TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistDecentralize Finance ระบบการเงินที่จ้อง Disrupt ธนาคาร

Decentralize Finance ระบบการเงินที่จ้อง Disrupt ธนาคาร

ระบบการเงินโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันล้วนแล้วแต่มี “คนกลาง” เป็นผู้จัดการ ตั้งแต่ธนาคารกลาง ธนาคารพาณิชย์ ตลาดหลักทรัพย์ ฯลฯ บทบาทหน้าที่ของคนกลาง ก็คือ ควบคุมดูแลระบบการเงินให้เดินไปได้อย่างมั่นคง

-สรุป Libra 2.0 แบบเข้าใจง่าย และโอกาสสำหรับคนไทย

กล่าวได้ว่าสิ่งที่ค้ำยันอุตสาหกรรมการเงินมาตั้งแต่อดีต คือ ความเชื่อมั่น (Trust) และความชำนาญ (Professional) ของนักการเงินและนายธนาคาร เพื่อดึงดูดให้เกิดความเชื่อใจในการนำเงินไปฝากเพื่อปล่อยกู้ต่อหรือนำไปลงทุน

แต่ความล่มสลายของสถาบันการเงินในอดีตที่ผ่านมาตั้งแต่ธนาคารแบริ่ง เลห์แมนบราเธอร์ ฯลฯ รวมถึงการฉ้อฉลต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดและความตั้งใจของมนุษย์ผู้ซึ่งเรียกตัวเองว่านักการเงินทั้งสิ้น

ไม่นับรวมช่องโหว่งในระบบการเงินแบบปิดหรือแบบที่มีศูนย์กลางจัดการ (Centraized) ที่ทำให้กลุ่มคนบางกลุ่มในโลกไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินรวมถึงต้องจ่ายส่วนต่างหรือค่าธรรมเนียมที่แสนแพง

Decentralize Finance หรือ Defi เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา โดยมีแนวคิด คือ การที่เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ ได้โดยไม่มีคนกลางเป็นคนจัดการ 

แต่ใช้บล็อกเชนและสมาร์ทคอนแทรคท์ในการจัดการแทน โดยใช้สินทรัพย์ดิจิทัลโดยเฉพาะ Ethereum ในการทำธุรกรรม รวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นที่เกิดขึ้นมาใหม่เพื่อใช้สำหรับ Defi โดยเฉพาะ

การตัดการตัดสินใจโดยคนออกไปจะช่วยลดปัญหาการฉ้อโกงลงไปได้โดยอยู่ภายใต้แพลตฟอร์มและระบบที่ทำงานโดยสมาร์ทคอนแทรคท์ที่ไม่สามารถแทรกแซงได้ รวมถึงการตัดคนกลางออกไปจะช่วยให้ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการทำธุรกรรมลดลง

Decentralize Finance มีบริการต่าง ๆ เช่นเดียวกับธนาคาร โดยบริการที่ถูกจับตาว่าจะเข้ามาแทนที่ระบบการเงินปกติมากที่สุด ก็คือ Lending หรือการกู้ยืมกันเองแบบ Peer-To-Peer โดยไม่มีนายธนาคารเข้ามาตัดสินใจแทน 

ผู้ที่มีเงินสดเหลือต้องการที่จะสร้างผลตอบแทนการลงทุนก็เพียงแค่นำไปแปลงเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่รองรับธุรกรรม Lending จากนั้นนำไปฝากไว้บนแพลตฟอร์มที่ให้บริการ 

ผู้ที่ต้องการกู้เงินจะต้องฝากสินทรัพย์ดิจิทัลของตัวเองไว้บนแพลตฟอร์มเช่นกันเพื่อเป็นการค้ำประกันในการขอกู้ เมื่อใดที่ไม่มีการชำระคืน สมาร์ทคอนแทรคท์ที่ได้ตั้งไว้จะทำการยึดสินทรัพย์ดิจิทัลที่มาค้ำประกันเอาไว้  

จะว่าไปแล้วนี่คือ “โรงรับจำนำ” ในยุคดิจิทัลนั่นเอง

การปล่อยกู้รูปแบบดังกล่าวเข้ามาแก้ไข Pain Point ของการปล่อยกู้ในปัจจุบันที่กลุ่มผู้เข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน (Unbank) ที่ยังมีอยู่นับพันล้านคนทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในโลกที่สาม หรือแม้แต่ผู้ที่มีบัญชีธนาคารบางครั้งยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้

นอกจากการกู้ยืมแล้ว ธุรกรรมบน Defi ยังมี DEX (Decentralize Exchange) หรือ Exchange ที่เป็นตลาดซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่มีการกักเก็บทรัพย์สินของลูกค้าเอาไว้ รวมไปถึงธุรกรรมอย่าง จัดการกองทุน ระบบชำระเงิน ตราสารอนุพันธ์ หรือแม้แต่ Lottery !! เรียกได้ว่ามีทุกอย่างที่สถาบันการเงินมีเพียงแค่ทำงานอย่างไม่มีคนกลางเท่านั้น

ณ เวลาปัจจุบัน คือ กลางเดือนกรกฎาคม 2563 มูลค่าสินทรัพย์ของอุตสาหกรรม Decentralize Finance ทั่วโลกอยู่ที่ระดับ 2,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 64,000 ล้านบาท อาจจะเห็นว่าไม่สูงมาก แต่เมื่อต้นปี 2563 ยังมีมูลค่าเพียง 700 ล้านดอลลาร์ เท่ากับว่าเติบโตขึ้นกว่าสองเท่าในช่วงเวลาไม่กี่เดือนเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม Defi ยังมีข้อบกพร่องไม่น้อย ตั้งแต่ความปลอดภัยในการใช้งาน ตลอดจนอัตราผลตอบแทนและดอกเบี้ยที่ยังไม่นิ่ง เนื่องจากยังเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่มาก 

แต่ด้วยคอนเซปต์ที่ไร้คนกลางรวมถึงการเชื่อมต่อถึงกันทั่วโลกที่สามารถแก้ไข Pain Point ของระบบการเงินได้ในบางส่วน น่าจะเป็นปัจจัยผลักดันให้ Defi สามารถเติบโตได้ในช่วงเวลาหลังจากนี้ แต่จะโตไปได้ถึงระดับไหนต้องติดตามกันต่อไป

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ