TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistพยุง SMEs ไทย ให้หน่วยงานรัฐช่วยซื้อของไม่น้อยกว่า 30%

พยุง SMEs ไทย ให้หน่วยงานรัฐช่วยซื้อของไม่น้อยกว่า 30%

สถานการณ์ของผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในประเทศไทย ช่วงเวลาที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจอย่างมากโดยเฉพาะช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 จนทำให้ผู้ประกอบการหลายรายปิดธุรกิจ

-“ทุพโภชนา” ร้านอาหารบนแกร็บที่สั่งทางนี้ อิ่มทางโน้น
-ชายสี่ X เป๊ปซี่ เกมการตลาดที่มีแต่ได้กับได้

รู้ไหมประเทศไทยมีผู้ประกอบการ SMEs มากกว่า 3,070,177 ราย แบ่งเป็น วิสาหกิจขนาดย่อม (Small) 3,029,525 ราย และวิสาหกิจขนาดกลาง (Medium) 40,652 ราย มีมูลค่าของธุรกิจสูงถึง 43% ของ มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ( GDP) ประเทศไทย มีการจ้างแรงงานในธุรกิจมากกว่า 15 ล้ายคน กล่าวได้ว่า SMEs เป็นเศรษฐกิจฐานร่กของประเทศ เป็นหัวใจของเศรษฐกิจไทย ดังนั้นเมื่อ SMEs ได้รับผลกระทบ การปลุกธุรกิจ SMEs จึงเป็นนโยบายหลักที่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องพยายามดำเนินการอย่างเร่งด่วน

ล่าสุด คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการร่างกฎกระทรวงการคลังกำหนดพัสดุ และวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563 เพื่อเปิดโอกาสให้ SMEs ไทย สามารถเข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐได้ง่ายขึ้น โดยกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศจะต้องกำหนดโควตาจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการจาก SMEs ไม่น้อยกว่า 30% ของวงเงินในหมวดรายการสินค้าหรือบริการที่กำหนด แปลว่า หน่วยงานของรัฐถ้ามีการจัดซื้อจัดจ้างอะไรก็ตาม ต้องซื้อของ SMEs ไม่น้อยกว่า 30 % โดยให้คัดเลือก SMEs ในจังหวัดก่อน หากไม่มีในจังหวัดหรือมี จำนวนไม่ครบ 3 ราย สามารถคัดเลือกจากภายนอกจังหวัดได้

รวมทั้งยังมีการให้แต้มต่อกับ SMEs ที่เข้าสู่การจัดซื้อจัดจ้าง ด้วยวิธี e-Bidding สามารถเสนอราคาสูงกว่า ราคาต่ำสุดไม่เกินร้อยละ 10

วีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า SMEs ที่จะเข้าร่วมในโครงการนี้ได้ ต้องมาลงทะเบียนกับ สสว. ก่อน โดยเปิดให้ ผู้ประกอบการ 2 กลุ่มคือผู้ประกอบการรายย่อยและวิสาหกิจขนาดเล็กเข้าร่วม โดยสสว. จะเร่งดำเนินการเพื่อให้ทันต่อการจัดซื้อจัดจ้างในปีงบประมาณ 2564 ”

นิยามของ ผู้ประกอบการรายย่อย Micro คือ กลุ่มที่มีรายได้ต่อปีไม่เกิน 1.8 ล้านบาท การจ้างงานไม่เกิน 5 คน ซึ่งมีจำนวนถึง 2,644,561 ราย และนับเป็นวิสาหกิจส่วนใหญ่ของประเทศ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 85.74 ของจำนวนผู้ประกอบการรวมทั้งประเทศ ส่วนใหญ่เป็นกิจการในรูปแบบธุรกิจส่วนบุคคลมีจำนวนถึง 2,253,132 ราย ขณะที่กิจการในรูปแบบนิติบุคคลมีจำนวน 391,429 ราย

ส่วนวิสาหกิจขนาดย่อม (Small) คือ กิจการในภาคการผลิตสินค้าที่มีจำนวนการจ้างงานไม่เกิน 50 คน หรือมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 100 ล้านบาท ส่วนกิจการในภาคการค้า (ค้าส่ง หรือค้าปลีก) และบริการ มีจำนวนการจ้างงานไม่เกิน 30 คน หรือมีรายได้ต่อปี ไม่เกิน 50 ล้านบาท

ตลาดที่มีศักยภาพโดยเฉพาะตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ที่มีมูลค่าสูงกว่า 1.3 ล้านล้านบาทต่อปี ดังนั้นหากทำได้ตามเป้าหมาย อย่างน้อย 30% จะทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยและรายเล็กเข้าถึงงบภาครัฐไม่ต่ำกว่า 4 แสนล้านบาท จะเป็นหนทางช่วยให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ในระยะยาว

สสว. ก็พยายามหาความร่วงมมือกับหน่วยงานอีก 22 หน่วยงาน อาทิ กรมการพัฒนาชุมชน กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานกองทุนงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย สภาเกษตรกรแห่งชาติ สมาคมภาคเอกชนต่าง ๆ ซึ่งมีสมาชิกประมาณ 126,320 ราย มาขึ้นทะเบียนกับ สสว. เพื่อร่วมโครงการ ซึ่งปัจจุบันมี SMEs ลงทะเบียนแล้ว 440 ราย จาก 41 จังหวัด รวมรายการสินค้าประมาณ 1,200 รายการ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ