TH | EN
TH | EN
หน้าแรกInterviewเปิดมุมมอง "ไอลีน ชูว" แห่งมาสเตอร์การ์ด กับ สังคมไร้เงินสดในไทย

เปิดมุมมอง “ไอลีน ชูว” แห่งมาสเตอร์การ์ด กับ สังคมไร้เงินสดในไทย

นวัตกรรมการชำระเงินของไทย เป็นอีกหนึ่งเหตุผลของ “ไอลีน ชูว” เลือกที่จะมาเป็น ผู้จัดการประจำประเทศไทยและเมียนมาร์ มาสเตอร์การ์ด

ไอลีน ชูว เป็นผู้ที่หลงใหลในเทคโนโลยี เธอมีประสบกาณ์มากกว่าสองทศวรรษในด้านผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เทคโนโลยีการชำระเงิน และกลยุทธ์โกทูมาร์เก็ต (go-to-market) เธอเป็นผู้บุกเบิกการขยายช่องทางการชำระเงินแบบไร้เงินสดและมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของประเทศสู่การชำระเงินแบบดิจิทัลเพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์ของรัฐบาลในการสร้างสังคมที่รวมทุกคนไว้ด้วยกัน 

“การได้มาทำงานที่ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนเกี่ยวกับอาชีพของดิฉันหรือไม่? คำตอบ คือ ใช่แน่นอน! มีเหตุผลมากมายที่ผู้คนอยากจะมาทำงานที่นี่ อาหารที่ยอดเยี่ยม อากาศดี ๆ และการต้อนรับที่อบอุ่นจากคนไทย ก็เป็นหนึ่งในเหตุผลหลัก ๆ และถึงแม้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นผลพลอยได้ตั้งแต่ตอนที่ดิฉันย้ายมาทำงานในประเทศไทยเมื่อปี 2562 ยังมีอีกเหตุผลนึงที่ทำให้ดิฉันอยากมาอยู่ที่นี่ นั่นก็คือ นวัตกรรมการชำระเงิน คุณอาจจะคิดว่าเป็นเพราะดิฉันทำงานกับมาสเตอร์การ์ดจึงพูดแบบนั้น แต่กรุณาฟังให้จบก่อน” ไอลีน ชูว ผู้จัดการประจำประเทศไทยและเมียนมาร์ มาสเตอร์การ์ด กล่าวกับ The Story Thailand

เธอประทับใจในอุปนิสัยของคนไทยที่ชอบการเป็นเจ้าของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น รถเข็นขายของข้างทางซึ่งก็คือ ร้านค้าเคลื่อนที่ขนาดย่อม ไปจนถึงสตาร์ตอัพที่กำลังบูม และธุรกิจที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเทคโนโลยี กิจการเหล่านี้ยังอยู่ได้ส่วนหนึ่งเพราะผู้บริโภคชาวไทยเปิดรับและสนใจในประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่หลากหลาย ประเด็นสำคัญ คือ แนวคิดของธุรกิจเหล่านี้ไม่เพียงแต่พิเศษและน่าสนใจ แต่ผู้บริโภคชาวไทยยังเปิดรับและต้องการมีประสบการณ์กับไอเดียใหม่ ๆ เหล่านั้นด้วย 

ชูว เริ่มทำงานกับมาสเตอร์การ์ดในปี 2559 โดยรับผิดชอบผลักดันระบบการชำระเงินรูปแบบคิวอาร์โค้ดในเอเชียแปซิฟิก เทคโนโลยีนี้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นตัวเลือกให้กับผู้บริโภคในการชำระเงินแบบไร้การสัมผัส อีกทั้งยังเหมาะกับผู้ที่ไม่มีบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตแต่ยังสามารถชำระเงินให้กับผู้ค้าขายได้ง่าย ๆ ในระบบดิจิทัล

อ้างอิงจาก ดัชนีผลสำรวจวิธีการชำระเงินวิถีใหม่ของมาสเตอร์การ์ดของปีนี้ หรือ Mastercard New Payments Index ชูวบอกว่า เธอตื่นเต้นที่ได้เห็นว่า ผู้บริโภคชาวไทยถึง 63% ใช้คิวอาร์โค้ดในการชำระเงินในปี 2563 โดยตัวเลขสูงกว่าทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 24%

นอกจากนั้น ผลสำรวจยังยืนยันในสิ่งที่สังเกตเห็นในอุปนิสัยของผู้บริโภคชาวไทยที่เปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ โดย 91% ของผู้บริโภคชาวไทยระบุว่า ได้ใช้การชำระเงินรูปแบบใหม่ๆ อย่างน้อยหนึ่งอย่างในปีก่อน 79% ของชาวไทยตื่นเต้นที่จะใช้ไบโอเมตริกเช่น การแสกนลายนิ้วมือและระบบจดจำเสียงเพื่อชำระเงิน อีกทั้งหนึ่งในห้าของชาวไทยเคยใช้สกุลเงินคริปโตเมื่อเทียบกับทั่วโลกที่เฉลี่ยอยู่ที่ 10% เพราะฉะนั้นหากกิจการใดต้องการที่จะประสบความสำเร็จ ความพร้อมทางดิจิทัลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้กิจการเหล่านั้นเดินหน้าในยุคที่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ส่งผลกระทบต่อพวกเราทุกคน

พลังแห่งการเลือกในโลกดิจิทัลทุกวันนี้

ประเทศไทยสามารถกล่าวได้ว่า เป็นประเทศที่อยู่ในแถวหน้าในการขับเคลื่อนสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล นโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาลผลักดันให้เศรษฐิกิจเติบโตและเปิดรับเทคโนโลยี เช่น วิทยาการหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ รวมถึงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ซึ่งนำข้อมูลมาใช้ในการบริหารเมืองและจัดสรรทรัพยาการให้เหมาะสม ตัวอย่างในระดับย่อม ๆ คือ การเปิดรับพร้อมเพย์ (PromtPay) ที่เป็นไปอย่างน่าทึ่งเพราะมีผู้ใช้มากกว่า 55 ล้านคนและยังเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการยืนยันว่าความเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเกิดขึ้นในทุกระดับในประเทศไทย

ด้วยผู้บริโภคชาวไทยที่มีความกระหายต่อรูปแบบการชำระเงินใหม่ล่าสุด และการเปลี่ยนเปลงไปสู่ระบบดิจิทัลซึ่งทั้งรัฐบาลและประชาชนต่างให้การสนับสนุน เราจึงต้องหันมามองว่าสิ่งเหล่านี้มีความหมายอย่างไรต่อผู้ประกอบการธุรกิจ

“ผลสำรวจชี้ว่า 80% ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยมีแนวโน้มที่จะซื้อของในร้านค้าขนาดย่อมหากพวกเขามีตัวเลือกในการชำระเงินที่หลากหลาย ก่อนที่จะอธิบายว่าทำไมความต้องการนี้ถึงได้เพิ่มขึ้นมา เราจะต้องทำความเข้าใจในบริบทของธุรกรรมการเงินที่ทำให้รูปแบบการทำธุรกรรมต่าง ๆ เกิดขึ้น” ชูว กล่าว

กานดา หญิงสาวอายุ 26 ปี กำลังอยู่บนรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) เพื่อกลับบ้าน โดยเธอจ่ายค่าโดยสารด้วยการแตะสมาร์ทโฟนบนจุดชำระเงิน ระหว่างการเดินทาง เธอจ่ายเงินซื้อเครื่องสำอางบน Shopee ผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งยังสั่งอาหารเย็นก่อนถึงบ้านผ่าน GrabFood กานดาแวะซื้อชาไทยที่ร้านใกล้บ้านแต่ว่าหน้าร้านกลับติดป้าย “เงินสดเท่านั้น” เธอมองไปรอบ ๆ แล้วเห็นอีกร้านนึงที่สามารถชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด เธอจึงเลือกร้านนั้นแทน การเดินทางของกานดาไม่ได้ต่างจากชาวไทยอีกล้านคนในทุกๆ วัน แต่มันแสดงให้เห็นถึงการตัดสินใจซื้อหาสินค้าที่เกิดขึ้นภายในเพียงชั่วเสี้ยววินาที สำหรับร้านชาไทยที่รับแต่ ‘เงินสด’ ทางร้านอาจพลาดที่จะได้ขายสินค้าแก่ลูกค้าแบบกานดาอีกมากมายในทุก ๆ ชั่วโมงที่ทางร้านทำธุรกิจ

สิ่งที่พวกเราเห็นเป็นมากกว่าแค่การเปลี่ยนแปลงในการค้าขาย มิลเลนเนียลชาวไทยเปิดรับรูปแบบการชำระเงินใหม่ ๆ อย่างมาก และสังคมไทยกำลังก้าวสู่สังคมดิจิทัลและมีการเชื่อมต่อกันมากยิ่งขึ้น ระบบนิเวศในการจับจ่ายแบบใหม่นี้จะส่งผลให้การใช้เงินสดลดลงและกลายเป็นวิธีการชำระเงินที่ยุ่งยาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจที่จะยอมรับทั้งทางเลือกที่ลูกค้ามีและรองรับทางเลือกที่ลูกค้าไม่มี บางครั้ง ผู้ซื้ออาจจะไม่ได้มีบัตรติดตัวและต้องการที่จะจ่ายด้วยการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิก

กำลังมีการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่เกิดขึ้น และชูว มั่นใจว่า ชาวไทยมีศักยภาพที่จะเผชิญหน้ากับอนาคตด้วยความคิดสร้างสรรค์และความแข็งแกร่ง แน่นอนว่ามันจะมีความท้าทายเกิดขึ้นในระหว่างเส้นทางของการสร้างเศรษฐกิจที่ดีกว่าสำหรับทุกคน แต่ถ้าพวกเรายังคงเปิดรับรูปแบบการชำระเงินใหม่ ๆ ต่อไป ก็ถือได้ว่าอยู่บนเส้นทางที่มีชัยชนะเหนือความท้าทายต่าง ๆ แล้ว

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ