TH | EN
TH | EN
หน้าแรกInterviewAmity ตั้งเป้าเป็น “บริษัทเทคโนโลยีระดับโลก” ใน 3-5 ปี

Amity ตั้งเป้าเป็น “บริษัทเทคโนโลยีระดับโลก” ใน 3-5 ปี

Amity ต้องการเป็นผู้นำในตลาด IaaS ระดับโลกใน 3-5 ปีข้างหน้า ด้วยบริการโซลูชันที่ช่วยเสริมแรงองค์กรในการสร้างและรักษาฐานลูกค้า และสร้างมูลค่าเพิ่มจากฐานลูกค้าด้วยฟีเจอร์ด้านโซเชียล ปัจจุบัน 

ก่อตั้งมาประมาณ 8-9 ปี ปัจจุบัน Amity เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ของคนไทยที่มีมูลค่าบริษัทราว ๆ หลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ ธุรกิจหลักในปัจจุบัน คือ การให้บริการซอฟต์แวร์โมดูลด้านโซเชียลให้แก่ลูกค้าองค์กรซึ่งส่วนมากเป็นขนาดใหญ่ ในตลาดโลกและในประเทศไทย 

วันแรก ๆ ของ Amity เริ่มต้นจากการให้บริการซอฟต์แวร์ด้านการสื่อสาร (communications) สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีลักษณะการทำงานแบบกระจายศูนย์ (decentralized workforce) แต่ด้วยวิสัยทัศน์ของ co-founder และ CEO กรวัฒน์ เจียรวนนท์ เขามองเห็นโอกาสมหาศาลในตลาดนี้ ตลาดที่เขาเรียกว่า B2B SaaS ซึ่งเขาบอกว่า การเป็นบริษัทเทคโนโลยีในตลาดนี้อาจจะไม่ sexy เท่าตลาดผู้บริโภค แต่ตลาดนี้มูลค่าใหญกว่ามาก แข็งแรงกว่า และยั่งยืนกว่ามาก และแน่นอนว่า ทำยากกว่ามากด้วยเช่นกัน 

กรวัฒน์ เล่าวว่า Amity ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจจากตอนเริ่มต้น จาก Eko ที่ทำธุรกิจ communications ภายในองค์กรใหญ่ที่มี decentralized workforce สู่ Amity ที่ทำธุรกิจ infrastructure as a service​ (Iaas) คือ ทำโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีแล้วขายให้บริษัทอื่น

เพราะเขามองเห็นว่า แอปที่มีลูกค้าใช้อยู่จำนวนมาก ล้วนใช้บริการ IaaS ทั้งสิ้น อาทิ มากกว่า 90 ของแอปที่ฟีเจอร์ search ล้วนใช้ฟีเจอร์ค้นหาของบริษัทที่ชื่อว่า elastic จากประเทศเนเธอแลนด์ที่ทำ search ให้แอปพลิเคชัน บริษัท elastic นี้มีมูลค่ามากกว่าหมื่นล้านเหรียญ อีกตัวอย่าง คือ Agora บริษัทจีน-อเมริกันที่ทำเทคโนโลยี realtime voice ซึ่งหลายแอปดัง อาทิ Clubhouse ก็ซื้อเทคโนโลยีจาก Agora ทั้ง elastic และ Agora คือ ผู้ให้บริการ IaaS อยู่เบื้องหลัง ให้บริการ component ในการสร้างแอปได้เร็วขึ้น

“บริษัทเหล่านี้อยู่ข้างหลัง และสร้างรายได้มหาศาล ซึ่ง Amity เองก็ได้เปลี่ยนมาเป็นผู้ให้บริการ IaaS เมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา เพราะพบว่าลูกค้าอยากซื้อเทคโนโลยีที่อยู่ข้างหลังเพื่อมา plug-in ในแอปมากขึ้น และตลาดนี้มีโอกาสและขนาดใหญ่” กรวัฒน์ กล่าว

Amity Social Cloud

แนวคิดหลักของ Amity ไม่ได้เปลี่ยนไปจาก Eko นั่นคือ social และ communications แนวคิด คือ แอปหรือแพลตฟอร์ไหนที่อยากจะสร้าง community ฟังก์ชันของ social network มีฟังก์ชันเหมือนที่มีบน Instagram, LINE, Facebook หรือ Tiktok ก็สามารถซื้อเทคโนโลยีของ Amity ไป plug-in ได้ ซึ่งเป็นเซ็กเมนท์ตลาดใหม่ เพราะแอปในปัจจุบันยังไม่มีฟังก์ชัน social 

แพลตฟอร์ม Amity Social Cloud มี 4 โมดูลหลัก คือ Amity Social, Amity Chat, Amity Video และ Amity Bots หากนำ Amity Social มา plug-in ในแอป จะทำให้สามารถมีฟังก์ชัน social feed, group community และ profile เป็นต้น ไม่ต้องพัฒนาเองซึ่งแพงและใช้เวลานาน

Amity Chat ซึ่งเป็นธุรกิจเดิมของ Eko ก่อนมาเป็น Amity โมดูลนี้ทำให้แอปมีฟังก์ชันการแชท แอปที่ต้องใช้แชทภายในแอปมีจำนวนมาก อาทิ เดลิเวอรี่ ธนาคาร เป็นต้น 

Amity Video เป็นฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่งเปิดตัว จากการบูมของ Tiktok, Intagram, Stories, live streaming, live commerce ทำให้ลูกค้ามีความต้องการฟีเจอร์นี้ ซึ่งสามารถซื้อโมดูลนี้แล้ว plug-in เข้าไปในแอปสามารถมีฟีเจอร์เหล่านี้ได้ ทำให้สามารถสร้าง engagement กับลูกค้าได้มากขึ้น 

Amity Bots ซึ่งได้ซื้อกิจการ ConvoLab บริษัทด้าน AI/NLP ที่ทำผลิตภัณฑ์ด้านแชทบ็อตขององค์กรมาเมื่อปี 2563 เป็นผู้ให้บริการ bots รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โมดูล bots สามารถครอบอยู่บนทุกโมดูลทั้ง social, chat และ video ได้ ซึ่งจะเข้าไปช่วยขาย ทำการตลาด และสนับสนุนการขายได้ 

4 โมดูลหลักนี้ คือ ตัวอย่างของแพลตฟอร์มของ Amity ซึ่งรูปร่างหน้าตา (user interface) บริการจะเปลี่ยนไปตามที่ลูกค้าเปลี่ยน และ customize ได้ อาทิ แอปของ AirAsia ทั้งภูมิภาคใช้เทคโนโลยีของ Amity ในแอป Air Asia จะมี Connect Tap ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลสำหรับคนที่เดินทางบ่อย สามารถเข้ามาร่วมกลุ่มสำหรับคนที่มีจุดหมายปลายทางเดียกวัน เป็นต้น ล่าสุด AirAsia ประกาศเป็น super app ซึ่ง social กับ community เป็นหนึ่งในฟีเจอร์หลัก

ทั้งนี้ Amity ใช้ AWS เพื่อรองรับการเติบโตของบริษัทและพัฒนาองค์กรให้เป็นผู้บริการแพลตฟอร์มเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางสังคม (social engagement platform) แบบเต็มรูปแบบ ด้วยการใช้บริการคลาวด์ของ AWS ที่มีความโดดเด่นในด้านบริการและเครื่องมือที่ครอบคลุมและหลากหลาย ได้แก่ คอนเทนเนอร์ ฐานข้อมูล และแมชชีนเลิร์นนิ่ง ทำให้ Amity ช่วยให้องค์กรขนาดใหญ่หลายร้อยแห่ง และบริษัทที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ รวมถึง Air Asia, TrueID, Subway และ Unilever สามารถนำเสนอประสบการณ์การใช้โซเชียลและสร้างชุมชนดิจิทัลที่ไม่เหมือนใคร เพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้าและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า และเปิดโอกาสในการสร้างรายได้ใหม่ ๆ 

B2B SaaS ตลาดหลักของ Amity 

Amity เป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียนที่มีผลิตภัณฑ์ที่กำลังเติบโตในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก 3 ตลาด คือ อเมริกา ยุโรป และจีน (แต่จีนเป็นตลาดที่ค่อนข้างยาก ซึ่งยังไม่โฟกัส ณ​ ตอนนี้) มีลูกค้าหลากหลายอุตสาหกรรมและขนาด อาทิ บริษัทด้าน healthcare มีพนักงาน 50,000 คน ฟิตเนสแพลตฟอร์มที่มีลูกค้า 50 ล้านคน และบริษัทที่ทำแพลตฟอร์มกีฬาที่ใหญ่ที่สุดของยุโรปกลางและตะวันออกมีลูกค้า 15 ล้านคน การเติบโตในตลาดโลกจะต้องทีมงานหลากหลายชาติ 

บริษัทเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ด้านธุรกิจในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีขนาดเล็กมาก ทำให้ยังไม่เห็นยูนิคอร์นด้าน B2B Saas ซึ่ง Amity เน้นการเป็นบริษัทที่จับตลาดโลกตั้งแต่แรก ที่บริษัทมีพนักงานมากกว่า 30 ชนชาติมีสำนักงานในไมอามี่ มิลาน ลอนดอน และในไทย ในประเทศไทยมีพนักงานมากกว่า 25 ชนชาติ บริษัทพยายามสร้างทีมให้เป็นระดับนานาชาติและมีความหลากหลายของชนชาติ 

“ทีมไทยสามารถไปทำงานที่ไหนก็ได้ที่ต้องการ มีการส่งทีมไทยไปอยู่ที่ออฟฟิศที่อังกฤษและอิตาลี เพื่อไปช่วยบริหารทีมและไปอยู่ใกล้ชิดลูกค้า” กรวัฒน์ กล่าว

หลังจากโควิดตลาดจะมีความต้องการผลิตภัณฑ์แบบที่ Amity ทำมากขึ้นมาก ยอดขายจากต้นปี 2020 ถึงปัจจุบันเติบโต 300% และผู้ใช้ social cloud ประจำ (active users) เพิ่มจาก 2 ล้านคนไปเป็นมากกว่า 10 ล้านคน ซึ่ง AWS ช่วยในการขยายบริการได้อย่างมาก

“สำหรับลูกค้ายุโรปการปฎิบัติตาม GDPR สำคัญมาก ๆ การที่สามารถออกบริการที่อยู่ภายใต้กฎระเบียบได้รวดเร็วทำให้เราสามารถทำตลาดได้เร็ว ซึ่ง AWS มีส่วนช่วยตรงนี้เยอะมาก” กรวัฒน์ กล่าว

การสร้าง B2B SaaS ต่างจากการสร้างธุรกิจสำหรับผู้บริโภคทั่วไป B2B SaaS อาจจะเป็นธุรกิจที่ไม่ sexy เท่าธุรกิจฝั่ง consumer แต่เป็นธุรกิจที่ยั่งยืนและมีความแข็งแรงมาก เป็นธุรกิจที่มีสัดส่วนกำไรสูงมาก หากดูมูลค่าตลาดของบริษัทที่ทำ cloud จะเห็นว่า B2B Saas ในโลกทำกำไรและมีมูลค่าตลาดมากที่สุดในโลก ตัวอย่างที่เห็นชัดก็คือ AWS ที่ทำกำไรให้ Amazon ได้มากกว่า Amazon 

ธุรกิจเทคโนโลยีสำหรับ consumer ยังไม่ง่ายที่จะทำกำไร และการเติบโตในต่างประเทศค่อนข้างยาก ไม่ได้บอกว่า ธุรกิจเทคโนโลยีสำหรับ B2B นั้นง่าย แต่มีรูปแบบรายได้ที่ยั่งยืน และขยายฐานลูกค้าได้โดยไม่ต้อง subsidise

“B2B SaaS ถ้าคุณชนะในเมืองไทยก็ชนะในตลาดยุโรปและอเมริกาได้ สมมติว่าคู่แข่งเราเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ที่ให้บริการอยู่ในไทยได้ เราก็สามารถไปชนะเขาในตลาดอื่นได้ คำแนะนำ คือ ต้องการโฟกัส หาตลาดที่เฉพาะเจาะจง ที่ยังไม่มีผู้เล่นหรือมีแต่ผู้เล่นไม่แข็งแรง และตอนพัฒนาต้องคิดพัฒนาสำหรับตลาดโลกหรืออย่างน้อยตลาดภูมิภาค” กรวัฒน์ กล่าว

Barrier-to-entry 

Advantage ของประเทศไทย คือ ประเทศไทยและอาเซียนเป็นตลาดที่มีความแข็งแกร่งด้านมือถือมาก คนตอบสนองต่อเทคโนโลยีบนมือถือได้เร็วมาก มากกว่าที่อเมริกาและยุโรป ซึ่งเป็นโอกาสอย่างมาก และเรื่องต้นทุนทั้งเรื่องภาษีและกฎระเบียบของประเทศไทยทำให้บริษัทเทคโนโลยีที่มีนักพัฒนาจากหลากหลายประเทศมีต้นทุนที่ดีกว่า และทำให้ได้เปรียบกว่าบริษัทในยุโรปและในอเมริกาค่อนข้างมาก เพราะสามารถทำได้เร็วกว่าและมากกว่า 

“ยังไม่มีคู่แข่งขันโดยตรงกับเราที่ทำ social holistic ที่ทำทุกฟีเจอร์เหล่านี้รวมเข้าด้วยกัน เราจึงต้องเติบโตให้เร็วที่สุดที่ทำได้ พออีกไม่นานจะมีคู่แข่งมากขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นจุดแข็งที่ทำให้เราแข่งในตลาดต่างประเทศได้ ในประเทศไทยยังไม่ค่อยมีบริษัทที่ทำ IaaS” กรวัฒน์ กล่าว

ความได้เปรียบที่ Amity จะทิ้งห่างคู่แข่งในอนาคต คือ การลงทุนด้านเทคโนโลยี การใช้การพัฒนาธุรกิจและการวิจัยและพัฒนาใน 12 เดือนที่ผ่านมาใช้เงินไปประมาณ 7-8 ล้านเหรียญฯ ใช้วิศวกรซอฟต์แวร์ 60-70 คน ซึ่งพัฒนาเทคโนโลยีมาตลอด 8-9 ปี งบวิจัยและพัฒนารวม ๆ แล้วอย่างน้อย ๆ ประมาณ 20 ล้านเหรียญฯ 

“เราขายเทคโนโลยีให้วิศวกรซอฟต์แวร์ เพราะฉะนั้นหากคุณภาพของเราไม่ดีจริง เขาไปซื้อคนอื่นหรือเขาพัฒนาเองดีกว่า คุณภาพของผลิตภัณฑ์ของเราต้องดีมาก และเรื่องของการขยายบริการได้อย่างรวดเร็ว เราทำงานร่วมกับ AWS และลงทุนหนักมากเพื่อสร้างสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์เพื่อรองรับปริมาณการใช้งานจำนวนมาก ทุกเดือนเราให้บริการ 3,000 ล้านข้อความ นี่คือ barrier-to-entry ที่สูง จึงไม่ค่อยมีคู่แข่ง” กรวัฒน์ กล่าว

เขา กล่าวว่า Amity เริ่มจากโมดูลแชท ซึ่งมีคู่แข่งจำนวนมาก ทำให้ต้องหาความแตกต่างจึงสร้างโมดูล social ขึ้นมา และเห็นว่า bots จะเข้ามาช่วยเติมเต็มได้หมด จึงไปซื้อกิจการมา ลูกค้าที่ต้องการฟังห์ชันโซเชียลจะต้องการฟีเจอร์ที่เขารู้จักและใช้งานอยู่ในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ซึ่งวิดีโอ คือ ชิ้นส่วนสำคัญ ทำให้ Amity ต้องมีโมดูลวิดีโอ 

ในอนาคต Amity มองโอกาสในการช่วยลูกค้าทำเงินจากฐานลูกค้าของเขาได้อย่างไรด้วยผลิตภัณฑ์และบริการของ Amity อาทิ อาจจะมีเทคโนโลยีด้านโฆษณา หรือเทคโนโลยีด้านอัลกอริทึมที่จะช่วยแสดงสินค้าได้ดีขึ้น อย่าง Tiktok และ Instagram ประสบความสำเร็จเพราะอัลกอริทึมในเรื่องของการจัดลำดับโพสต์และเนื้อหานั้นฉลาดมาก 

วิกฤติโควิด ดันตลาดโตกว่าเดิม 

แนวโน้มของตลาด social cloud เติบโตมาก วิกฤติโควิดทำให้หลายบริษัทตระหนักแล้วว่าเทคโนโลยีดิจิทัลสำคัญมากและต้องลงทุนมากขึ้นและจะเปลี่ยนธุรกิจให้มีศักยภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างไร และเขาจะหาช่องทางที่เขาสามารถติดต่อกับฐานลูกค้าเขาได้โดยตรงไม่เพียงแค่ผ่าน Facebook หรือ LINE แต่เขาจะต้องมี digital storefront ของเขาเองด้วย เห็นได้ชัดมากในหลายประเทศทั่วโลกและในไทย อาทิ แอร์เอเชีย และเซ็นทรัล เป็นต้น 

บริษัททั่วโลกต้องการหาผลิตภัณฑ์ที่จะให้คนใช้และ engage และสร้างมูลค่าจากแพลตฟอร์มดิจิทัลของเขามากขึ้น เขาจะต้องหาวิธีที่จะเพิ่ม engagement ของฐานลูกค้าของเขา ซึ่งแพลตฟอร์มของ Amity คือ หนึ่งในโซลูชันสำคัญที่ลูกค้าสามารถนำไปใช้งานได้เพื่อเพิ่ม engagement อาทิ เมื่อก่อนลูกค้าอาจจะเข้ามาที่แอป AirAsia เพื่อที่จะซื้อตั๋วเครื่องบินหรือเช็คอินเที่ยวบิน แต่ปัจจุบันมีหลายแสนคนที่อยู่ในแอปต่อเพื่อที่จะพูดคุยกับ community หาข้อมูลที่จะเดินทาง เป็นต้น ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับแพลตฟอร์มของเขามากขึ้น Amity ช่วยสนับสนุนวิสัยทัศน์นี้ของ AirAsia

ฐานลูกค้าของ Amity มีตั้งแต่ธุรกิจเอสเอ็มอีจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ ในหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ health and fitness ใช้สร้าง community และฐานสมาชิก และพิพิธภัณฑ์ในยุโรป เป็นต้น และในอีก 2-3 เดือนนี้จะประกาศลูกค้ารายใหญ่ในอเมริกา (flagship client) เป็นธุรกิจด้าน healthcare ตัวอย่างลูกค้าในประเทศไทย อาทิ ยูนิลิเวอร์ ธนาคารกสิกรไทย และเครือซีพี เป็นต้น

“นอกจาก ต้องมีฐานลูกค้าของตัวเองแล้ว ลูกค้าต้องมีแอป หรือเว็บไซต์ของตัวเอง (own platform) เรามีลูกค้าขนาดเล็กที่มีฐานลูกค้า 5,000 คน สามารถมาทำ self-serve แล้วใช้เอง รูปแบบธุรกิจของเราเหมือนกับ AWS ที่มีทั้งที่เป็นลูกค้า self-serve สำหรับลูกค้ารายเล็ก และการมีทีมเข้าไปให้บริการสำหรับลูกค้ารายใหญ่” กรวัฒน์ กล่าว

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ