TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessเปิดมุมมอง “นก มณีรัตน์” CEO แห่ง Sea (ประเทศไทย) กับการปรับเพื่ออยู่รอดในยุคดิจิทัล ที่เริ่มต้นจากคำว่า “ทำไม?”

เปิดมุมมอง “นก มณีรัตน์” CEO แห่ง Sea (ประเทศไทย) กับการปรับเพื่ออยู่รอดในยุคดิจิทัล ที่เริ่มต้นจากคำว่า “ทำไม?”

จากประสบการณ์กว่า 7 ปี ในการบริหาร Sea (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำ อาทิ การีนา (Garena) ช้อปปี้ (Shopee) และซีมันนี่ (SeaMoney) “คุณนก” – “มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ” ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย) เป็นอีกบุคคลที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างใกล้ชิด และด้วยความที่ธุรกิจของ Sea (ประเทศไทย) เป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคและศักยภาพของ SMEs ด้วยเทคโนโลยี มุ่งเติมเต็มไลฟ์สไตล์ผู้คนยุคดิจิทัลที่มีความพลวัตสูง ดังนั้น Sea (ประเทศไทย) จึงต้องดำเนินงานบนคลื่นความเปลี่ยนแปลงของยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพและปรับตัวเพื่อคว้าโอกาสอย่างรวดเร็วที่สุด

ผู้อยู่รอด คือ ผู้ที่ปรับตัวอย่างได้รวดเร็วและมีกลยุทธ์ 

หากมองย้อนกลับไปในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของทุกคนในสังคม ตลอดจนการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น Sea Group ซึ่งปัจจุบันเป็นธุรกิจแพลตฟอร์มที่มีมูลค่าสูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงให้ความสำคัญกับ ‘การปรับตัว’ ขององค์กรเป็นอย่างมาก ในประเทศไทยก็ไม่เป็นข้อยกเว้น

“ธุรกิจของเราเริ่มต้นจาก Garena ที่เริ่มต้นนำเกมออนไลน์จากต่างประเทศเข้ามาเปิดให้บริการในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2555 เนื่องจากเราเล็งเห็นว่าในประเทศไทยยังไม่มีผู้ให้บริการเกมออนไลน์ที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ในขณะนั้น เกมส่วนมากไม่ได้ถูก localize ให้เหมาะกับคนไทย ไม่มี server หรือแพลตฟอร์มที่อำนวยความสะดวกให้ผู้คนได้มาเล่นเกมด้วยกัน ซึ่งเวลานั้นเป็นยุคของ PC Games ต่อมาเมื่อสมาร์ทโฟนเข้ามามีบทบาทในชีวิตผู้คนมากขึ้น เราได้เล็งเห็นว่าตลาด mobile games น่าสนใจมาก จึงได้นำ mobile games เข้ามาเปิดให้บริการในประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่น Arena of Valor (AoV) ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการปรับตัวและคว้าโอกาสจากโลกแห่ง digitalization” มณีรัตน์ กล่าว

เมื่อธุรกิจในไทยเริ่มเติบโต ในปี 2557 จึงเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ชื่อ AirPay (ในปัจจุบันใช้ชื่อว่า ShopeePay) ซึ่งเป็น e-Payment Platform และในปี 2558 บริษัทขานรับความต้องการของผู้บริโภคในยุคดิจิทัลอีกครั้ง โดยการนำ Shopee ซึ่งเป็นอีคอมเมิร์ซเข้ามาเปิดให้บริการในไทย 

“การเข้าไปเล่นในธุรกิจใหม่ ๆ ของ Sea ไม่ได้เกิดมาจากการตั้งคำถามว่า ต่อไปฉันจะทำอะไรดี? แต่เกิดมาจากการที่เราต้องการเติมเต็ม unmet needs ให้กับผู้ใช้งานของเรา”

Sea ใช้การวิเคราะห์ data ในมือเพื่อค้นหาปัญหาที่ต้องการการแก้ไข นำไปสู่การตั้งคำถามว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? เมื่อรู้รากของปัญหาที่แท้จริงแล้ว ถึงจะรู้ว่าก้าวต่อไปของธุรกิจคืออะไร เช่น หากพบว่าเกมเมอร์ไม่พึงพอใจกับการเล่นเกมมากเท่าที่ควร หากไม่ลงลึกถึงสาเหตุ ก็อาจจะวิ่งไปปรับปรุงเกมเดิมหรือไปหาเกมใหม่เข้ามาให้บริการทดแทน แต่จริง ๆ แล้วปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวเกม แต่อยู่ที่ประสบการณ์ 

ในตอนนั้น บริษัทพบ insight ว่า เกมเมอร์ชอบเล่นเกมตอนค่ำเพราะเป็นเวลาพักผ่อนหลังการเรียนการทำงาน แต่การที่จะเดินทางออกไปเติมเงินเกมตอนกลางคืนนั้นไม่สะดวก ไม่ปลอดภัย ทำให้การเล่นเกมขาดความต่อเนื่องอีกด้วย ดังนั้น จึงสร้าง AirPay ขึ้นมา เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เล่นเติมเงินเกมได้ผ่านช่องทางออนไลน์ เป็นการแก้ปัญหาอย่างตรงจุด

นอกจากนั้น บริษัทก็เสริมบริการอื่น ๆ ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้ใช้งานเข้าไป เช่น เกมเมอร์ชอบทานอะไร ก็ให้สั่งซื้อผ่าน AirPay ได้ หากผู้ใช้งานเป็นวัยรุ่นชอบดูหนังในโรง ก็สามารถจองและจ่ายค่าตั๋วผ่าน AirPay ได้แบบ one-stop-service โดยที่ไม่ต้องไปขึ้นตั๋วที่โรงเลย กล่าวได้ว่าบริการที่มีบนแพลตฟอร์ม ผ่านการไตร่ตรองมาแล้วว่าจะตอบความต้องการผู้ใช้งานได้

เช่นเดียวกันกับ Shopee ที่ มณีรัตน์ มองว่า จะมีบทบาทสำคัญกับชีวิตผู้คนยุคดิจิทัลมาก ๆ ในอนาคต แต่ตอนที่จะเข้ามาในตลาดไทยก็มีผู้เล่นใหญ่ ๆ ครองตลาดอยู่แล้ว จึงต้องทำการบ้านหนักมากในการหา unmet needs ที่ยังไม่มีได้รับการเติมเต็ม

“ในตอนที่เราเริ่มคิดเกี่ยวกับการให้บริการอีคอมเมิร์ซ เป็นช่วงที่โทรศัพท์สมาร์ทโฟนเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน และเราเห็นแนวโน้มว่าคนจะใช้เวลาอยู่บนสมาร์ทโฟนมากยิ่งขึ้นไปอีก นอกจากนี้ เรายังมี insight ของพฤติกรรมผู้บริโภคในไทยและรวมถึงประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย ว่าผู้คนชอบแชทกับผู้ขายก่อนตัดสินใจซื้อ แต่ในตอนนั้นแพลตฟอร์มส่วนใหญ่ถูกพัฒนามาเพื่อใช้งานบนเว็บไซต์เป็นหลัก และยังขาดความเป็นโซเชียลที่ผู้บริโภคมีความชื่นชอบ ในเวลานั้น Shopee จึงเข้ามาทำตลาดในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้สำเร็จ ในฐานะ mobile-first e-commerce ที่มีฟีเจอร์ตอบโจทย์ผู้ใช้งานที่ชื่นชอบและคุ้นเคยกับ social commerce” มณีรัตน์ กล่าวเสริม

ผู้อยู่ยืน คือ ผู้ที่ไม่หยุดพัฒนา

ไม่ว่าจะเป็นกระแส digital disruption การผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลจากภาครัฐ หรือแม้แต่โรคระบาด ล้วนเร่งให้ความเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาดไว้ ในปัจจุบัน มีการปรับใช้เทคโนโลยีเข้าสู่การทำงานในอุตสาหกรรมที่หลากหลายและการดำเนินชีวิตอย่างกลมกลืน

ข้อมูลจาก The Future of Jobs Report 2020 โดยสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) พบว่าบริษัทต่าง ๆ ในประเทศไทย ล้วนปรับใช้เทคโนโลยี เช่น cloud computing (98%) encryption และ cyber security (90%) อีคอมเมิร์ซและการค้าดิจิทัล (87%) การวิเคราะห์ dig data (85%) และ artificial intelligence (80%)

อย่างไรก็ตาม ยังมีแรงงานไทยที่มีองค์ความรู้ด้านทักษะดิจิทัลมีเพียง 54.9% แสดงให้เห็นว่า ยังมีแรงงานไทยอีกมากที่ควรได้รับการพัฒนาทักษะดิจิทัล เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป และเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก ซึ่งการพัฒนาคนนั้นไม่สามารถรอให้เป็นหน้าที่ของภาครัฐหรือภาคการศึกษาอย่างเดียวได้ ภาคเอกชนเองก็มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคน ทั้งพนักงานในองค์กรและผู้คนทั่วไปในสังคม 

พนักงาน คือ หัวใจ

หากองค์กรต้องการวิ่งให้ทันความรวดเร็วของโลกแห่ง digitalization ก็ต้องพัฒนาหรือเฟ้นหาทีมที่พร้อมด้วยศักยภาพ เพราะคนเปรียบเสมือนฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนบริษัท เทคโนโลยีจะไม่มีความหมายหากพนักงานไม่รู้จักวิธีใช้ ดังนั้น digital transformation ต้องเริ่มที่คน 

มณีรัตน์ ได้อธิบายถึงการทรานส์ฟอร์มองค์กรว่า มี 4 ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรเกิดการ transform ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ 

1.) Leadership – การเปลี่ยนแปลงจะต้องเริ่มจากผู้นำในองค์กรมีวิสัยทัศน์และมีความเข้าใจถึงสิ่งที่กำลังจะทำว่าทำไปเพื่ออะไร ใครที่จะได้รับผลกระทบบ้าง ใครที่จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในช่วงเวลาใด กำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ และสื่อสารลงไปยังทีมงานข้างล่างให้เข้าใจและเห็นภาพเดียวกันได้ จึงจะเป็นจุดเริ่มต้นที่กระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนสู่ความเปลี่ยนแปลง

2.) Culture and purpose – การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมให้พนักงานคุ้นเคยกับการปรับตัวและการสร้างสรรค์สิ่งใหม่อยู่เสมอ จะทำให้เกิดการระดมความคิดและลงมือเปลี่ยนแปลงได้อย่างร่วมมือร่วมใจและรวดเร็ว แต่ต้องทำให้แน่ใจว่าทุกคนจะได้รับการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาและเปิดเผย ให้พนักงานเข้าใจได้ว่าผลกระทบจากการไม่ยอมเปลี่ยนแปลงคืออะไร และผลดีของการเปลี่ยนแปลงคืออะไร และทำไมพวกเขาถึงเป็นฟันเฟืองสำคัญในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เป็นการจูงใจที่มีความสำคัญต่อการรทรานส์ฟอร์มองค์กร

3.) Customers – ลูกค้าเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญในการทำให้เกิด disruption และการเปลี่ยนแปลง การพิจารณาและสังเกตความเปลี่ยนแปลงของความต้องการต่างๆ ของลูกค้า เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะช่วยกำหนดแนวทางและรูปแบบการดำเนินธุรกิจขององค์กรได้อย่างถูกทิศทาง

4.) Trends – องค์กรที่จะทำการทรานส์ฟอร์มได้สำเร็จ จะต้องเข้าใจแนวโน้มพฤติกรรม และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ เพื่อกำหนดได้ว่าการดำเนินธุรกิจแต่ละด้าน แต่ละหน่วยในองค์กร ควรมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มศักยภาพอย่างไรบ้าง 

ถึงทุกวันนี้ Sea จะเติบโตจนไม่ใช่ startup อีกต่อไป แต่ยังใช้ startup culture ที่ให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่น (flexibility) การปรับตัว (adaptability) และการทำงานเป็นทีม เพื่อความคล่องตัวขององค์กร

หนึ่งในตัวอย่าง คือ การส่งเสริมให้พนักงานมี ownership โดยเริ่มจากการมอบหมายงานให้และทำความเข้าใจเป้าหมายร่วมกันให้ชัดเจน ต่อจากนั้นจะเปิดโอกาสให้มีอิสระทางความคิดอย่างเต็มที่ แต่ยังคอยติดตามอยู่เป็นระยะเพื่อสนับสนุนหากจำเป็น การทำงานลักษณะนี้จะช่วยให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น และยังช่วยดึงศักยภาพของพนักงานออกมาอีกด้วย

การ reskill และ upskill พนักงานภายในองค์กรอย่างต่อเนื่องก็มีความจำเป็นเช่นกัน Sea ส่งเสริม life-long learning เพราะการพัฒนาพนักงานให้มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีหรือ data อย่างมีประสิทธิภาพ หรือทักษะแห่งอนาคตต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ การทำงานแบบ agile หรือ cross-function ทั้งหมดนี้ สามารถช่วยเพิ่มศักยภาพพนักงานไปพร้อม ๆ กับประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจได้ ในขณะเดียวกัน การมองหา talent ใหม่ ก็มีความจำเป็น เนื่องจากการพัฒนาคนจำเป็นต้องใช้เวลา และทักษะบางอย่างเป็น hard skill เฉพาะทาง จึงจำเป็นต้องหาคนที่มีความชำนาญเฉพาะด้านเข้ามาเสริมทีมเช่นกัน

เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ยิ่งใหญ่

ในขณะที่มีการปรับตัวในระดับองค์กร Sea (ประเทศไทย) ก็ยังเดินหน้าสานต่อพันธกิจในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ digital nation อย่างต่อเนื่อง ด้วยการช่วยให้ผู้คนในสังคมสามารถปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงได้ดียิ่งขึ้น

การเข้าไปดำเนินธุรกิจในแต่ละตลาดของ Sea จะต้องช่วยให้คนในประเทศนั้น ๆ มีชีวิตที่ดีขึ้นได้ ไม่มากก็น้อย

คนในสังคมมีต้นทุนไม่เท่ากัน มีความพร้อมในการปรับตัวไม่เท่ากัน จะทำอย่างไรให้การเดินทางไปสู่ digital nation ของประเทศไทย เกิดผลดีมากที่สุดต่อเศรษฐกิจและสังคมในองค์รวม พาผู้คนเดินไปข้างหน้าพร้อมกันให้ได้ครอบคลุมที่สุด และทิ้งบาดแผลไว้ให้น้อยที่สุด

“เราพยายามให้ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทรัพยากรที่เรามี เข้าไปช่วยกลุ่มที่ต้องการการซัพพอร์ตเป็นพิเศษให้สามารถใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลได้อย่างมีคุณภาพ มีความปลอดภัย มีความเข้าใจ และมีความสุขมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเยาวชนจากครอบครัวที่มีรายได้น้อยของประเทศไทย กลุ่ม SMEs ที่เจอพิษเศรษฐกิจค่อนข้างหนัก กลุ่มผู้สูงวัยที่เป็นกลุ่มคนที่ควรให้ความสำคัญเนื่องจากเรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและผู้สูงอายุยังเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงจาก การที่พวกเขาคุ้นเคยและเข้าในธรรมชาติของเทคโนโลยีดิจิทัลน้อยกว่าวัยอื่น ๆ ตลอดจนกลุ่มผู้ที่เผชิญความเหลื่อมล้ำอีกมากมายในปัจจุบัน” มณีรัตน์ กล่าว

ล่าสุด บริษัทได้จัดทำโครงการ ‘ปลูกทักษะชีวิตคิดทันโลกดิจิทัล’ โดยจับมือกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เป็นพันธมิตรรายแรก เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ด้านการทำธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีและอีคอมเมิร์ซในกลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษาทั่วประเทศ ปลูกทักษะและวิธีคิดแบบผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Skills) และทักษะที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการยุคดิจิทัล (Employability Skills) เตรียมความพร้อมสู่การเป็นแรงงานแห่งอนาคต

นอกจากนี้ ยังมีโครงการ ‘Garena Academy’ ที่ทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2563 มุ่งให้ความรู้นักเรียนและครูอาจารย์เกี่ยวกับอาชีพและโอกาสในการศึกษาต่อด้านที่เกี่ยวข้องกับเกมและอีสปอร์ต ใช้เกมและอีสปอร์ตที่คนรุ่นใหม่ชื่นชอบ เป็นสื่อกลางนำพวกเขาไปสู่การพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อเส้นทางอาชีพในยุคดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายการผลิต digital content ที่กำลังขาดแคลนกำลังคน

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ