TH | EN
TH | EN
หน้าแรกLifeGlobish แนะเรียนออนไลน์ผสมออฟไลน์ ตอบโจทย์การศึกษาโลกยุคใหม่

Globish แนะเรียนออนไลน์ผสมออฟไลน์ ตอบโจทย์การศึกษาโลกยุคใหม่

โกลบิช สตาร์ตอัพ EdTech ชี้ “โควิด-19” เป็นปัจจัยเร่งส่งผลให้การศึกษาทั่วโลกปรับตัวสู่การเรียนออนไลน์เต็มรูปแบบ ส่งผลให้เด็ก ผู้ปกครอง และครูคุ้นเคยกับการเรียนออนไลน์มากขึ้น แนะวงการศึกษาไทยควรสร้างมิติใหม่ในด้านรูปแบบการเรียนรับเปิดเทอม โดยผสมผสานการเรียนในห้องเรียนและการเรียนออนไลน์เข้าด้วยกันเพื่อสร้างรูปแบบการเรียนรู้ที่มีศักยภาพ ดึงจุดแข็งของการเรียนแต่ละแบบชดเชยจุดอ่อนกันและกัน ทั้งยังเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกรณีโควิด-19 ที่อาจกลับมาระบาดรอบสอง ชี้การเรียนออนไลน์ควรจัดสรรอย่างเหมาะสม

พร้อมเปิดสถิติเกี่ยวกับการใช้สมาธิในการเรียนของเด็กอายุ 6-9 และ 10-12 ปี พบว่าเด็กอายุ 6-9 ปี จะมีสมาธิที่ 20-45 นาที และสำหรับเด็กอายุ 10-12 ปี จะมีสมาธิที่ 30-60 นาที ซึ่งการเรียนในห้องเรียนหรือการเรียนออฟไลน์ปกติในโรงเรียน 1 คาบ ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 50 นาที ซึ่งนานเกินกว่าช่วงสมาธิของเด็กทั่วไปอยู่แล้ว และเมื่อโรงเรียนนำการเรียนแบบออฟไลน์มาจัดเป็นรูปแบบออนไลน์ ยิ่งควรต้องคำนึงถึงการทำให้เวลาเรียนสั้น และกระชับมากยิ่งขึ้น

นายธกานต์ อานันโทไทย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์) จำกัด (Globish) เผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาโควิด-19 ได้เข้ามาเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการเรียนการสอนออนไลน์ ทำให้เยาวชน ผู้ปกครอง และบุคลากรครูทั่วประเทศปรับตัวเข้าสู่โลกการเรียนการสอนออนไลน์ นำมาซึ่งการเรียนรู้ข้อดีและข้อเสียของเนื้อหาการเรียนรู้ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการปรับปรุงพัฒนาเนื้อหาและวิธีการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น แต่ด้วยปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโควิด-19 แม้สถานการณ์จะดีขึ้นแต่ก็ยังไม่สามารถวางใจได้ว่าจะเกิดการแพร่ระบาดซ้ำเหมือนในหลายประเทศหรือไม่

ฉะนั้นการเตรียมความพร้อมรับมือหากการแพร่ระบาดเกิดขึ้นในวงกว้างจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลยโดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมด้านการศึกษารองรับภาวะวิกฤติโควิด-19 และวิกฤติอื่น ๆ เพื่อไม่ให้การศึกษาของเด็กและเยาวชนสะดุด ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นโอกาสอันดีในการพัฒนาการศึกษาผ่านออนไลน์เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและช่องว่างการศึกษาในประเทศ

ทั้งนี้การพัฒนารูปแบบการสอนมิติใหม่ด้วยการผสมผสานระหว่างการเรียนการสอนออนไลน์ และการเรียนในห้องเรียน ด้วยการดึงจุดแข็งของการเรียน 2 รูปแบบส่งเสริมกัน เพื่อสร้างมาตรฐานการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดจนนำไปสู่การยกระดับคุณภาพประชากรของประเทศ เพื่อนำไปสู่การสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ แม้การเรียนในแบบออนไลน์จะมีจุดแข็งมากมายอาทิ สร้างโลกการศึกษาไร้พรมแดน ประหยัดเวลาในการเดินทาง ค่าใช้จ่าย ส่งเสริมทักษะในการกล้าแสดงออก เป็นศูนย์รวมแหล่งข้อมูล ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว

แต่ก็ยังมีจุดอ่อนที่สามารถชดเชยด้วยการเรียนในห้องเรียนได้ ซึ่งการเรียนในห้องเรียนช่วยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อรวมชั้น ฝึกการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน รวมถึงฝึกการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในห้องเรียน

“ปัจจุบันโลกของการเรียนรู้ เทคโนโลยีได้เข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงมากมาย นำเสนอแนวทางใหม่ ๆ ควบคู่กับการเรียนรู้ที่สะดวกสบาย ทำให้เข้าถึงได้ง่าย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพที่มากขึ้น ปลดล็อคการเรียนในห้องแคบสู่การเรียนรู้ในโลกกว้าง ดังนั้นการเรียนออนไลน์จึงเป็นเทรนด์ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันเมื่อเกิดภาวะวิกฤติโควิด-19 ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้ประเทศไทย และทั่วโลกมีมาตรการ Social Distancing ซึ่งนับเป็นจุดเร่งการเปลี่ยนแปลงให้การศึกษาทั่วโลกปรับตัวสู่การเรียนการสอนบนออนไลน์เร็วขึ้น โดยการนำ เทคโนโลยีด้านการศึกษา หรือ Educational Technology” มาใช้ในการเรียนการสอน แบ่งรูปแบบเป็น E-leaning และ Live Online ส่งเสริมการนำเสนอเนื้อหาที่มีความน่าสนใจขึ้น และกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างนักเรียนและครูได้มากขึ้น ฉะนั้นควรถือโอกาสประยุกต์การเรียนการสอนออนไลน์เข้ากับการเรียนการสอนในห้องเรียนเพื่อเติมเต็มการเรียนการสอนที่ทรงประสิทธิภาพในกับระบบการศึกษาไทย” นายธกานต์ กล่าว

นางสาวชื่นชีวัน วงษ์เสรี เจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายธุรกิจ และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์) จำกัด เผยว่า Globish ได้ออกแบบดีไซน์ทุกหลักสูตร และพัฒนาทุกแพลตฟอร์ม เพื่อตอบโจทย์รูปแบบการเรียนให้เหมาะกับคนไทยมากที่สุด โดยให้ความสำคัญและวิเคราะห์หลักสูตรการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์เชิงลึก เพื่อตอบโจทย์การเรียนการสอนของครูและนักเรียนมากที่สุด เช่น การจัดสรรเนื้อหาการเรียน เทคนิคการสอน การใช้สื่อการสอนต่าง ๆ และการจัดสรรเวลาในชั่วโมงเรียนแต่ละวัน

ซึ่งช่วงเวลาเป็นโจทย์ที่สอดคล้องกับสถิติจากผลวิจัยด้านการใช้สมาธิในการเรียนของเด็กอายุ 6-9 และ 10-12 ปี ที่พบว่าเด็กอายุ 6-9 ปี จะมีสมาธิที่ 20-45 นาที และสำหรับเด็กอายุ 10-12 ปี จะมีสมาธิที่ 30-60 นาที ซึ่งแม้ว่าการเรียนในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์นั้นแตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันนั้นคือเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ในการมุ่งผลักดันยกระดับความรู้ความสามารถเด็กไทยให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่นอกเหนือจากเด็กนักเรียนที่ต้องมีการปรับตัวให้พร้อมรับมือกับการเรียนรูปแบบใหม่แล้ว วันนี้ครูผู้สอนอาจต้องมีการพัฒนาเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อปรับรูปแบบการสอนใหม่ เตรียมตัวที่จะสอนเพื่อดึงดูดให้เด็กสนใจด้วยเทคนิคการสอนที่สอดแทรกกิจกรรมโต้ตอบความสัมพันธ์กันในระหว่างเรียน มีการบ้านให้เด็กทำ และที่สำคัญต้องนึกถึงว่าเวลาเรียนเด็กจะเกิดปัญหา หรือความสงสัยอะไรในบทเรียน เพราะเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนเรียนเร็ว บางคนเรียนช้า ซึ่งการเรียนออนไลน์ที่มีการบันทึกวิดีโอไว้ จะทำให้เด็กสามารถกลับมาย้อนดูได้ แต่การทำให้เด็กโฟกัสตอนเรียนได้ดีเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นที่สุด

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

-ซิสโก้ปรับโซลูชั่นใหม่ รองรับเทรนด์ทำงานในอนาคต
-Tencent ปิดดีล iflix สยายปีก ยึดตลาดวิดีโอสตรีมมิ่ง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
-SCG แจกทุนป.โท “Data Science” คว้างานแห่งอนาคต
-อรูบ้า ส่ง Aruba ESP ระบบเครือข่ายปลายทางอัจฉริยะ รับ New Normal
-Dell EMC PowerStore โครงสร้างพื้นฐานสตอเรจยุคใหม่ แก้ปัญหาธุรกิจช่วงวิกฤติ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ