TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistสรุป Libra 2.0 แบบเข้าใจง่าย และโอกาสสำหรับคนไทย

สรุป Libra 2.0 แบบเข้าใจง่าย และโอกาสสำหรับคนไทย

หลังจากที่ Facebook ได้เปิดตัวสกุลเงิน Libra ในปีที่แล้วออกไป ได้ถูกแรงกดดันจากหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินทั่วโลกโดยเฉพาะสภาครองเกรสของสหรัฐฯที่ตั้งคำถามเรื่องความโปร่งใสของสกุลเงินดังกล่าว จนทำให้ซีอีโออย่าง มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ต้องยอมถอยหลังหนึ่งก้าว

จนกระทั่งได้เปิดตัว Libra 2.0 ซึ่งปรับเปลี่ยนนโยบายใหม่โดยจะมีอยู่ด้วยกันสองสกุล คือ แบบแรก Single Currency Coin จากเดิมที่มี Libra สกุลเดียวและใช้ระบบตะกร้าเงิน

โดยจะเปิดโอกาสให้ธนาคารกลางทั่วโลกสามารถสร้าง Stablecoins ของตัวเองบน Libra Network ระยะแรกจะเริ่มต้นด้วยสกุลเงิน USD,EURO,GBP และ SGD โดยจะมีสกุลเงิน Fiat รองรับแบบ 1:1

แบบที่สองคือ Global Libra ใช้ในการโอนเงินระหว่างประเทศโดยอัตราแลกเปลี่ยนจะใช้การคำนวนค่าเฉลี่ยของทุกสกุลที่เป็น Stablecoins ภายใต้ Libra Network โดยจะเริ่มต้นจากสี่สกุลในแบบแรกก่อน

คุณสมบัติของ Global Libra จะช่วยให้ผู้ใช้งาน Facebook รวมถึงเครือข่ายอย่าง Whatapps,Instragam ที่มีรวมกันกว่า 3,000 ล้านคนทั่วโลกใช้โอนซื้อของระหว่างกันได้ไม่ต่างจากการส่งแมสเสจ ช่วยให้การชำระเงินเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและต้นทุนต่ำ

ตัวอย่างง่าย ๆ คือถ้าเราเปิดร้านขายของผ่านเพจของ Facebook อยู่แล้วก็จะสามารถขายของให้กับผู้ซื้อได้ทั่วโลกเพียงแค่ปลายนิ้วเท่านั้น โดย Facebook กำลังยื่นขอไลเซ่นส์ทางการเงินกับหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศสวิสเซอร์แลนด์และสหรัฐอเมริกา

ทำให้ Libra ไม่ใช่หน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไรอีกต่อไปแต่เป็นสถาบันทางการเงิน

ทั้งนี้รูปแบบที่สองจะมีหน่วยงานกำกับดูแลตามกฎหมายทางการเงินของแต่ละประเทศรวมถึงมีการตรวจสอบป้องกันการฟอกเงินและสอดส่องการทำธุรกรรม และผู้ที่จะใช้งานต้องมีการขอใบอนุญาตก่อน

โดยสกุลเงิน Global Libra จะมีผู้เกี่ยวข้องอยู่ด้วยกันสี่กลุ่มคือธนาคารพาณิชย์ที่ต้องการใช้สกุลเงินดังกล่าวต้องนำเงินสดสภาพคล่องใส่สำรองไว้ที่ Libra Network กลุ่มที่สองคือ Crypto Exchange ที่มีไลเซ่นส์ทางการเงินที่ต้องการใช้สกุลเงินดังกล่าวต้องมาขออนุญาต กลุ่มที่สามคือ Crypto Exchange กลุ่มที่ไม่ได้มีไลเซ่นส์ทางการเงิน
กลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มที่ไม่ใช่สถาบันทางการเงินอย่างเช่น Super App ต่างๆหากต้องการเชื่อมต่อกับ Libra Network ก็ต้องมาขออนุญาตแต่จะถูกจำกัดการใช้งานต่อวัน

ข้อได้เปรียบของ Libra คือการมีฐานผู้ใช้ในเครือข่ายของ Facebook อยู่ในมือกว่า 3000 ล้านคนที่พร้อมจะทดลองใช้ทันที และ Facebook เองน่าจะเปิดตัวโปรดักต์และบริการใหม่ๆออกมารองรับสกุลเงิน Libra แน่นอน

หากพิสูจน์ได้ว่า Libra มีความเร็วในการโอน ค่าธรรมเนียมต่ำหรือไม่มีเลยและมีความโปร่งใส สกุลเงินดังกล่าวน่าจะเข้ามาแบ่งตลาดของการชำระเงินรูปแบบเก่าไปได้บางส่วน

แม้จะถูกมองว่าสุดท้ายก็ไม่ต่างอะไรกับบริการชำระเงินออนไลน์ที่มีอยู่แล้วในทุกวันนี้ แต่ด้วย Ecosystem ของ Facebook ที่ใหญ่และหลากหลาย Libra จะเข้ามาช่วยเติมเต็มให้อาณาจักร Facebook มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นและ Libra จะเป็นมากกว่าบริการทางการเงินได้

ส่วนโอกาสที่คนไทยจะได้ใช้งาน Libra2.0 หากพิจารณาจากเงื่อนไขของ Global Libra ต้องบอกว่า “มีโอกาส” ที่คนไทยจะได้ใช้ผ่าน Exchange ที่ได้รับไลเซ่นส์อยู่ในประเทศไทย เพราะใน Whitepaper ไ้ด้ระบุชัดเจนว่ากลุ่มนี้มีสิทธิในการขออนุญาตกับทาง Libra Association และนำ Libra ไปใช้ได้

แต่การนำไปแลกเปลี่ยนกับสกุลเงินบาทหรือใช้จ่ายในประเทศได้หรือไม่นั้นอาจต้องศึกษาในแง่กฎหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยให้ชัดเจนเสียก่อน

ส่วนกลุ่มผู้ใช้งานอื่นๆอย่างสถาบันการเงิน,Super Apps อาจยังไม่ให้ความสนใจในช่วงแรกของ Libra มากนักเพราะต่างมี Eco System เป็นของตัวเองอยู่แล้ว แต่หากสกุลเงินดังกล่าวมีประสิทธิภาพจริงก็อาจจะมาขออนุญาตใช้งานอีกทีก็เป็นได้

ภาพจาก Pixabay

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

-ทุกคู่เท่าเทียม …. กู้ร่วมซื้อบ้านได้
-ใช้สื่อออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ เพื่อลด “Hate speech”
-Globish แนะเรียนออนไลน์ผสมออฟไลน์ ตอบโจทย์การศึกษาโลกยุคใหม่
-หัวเว่ย ชี้สร้างระบบนิเวศ 5G ช่วยยกระดับอุตสาหกรรมไทย
-KBTG เปิดตัว “Eatable” แพลตฟอร์มบริการสั่งอาหารรูปแบบใหม่

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ