TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessผลวิจัยเผย โควิด-19 เปลี่ยนนิสัยผู้บริโภคไทย

ผลวิจัยเผย โควิด-19 เปลี่ยนนิสัยผู้บริโภคไทย

ควอลทริคส์ (Qualtrics) เปิดเผยผลวิจัย ที่เผยว่า การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างไรต่อนิสัยการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทย

ปัจจุบัน ผู้บริโภคชาวไทยเกือบครึ่งหนึ่ง (44%) หันมาใส่ใจการใช้จ่ายทุกบาททุกสตางค์ โดย 59% ของผู้ตอบแบบสอบถามยอมรับว่าซื้อสินค้ายี่ห้อถูกลงในช่วงที่เกิดการระบาด และ 65% มักซื้อของที่จัดรายการส่งเสริมการขาย ขณะที่กว่า 1 ใน 3 (39%) เปลี่ยนไปซื้อแบรนด์ที่มีสินค้าจำหน่ายโดยไม่ยึดติดกับแบรนด์เดิม

ในระยะ 6 เดือนข้างหน้า ผู้บริโภคชาวไทยคาดว่าจะใช้จ่ายเงินมากขึ้นเพื่อซื้ออาหารและบริการ โดยเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม  (46%) กล่าวว่าจะใช้จ่ายมากขึ้นในส่วนของการซื้ออาหารกลับบ้านและบริการส่งถึงบ้าน

รองลงมาเป็นการใช้จ่ายด้านผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายในบ้าน (42%) ตามด้วยอาหารสด (41%) ของกินของใช้แบบยกแพ็ก  (35%) และการดูแลสุขภาพ (35%) ในทางตรงกันข้าม ผู้บริโภคคาดว่าจะใช้จ่ายน้อยลงสำหรับสินค้าหรูหรา (69%) บุหรี่และยาสูบ (62%) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (60%) และการซื้อของใช้ในบ้านชิ้นใหญ่(57%)

ลิซา คาทรี หัวหน้าฝ่ายบริหารประสบการณ์และวิจัยแบรนด์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ของ Qualtrics กล่าวว่า “เราทราบดีอยู่แล้วว่าผู้บริโภคมักให้ความสำคัญกับราคา คุณภาพ และความสะดวกสบายอยู่เสมอ แต่ผลสำรวจของ Qualtrics แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคกระตือรือร้นที่จะมองหาทางเลือกใหม่ ๆ อันที่จริงแล้ว ผู้ตอบแบบสอบถามกว่าครึ่ง (57%) กล่าวว่า ได้ทดลองเปลี่ยนไปใช้สินค้ายี่ห้ออื่นอย่างน้อย 1 ยี่ห้อ นับตั้งแต่เกิดการระบาด”     

คาทรี กล่าวเสริมว่า “ระดับความเต็มใจของผู้บริโภคที่จะทดลองสินค้ายี่ห้ออื่นในตอนนี้ ถือเป็นโอกาสครั้งใหญ่สำหรับธุรกิจต่าง ๆ ทั่วทุกภาคอุตสาหกรรม ที่จะชิงส่วนแบ่งตลาด และเสริมสร้างความภักดีในหมู่ลูกค้าเก่า บริการของ Qualtrics  จะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถพัฒนาพฤติกรรม ความชื่นชอบ และทัศนคติของผู้บริโภค ด้วยข้อมูลเชิงลึกที่จะเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างลักษณะเฉพาะให้กับกลยุทธ์บุกตลาด go-to-market สำหรับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน” 

ภาคการเงินการธนาคาร 

ผลการศึกษาของ Qualtrics เผยให้เห็นว่า บริการดิจิทัลที่สะดวกในการใช้งานและพร้อมให้บริการอยู่เสมอ มีผลต่อผู้บริโภคมากขึ้นในอุตสาหกรรมธนาคาร

ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบ 1 ใน 3 (32%) กล่าวว่า ต้องการจัดการธุรกรรมการเงินออนไลน์ได้ตลอดเวลา ขณะที่ 48% ต้องการใช้บริการเกือบจะตลอดเวลา และควบคู่ไปกับการใช้งานที่เพิ่มขึ้น ผลการศึกษายังพบว่า คุณภาพของแพลตฟอร์มดิจิทัลมีผลอย่างมากต่อความเชื่อถือของผู้บริโภคในการใช้บริการทางการเงิน

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ผู้บริโภคหันมาใช้บริการทางการเงินบนแพลตฟอร์มดิจิตัลมากขึ้น แต่มีไม่ถึง 1 ใน 3 (29%) ที่รู้สึกว่าธุรกรรมธนาคารออนไลน์มีความปลอดภัยสูง   

ภาคการสื่อสาร

ทางเลือกที่ดีขึ้นในแง่ของคุณภาพสินค้าและคุณสมบัติต่าง ๆ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคในการใช้จ่ายด้านการสื่อสาร 

ขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีแนวโน้มว่าจะอยู่กับผู้ให้บริการรายเดิมต่อไปในระยะ 6 เดือนข้างหน้า (ทั้งแบบรายเดือนและเติมเงิน) แต่ 50% จะพิจารณาย้ายค่ายถ้าหากได้รับข้อเสนอที่ดีกว่าในด้านของคุณภาพและบริการ ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้บริโภคในภาคการสื่อสาร ได้แก่ ราคา/ข้อเสนอ (49%) ผู้ให้บริการรายเดิมปรับขึ้นราคา (48%) ค่าธรรมเนียมที่ไม่คาดหมาย (45%) และข้อเสนอบริการที่ดีขึ้นจากผู้ให้บริการรายใหม่ (42%)  

ภาคการท่องเที่ยว

ขณะที่การเดินทางท่องเที่ยวมีอัตราลดลงสืบเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ธุรกิจที่ต้องการดึงลูกค้ากลับมา ได้รับคำแนะนำให้ใส่ใจกับเรื่องสุขอนามัย ความปลอดภัย และราคา โดยผู้บริโภคชาวไทยให้ความสำคัญกับปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ ความสะอาดและสุขอนามัย (60%) ความปลอดภัย (60%) และราคา (55%)   

*Qualtrics  สำรวจความเห็นผู้บริโภคชาวไทย 319 ราย (อายุระหว่าง 18-65 ปีช่วงต้นเดือนกันยายน 2563

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ