TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistรหัส(ไม่)ลับที่เรียกว่า “Keystone Success” และใช้กระบวนท่า “คนหลายใจ”

รหัส(ไม่)ลับที่เรียกว่า “Keystone Success” และใช้กระบวนท่า “คนหลายใจ”

เคยไหม? ได้รับมอบหมายให้สร้างในสิ่งที่แทบจะไม่มีคนรู้จัก แม้กระทั่งตัวคุณเอง แล้วเรื่องนั้นก็ไม่ใช่ทำเพื่อตัวเอง แต่เพื่อสร้างอนาคตให้คนอื่น 

ถ้าคำตอบคือ ใช่ หลายคนน่าจะยังจำความรู้สึกในตอนนั้นได้ ผู้เขียนตั้งคำถามให้ตัวเองว่า “ฉันต้องทำอย่างไรต่อ” ผู้เขียนเองก็เคยอยู่ในโมเม้นแบบนั้นเมื่อครั้งที่ได้รับมอบหมายให้มาร่วมสร้าง fundamental decade ของ Thailand Startup Ecosystem ในช่วงปี 2013

หลายคนเริ่มต้น ผลักดัน จนทำออกมาได้ ด้วยรหัสลับและกระบวนท่าที่แตกต่างกันไป และออนก็เป็นเหมือนเช่นหลาย ๆ คน

รหัส(ไม่)ลับที่ผู้เขียนใช้ เรียกว่า “Keystone Success” และใช้กระบวนท่า “คนหลายใจ” ก่อนจะเล่าถึงรายละเอียด ต้องขออนุญาตให้เครดิต Prof. Klaus Moessner ผู้ที่เป็น First and forever boss ของผู้เขียนที่หล่อหลอมแนวคิดและวิธีการนี้มาให้ตั้งแต่ปี 2003 และได้นำมาประยุกต์ใช้จนปัจจุบัน

ก่อนอื่นต้องขออกตัวก่อนว่าผู้เขียนไม่ได้อยู่ใน First day ของ Thailand Startup Ecosystem เหมือนที่หลาย ๆคนเข้าใจ แต่ก้าวเท้าเข้ามาหลังจากเริ่มก่อตั้งได้ 2-3 ปีแล้ว เป็นช่วงรอยต่อ เป็นโจทย์ที่ยาก เพราะในเมืองไทยแทบจะไม่มีใครรู้จักคำว่า startup เลย ตอนนั้นกิจกรรม startup ส่วนใหญ่สร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์ทางการตลาดและสร้างภาพลักษณ์องค์กร

“Only Keystone in the Ecosystem Can Create Impact.”

สิ่งที่จะทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนในอุตสาหกรรมได้ คือ Keystone Success 

ในวันนั้นผู้เขียนตั้งเป้าไว้ว่า Keystone Success คือ “การปรับเข็มทิศและสร้างผู้ร่วมทาง” ภารกิจที่ได้รับวันเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่มี guideline ตรงหน้า ไม่มี Ecosystem Support เหมือนในปัจจุบัน การจะทำ Keystone Success ให้เป็นจริงได้ ต้องใช้กระบวนท่า “คนหลายใจ” ประกอบไปด้วย “เข้าใจ” “ให้ใจ” และ “ตั้งใจ

ใจที่หนึ่ง: เข้าใจ

เมื่อต้องรับช่วงต่อในวันที่ทิศทางยังไม่นิ่ง ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจอย่างมาก ตอนนั้นข้อมูลเกี่ยวกับ startup ในไทยมีน้อยหรือเรียกว่าแทบจะยังไม่มี คนรู้จักเรื่องนี้ก็น้อย ผู้เขียนก็เป็นคนหนึ่งที่เริ่มต้นเรื่องนี้จากศูนย์เหมือนหลาย ๆ คน และให้ความสำคัญและให้เวลากับการทำความเข้าใจอย่างสูง

ขอฝากสูตร Magic 3 ในการสร้างความเข้าใจดังนี้  ……… “เข้าใจจุด” “เข้าใจแก่น และ “เข้าใจคน”

เข้าใจจุด: ลองนึกย้อนไปในตอนนั้น แค่คำว่า Mobile App ก็งงกันแล้ว จะมาพูดเรื่อง Digital Economy หรือ Startup ยิ่งไกลตัว จึงต้องทำควาเข้าใจว่าเรากำลังจะไปกดจุดหรือกระตุ้มต่อมอะไรของสังคม เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนไปข้างหน้า การเข้าใจจุดสังคมก็ต้องมองลึกไปอีกชั้น คือ  จุดอดีตจุดปัจจุบันและจุดอนาคต 

จุดอดีต …….. หาได้จากการสอบถาม 

จุดปัจจุบัน ……. หาได้จากการสังเกตุ  

แต่จุดอนาคต ……… จะหาอย่างไร? เราจึงต้อง 

เข้าใจแก่น: เพื่อให้เราจินตนาการจุดอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ “แก่นแท้” ครอบคลุมทั้งคำว่า เข้าใจแก่นที่มา และ เข้าใจแก่นเนื้อหา

“Information source ที่มีคุณภาพนำมาซึ่งการได้เนื้อหาที่มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่มีประสิทธิผล”

ในตอนนั้น ผู้เขียนตัดสินใจที่จะศึกษาจาก original source ที่เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด เพื่อให้เข้าใจแก่นเนื้อหาของเรื่องนี้จริง ๆ แล้วก็สอบถามและเรียนรู้จากคนที่อยู่อุตสาหกรรมจริง ๆ รวมถึงถามกลุ่ม startup ด้วย เพื่อให้เขาทำ reverse mentoring ให้กับผู้เขียน

คนรุ่นหลังโชคดี สามารถเข้าถึงเนื้อหามากมายในอินเตอร์เน็ต มีหลากหลายภาษาให้เลือกตามความถนัด แต่ก็แลกมากับโอกาสที่หายไปในการเลือกแก่นที่มา หรือแหล่งข้อมูลเอง ด้วยการเติบโตของเทคโนโลยี การแสดงผลบนอินเทอร์เน็ต ถูกคำนวณด้วย algorithm มหาศาล เช่น AD algorithm หรือ AI  algorithm เป็นต้น ชุดคำสั่งเหล่านั้น ได้ทำการคัดกรองและเลือกข้อมูลมาป้อนให้เราก่อนหนึ่งชั้น สิ่งหนึ่งที่ออนแนะนำคนรุ่นหลังเสมอเวลาอ่านข้อมูลอะไรในอินเทอร์เน็ต คือ Trust but Verify

แล้วถ้าบนโลก offline ล่ะ????

อีกหนึ่ง information source ในโลก offline ที่มักจะพบเจอกันบ่อย ๆ คือ การรับฟังความคิดเห็นผ่านกระบวนการ mentorship การมีคนมาให้คำแนะนำเป็นเรื่องราวดี ๆ และการได้รับ feedback ก็เป็นโอกาสดี ๆ ที่เด็กรุ่นหลังได้รับ แต่จะแน่ใจได้อย่างไงว่า คำแนะนำเหล่านั้นมาจากคนที่มีความรู้และประสบการณ์ในโลกความจริงในเรื่อง ๆ นั้นโดยเฉพาะ

การเข้าใจทั้งแก่นที่มา และ แก่นเนื้อหา ไม่ได้ทำให้เราแค่รู้ แต่ ให้เรา รู้สึก 

การเข้าใจแก่น ไม่ได้เกิดจากแค่ความรู้ แต่ หล่อหลอมด้วยประสบการณ์ 

ทักษะหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้เราเข้าใจแก่นได้ คือ ทักษะการกลั่นกรองการวิเคราะห์และตัดสินใจ ทั้งในเรื่องแหล่งที่มาที่มีคุณภาพ และ ทั้งในเรื่อง เนื้อหา สาระ

เข้าใจคน: การเข้าใจคน นำไปสู่การเข้าใจตลาด เข้าใจพันธมิตร เข้าใจรูปแบบการเดินทางร่วมกันของ stakeholder ทั้งหมด แม้แก่นข้อมูลส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศ แต่ถ้าตลาดที่รับผิดชอบคือเมืองไทย เราก็ต้องหันกลับมาศึกษา pain point จริง ๆ ของ target ในเมืองไทย

แม้ว่าตอนนั้น เรื่อง startup ยังเป็นเรื่องใหม่ แต่ก็ยังมีกลุ่มคนที่เขาสนใจเรื่องนี้อยู่บางส่วน เช่น ShopSpot (https://shopspot.co.th/) หรือ LikeMe (https://web.facebook.com/agencylikeme/) ซึ่งปัจจุบันทั้งสองบริษัท ก็เติบโต และ ขยายเป็นธุรกิจได้อย่างมั่นคง 

การเข้าใจคน ไม่มีวิธีไหนที่จะทำได้ดีเท่ากับ การ ศึกษาหัวใจคน ผู้เขียนใช้เวลาประมาณ 6 เดือน พูดคุยกับคนกลุ่มนี้เกือบทุกวัน พวกเราแลกเปลี่ยนแนวคิด ความรู้ ความฝัน ซึ่งกันละกัน เขาเปรียบเสมือนคุณครูที่สอนให้เข้าใจความต้องการของ  startup ในไทยอย่างแท้จริง

ใจที่สอง: ให้ใจ

ให้ใจ มีความหมายที่ลึกและกว้างกว่าคำว่ามีใจ มันรวมถึงการให้ทั้งเวลาและความมุ่งมั่นของเราไปกับสิ่งนี้ เป็นความรู้สึกที่ไม่สามารถบังคับกันได้ ต้องผ่านกระบวนการทำความเข้าใจแก่นแท้อย่างลึกซึ้งมาสักระยะหนึ่ง 

ข้อควรระวัง!!!! การให้ใจเป็นดาบสองคม บางครั้ง เราอาจจะให้ใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาก และอยากจะให้ทุก ๆ สิ่งเป็นอย่างที่ใจเรานึก จนกลายเป็นการไปบังคับใจผู้อื่น 

จำไว้ว่า Startup เป็นคนเก่งที่สามารถสร้างแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ของตนเองได้ เราเป็นเพียงผู้ช่วยในการตั้งเข็มทิศเพื่อเดินทางไปหาของแสงนั้นกับเขา หรือถ้าเทียบกับสนามแข่งรถ startup ต้องลงสนามแข่งด้วยตัวเอง ตัดสินใจเลือกสนาม และบังคับพวกมาลัยด้วยตัวเขาเอง เราเป็นคนนั่งข้าง ๆ ที่คอยช่วยดูแผนที่และสภาพแวดล้อมรอบข้าง

ให้ใจ ในเนื้องานและบทบาทที่เราควรจะเป็น 

อย่าให้ใจ จนไปบังคับใจเขาว่า ต้องไปทางไหน  คนที่ต้องตัดสินใจ คือ startup เอง

ใจที่สาม: ตั้งใจ

เรามักจะได้ยินแค่นี้บ่อยว่า ตั้งใจทำนะ!!!  แต่สำหรับออน แค่ตั้งใจทำ อาจจะไม่ได้ทำให้สร้าง Keystone Success ได้  แล้วเราต้องตั้งใจอะไรบ้าง 

  • ตั้งใจที่จะเข้าใจ
  • ตั้งใจที่จะให้ใจ มองความสำเร็จของเขา เป็นความสำเร็จของเรา 
  • ตั้งใจที่จะทำ 
  • ตั้งใจที่จะแก้ไข
  • และอีกหนึ่งความสำคัญคือ ตั้งใจที่จะแบ่งปัน

จาก 3 ใจ ที่เราให้ไปจนสามารถสร้าง Keystone Success ได้ เราจะได้หนึ่งใจกลับมา นั่นก็คือ “ความไว้ใจ

ผู้ประกอบการด้านดิจิทัลรุ่นใหม่ที่สนใจร่วมเป็นพันธมิตรกับ AIS สามารถส่งแผนงานเพื่อพิจารณามาได้ที่ www.ais.co.th/thestartup

คอลัมน์ “เล่าหลังม่าน Startup: Story behind startup curtain”
สตอรี่ของวงการสตาร์ตอัพไทย โดย ดร.ศรีหทัย พราหมณี AIS The StartUp Management

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ