TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessธุรกิจต้อง Agile to Survive ปรับองค์กรสู้โควิด-19

ธุรกิจต้อง Agile to Survive ปรับองค์กรสู้โควิด-19

วิกฤติโควิด-19 เป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจหลัง Airbnb ต้องเลิกจ้างพนักงาน 25 เปอร์เซ็นต์ หรือเกือบ 2,000 คน ขณะที่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) พลิกวิกฤติเป็นโอกาสโดย เขียนจดหมายถึงพนักงานทุกคน มีการสื่อสารชัดเจนทั้งคนที่ได้อยู่แต่และถูกเลิกจ้าง

-ทีดีอาร์ไอ ชี้ยุทธศาสตร์ประเทศไทยหลังโควิด-19 ต้องชัด
-New Normal หลังโควิด-19 … โลกที่ Cyber Security และ Privacy ไปคู่กัน
-นักการตลาดต้องบริหารความคาดหวังผู้บริโภค ที่เปลี่ยนไปหลังโควิด-19

ดร.คิด – นายแพทย์ ศุภชัย ปาจริยานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง RISE กล่าวกับ The Story Thailand ว่า วิกฤติโควิด-19 ทำให้เห็นว่าภาวะผู้นำสำคัญมาก สิ่งที่ CEO Airbnb ทำ จะเป็นมาตรฐานว่าบริษัทขนาดใหญ่ที่เลิกจ้างพนักงาน จะต้องทำฐานข้อมูลของคนที่โดนเลิกจ้างออกมา เพื่อที่จะให้บริษัทอื่นดูว่ามีใครบ้าง และให้โอกาสคนเหล่านี้ได้มีงานใหม่เร็วที่สุด องค์กรที่อยู่รอดก็สามารถเข้าถึงพนักงานที่มีความสามารถจากบริษัทเหล่านี้

อีกส่วนหนึ่ง คือ วิกฤติรอบนี้ทำให้องค์กรขนาดใหญ่ต้องหันกลับมาดู วิธีการที่จะนำไปปรับใช้ หรือ การขายสินค้า จะต้องทำอย่างไร เพื่อให้โตต่อได้ในภาวะวิกฤติ

ดร.คิด เสนอ 4 วิธีปรับตัวช่วงวิกฤติ

1.ปรับรูปแบบบริการเพื่อถึงลูกค้าหรือผู้บริโภค เช่น จากที่ลูกค้ามาทานที่ร้านไม่ได้ก็เปลี่ยนเป็นการส่งแทน ผู้ประกอบการจะต้องมองหาช่องทางการส่งที่ลดต้นทุนได้
2.กระบวนการ เป็นเวลาที่ดีที่จะมาดูว่าขั้นตอนที่\เคยใช้อยู่มันดีแล้วหรือไม่ เช่น จะปรับแต่งสินค้าอย่างไรให้เพิ่มกำไรได้มากที่สุด โดยนำข้อมูลเข้ามาใช้
3.ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ลดต้นทุนวัตถุดิบที่นำเข้ามา
4.ทำให้พนักงานมีความสุข

ผู้ประกอบการควรใช้ช่วงเวลาที่เป็นวิกฤติ เข้ามาดูว่าจะมีเครื่องมืออะไรที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ รักษาลูกค้า และสามารถเติบโตในช่วงภาวะแบบนี้ได้

“สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ องค์กรจะต้อง Agile to Survive ต้องเคลื่อนที่เร็วมาก จะเห็นว่ามีคนที่ปรับตัวในช่วงวิกฤติและสามารถเกิดขึ้นมาได้”

RISE ปรับองค์กรช่วงโควิด-19

ดร.คิด กล่าวว่า RISE ปรับตัวค่อนข้างมาก มีการออกบริการใหม่ทุก 2 สัปดาห์ มีการออกเครื่องมือ Innovation Continuity Plan หรือ (ICP) ออกแบบเป็น Canvas ให้องค์กรนำไปใช้ได้ ซึ่งผลตอบรับค่อนข้างดี มีองค์กรใหญ่อย่าง กรมสรรพากรไทย บริษัทเทเลคอมในคาซัคสถาน โรงงานไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศออสเตรีย นำไปใช้เช่นกัน

นวัตกรรมที่คิดออกมาทำให้คนสามารถปรับตัวได้รวดเร็ว องค์กรที่จะนำไปใช้ สิ่งสำคัญคือต้อง Agile คือ สามารถทดลองใช้ได้อย่างรวดเร็ว และเรียนรู้เร็ว

ส่วนแรกที่ RISE ปรับตัว คือ โครงการ Accelerator ค้นหาสตาร์ตอัพเข้ามาช่วยเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย สร้างธุรกิจใหม่ให้กับองค์กร ปีที่ผ่านมาเดินทางไป 20 ประเทศเพื่อไปหาสตาร์ตอัพเข้ามาช่วยธุรกิจ แต่ในปีนี้เดินทางไม่ได้เพราะสนามบินยังไม่เปิด จึงเปลี่ยนโปรแกรมทั้งหมดเป็นออนไลน์ และเข้าไปหาสตาร์ตอัพ ดึงเข้ามาพูดคุยผ่านการประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอ (Video Conference)

ส่วนที่ 2 คือ RISE University หรือมหาวิทยาลัยนวัตกรรมองค์กร เมื่อจบออกไปแล้วจะต้องสร้างธุรกิจใหม่ให้องค์กรได้ ซึ่งปกติเป็นการสอนแบบออฟไลน์ แต่เมื่อเกิดวิกฤติก็เปลี่ยนโปรแกรมทั้งหมดเป็นออนไลน์

สิ่งที่น่าสนใจ คือ การทำออนไลน์ถ้าจะทำให้ดีต้องเตรียมตัวมากกว่าการทำออฟไลน์ เพราะการเรียนออนไลน์จะต้องชัดเจน ต้องทำให้คนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้

“RISE จัด Virtual Hackathon ที่ปกติจัดออฟไลน์มีคนมาหลายร้อยคน แต่กับออนไลน์เราจะใช้โจทย์เดียวไม่ได้ จึงชวนองค์กรมาอีก 20 องค์กร และเปิดให้แต่ละองค์กรโยนโจทย์เข้ามา และคนที่เข้ามาสามารถแฮกโจทย์ของใครก็ได้ โดยที่มีเป้าหมายคือนำผลลัพธ์ไปใช้กับอุตสาหกรรมอื่นด้วย เพื่อให้ทุกคนรอดไปพร้อมกัน”

ส่วนที่ 3 คือ ทุกปีจะมีการจัดงาน Corporate Innovation Summit เป็นงานที่ทุกคนจะได้มาลงมือทำ จัดเป็นเวิร์คช็อป เพราะการที่ฟังเฉย ๆ มันไม่สามารถเปลี่ยนได้

แต่จากวิกฤติต้องเปลี่ยนมาจัดเป็นออนไลน์ ปรับรูปแบบเพื่อไม่ให้คนที่มาอยู่ไหนออนไลน์ฟังอย่างเดียวแต่ต้องมีเวิร์คช็อปผ่านออนไลน์ด้วย ซึ่งจะจัดในวันที่ 28-29 พฤษภาคมนี้ พร้อมกันทั่วโลก

“ล่าสุดมีผู้สนใจเข้าร่วมอยู่ประมาณ 20 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเราคาดหวังว่าจะมีคนเข้ามาร่วมงานประมาณ 1,000 คน”

ส่วน Corporate Innovation Summit ที่จะจัดในเดือนกันยายน ยังวางแผนเป็นงานออฟไลน์เหมือนเดิม แต่ก็ต้องดูสถานการณ์หลังจากนี้ก่อน ว่าจะสามารถจัดได้หรือไม่

New Normal ของงานประชุม-สัมมนา

ดร.คิด แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

-ระยะสั้น คือ ในปีนี้ มีโอกาสสูงที่งานประชุม-สัมมนา จะเป็นลักษณะผสม คือมีทั้งออฟไลน์และออนไลน์ หรือบางงานอาจจะต้องจัดเป็นออนไลน์ 100%
-ระยะกลาง คือ ในปีหน้า (2564) ยังไม่เห็นภาพชัดในตอนนี้ น่าจะเป็นช่วงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ว่าสุดท้ายแล้วอะไรคือสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ
-ระยะยาว อีกประมาณ 2 ปี ธุรกิจอีเว้นท์น่าจะกลับมา เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ต้องการมีปฏิสัมพันธ์

บริษัทต้องเตรียมตัวให้พร้อมที่สุดเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า

สตาร์ตอัพต้องปรับตัวให้เร็ว

ดร.คิด กล่าวว่า สตาร์ตอัพจะต้องดูว่าถ้ารันเวย์เขาไม่ยาวมากจะทำอย่างไร จากที่สำรวจในตลาดมีสตาร์ตอัพ ประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ ที่มีรันเวย์ไม่ถึง 1 ปี หมายความว่าถ้ายังไม่สามารถปรับรูปแบบธุรกิจเพื่อไปหารายได้ใหม่ ๆ จะต้องปิดตัวลง

ทั้งองค์กรและสตาร์ตอัพจะต้อง

-Learn fast เพราะปัญหาที่เจอทุกวันนี้ประเทศอื่นก็เจอเช่นกัน เพราะฉะนั้นวิธีแก้ปัญหาในบางประเทศสามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างรวดเร็ว
-Move fast ต้องลงมือทำ อย่ามัวแต่ประชุมกันและไม่ได้ทำอะไร
-Fail fast เพื่อที่จะได้ข้อมูลไว แนะนำไปปรับธุรกิจใหม่ได้

“วิกฤตินี้น่าจะเป็นจุดที่ดีที่องค์กรกับสตาร์ตอัพได้ร่วมมือกัน เพราะองค์กรใหญ่จะต้องคิดมากกว่าเดิมเรื่องการลงทุน และให้สตาร์ตอัพเข้ามาช่วยเสริมธุรกิจ เราเชื่อว่าทั้งองค์กรและสตาร์ตอัพจะได้เห็นข้อดีซึ่งกันและกันมากขึ้น”

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ