TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistถอดบทเรียน เรือเอเวอร์ กิฟเวน ความเสียหายต่อการค้าโลก

ถอดบทเรียน เรือเอเวอร์ กิฟเวน ความเสียหายต่อการค้าโลก

จะด้วยเหตุผลของกระแสลมที่พัดรุนแรง หรือความผิดพลาดทางเทคนิคหรือความผิดพลาดของมนุษย์ ที่ทำให้ เรือเอเวอร์ กิฟเวน (Ever Given) ที่ขนตู้คอนเทนเนอร์กว่า 24,000 ตู้ บรรทุกน้ำหนักสินค้าได้ถึง 219,079 ตัน ติดคาช่องแคบของคลองสุเอซ (Suez Canal) เป็นเวลา 7 วัน 

คลองสุเอซ เป็นคลองที่มนุษย์ขุดขึ้นในประเทศอียิปต์ เชื่อมระหว่างท่าเรือซาอิด ฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเมืองสุเอซ (Suez) บนฝั่งทะเลแดง เป็นประตูสำหรับการลำเลียงสินค้าระหว่างยุโรปกับเอเชีย ขนาดความยาวของคลอง 193 กิโลเมตร  กว้าง 300-350 เมตร และมีความลึกประมาณ 19.5 – 20.1 เมตร การเดินเรือตั้งแต่ต้นคลองจนถึงจุดสิ้นสุดคลอง ใช้เวลาประมาณ 11-16 ชม. 

คลองสุเอซนี้ ช่วยย่นระยะเวลาในการเดินทางขนส่งสินค้าทางเรือประมาณ  และช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2412 หากใช้เส้นทางอ้อมไปทางแหลมกู๊ดโฮป ทวีปแอฟริกา จะมีระยะทางเพิ่มประมาณ 8,900 กิโลเมตร ก็ต้องใช้ระยะเวลาเดินเรือเพิ่มขึ้นประมาณ 13 – 15 วัน ที่สำคัญเป็นเส้นทางอันตรายที่อาจจะเกิดการถูกปล้นจาก โจรสลัด บริเวณนอกชายฝั่งของโซมาเลีย และนอกชายฝั่งอ่าวกินี ด้วย

90% ของการค้าโลกเป็นการขนส่งทางทะเล เนื่องจากเป็นต้นทุนการขนส่งที่ต่ำและสามารถขนส่งสินค้าได้จำนวนมาก ซึ่งในส่วนของการขนส่งสินค้าทางเรือเดิน เข้า ออก คลองสุเอซ ประมาณ 25,000 ลำ แต่ในปี 2562 ก่อนเกิดปัญหาโควิด – 19 มีเรือสัญจรผ่านคลองสุเอซมากกว่า 19,000 ลำ คิดเป็นน้ำหนักสินค้าเกือบ 1.25 พันล้านตัน หรือประมาณ 13% ของการค้าโลก ดังนั้นการที่มีเรือขวางคลองสุเอซ ทำให้การขนส่งทางเรือย่อมมีปัญหา 

จากเหตุการณ์ครั้งนี้ประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นแบบคร่าว ๆ 80,000 – 100,000 ล้านดอลลาร์ ไม่นับรวมเรือขนส่งสินค้าจำนวน 400  กว่าลำ ที่จอดเรือลอยลำเข้าคิว เพื่อผ่านคลองดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าระหว่างเอเชียกับยุโรปอย่างมาก ไม่นับรวมความเสียหายที่ไม่สามารถประเมินเป็นเม็ดเงินได้ 

2-3 วันแรกที่มีการนำเสนอข่าวเรือเอเวอร์ กิฟเวนเกยตื้น ปรากฏว่า ราคาน้ำมันดิบทั่วโลกทะยานขึ้นกว่า 6%  เนื่องจากในจำนวนเรือที่ตกค้างลอยลำอยู่มีเรือบรรทุกน้ำมันดิบ 10 ลำ ที่บรรทุกน้ำมัน 13 ล้านบาร์เรลรวมอยู่ด้วย 

นอกจากนั้น ยังมีเรือขนส่ง 16 ลำที่ลำเลียงสัตว์มีชีวิตจากอียู โดยสัตว์ 130,000 จาก 200,000 ตัว มาจากประเทศโรมาเนีย ปกติคามกฎหมายอขง อียู กำหนดว่าเรือที่บรรทุกสัตว์มีชีวิตต้องบรรทุกอาหารสำรองอย่างน้อยเพิ่มอีก 25% สำหรับความล่าช้าในการขนส่ง ซึ่งปกติจะไม่มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น คาดว่าสัตว์มีชีวิตบนเรืออาจขาดน้ำ และอาหาร จนเสียชีวิตก่อนถึงจุดหมาย 

เรือขนส่งทางทะเลจำนวน 400 กว่าลำ อาจต้องใช้เวลาประมาณ 3 วันในการระบายเรือให้หมดจากการเข้าคิวรอที่คลองสุเอซ 

ยังมีค่าใช้จ่ายในการช่วยเรือเอเวอร์ กิฟเวน ให้หลุดจากการเกยตื้อ กลับมาลอยลำได้อีกครั้ง เช่น การขุดทราย 27,000 ลูกบาศก์เมตรบริเวณริมคลองสุเอซที่ติดกับตัวเรือออก การย้ายตู้สินค้าออกจากเรือเพื่อลดน้ำหนักของเรือเอเวอร์กิฟเวน รวมทั้งเรือลากจูงของบริษัท Bernhard Schulte Shipmanagement (BSM)

ประเทศไทย เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการส่งสินค้าไปบนเรือสินค้าที่ลอยลำ เพื่อผ่านคลองสุเอซ เช่นกัน ซึ่งสินค้าอาจจะเกิดความเสียหาย เน่าเสีย โดยเฉพาะสินค้าทางการเกษตร  เช่น ปลาหมึกแช่แข็ง อาหารปรุงแต่ง กุ้งแปรรูป กุ้งแช่แข็ง เนื้อไก่และพืชผัก ผลไม้ ลูกนัทปรุงแต่ง  แม้จะมีตู้คอนเทนเนอร์ที่เรียกว่า Refrigerator คือ ตู้สินค้าประเภทที่มีเครื่องปรับอากาศ มีการปรับอุณหภูมิในตู้ได้ สามารถปรับอุณหภูมิได้อย่างน้อย –18 องศาเซลเซียส ก็ตาม

กรณีของตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งก่อนหน้านี้ประสบปัญหาขาดแคลน ต้องใช้การหมุนเวียนตู้คอนแทนเนอร์กลับมาใช้หลังจากอันโหลดสินค้าเสร็จแล้ว แต่เมื่อเกิดการติดขัดของการจราจรทางเรือ ตู้คอนเทนเนอร์จำนวนมากที่ยังคงอยู่บนเรือที่เข้าคิวรอคอย รวมทั้งค่าระวางเรือที่เพิ่มสูงขึ้น จากเดิมที่จัดเก็บ 4,000 ดอลล่าร์ จะเพิ่มขึ้นเป็น 5,000 ดอลล่าร์ หรือมากกว่าสำหรับตู้คอนเทนเนอร์ 20 ฟุต 

จะเห็นว่าจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้ทราบว่า ระบบโลจิสติกส์ทางเรือ มีความสำคัญอย่างยิ่ง แม้ประเทศอียิปต์ยมีโครงการขุดขยายคลองสุเอซให้กว้างขึ้นอีก 2 เท่าภายในปี 2566 เพื่อให้รองรับเรือเพิ่มเป็นประมาณ 100 ลำต่อวัน แต่ควรหามาตรการแก้ปัญหาได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว จะได้สร้างผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทางการค้าโลกได้น้อยลง

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ