TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyรพ.จุฬาลงกรณ์ฯ ร่วมกับ ทรู ดิจิทัล เปิดตัว หุ่นยนต์สนับสนุนการบริการเวชศาสตร์นิวเคลียร์

รพ.จุฬาลงกรณ์ฯ ร่วมกับ ทรู ดิจิทัล เปิดตัว หุ่นยนต์สนับสนุนการบริการเวชศาสตร์นิวเคลียร์

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ร่วมกับ ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป พัฒนานวัตกรรมสนับสนุนการบริการรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ เป็นครั้งแรกของไทยในการนำหุ่นยนต์มาใช้ในงานด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ด้วยสารรังสีไอโอดีน ช่วยแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ลดปริมาณรังสีที่จะได้รับโดยตรงในระหว่างให้การรักษาผู้ป่วย จึงช่วยเพิ่มความปลอดภัยต่อสุขภาพ ตลอดจนลดความเสี่ยงและโอกาสที่อาจจะเกิดโรคจากการได้รับรังสีสะสมเป็นระยะเวลานาน ๆ

“หุ่นยนต์อัจฉริยะช่วยบริการรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ด้วยสารรังสีไอโอดีน” พัฒนาฟังก์ชันตามความต้องการใช้งานของบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งสารรังสีไอโอดีน อาหาร ยาและเวชภัณฑ์แก่ผู้ป่วย การแพทย์ระยะไกล วัดสัญญาณชีพ และตรวจวัดการเปรอะเปื้อนรังสีในพื้นที่ให้บริการหลังจากผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล ทั้งยังออกแบบโดยผสานความเป็นมนุษย์และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน หรือ Human-Tech Technology ในแนวคิด Humanize มีดีไซน์หน้าจอและสีสันที่เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน มาพร้อมเสียงที่น่าฟัง ช่วยสร้างสัมผัสและปฏิสัมพันธ์แบบคล้ายมนุษย์ เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการดูแลและรักษาผู้ป่วยได้มากขึ้น อีกทั้งยังสามารถต่อยอดฟังก์ชันของหุ่นยนต์ให้ครอบคลุมมากขึ้น รวมถึงกระตุ้นและขยายการใช้หุ่นยนต์และเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการแพทย์ให้แพร่หลายและกว้างขวางมากขึ้น ตอกย้ำความมุ่งมั่นของทรู ผู้นำเทเลคอม-เทคคอมปานี ที่มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดแก่คนไทย สังคม และประเทศไทย

รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การนำหุ่นยนต์มาใช้อำนวยความสะดวกและให้บริการผู้ป่วยทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ และยกระดับการให้บริการทางการแพทย์ให้ก้าวล้ำทันสมัย เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย อีกทั้งทำให้บุคลากรทางการแพทย์ลดความเสี่ยงจากการได้รับรังสีโดยตรงในระหว่างที่ให้บริการรักษาแก่ผู้ป่วย ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับทีมแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ได้มากยิ่งขึ้น สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องใกล้ชิด

เอกราช ปัญจวีณิน หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านดิจิทัล บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า การพัฒนานวัตกรรม “หุ่นยนต์อัจฉริยะช่วยบริการรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ด้วยสารรังสีไอโอดีน” ภายใต้ความร่วมมือกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของทรูที่ได้ต่อยอด นำประสบการณ์จากการทำงานและพัฒนานวัตกรรมร่วมกับทีมแพทย์ของไทยมาอย่างยาวนาน ผสานความรู้ ความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยีและระบบนิเวศดิจิทัลครบวงจรของทรู เข้ากับองค์ความรู้ของแพทย์ในโรงเรียนแพทย์ระดับแนวหน้าของประเทศ เพื่อยกระดับการให้บริการทางการแพทย์ได้สำเร็จอีกครั้ง

และเป็นครั้งแรกของไทยในการพัฒนาหุ่นยนต์สนับสนุนการให้บริการด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ โดยหุ่นยนต์สามารถช่วยบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งการให้บริการผู้ป่วย ควบคู่กับการมีบทบาทสำคัญ คือ การเพิ่มความปลอดภัยให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ลดปริมาณรังสีที่จะได้รับโดยตรงจากการปฏิบัติงานประจำในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ จึงช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรคจากการที่ได้รับรังสีสะสมในร่างกายเป็นระยะเวลานาน ๆ ช่วยให้แพทย์และพยาบาลสามารถดูแลผู้ป่วยได้จำนวนมากขึ้น ขณะที่ยังคงให้บริการได้อย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นวัตกรรมที่เกิดจากความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นอีกหนึ่งพัฒนาการสำคัญของการให้บริการรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ด้วยสารรังสีไอโอดีนในประเทศไทย

เปิดปฏิบัติการ “หุ่นยนต์อัจฉริยะช่วยบริการรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ด้วยสารรังสีไอโอดีน”

หุ่นยนต์สนับสนุนการบริการเวชศาสตร์นิวเคลียร์

หุ่นยนต์อัจฉริยะช่วยบริการรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ด้วยสารรังสีไอโอดีน ถูกออกแบบโดยผสานความเป็นมนุษย์เข้ากับเทคโนโลยี Human-Tech Technology ในแนวคิด Humanize มีรูปลักษณ์ลวดลายสีสัน หน้าจอและเสียงที่ให้ความรู้สึกเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน เพิ่มสัมผัสและปฏิสัมพันธ์แบบคล้ายมนุษย์ สร้างรอยยิ้มและความพึงพอใจให้คนไข้ โดยสามารถสั่งการและควบคุมผ่านแท็บเล็ต เชื่อมต่อบนเครือข่าย 5G รองรับการสื่อสารแบบเรียลไทม์ ที่ให้ทั้งความเร็วในการสื่อสาร ความเสถียร และความปลอดภัยสูงสุดของข้อมูล โดยมีฟังก์ชันที่โดดเด่น ดังนี้

  • ส่งสารรังสีไอโอดีน ยา เวชภัณฑ์ และ อาหาร ให้แก่ผู้ป่วยในพื้นที่ให้บริการหรือห้องพักผู้ป่วย
  • การแพทย์ระยะไกล ผ่านระบบวิดีโอคอล อำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างแพทย์ พยาบาลและผู้ป่วย เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำการดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลาที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
  • วัดสัญญาณชีพของผู้ป่วยในระหว่างที่เข้ารับการรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ด้วยสารรังสีไอโอดีน โดยสามารถเชื่อมโยงส่งข้อมูลภาพและผลตรวจแบบเรียลไทม์ พร้อมระบบจัดเก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์
  • ตรวจสอบการเปรอะเปื้อนรังสีในพื้นที่ให้บริการหรือห้องพักผู้ป่วยภายหลังจากผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล โดยแสดงผลของปริมาณรังสีในรูปแบบ Heat Map ด้วยสีที่แตกต่างในแต่ละพื้นที่ เพิ่มความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ในการเข้าดูแลพื้นที่ให้บริการหรือห้องพักผู้ป่วย ที่อาจมีการเปรอะเปื้อนรังสีอยู่ในปริมาณมาก

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ส่อง “นวัตกรรมคาร์บอนต่ำ” ที่เกิดขึ้นจริง โดย 3 ธุรกิจระดับโลก

อว. จัดงาน Thailand Space Week โชว์ความพร้อมไทยในการลงทุนด้านอุตสาหกรรมอวกาศ

ดีป้า เผยความสำเร็จ ‘Smart School Bus’ นำ GPS และ AI ติดในรถโรงเรียนแล้ว 3,500 คัน

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ