TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyจากเทคโนโลยีอวกาศจีน ช่วยชีวิตผู้ป่วย ‘ภาวะหัวใจล้มเหลว’

จากเทคโนโลยีอวกาศจีน ช่วยชีวิตผู้ป่วย ‘ภาวะหัวใจล้มเหลว’

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ชายชาวจีนคนหนึ่งได้รับการปล่อยตัวจากโรงพยาบาลหลังรับการปลูกถ่ายหัวใจเทียมที่ใช้เทคโนโลยีการบินและอวกาศของจีน เพื่อใช้แทนอวัยวะที่ล้มเหลวของเขา

หัวใจเทียมที่ชายคนนี้ได้รับการปลูกถ่ายมีชื่อว่าฮาร์ตคอน (HeartCon) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทำหน้าที่ปั๊มเลือดส่งไปทั่วร่างกาย และช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ของภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างมีนัยสำคัญ

ผู้ป่วยแซ่หลี่วัย 30 ปีรายนี้กล่าวว่า “ผมรู้สึกดีขึ้นมาก ก่อนหน้านี้ผมยืนไม่ได้เลย แต่ตอนนี้ผมใช้ชีวิตได้ปกติโดยมีอุปกรณ์ขนาดเล็กชิ้นนี้ในร่างกาย”

-mu Space ร่วมมือ Airbus พัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศไทย
-ออสเตรเลีย ตั้งเป้าหมาย ‘ศูนย์กลางการผลิตอุปกรณ์ในอวกาศ’ ภายใน 2030

เมื่อวันจันทร์ (22 ก.พ.) ที่ผ่านมา หลี่ได้รับการปล่อยตัวจากโรงพยาบาลเวสต์ไชน่า (West China Hospital) แห่งมหาวิทยาลัยซื่อชวน หลังทำการรักษาเป็นเวลาหลายเดือนและมีอาการดีขึ้น

หลี่ทุกข์ทรมานจากอาการแน่นหน้าอกและหายใจลำบากมาตั้งแต่ปี 2019 เขาเคยเฝ้ารอการปลูกถ่ายหัวใจด้วยความกังวล แต่ก็ไม่มีผู้บริจาคหัวใจให้เขา อีกทั้งภาวะน้ำหนักเกินยังส่งผลให้เขาตกอยู่ในภาวะวิกฤติ

ทว่าในวันที่ 13 ม.ค. คณะแพทย์กลุ่มหนึ่งก็ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ โดยทำการปลูกถ่ายหัวใจเทียมให้หลี่ ณ โรงพยาบาลเวสต์ไชน่า

อันฉี ผู้นำคณะแพทย์และหัวหน้าศัลยแพทย์หัวใจของโรงพยาบาลฯ กล่าวว่า “ปัญหาขาดแคลนหัวใจจากผู้บริจาคทำให้หนทางรักษาด้วยการปลูกถ่ายอวัยวะมนุษย์ถูกตัดออกไป หัวใจเทียมจึงเป็นวิธีที่สร้างความหวังอย่างยิ่งสำหรับการยืดชีวิตผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวระยะสุดท้าย”

อัน ระบุว่า ฮาร์ตคอนมีน้ำหนักเพียง 180 กรัม การปลูกถ่ายหัวใจเทียมชนิดนี้ต้องใช้ลวดเส้นเล็กสอดผ่านท้องของผู้ป่วย เพื่อเชื่อมต่อกับตัวควบคุมและแบตเตอรี่นอกร่างกาย 2 ก้อน เข้าด้วยกัน โดยแบตเตอรีแต่ละก้อนสามารถทำงานได้นาน 10 ชั่วโมง

ทั้งนี้ ผู้ป่วยยังได้รับชุดอุปกรณ์สำหรับป้องกันอุปกรณ์ไม่ให้เปียกขณะอาบน้ำ

หัวใจเทียมในตัวหลี่ เป็นหัวใจเทียมฮาร์ตคอนรุ่นที่ 3 ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทเทคโนโลยีแห่งหนึ่งในครือสถาบันเทคโนโลยีจรวดขนส่งแห่งประเทศจีน (CALVT) ผู้ผลิตจรวดชั้นนำของประเทศ

สวีเจี้ยน หัวหน้าวิศวกรของโครงการฮาร์ตคอน กล่าวว่า หัวใจเทียมฮาร์ตคอนทำงานคล้ายกับกลไกเซอร์โวแมคคานิสซึม (servomechanism) ของจรวด ซึ่งเป็นกลไกที่ขับเคลื่อนด้วยปั๊มไฮดรอลิก โดยกลไกดังกล่าวใช้ผลป้อนกลับในการควบคุมการทำงาน

“กลไกเซอร์โวแมคคานิสซึมในจรวดมีข้อกำหนดด้านความเร็วและพลังงานที่สูงกว่า ขณะที่ฮาร์ตคอนมุ่งเน้นด้านความปลอดภัยและความสะดวกสบายมากกว่า เนื่องจากมันมีขนาดเล็กและต้องถูกปลูกถ่ายในร่ายกายมนุษย์” สวี กล่าว

คณะนักวิทยาศาสตร์ใช้การยกของเหลวให้ลอยตัวด้วยแม่เหล็ก ซึ่งถูกใช้ในเทคโนโลยีเซอร์โวแมคคานิสซึมของจรวด เพื่อทำให้หัวใจเทียมรุ่นนี้กลายเป็นเครื่องปั๊มตามธรรมชาติที่ช่วยหนุนการทำงานของหัวใจมนุษย์ และก่อให้เกิดความเสียหายต่อเลือดของผู้ป่วยน้อยกว่ารุ่นก่อน ๆ

ในปี 2020 หัวใจเทียมฮาร์ตคอนที่ผลิตในประเทศจีนได้รับอนุญาตให้ทำการทดลองทางคลินิกโดยสำนักบริหารเวชภัณฑ์แห่งชาติจีน (NMPA)

ทั้งนี้ จีนมีประชาชนอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปอย่างน้อย 16 ล้านรายที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว โดยสำหรับผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวระยะสุดท้ายนั้น การใช้ยารักษาไม่ช่วยให้เกิดผลใด ๆ และผู้ป่วยหลายคนเสียชีวิตระหว่างรอทำการปลูกถ่ายหัวใจ

คณะแพทย์เชื่อว่าหัวใจเทียมจะกลายเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว นอกเหนือจากการปลูกถ่ายหัวใจ

ที่มา xinhuathai.com

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ