็นจริงเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนสู่ความยั่งยืน หรือ Sustainability Transformation (SX) ร่วมกับผู้บริหารระดับสูงและผู้มีอำนาจตัดสินใจรวม 1,800 คน ใน 9 ประเทศทั่วโลก พบว่า ความยั่งยืน หรือ Sustainability เป็นหนึ่งใน 3 ประเด็นหลักของการบริหาร นอกเหนือจากการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ระบบดิจิทัล (Digitalization) และความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Experience)”

ความแตกต่างระหว่าง การปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิทัล (DX) และ การปรับเปลี่ยนไปสู่ความยั่งยืน (SX) คือ การปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิทัล (DX) เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อปรับปรุงการดำเนินงาน ยกระดับประสบการณ์ลูกค้า และขับเคลื่อนนวัตกรรม ด้วยการผสานรวมระบบเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล ระบบออโตเมชัน ปัญญาประดิษฐ์ และคลาวด์คอมพิวติ้ง เข้าไปใช้ในด้านต่าง ๆ ของการดำเนินงานและในโมเดลธุรกิจของบริษัท โดยมีจุดมุ่งหมายหลัก คือ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ผลิตผล (Productivity) ความพึงพอใจของลูกค้า และทำให้เหนือคู่แข่งได้

ส่วนการปรับเปลี่ยนไปสู่ความยั่งยืน (SX) มุ่งเน้นไปที่การนำวิธีการและหลักการที่ยั่งยืน มาผสมผสานร่วมกับด้านต่าง ๆ ในการดำเนินงาน วางกลยุทธ์ และวัฒนธรรมขององค์กร เพื่อตอบรับกับความท้ายทายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล รวมทั้ง เพื่อสร้างมูลค่าระยะยาว ทั้งนี้ วัตถุประสงค์หลัก คือ การลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมจริยธรรมทางธุรกิจและการมีความรับผิดชอบต่อสังคม ควบคู่กับความมั่นคง การอยู่รอดขององค์กร ท่ามกลางสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั่วโลกในปัจจุบันและต่อไปในอนาคตท

การปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่ความยั่งยืน (SX) มีความสำคัญกับธุรกิจหลายประการ โดยเฉพาะประเด็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นับเป็นหนึ่งในความเสี่ยง ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจทั่วโลก ประเทศไทย ก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบและจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยรัฐบาลไทยได้ประกาศนโยบาย แก้ไขด้านสภาพภูมิอากาศ ด้วยการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ภายในปี 2593 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net zero ในปี 2608 

ดังนั้น หลายอุตสาหกรรมจะต้องปรับทิศทางธุรกิจให้สอดรับกับนโยบายดังกล่าวของภาครัฐ ในขณะเดียวกัน ภาวะการแข่งขันทางธุรกิจ นับเป็นความกดดันอีกหนึ่งประการของทุกองค์กรในการรักษาฐานลูกค้า สร้างชื่อเสียงให้กับแบรนด์ ประหยัดต้นทุนมากขึ้น รวมถึงปรับปรุงการบริหารความเสี่ยง

นอกจากนี้ การค้าขายระดับโลกและมาตรฐาน ESG ต่าง ๆ เป็นอีกแรงกดดัน ทำให้แต่ละธุรกิจมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่ความยั่งยืน รวมทั้ง การที่สหภาพยุโรปกำหนดให้แต่ละบริษัทรายงานเรื่องความยั่งยืนภายใต้ตัวชี้วัดด้าน ESG หรือนโยบายภาษีคาร์บอนที่มีผลบังคับใช้สำหรับสินค้านำเข้าที่ผลิตโดยการปล่อยคาร์บอนสูงเข้าไปยังสหภาพยุโรป

ปัจจุบัน ความยั่งยืนมีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ การบริหารในเชิงกลยุทธ์ จากรายงาน Fujitsu Future Insights Global Sustainability Transformation Survey Report 2023 พบว่า 70% ของผู้ตอบคำถาม ให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้นกับ Digitization หรือ การนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน และ 68% ให้ความสำคัญเกี่ยวกับความยั่งยืนเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ยังพบว่าเหตุผลหลัก ที่ทำให้ความยั่งยืนมีความสำคัญเพิ่มขึ้น คือ 50% เพื่อมอบความพึงพอใจต่อลูกค้า 40% เพื่อตอบรับกับกฎระเบียบและแนวทางปฏิบัติของรัฐ 38% เพื่อตอบรับต่อความคาดหวังจากนักลงทุนในการลงทุนด้าน ESG 36% เพื่อเพิ่มค่าของผลิตภัณฑ์ บริการ และแบรนด์ 30% เพื่อความพึงพอใจในค่านิยมของคนรุ่นใหม่ 30% เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับคัดเลือกเป็นพาร์ตเนอร์ในระบบนิเวศ 27% เพื่อการสร้างโอกาสใหม่ๆ เชิงธุรกิจ และ 25% เพื่อการดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถ

สูตรแห่งความสำเร็จเดียวในการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน คือ “การเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากร” + “การเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบดิจิทัล” = การเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน” หรือ “PX + DX = SX” โดยการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน สามารถผลักดันได้ด้วยเทคโนโลยี เมื่อภาคธุรกิจนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาร่วมใช้งาน ในการดำเนินธุรกิจ มีการลงทุน เพื่อ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงด้านบุคลากรและวัฒนธรรมองค์กร ทำให้เกิดสังคมการปฏิรูป โดยแต่ละองค์กร ควรผสานความยั่งยืนเข้ากับธุรกิจ เพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืน เป็นสังคมที่ สิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน และเศรษฐกิจ สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างดี

ความยั่งยืนกำลังเป็นประเด็นที่ท้าทายของทุกองค์กรทั่วโลก การตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม สังคม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สร้างความโปร่งใสในธุรกิจ จึงมีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ดังนั้น ความยั่งยืน จึงเป็นการร่วมมือ ด้านอุตสาหกรรม ที่ทำให้องค์กร สามารถทำงานร่วมกับพันธมิตรที่เชี่ยวชาญ โดยวัตถุประสงค์หลักของฟูจิตสึ คือ การทำให้โลกมีความยั่งยืนมากขึ้น โดยการสร้างความไว้วางใจในสังคมผ่านนวัตกรรม ที่ขับเคลื่อนโดยค่านิยมภายในองค์กร ได้แก่ ปณิธาน ความไว้วางใจ และความเห็นอกเห็นใจ

ฟูจิตสึพัฒนาระบบนิเวศ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืนต่อธุรกิจต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก การพัฒนาสังคมดิจิทัล และปรับปรุงความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน

บทความโดย กนกกมล เลาหบูรณะกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

กูร์เมต์ มาร์เก็ต ชวนส่งคำอวยพรผ่าน AR Gumbo Family พร้อมรับส่วนลดสูงสุด 42% เมื่อซื้อกระเช้าที่เข้าร่วมรายการ

GWM เตรียมเปิดตัวและประกาศราคา ORA 07 ที่งาน Motor Expo 2023

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ