TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBangkok Story3 ทศวรรษ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กับบทบาท "ห้องรับแขก" รับการประชุม APEC

3 ทศวรรษ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กับบทบาท “ห้องรับแขก” รับการประชุม APEC

30 ปีกับศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กับการกลับมาให้บริการอีกครั้งเดือนกันยายน 2565 ในบทบาท “ห้องรับแขก” ของประเทศ ต้อนรับผู้นำในยการประชุม APEC 2022

คาดการณ์ว่า Traffic ของศูนย์ฯ ปี 2566 ประมาณ 13 ล้านคนต่อปี เดือนละประมาณ 1 ล้านคน เดิมทั้งปีประมาณ 6 ล้านคน เป้าหมายงานราว 30% เป็นงานอินเตอร์ ส่วนเป้ารายได้ปี 2566 อยู่ที่ประมาณ 2,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 4 เท่า

โฉมใหม่ของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ คือ The Ultimate Inspiring World Class Event Platform for All ที่สุดของที่สุดของ Event Platform ของประเทศไทย เป็นแพลตฟอร์มใหม่ที่จะแข่งขันในระดับนานาชาติในอนาคต 

สุทธิชัย บัณฑิตวรภูมิ รองกรรมการผู้จัดการ บจก. เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ กล่าวว่า เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เป็นศูนย์การประชุมแห่งแรกของประเทศไทย สร้างมาเพื่อรองรับ World Bank นอกจากเป็นศูนย์การประชุมแห่งแรก แล้วยังเป็นศูนย์การประชุมแห่งชาติ และแห่งเดียวในประเทศไทย 

“เดือนสุดท้ายที่ดำเนินการ คือเมษายน 2562 เพื่อปิดปรับปรุงเป็นเวลา 3 ปีครึ่ง ด้วยงบลงทุน 15,000 ล้านบาท เพื่อจะมอบประสบการณ์ใหม่ให้กับศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และให้กับประเทศไทย”

ตลอด 30 ปีที่ผ่านมากับบทบาทหน้าที่ของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ คือ สถานที่ในการจัดงาน MICE ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจ MICE แบบที่เป็นรูปธรรม 

ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เปิดเมื่อเดือนสิงหาคม 2534 มีงานสำคัญ ๆ ระดับประเทศมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งเมื่อ 3 ปีกว่าที่ผ่านมา ปิดปรับปรุงครั้งใหญ่ กลับมาเปิดให้ใช้บริการ งานสำคัญที่เป็นงานไฮไลต์ คือการเป็นตัวแทนของประเทศในการรองรับผู้บริหาร จากนานาประเทศในเดือนพฤศจิกายนนี้ สำหรับงาน APEC

สุทธิชัย กล่าวว่า ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เป็นศูนย์ประชุมแห่งชาติ มีพระนามของพระพันปีหลวง เพราะฉะนั้นในการพัฒนาโครงการ ปรับปรุงศูนย์การประชุมฯ ต้องอยู่ภายใต้แนวคิดว่าเป็นตัวแทนของประเทศในการเป็น “ห้องรับแขก” ที่จะต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง 

จุดเด่นของการดีไซน์ คือ การผสมผสานระหว่างความเป็นไทยกับความเป็นสากล ความทันสมัยเข้าด้วยกันอย่างลงตัว ศูนย์ใหม่มี  Essence ของความเป็นไทย แต่เป็นความเป็นไทยที่ทันสมัยมากขึ้น

  • ชั้นล่าง LG เป็นชั้นที่ค่อนข้างแมส ใช้ Concept Traditional Thai 
  • ชั้น G เป็น Formal Thai จะเห็นลักษณะการดีไซน์ในรูปแบบตัวชั้นของโจงกระเบน 
  • ชั้น 1 และ 2 ภาพรวมจะเป็น Modern Thai มีความโมเดิร์น จะเป็นความแตกต่างของห้อง Ballroom และ Plenary Hall

“เราปรับเปลี่ยนจากยุคสมัยที่ผ่านมา จาก QSNCC เดิม เป็น QSNCC ใหม่ ที่ยังมีความ elegant แต่ก็มีความทันสมัยด้วย” สุทธิชัย กล่าว

พื้นที่ใหญ่ขึ้น 5 เท่า จาก 60,000 กว่าตารางเมตร เป็นประมาณ 300,000 ตารางเมตร มี Meeting Room 50 ห้อง เพิ่มพื้นที่ Retail เป็น 12,000 ตารางเมตร และ Parking Space จากเดิมเป็น Outdoor ปัจจุบันจะเป็น Indoor Parking Space ทั้งหมด ประมาณ 3,000 คัน 

พื้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีค่อนข้างมีจำกัดและความสูงถูกจำกัดที่ 23 เมตร เนื่องจากอยู่ในพื้นที่สีเขียว เพื่อให้ได้ตัวพื้นที่ใช้สอยให้มากที่สุด ประมาณครึ่งหนึ่งของสูงจะทำเป็นใต้ดิน  

ชั้นล่างสุด 2 ชั้นเป็น parking space ชั้นแรกที่ให้บริการ คือชั้น LG ซึ่งเชื่อมต่อกับ MRT จะมี hall ใหญ่ 23,000 ตารางเมตร ชั้นถัดมา ที่อยู่ Ground Level คือ Main Hall อีกประมาณ 23,000 ตารางเมตร เป็น Hall ที่มี High Ceiling Column Free อีกสองส่วน คือ Plenary Hall และ Ballroom ทั้งสองฝั่ง ฝั่งละ ประมาณ 5,000 ตารางเมตร สามารถจัดงานที่ลักษณะแตกต่างกันได้

Food Court พื้นที่ลดลงเหลือ 600 ที่นั่ง (จากเดิม 1,200 ที่นั่ง) บนพื้นที่ 1,000 กว่าตารางเมตร เนื่องจากมีพื้นที่ Retail มาขึ้น ราคาอาหารเฉลี่ยที่ Food Court เริ่มที่ 60 บาท ตัวอย่างร้าน มีร้าน Red Lobster เป็นร้าน American Fine Dining มาจากอเมริกา เป็นร้านแรกในไทย และมี Starbuck ที่จะมี Design และ Concept แตกต่างจากที่อื่น บนพื้นที่ประมาณ 200 ตารางแมตร แต่ละชั้นมีเวลาเปิดไม่เหมือนกัน พื้นที่ติดสวน พื้นที่ติด MRT จะเปิดเช้า แล้วก็ตรงที่เป็น Double Volume ที่เห็นตรงหน้าฮอลล์ เปิดตั้งแต่ 9:00 น.- 21:00 น.

สำหรับที่จอดรถพื้นที่สำหรับจอดรถ 3,000 คน (เพิ่มจากเดิมที่จอดได้ 600 คัน) ปีแรกจอดฟรี 3 ชั่วโมงอยู่ ถึงสิ้นปี 2565 คนที่มาใช้บริการร้านค้าสามารถประทับตราที่จอดรถได้

เรื่องดีไซน์ วาง Positioning เป็น The Ultimate Inspiring World Class Event Platform for All เป็นมากกว่าที่เคยเป็น เป็นมากกว่า MICE

NCC ผู้บริหารของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จะมอบประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับ ธุรกิจ MICE ในประเทศไทย นอกจากที่จะเป็นงานที่เป็นงานระดับชาติที่เคยใช้ อย่างเช่น สัปดาห์หนังสือ งานท่องเที่ยวต่าง ๆ จะมี New experience งานในระดับ International งานระดับ Regional ระดับนานาชาติต่าง ๆ จะใช้บริการศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์มากขึ้นกว่าเดิม 

สัปดาห์แรกที่จะเปิดให้บริการ วันที่ 12 กันยายน 2565 งานแรกที่จะเกิดขึ้นคือ Asian Festival Engine ซึ่งจะเกิดขึ้นพร้อมกับงาน The Emperor สองงานก็ใช้พื้นที่ 15,000 ตารางเมตร นอกจากนั้น จะมีงานใหญ่ที่ย้ายมาจากเซี่ยงไฮ้ คือ Huawei ​Connect เป็นงานใหญ่ประจำปี ถัดไปช่วงกลางเดือนกันยายน 2565 จะมีงาน Hospitality Thailand  และงาน Sustainability Expo ที่ใช้พื้นที่เกือบจะทั้งหมดของศูนย์ เป็นต้น

“เมื่อเราสร้างศูนย์ประชุมแห่งใหม่ สิ่งที่เราอยากให้เกิดขึ้น คือ การสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ จังหวะนี้มีงานหลายงานที่เป็นครั้งแรก ที่ย้ายมาจากประเทศอื่น ๆ มาจัดในประเทศไทย อย่างงาน Better Fair ปกติจะอยู่ที่ฮ่องกง เป็นงานใหญ่มาก ตอนนี้ย้ายมาจัดที่ประเทศไทยเป็นครั้งแรก เราไม่ได้สร้างศูนย์ใหม่แล้วมีแค่ลูกค้าเก่าๆ กลับมา แต่เราสร้างสิ่งใหม่ ๆ สร้างเศรษฐกิจใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นด้วย เราคาดว่า 50% จะเป็นงานลักษณะเดิมที่เคยจัด อีก 50 เปอร์เซ็นต์จะเป็นงานรูปแบบใหม่ ๆ” 

สำหรับงานใหญ่งานแรกในฐานะ “ห้องรับแขก”​ ของประเทศ คือ การเป็นสถานที่จัดการประชุม APEC ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ห้องประชุมใหม่ ห้องประชุมที่มีความเป็นไทย พื้นที่แต่ละพื้นที่มีความสวยงาม มีพื้นที่ที่เดินทางสะดวก อยู่กลางเมือง มีความพร้อมทั้งในเรื่องของระบบความปลอดภัย ระบบที่ดูแลผู้นำ ระบบความปลอดภัย

“ระบบ Security บอกได้เลยว่าศูนย์เราสร้างใหม่ เรามีจุดที่เป็นส่วนอำนวยความสะดวกในเรื่องของความปลอดภัยแทบจะทุกจุด ทุกซอกมุม ของตัวศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นี่เป็นสิ่งหนึ่งที่เราบอกได้เลยว่าเราได้รับความไว้วางใจจากกระทรวงการต่างประเทศ ในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง”

“ความเป็นมืออาชีพของ NCC เรามีประสบการณ์ในการทำงาน 30 ปีที่ผ่านมา เราผ่านงาน APEC มาแล้ว ครั้งหนึ่ง เราผ่านงาน UN Conference หลายครั้ง เราผ่านงานเอเชีย-ยุโรปมิตติ้งก็หลายครั้ง เรามีประสบการณ์ในการทำงานตรงนี้เยอะ เพราะฉะนั้นเชื่อมั่นในเรื่องของ ความเป็นมืออาชีพ ของ NCC ตรงนี้” 

จุดบริการอาหารและเครื่องดื่ม ความร่วมมือกับเชฟทั่วประเทศไทย ที่จะรังสรรค์เมนูต่าง ๆ ให้กับผู้นำที่จะมาประชุมที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้ประสบการณ์ความเป็นไทย ได้ลิ้มรสอาหาร รสชาติ และการตกแต่ง ที่จะทำให้ผู้ที่มาเข้าร่วมงานเอเปคครั้งนี้ไปพูดบอกต่อได้ นี่คือความ เป็นไทย และความเป็นเจ้าภาพของคนไทย 

มุ่งสู่ Carbon Neutral

เครือ NCC Group มีนโยบาย Net Zero ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เป็นแห่งแรกที่เข้าไปร่วมเป็นสมาชิกของ Net Zero Organization International เพื่อจะเอา practice ไปสู่ Net Zero ในอนาคต 

ตัวอาคารออกแบบมาได้รับ LEED ระดับ silver ตั้งแต่เรื่องการก่อสร้าง ตัววัสดุอะไร ไปไหน มีระบบบริหารจัดการน้ำและพลังงาน ตัวอาคารมีการใช้พลังงานจากโซลาเซลล์

“โซลาเซลล์ตอนนี้เราจะไปติดตั้งหลังจากงานเอเปค ซึ่งจะเสร็จประมาณปีหน้า ทุกอย่างอยู่ในแผนงาน”

ตัว Sustainable practice อื่น ๆ จะมีเรื่องกำจัดขยะ ณ ปัจจุบันศูนย์ฯ มีตัวกำจัดกากอาหาร ร่วมกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมและเกษตรกรที่มีการทำเรื่องการเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย มีการแยกขยะที่ไปไกลกว่าการแยก 3 กล่อง มีนโยบายที่ทำร่วมกับ TCP Group และ SCG เป็นต้น

“เรื่อง sustainable เราพยายามสนับสนุนให้คนใช้ MRT นั่นคือเราลงทุนทำทางเชื่อมอุโมงค์ ไม่ต้องเดินขึ้นไปเหมือนเดิมแล้ว” สุทธิชัย กล่าว

ก่อนหน้านี้ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีการจัดงานประมาณปีละ 100 กว่างาน สำหรับศูนย์ฯ ใหม่ไม่ได้คาดว่าจำนวนงานจะเพิ่มขึ้นมา 5 เท่าตามขนาดของศูนย์ฯ แต่จะเน้นการขยายขนาดของงานที่ใหญ่ขึ้น ทั้งนี้คาดว่าจำนวนงานจะเพิ่มเป็นประมาณ 300-400 งานต่อปี ส่วนหนึ่งเพราะมีการออกแบบพื้นที่ใช้สอยเพื่อลักษณะงานที่หลากหลายมากขึ้น ตอบโจทย์งานหลายรูปแบบ

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เปิดฉาก งานประชุมด้านเทคโนโลยีระดับเอเชีย ‘Techsauce Global Summit 2022’

คณะแพทย์ มช. -หัวเว่ย สนับสนุนอุปกรณ์ 5G สำหรับระบบ Telemed แก่รพ. เทพรัตน์ ฯ จ.เชียงใหม่

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ