TH | EN
TH | EN
หน้าแรกSustainabilityไอออน เอนเนอร์ยี่ new S-curve เครือบางกอกเคเบิล ตั้งเป้าผู้นำตลาดผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ภาคครัวเรือน

ไอออน เอนเนอร์ยี่ new S-curve เครือบางกอกเคเบิล ตั้งเป้าผู้นำตลาดผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ภาคครัวเรือน

ภูมิทัศน์ของการผลิตและใช้ไฟฟ้าจะเปลี่ยนไปจากเดิมเป็นการรวมศูนย์อยู่ที่ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายไฟฟ้าเพียงไม่กี่ราย เปลี่ยนเป็นการกระจายศูนย์ คือ ผลิตไฟใช้เองได้ และในอนาคตขายไฟได้ ทำให้ความต้องการใช้สายไฟเริ่มเปลี่ยนไป เรียกได้ว่ากำลังเกิดการดิสรัปชันในอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า ทำให้เกิด ไอออน เอนเนอร์ยี่ ที่จะมาเป็น new S-curve ของเครือบางกอกเคเบิลในอนาคต

พีรกานต์ มานะกิจ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไอออน เอนเนอร์ยี่ จำกัด หรือ ION กล่าวว่า ไอออน เอนเนอร์ยี่ เป็นบริษัทในเครือบางกอกเคเบิล ผู้ผลิตสายไฟหนึ่งในรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (อยู่ในธุรกิจไฟฟ้ามาเกือบ 60 ปี และมีบริษัทบางกอก โซลาร์ พาวเวอร์ ทำสัมปทานโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซลาร์ฟาร์ม ขายกลับให้ภาครัฐ และงาน EPC คือ รับเหมาก่อสร้างโซลาร์ขนาดกลางและขนาดใหญ่) ไอออน เอนเนอจี จัดตั้งใหม่อายุราว 1 ปี สิ่งที่โฟกัส 3 ส่วน

  1. ธุรกิจ Private Power Purchase Agreement (PPA) สัญญาซื้อขายไฟ 
  2. งาน EPC ขนาดกลางและขยาดย่อม ตั้งแต่การติดตั้งในโรงงานและบ้านพักอาศัย
  3. เป็น tech startup พัฒนาซอฟต์แวร์ในการบริหารจัดการการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งในโมเดล PPA สามารถทำ billing ค่าไฟ ซื้อขายผ่านแอปได้เลย 

บริษัทตั้งเป้าหมายว่าจะมีมูลค่าโครงการ 3,750 ล้านบาท ผลิตไฟได้ 150 เมกะวัตต์ ภายใน 5 ปี โดยภาพรวมธุรกิจปี 2565 ของไอออน เอนเนอร์ยี่ ตั้งเป้าผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้ทั้งหมด 25 เมกะวัตต์ ทั้งในส่วน PPA และ EPC คิดเป็นมูลค่าโครงการประมาณ 625 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนลูกค้า PPA 70% และ EPC 30%

PPA คือ ไอออนฯ ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ให้ฟรี ผู้ใช้งานจ่ายเพียงค่าใช้ไฟตามจริง ในอัตราพิเศษที่ต่ำกว่าค่าไฟจากการไฟฟ้าฯ แต่ต้องผูกสัญญา15 ปี ครบสัญญาผู้ใช้สามารถใช้ไฟจากพลังงานแสงอาทิตย์ฟรีจนหมดอายุการใช้งานของอุปกรณ์

จากข้อมูลของศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทย ระบุว่าธุรกิจ PPA เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพ เป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตตามกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของโลก สำหรับในไทยธุรกิจนี้มีโอกาสเติบโตตามความต้องการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จากทั้งภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม โดยคาดการณ์ว่ารายได้ธุรกิจ Solar-Corporate PPA ของไทยมีโอกาสขยายตัวเป็น 37.7-118.2 พันล้านบาท ในปี 2580 หรือขยายตัวถึง 17.5-54.8 เท่า จากปี 2563 

“กลุ่มลูกค้า PPA คือโครงการขนาดใหญ่ อาทิ โรงงานผลิตวัสดุพรีคาสท์ (Precast) ของแสนสิริรวมถึงโรงแรมเดอะสแตนดาร์ด หัวหิน (The Standard Hua Hin) รร.สาธิตพัฒนา รวมประมาณ 500 กิโลวัตต์ และบ้านเดี่ยวของแสนสิริจำนวน 6,000 หลัง เฉลี่ยหลังละ 1.38 kWp และ 1.84 kWp ลูกค้าที่เหลือ คือ กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและย่อย อาทิ โรงงานผลิตขนมต่าง ๆ โรงแรม และธุรกิจต่าง ๆ”  พีรกานต์ กล่าว

แนวโน้มลูกค้า คือ ธุรกิจขนาดกลาง และภาคครัวเรือน ซึ่งไอออน เอนเนอร์ยี่มีแผนจะจายพลังงานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้ลูกบ้านปัจจุบันที่มีความต้องการ 

เชื่อมการบริหารการใช้ไฟไร้รอยต่อ

ส่วนโซลาร์แพลตฟอร์ม (solar platform) ของ ไอออน จะขยายไปสนับสนุนการทำงานของ อินเวอร์เตอร์ (หรือระบบควบคุมการทำงานของระบบโซลาร์ที่จะแปลงไฟกระแสตรง (DC) ให้เป็นไฟกระแสสลับ (AC) ให้พร้อมใช้งานสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด) หลากหลายแบรนด์ และหาพันธมิตรในภาคเอกชน คอร์ปอเรตใหญ่ ๆ เพื่อผนวกรวมเข้ามาในแอปของ ไอออน เอนเนอร์ยี่ 

เครือบางกอกเคเบิลมีกำลังการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์มากกว่า 110 เมกะวัตต์ จากโซลาร์ฟาร์มซึ่งติดตั้งมา 10 ปี มีการใช้เทคโนโลยีหลากหลาย แล้วปัญหาการบริหารจัดการข้ามแพลตฟอร์มค่อนข้างยาก เป็นจุดที่ทำให้ ไอออน เอนเนอร์ยี่ ต้องการพัฒนาแอปที่สามารถเชื่อมการทำงานข้ามเทคโนโลยีแพลตฟอร์มของ อินเวอร์เตอร์ ได้สะดวก

Big data สร้างธุรกิจ/บริการใหม่

นอกจากนี้ ยังสามารถนำข้อมูลไปต่อยอดจากการใช้พลังงานไฟฟ้าแล้วยังต่อยอดไปสู่การวางบิลและการจ่ายค่าไฟฟ้าได้ ทุกอย่างเป็น paperless และเชื่อมต่อกับ e-Tax ได้ และในอนาคตสามารถนำข้อมูลมาทำ predictive maintenance ได้ มีปัญหาสามารถแก้ไขได้เร็วขึ้น และสามารถที่จะทำแพลตฟอร์มซื้อขายพลังงานได้ในอนาคต (energy trading) ซึ่งคาดว่าไม่เกิน 5 ปีน่าจะเห็นภาพนี้ในประเทศไทย

ปัจจุบันธุรกิจไฟฟ้าในประเทศไทยค่อนข้างรวมศูนย์ การผลิตส่วนใหญ่อยู่ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) มีเอกชนเล็กน้อย และกระจายผ่านการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) และการไฟฟ้านครหลวง (MEA) แต่ในอนาคตจะมี Pro-sumer (producer + consumer) เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคไฟฟ้า ทั้งบ้านพักอาศัยหรือโรงงานขนาดกลางและเล็ก 

“นโยบายโซลาร์ภาคประชาชนจะเป็นตัวเร่งให้เกิดการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น เพราะสามารถขายไฟกลับให้ภาครัฐได้” พีรกานต์ กล่าวทิ้งท้าย

ไฟบ้านพลังงานแสงอาทิตย์

ไฟจากโซลาร์ใช้ได้ทุกอย่างในบ้าน ไม่ว่าจะชาร์จรถยนต์ ทีวี ไฟจะต่อตรงเข้ากับตู้ไฟของบ้าน ถ้าจะชาร์จรถยนต์จะต้องมี wall charger และต้องแปลงไฟจากกระแสตรงที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์​ต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า inverter แปลงไฟจากกระแสตรง (DC) เป็นไฟกระแสสลับ (AC) ตัว wall box ของ wall charger จะแปลงไฟ AC เป็นไฟ DC เพื่อชาร์จรถอีวีอีกที 

“เลือกติดตั้งขนาดที่ 1.38 kWp และ 1.84 kWp เป็นขนาดที่เหมาะกับปริมาณการใช้ไฟในช่วงกลางวันของบ้านอยู่อาศัย” พีรกานต์ กล่าว

จากแผงผลิตโซลาร์เซลล์แล้วนำมาใช้เลย ทางบริษัทยังไม่มีแผนจะทำแบตเตอรี่สำหรับเก็บไฟฟ้าพลังงานงานแสงอาทิตย์​เพราะจุดคุ้มทุนกับอายุการใช้งานยังไม่สมดุลกัน 

“ที่เราเห็นแบตเตอรี่ในต่างประเทศ อาจเพราะฐานค่าไฟเขาสูงกว่า หรือเพราะไฟเขาสวิงมากกว่า ในประเทศไทยเชื่อว่าไม่เกิน 3-5 ปีจะเห็นแบตเตอรี่พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์” พีรกานต์ กล่าวทิ้งท้าย

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

แสนสิริ ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในโครงการบ้านใหม่ลง 28,000 ตันต่อปี

พันธกิจ ‘บ้านปูเน็กซ์’ … พลังงานสะอาด ต้องใช้อย่างฉลาด

AIS คว้ารางวัลความยั่งยืนระดับโลก ต่อเนื่อง 2 ปีซ้อน

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ