TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessSTT GDC เผยวิสัยทัศน์การฟื้นฟูเศรษฐกิจปี 65 นำเทคโนโลยีดิจิทัลเสริมแกร่ง 3 อุตสาหกรรม

STT GDC เผยวิสัยทัศน์การฟื้นฟูเศรษฐกิจปี 65 นำเทคโนโลยีดิจิทัลเสริมแกร่ง 3 อุตสาหกรรม

สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เกิดขึ้นมาร่วมสองปีกว่า และยังคงส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อการฟื้นตัวของธุรกิจทุกแขนง ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยเผยภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2565 ฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่มีความไม่แน่นอนจากการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนที่กลายเป็นความเสี่ยงสำคัญในปีนี้ ล่าสุดปรับลดจีดีพีเหลือ 3.4% แม้ปัจจุบันแนวโน้มความเชื่อมั่นด้านการลงทุนและการเติบโตของเศรษฐกิจภาพรวมกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นจากการคลายล็อคมาตรการต่าง ๆ รวมถึงอัตราการฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมมากขึ้น แต่ความกังวลอาจฉุดรั้งให้การฟื้นตัวเป็นไปได้อย่างเชื่องช้า

ประเทศไทยควรจะเดินหน้าไปในทิศทางไหน? คำตอบอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด หากย้อนกลับมาพิจารณา 3 อุตสาหกรรมหลัก ๆ ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ ได้แก่ ภาคการท่องเที่ยว (Tourism) ภาคเกษตรกรรม (Agriculture) และ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing) ที่เป็นจุดแข็งของประเทศไทย ซึ่งเราจะสามารถช่วยฟื้นฟูและสร้างการเติบโตให้รวดเร็วกว่าเดิมในสถานการณ์ที่โควิดไม่มีวันสิ้นสุดได้อย่างไร? 

ศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรานาถ สิงหรา ณ อยุธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย) เปิดเผยวิสัยทัศน์ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจปี 65 โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเสริมความแข็งแกร่งให้กับ 3 อุตสาหกรรมที่เป็นจุดแข็งของประเทศ ดังนี้

  • ธุรกิจท่องเที่ยว (Tourism) ยกตัวอย่าง ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่ประสบความสำเร็จในการจัดงาน “Expo 2020 Dubai” ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2565 ท่ามกลางสถานการณ์โควิด มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศมากถึงเกือบ 8 ล้านคน (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2564) สร้างรายได้เข้าประเทศอย่างมหาศาล หากเทียบระหว่างสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นทะเลทรายและหมู่เกาะทางทะเลที่สวยงาม คนส่วนใหญ่คงเลือกไปเกาะมากกว่า

    ประเทศไทยมีจุดเด่นสำคัญคือทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์และภูมิทัศน์ของแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม อย่างโปรเจกต์ Phuket Sandbox เป็นโครงการนำร่องที่ดีมาก ปัจจุบันได้ขยายไปถึง 4 จังหวัดแล้ว คือ ภูเก็ต, พังงา กระบี่ และสุราษฎร์ธานี แต่เมื่อมองกลับไปที่โจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน การคัดกรองนักท่องเที่ยวที่เป็น High Spender เข้ามาในประเทศโดยกำหนด Minimum Spending เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำคัญที่ควรพิจารณา

เมื่อมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นพฤติกรรมผู้ใช้งานข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตก็เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลตามไปด้วย ทำให้ผู้ให้บริการจำเป็นต้องมีการจัดเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นในปริมาณมาก และเครือข่าย 5G เทคโนโลยี Blockchain หรือ Cryptocurrency สามารถนำมาปรับใช้เพื่อสร้างโมเดลธุรกิจท่องเที่ยวใหม่ ๆ ซึ่งต้องวางกรอบการกำกับดูแลอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์

  • เกษตรกรรม (Agriculture) ภูมิประเทศของไทยเอื้อและทำให้เราเป็นประเทศเกษตรกรรมชั้นยอด เรามีวัตถุดิบชั้นดีมากมายอยู่ในมืออยู่แล้ว อาหารก็มีเอกลักษณ์และมีรสชาติถูกปากคนทั่วโลก แต่ทำไมเกษตรกรยังไม่หลุดพ้นจากความยากจน นอกจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเสริมศักยภาพภาคเกษตรกรรมตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ เราควรเน้นการสร้าง Story และพัฒนา Soft Power ของประเทศในด้านนี้ไปควบคู่ โดยต้องอาศัยความเชื่อมั่นและศรัทธาในชาติของตัวเองค่อนข้างสูง แนวทางการสร้างร้านมิชลินสตาร์ของคนไทยให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มมูลค่าอาหารไทยให้ทัดเทียมเมนูขึ้นชื่อของนานาชาติ ถือเป็นแนวทางที่น่าสนใจและควรนำมาพิจารณา หากเราสามารถเปลี่ยนข้าวกระเพราเป็นจานล่ะสามพันบาท และเจาะกลุ่มลูกค้า High-End ได้ก็จะสามารถช่วยกระตุ้นและฟื้นคืนเศรษฐกิจในระยะยาวได้ 
  • อุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing) ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตสำคัญของภูมิภาค มีบริษัทชั้นนำมากมายเลือกมาลงทุน มีการสร้างโรงงานการผลิตหรือโกดังจัดเก็บสินค้าในรูปแบบ Physical จำนวนมาก ซึ่งเติบโตควบคู่ไปพร้อม ๆ กับตลาด E-Commerce และ Logistic นอกจากสินค้าที่เป็นตัวผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้แล้ว ยังมี Digital Products/Assets หรือ Online Transaction ที่เกิดขึ้นอย่างมหาศาล ดังนั้นภาคการผลิตในยุคปัจจุบันจึงต้องการ Digital/Virtual Warehouse ซึ่งก็คือ ดาต้าเซนเตอร์ เพื่อรองรับการเติบโตตามกระแสเศรษฐกิจดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นทวีคูณ การมีดาต้าเซนเตอร์เพิ่มมากขึ้นในประเทศย่อมส่งผลดีต่อทั้งระบบนิเวศดิจิทัลของไทย คือ ได้รับเม็ดเงินลงทุนเพิ่มขึ้น กระตุ้นการจ้างงานเพิ่ม ที่สำคัญข้อมูลของคนไทยอยู่ในประเทศไทยนั่นเอง

สามอุตสาหกรรมหลักข้างต้นเป็นเสาหลักให้กับการเติบโตของประเทศ ที่หลายภาคส่วนมีการวางแผนและเร่งปรับตัวเพื่อรองรับกระแส Digital Transformation ความผันผวนของเศรษฐกิจทั้งในประเทศและทั่วโลก แรงกระเพื่อมมหาศาลจากโควิด ไปจนถึงการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน หากได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่องทั้งในด้านการลงทุน การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การสร้างความยั่งยืนให้กับระบบนิเวศ จะทำให้เกิดแรงผลักดันที่ส่งผลต่อเนื่องไปยังอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มีบทบาทสนับสนุนการเติบโตและการแข่งขันของประเทศในวงกว้าง 

“เทคโนโลยีดิจิทัล” มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพลิกฟื้นธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น Blockchain, Cloud, Big Data และ Cryptocurrency โดยมี Data Center เป็นศูนย์กลางรองรับข้อมูลมหาศาล STT GDC Thailand ในฐานะผู้ให้บริการไฮเปอร์สเกลดาต้าเซ็นเตอร์ระดับโลก และมีบทบาทสำคัญใน Digital Ecosystem มุ่งมั่นสร้างรากฐานดิจิทัลครอบคลุมใน 3 ด้านหลัก ๆ ประกอบด้วย 1) เร่งพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดาต้าเซ็นเตอร์เพื่อเป็นรากฐานการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ 2) กระตุ้นเม็ดเงินการลงทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชนด้วยการนำเสนอโซลูชั่นและปรับใช้เทคโนโลยีดาต้าเซนเตอร์อย่างเหมาะสม 3) พัฒนาเทคโนโลยีไฮเปอร์สเกลดาต้าเซ็นเตอร์ที่สามารถปรับใช้กับทุก ๆ ธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตให้กับประเทศ และ สอดรับกับเทรนด์การใช้งานดิจิทัลของคนไทยที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

OR จับมือพันธมิตร สนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยางไทยผลิตที่กั้นล้อสำหรับที่จอดรถใน PTT Station

“ฮั่วเซ่งเฮง” จับมือ “ไทยพาณิชย์” ส่งฟีเจอร์ใหม่ “ออม NOW” รับตรุษจีน

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ