TH | EN
TH | EN
หน้าแรกLifeผลวิจัยชี้ผู้คนในเอเชียแปซิฟิก 79% เชื่อใจหุ่นยนต์มากกว่ามนุษย์ในเรื่องการเงิน

ผลวิจัยชี้ผู้คนในเอเชียแปซิฟิก 79% เชื่อใจหุ่นยนต์มากกว่ามนุษย์ในเรื่องการเงิน

ปี 2020 ถือเป็นปีที่คนมีการเปลี่ยนแปลงความคิดต่อสถานภาพทางการเงิน งานศึกษาครั้งล่าสุดโดยออราเคิล ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์เริ่มเชื่อถือหุ่นยนต์มากกว่าตนเองในการบริหารการเงิน ซึ่งเป็นผลของการสำรวจความคิดเห็นของผู้คนทั่วไปและผู้นำองค์กรธุรกิจมากกว่า 2,500 คนในประเทศแทบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์

งานศึกษาระบุว่าวิกฤติโควิด-19 ก่อให้เกิดความวิตกกังวล ความเศร้า และความหวาดกลัวมากขึ้นแก่ผู้คนทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นการเปลี่ยนแปลงคน หรือสิ่งที่เป็นปัจจัยที่เราเชื่อถือในการนำมาบริหารจัดการเงิน นอกจากนี้ งานวิจัยยังชี้ว่าผู้คนเริ่มทบทวนเกี่ยวกับบทบาท และความสำคัญของทีมงานฝ่ายการเงินขององค์กร และที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล

โควิด-19 ก่อให้เกิดความกังวล ความเศร้า และความกลัวในเรื่องการเงิน

วิกฤติการแพร่ระบาดทั่วโลก ส่งผลกระทบเชิงลบต่อความสัมพันธ์ของผู้คนกับเงินทั้งชีวิตส่วนตัว และที่ทำงาน

  • ผู้นำองค์กรในเอเชียแปซิฟิกเล็งเห็นถึงความวิตกกังวล และความตึงเครียดทางการเงินที่เพิ่มขึ้นสูง ในทุกประเทศที่ทำการสำรวจภายในภูมิภาคนี้ โดยมีอัตราเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 136% สูงสุดคือจีนที่ 200% และตามมาด้วยสิงคโปร์ 157%
    • ความเศร้าในกลุ่มนักธุรกิจทั่วเอเชียแปซิฟิกมีเพิ่มขึ้นถึง 91% โดยสิงคโปร์มีอัตราสูงสุดของภูมิภาคเพิ่มขึ้นถึง 200%
    • ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกมีความวิตกกังวล และความเศร้า เพิ่มขึ้นเกือบ 3เท่า โดยพุ่งสูงขึ้นถึง 118%
  • ผู้นำองค์กรในเอเชียแปซิฟิกกว่า 92% รู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรจากสถานการณ์โควิด-19 โดยเรื่องที่วิตกกังวลเหมือนกันมากที่สุดคือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ล่าช้า หรือเศรษฐกิจถดถอย (57%) การตัดงบประมาณ (43%) และการล้มละลาย (26%)
  • ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิก 89% กำลังประสบกับความวิตกกังวลทางการเงิน ซึ่งรวมถึงการสูญเสียงาน (38%) โดยสิงคโปร์มีความกลัวเรื่องนี้สูงสุดถึง 53% และความกลัวเรื่องการสูญเสียเงินออม (44%) โดยเป็นชาวญี่ปุ่นมีความกลัวเรื่องนี้สูงสุดถึง 53% และไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ได้หมด (22%)
  • ความวิกกังวลในเรื่องต่างๆ ทำให้ผู้คนนอนไม่หลับ: ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิก 41% เผยถึงอาการนอนไม่หลับเพราะมีความกังวลเรื่องสถานะทางการเงินส่วนตัว โดยอินเดียที่มีถึง 59% ตามมาด้วยสิงคโปร์ 53%

ผู้คนต้องการตัวช่วยและเชื่อถือหุ่นยนต์มากกว่าตนเองในการบริหารเงิน

ความผันผวนทางการเงินจากวิกฤติโควิด-19 เปลี่ยนแปลงรูปแบบของบุคคล หรือสิ่งที่มนุษย์เชื่อถือในการบริหารการเงิน โดยเริ่มมีผู้บริโภคและผู้นำองค์กรจำนวนมากขึ้นที่เชื่อถือเทคโนโลยีมากกว่ามนุษย์ ในการรับมือกับความซับซ้อนทางการเงินในปัจจุบัน

  • ผู้บริโภคและผู้นำองค์กรในเอเชียแปซิฟิก 79% เชื่อถือหุ่นยนต์มากกว่ามนุษย์ ในการบริหารการเงิน โดยชาวออสเตรเลียมีความเชื่อมั่นในหุ่นยนต์ต่ำสุดในเอเชียแปซิฟิก (55%) 
  • ผู้นำองค์กรในเอเชียแปซิฟิก 84% เชื่อใจหุ่นยนต์มากกว่าตนเองในการบริหารการเงิน โดยกว่า 83% เชื่อถือหุ่นยนต์มากกว่าทีมงานฝ่ายการเงิน
  • ผู้นำองค์กรในเอเชียแปซิฟิก 89% เชื่อว่าหุ่นยนต์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตนเองได้ ด้วยความสามารถด้านการวิเคราะห์ต้นทุน/กำไร (32%) การตรวจสอบการทุจริต (27%) และการจัดทำใบแจ้งหนี้ (25%)
  • ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิก 68% เชื่อถือหุ่นยนต์มากกว่าตนเองในการบริหารการเงิน โดยเกือบ 3 ใน 4 (76%) เชื่อถือหุ่นยนต์มากกว่าที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล
  • ผู้บริโภคกว่า 80% เชื่อว่าหุ่นยนต์สามารถช่วยบริหารการเงินได้ โดยเชื่อว่าหุ่นยนต์มีประโยชน์ในการตรวจสอบการทุจริต (36%) การลดการใช้จ่าย (23%) แต่กลับช่วยเรื่องการลงทุนในตลาดหุ้นได้น้อยที่สุด (19%)

บทบาทของทีมการเงิน และที่ปรึกษาทางการเงินจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

ในการปรับตัวให้ทันต่ออิทธิพลและบทบาทของเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องฝ่ายการเงินขององค์กรและที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาทักษะใหม่ๆ

  • ผู้นำองค์กรในเอเชียแปซิฟิก 60% เชื่อว่าหุ่นยนต์จะมาแทนที่ ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินขององค์กรในอีก 5 ปีข้างหน้า
  • ผู้นำองค์กรในสิงคโปร์ 86% ต้องการความช่วยเหลือจากหุ่นยนต์สำหรับงานด้านการเงิน โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องการจัดงบประมาณและการคาดการณ์ (45%) การอนุมัติทางการเงิน (43%) การปฏิบัติตามระเบียบและการบริหารความเสี่ยง (43%) และการรายงานผล (37%)
  • อย่างไรก็ดี ผู้นำองค์กรในเอเชียแปซิฟิกยังนิยมใช้ผู้ ปฏิบัติงานด้านการเงินขององค์กรมากกว่า ในด้านการสื่อสารกับลูกค้า (41%) การต่อรองขอส่วนลด (34%) และการอนุมัติธุรกรรม (27%)
  • เกือบครึ่งหนึ่ง 48%) ของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะในจีนกว่า 63% เชื่อว่าหุ่นยนต์จะมาแทนที่ ที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคลในอีก 5 ปีข้างหน้า 
  • ผู้บริโภค 79% ต้องการให้หุ่นยนต์ช่วยบริหารการเงินของพวกเขา เพื่อให้พวกเขามีเวลาว่างมากขึ้น (38%) ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น (34%) และช่วยให้ชำระหนี้ตรงเวลามากขึ้น (27%)
  • อย่างไรก็ตามผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิก ยังเชื่อถือที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล ในการขอคำแนะนำหรือการตัดสินใจซื้อครั้งสำคัญ เช่น การซื้อบ้าน (37%) การซื้อรถยนต์ (34%) และการวางแผนวันหยุดยาว (33%)

เมื่อความสัมพันธ์กับเงินเปลี่ยนแปลง: ยุคแห่งการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อบริหารการเงิน

ในปี 2020 ได้เปลี่ยนแปลงวิธีคิดของผู้บริโภคในเรื่องเงินไปอย่างสิ้นเชิง และยังทำให้องค์กรต่างๆ หันมาทบทวนแนวทางการใช้ AI (ปัญญาประดิษฐ์) และเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการบริหารขั้นตอนทางการเงิน

  • ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิก 64% กล่าวว่าการแพร่ระบาดทำให้วิธีการซื้อสินค้าและบริการเปลี่ยนไป
  • ผู้นำองค์กรในเอเชียแปซิฟิก 90% กล่าวว่าองค์กรที่ไม่ทบทวน การดำเนินขั้นตอนทางการเงินนั้นจะต้องประสบกับความเสี่ยง ซึ่งรวมถึงการล้าหลังคู่แข่ง (41%) การรายงานผลที่ไม่แม่นยำ (40%) กำลังการผลิตของพนักงานลดน้อยลง (39%) และคนงานมีความตึงเครียดมากขึ้น (38%) 
  • ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิก 74% กล่าวว่าเหตุการณ์ในปี 2020 เปลี่ยนแปลงวิธีการบริหารเงินของพวกเขา โดยผู้คนรู้สึกวิตกกังวล (29%) หวาดกลัว (24%) และรู้สึกว่าเงินสดนั้นไม่สะอาด (22%) ซึ่งจริง ๆ แล้ว ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกทุกวันนี้ 1ใน 3 เน้นย้ำว่า การตั้งเงื่อนไขการชำระเงินที่รับเฉพาะเงินสด ถือเป็นปัญหาใหญ่ของการทำธุรกิจในปัจจุบัน
  • ธุรกิจต่างๆ มีการตอบสนองอย่างรวดเร็ว โดยผู้นำองค์กร 73% ลงทุนติดตั้งเทคโนโลยีการชำระเงินบนระบบดิจิทัล และ 64% สร้างการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้ารูปแบบใหม่หรือเปลี่ยนแปลงโมเดลธุรกิจใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19

ทวีศักดิ์ แสงทอง กรรมการผู้จัดการ ออราเคิล ประเทศไทย กล่าวว่า เทคโนโลยีในปัจจุบันเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม องค์กรภาครัฐ เอกชน และผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมการเงิน ทั้งในเอเชียแปซิฟิกและรวมถึงประเทศไทย มีการนำเทคโนโลยี AI (ปัญญาประดิษฐ์) หรือ โซลูชั่นต่าง ๆ มาปรับใช้มากขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ว่าจะเป็น การบริหารจัดการการเงิน การลงทุน การออมเงิน การใช้จ่ายต่าง ๆ ให้เข้าสู่สังคมไร้เงินสด (cashless society) และ ไร้การสัมผัส (contactless society)

จากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งผลงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า AI (ปัญญาประดิษฐ์) จะกลายเป็นตัวช่วยสำคัญให้กับผู้คน และองค์กรในการบริหารจัดการเงินในทุกด้าน รวมไปถึงการลงทุนในด้านต่าง ๆ ที่มีความเป็นดิจิทัลมากขึ้น ดังนั้นเทคโนโลยีเหล่านี้จึงเป็นสิ่งจำเป็น เมื่อเผชิญกับวิฤตต่างๆ ที่ท้าทาย และไม่สามารถคาดการณ์ได้ในอนาคต

“ออราเคิลเรามุ่งมั่น ที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อก้าวเข้าสู่ระบบการเงินยุคใหม่ ที่เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และการทำงาน อีกทั้งนำเสนอโซลูชั่นขั้นสูง ด้วยระบบ ERP Cloud ที่จะขับเคลื่อนองค์กร ในการบริหารจัดการระบบบัญชีการเงิน และลดภาระของนักบัญชีการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เพื่อให้ทันต่อโลกที่เปลี่ยนไปในทุก ๆ วัน”

นอกจากนี้ ทวีศักดิ์ ยังเผยถึงผลประกอบการไตรมาสต์ 3 ของออราเคิล คอร์ปอเรชั่นทั่วโลกนั้น มีผลกำไรจาก ERP Cloud เพิ่มขึ้นจากไตรมาสต์ 2 ถึง 30% ด้วยลูกค้ามากกว่า 7,500 รายทั่วโลก ที่ใช้ AI และ Machine Learning บน Oracle ERP Cloudในการเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ ช่วยประหยัดแรงในการทำงาน และ ยังทำให้องค์กรธุรกิจสามารถมุ่งเน้นในเรื่องการขยายฐานธุรกิจ การสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ ได้เพิ่มมากขึ้น

อีกทั้งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ออราเคิล ประเทศไทยยังได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนธุรกิจค้าปลีก โลตัส ประเทศไทย ทั้งในด้านออนไลน์ช็อปปิ้ง และอีกกว่า 2,000 สาขาของ รวมไปถึงโลตัส มาเลเซีย เพื่อสร้างแพลตฟอร์มทางธุรกิจค้าปลีกที่ทันสมัย ด้วยประสิทธิของเทคโนโลยี และโซลูชั่นของออราเคิลอีกด้วย

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ