TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyคณะแพทย์ มช. -หัวเว่ย สนับสนุนอุปกรณ์ 5G สำหรับระบบ Telemed แก่รพ. เทพรัตน์ ฯ จ.เชียงใหม่

คณะแพทย์ มช. -หัวเว่ย สนับสนุนอุปกรณ์ 5G สำหรับระบบ Telemed แก่รพ. เทพรัตน์ ฯ จ.เชียงใหม่

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ร่วมสนับสนุนอุปกรณ์ 5G สำหรับการดำเนินการโครงการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) แก่โรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานุกูล อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เพื่อความคล่องตัวในการให้คำปรึกษาผู้ป่วย และช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางมาพบแพทย์เฉพาะทาง ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

ศาสตราจารย์ (เชี่ยวชาญพิเศษ) นายแพทย์ บรรณกิจ โลจนาภิวัตน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า หลังจากมีโอกาสไปเยี่ยม โรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานุกูล เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ และพบว่าเป็นโรงพยาบาลที่ตั้งในพื้นที่ห่างไกล ประชาชนเดินทางมารับการรักษาต่อ เป็นไปด้วยความยากลำบาก และ แพทย์ที่ประจำอยู่ ณ โรงพยาบาลฯ ต้องดูแลรักษาผู้ป่วยโรคที่ซับซ้อนต่อเนื่อง โดยหลังจากผู้ป่วยจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ มีความยากลำบากในการปรึกษา case ผู้ป่วยกับแพทย์เฉพาะทางที่ประจำ ณ โรงพยาบาลในจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบกับหนึ่งใน ยุทธศาสตร์ ของคณะแพทยศาสตร์ คือ Digital hospital และ Telemedicine

คณบดีฯ จึงประสานงานกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อขอรับการสนับสนุน จออัจฉริยะ (idea hub) และ อุปกรณ์กระจายสัญญาณ 5G CPE ให้แก่โรงพยาบาลเทพรัตน์ ฯ และประสานงานกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ในการขยายสัญญาณ 5G ให้ครอบคลุม พื้นที่โรงพยาบาลเทพรัตน์ฯ เพื่อดำเนินการโครงการ Telemedicine ระหว่างคณะแพทยศาสตร์ มช. และโรงพยาบาลเทพรัตน์ฯ เพื่อให้การปรึกษาผู้ป่วย ทำได้โดยไม่ต้องเดินทางมาพบแพทย์เฉพาะทาง ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

“ศักยภาพในการรองรับเทคโนโลยี 5G ของคณะแพทย์ มช. มีความพร้อมแบบเต็มรูปแบบ โดยได้ปรับระบบภายในใหม่ คือ Electric medical record (โดยใช้ชื่อว่า i-viewer) พัฒนาแอปพลิเคชัน Lineสวนดอก เพื่อเป็น Digital platform ที่เชื่อมต่อระบบ Telemedicine platform ที่กำลังพัฒนาผ่านโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก กระทรวงดิจิทัล เศรษฐกิจและสังคม”

โครงการดังกล่าว จะขยายระบบ Telemedicine ให้ครอบคลุมอีก 19 โรงพยาบาลในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งการให้บริการด้านสาธารณสุขกับประชาชน โดยบุคลากรทางการแพทย์ ผ่านทางเทคโนโลยีและการสื่อสารแบบ Video conference เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันโรค โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาและสถานที่ ดังกล่าว จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงการรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ในชนบทห่างไกลไม่จําเป็นต้องเดินทาง สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ โดยแพทย์สามารถรับคำปรึกษา ตรวจวินิจฉัย และรักษา

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เปิดแผนขับเคลื่อน Metaverse กับ “ดร.นที เทพโภชน์” นายกสมาคมเมตาเวิร์สไทย

Meta จับมือสอบสวนกลาง เปิดตัวฟีเจอร์ ช่วยตามหาเด็กหาย บน Facebook และ Instagram

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ