TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistอธิบาย Bitcoin การเงินแห่งอนาคต

อธิบาย Bitcoin การเงินแห่งอนาคต

ทำไมช่วงนี้ Bitcoin จึงเป็นที่พูดถึงกันอย่างกว้างขวาง? Bitcoin คืออะไร? แตกต่างกับเงินที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันอย่างไร? ทำไม Bitcoin คือการเงินแห่งอนาคต? เราจะมาหาคำตอบไปด้วยกันในบทความนี้

Bitcoin คืออะไร?

อธิบาย Bitcoin การเงินแห่งอนาคต

Bitcoin คือสกุลเงินดิจิทัลตัวแรกของของโลกที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการบันทึกธุรกรรม ถูกสร้างขึ้นมาในปี 2008 โดยบุคคลหรือกลุ่มคนที่ใช้นามแฝงว่า Satoshi Nakamoto ที่มีจุดมุ่งหมายให้ Bitcoin เป็นสกุลเงินหรือตัวกลางที่ใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ตแบบ Peer-to-Peer โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง

-2021 ปีแห่งคริปโตเคอร์เรนซี?
-“การลงทุน” ช่วยทั้ง “คนไทย” และ “ช่วยชาติ”

สิ่งที่ Bitcoin แตกต่างกับสกุลเงินที่ใช้กันในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเงินบาท เงินหยวน หรือแม้แต่เงินดอลลาร์ นั่นคือการทำธุรกรรมด้วย Bitcoin ไม่ต้องผ่านตัวกลางใด ๆ โดยตัวกลางในที่นี้หมายถึงธนาคารกลางหรือรัฐบาลที่มีอำนาจในการควบคุมเงินหรือพิมพ์เงินออกมาได้อย่างไม่จำกัด ในขณะที่ Bitcoin ถูกสร้างขึ้นมาให้มีจำนวนจำกัดอยู่ที่ 21 ล้าน Bitcoin เท่านั้น

เทคโนโลยี Blockchain คืออะไร?

อธิบาย Bitcoin การเงินแห่งอนาคต

เทคโนโลยี Blockchain ที่อยู่เบื้องหลัง Bitcoin ทำให้สกุลเงินดิจิทัลตัวนี้มีความเป็น Decentralized หรือกระจายศูนย์ โดย Blockchain เป็นฐานข้อมูล (Database) รูปแบบหนึ่ง แต่แทนที่จะเก็บข้อมูลธุรกรรมบนคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว Blockchain จะกระจายข้อมูลออกไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่าย หรือที่เรียกว่า Node โดยทุก Node จะถือข้อมูลชุดเดียวกันและมีการตรวจสอบให้ข้อมูลตรงกันเสมอ

หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ การเก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์ หรือ Centralized ก็เหมือนการแต่งตั้งหัวหน้าหมู่บ้านให้เป็นผู้คอยบันทึกทุกธุรกรรมที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านเพียงคนเดียว แต่การเก็บข้อมูล Decentralized จะเป็นการให้ทุกคนในหมู่บ้านคอยจดธุรกรรมที่เกิดขึ้นและมีการเปรียบเทียบข้อมูลให้ตรงกันเสมอ และหากมีคนใดคนหนึ่งดัดแปลงข้อมูลธุรกรรม ก็สามารถทราบได้ทันทีเพราะข้อมูลจะไม่ตรงกับข้อมูลของคนอื่น ๆ ดังนั้น ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้รับการยอมรับจากทั้งหมู่บ้าน จึงมีความน่าเชื่อถือมากกว่าข้อมูลที่จดโดยคน ๆ เดียว

มูลค่าของ Bitcoin มาจากไหน?

อธิบาย Bitcoin การเงินแห่งอนาคต

ถึงแม้ Bitcoin จะถูกสร้างขึ้นมาบนอินเทอร์เน็ต โดยไม่มีสินทรัพย์ใดมาค้ำประกันและไม่สามารถจับต้องได้ แต่เมื่อมองย้อนกลับมาที่สกุลเงินที่ใช้กันในปัจจุบัน เช่น เงินดอลลาร์ มูลค่าของเงินดอลลาร์มาจากไหน? มูลค่าของเงินดอลลาร์มาจากความน่าเชื่อถือและความเข้มแข็งของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก

ไม่ใช่แค่เงินดอลลาร์เท่านั้น สกุลเงินทุกสกุลบนโลก ทองคำ หรือแม้แต่เปลือกหอย มูลค่าของสิ่งเหล่านี้มาจากการยอมรับของผู้คนให้สามารถใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการได้เท่านั้น

Bitcoin เองก็เช่นกัน ในช่วงแรกที่ Bitcoin ถือกำเนิดขึ้นมา มูลค่าของมันก็ไม่ได้สูงนัก อาจต้องใช้ Bitcoin หลายเหรียญในการซื้อพิซซ่าเพียง 1 ถาด แต่ต่อมา เมื่อ Bitcoin เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างมากขึ้น ได้รับการยอมรับมากขึ้น มูลค่าของมันก็เลยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จาก Network Effect รวมถึงการที่ Bitcoin ถูกสร้างขึ้นมาให้มีจำนวนจำกัดอยู่ที่ 21 ล้านเหรียญ (ปัจจุบัน มี Bitcoin อยู่ในตลาดประมาณ 18 ล้านเหรียญ) นั่นทำให้อุปทานของ Bitcoin มีอยู่อย่างจำกัด แตกต่างกับสกุลเงินปัจจุบันที่สามารถถูกพิมพ์ออกมาได้อย่างไม่จำกัด บางครั้ง Bitcoin จึงถูกเรียกว่า Digital Gold หรือทองคำดิจิทัล เนื่องจากอุปทานที่มีจำกัด

ส่วนสาเหตุที่ราคา Bitcoin ปรับขึ้นมาได้ตลอดปี 2020 มาจากความเชื่อมั่นใน Bitcoin ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากได้ติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้อง ก็จะเห็นการที่หลายบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกพากันเข้าซื้อ Bitcoin เพื่อถือเป็นสินทรัพย์สำรอง ยกตัวอย่าง เช่น MicroStretegy, Square, หรือ Greyscale และล่าสุดบริษัท Tesla ของ Elon Musk ก็เข้าซื้อ Bitcoin แล้วเช่นกัน รวมถึง Paypal ที่กำลังพัฒนาระบบการชำระเงินด้วย Bitcoin นี่จึงเป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นถึงการยอมรับใน Bitcoin จากทั่วโลกที่เพิ่มมากขึ้น

เทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นจาก Bitcoin

อธิบาย Bitcoin การเงินแห่งอนาคต

การมาของ Bitcoin เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีทางการเงินอีกมากมาย โดยมีการนำเทคโนโลยีเบื้องหลัง Bitcoin อย่าง Blockchain มาประยุกต์ใช้และพัฒนาต่อยอด เกิดเป็นเครือข่ายและเทคโนโลยีใหม่ ๆ

ยกตัวอย่าง เช่น Ethereum ที่นำ Smart Contract หรือ “สัญญาอัจฉริยะ” มาใช้ร่วมกับ Blockchain เกิดเป็น Decentralized Application (DApp) หรือ Decentralized Finance (DeFi) ที่ทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางและมีค่าธรรมเนียมต่ำ เช่น บริการกู้ยืม (Lending) หรือบริการ Yield Farming ที่กำลังเป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน

จริงอยู่ที่ Bitcoin ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการบนอินเทอร์เน็ต แต่ด้วยมูลค่าที่ค่อนข้างผันผวน อาจไม่สามารถตอบโจทย์ของทุกคนได้ จึงเกิดเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่เรียกว่า Stablecoin หรือเหรียญที่มีมูลค่าคงที่ ด้วยนำมูลค่าของมันไปผูกกับสินทรัพย์อย่าง เงินดอลลาร์ หรือ ทองคำ ผ่านการใช้ Smart contract ยกตัวอย่างเช่น USDT, USDC, หรือ DAI เป็นต้น

ประโยชน์ของ Blockchain ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในเรื่องของการเงินเท่านั้น โดยปัจจุบันก็มีบริษัทระดับโลกหลายบริษัทที่นำ Blockchain มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจของพวกเขาเพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มความน่าเชื่อถือ เช่น Walmart เครือร้านค้าปลีกของสหรัฐฯ ที่นำ Blockchain มาใช้กับการให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบที่มาของสินค้าได้อย่างโปร่งใส

หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง เครือโรงพยาบาล Hospital of Taipei Medical University (TMUH) ในไต้หวัน ที่นำ Blockchain มาใช้ในการบันทึกประวัติคนไข้และแชร์ข้อมูลภายในเครือข่าย ทำให้คนไข้ได้รับความสะดวกในการรับบริการทางการแพทย์เมื่อจำเป็นต้องใช้บริการในโรงพยาบาลที่ไม่เคยมีประวัติ เป็นต้น

สรุป

Bitcoin คือสกุลเงินดิจิทัลตัวแรกของโลกที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการบันทึกธุรกรรม ทำให้ Bitcoin มีความเป็น Decentralized หรือ “กระจายศูนย์” แตกต่างกับสกุลเงินที่ใช้กันในปัจจุบัน อย่าง เงินบาท เงินยูโร หรือเงินดอลลาร์ ที่ถูกควบคุมโดยธนาคารกลางหรือรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ

Blockchain คือฐานข้อมูล (Database) รูปแบบหนึ่งที่เป็นการเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ หรือกระจายข้อมูลออกไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย แทนที่จะเก็บข้อมูลไว้ในจุด ๆ เดียว ทำให้ข้อมูลที่เก็บไว้ใน Blockchain มีความน่าเชื่อถือสูง ปลอดภัย และสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้

ส่วนมูลค่าของ Bitcoin มาจาก Network Effect หรือการยอมรับเป็นวงกว้างจากหลาย ๆ ฝ่าย ทั้งจากบุคคลทั่วไปหรือจากบริษัทยักษ์ใหญ่ ประกอบกับการที่อุปทานของ Bitcoin มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ Bitcoin มีมูลค่าที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลัง Bitcoin อย่าง Blockchain คือสิ่งที่สามารถนำมาต่อยอดให้เกิดเป็นใช้งานรูปแบบใหม่ ๆ ได้อย่างกว้างขวาง เช่นการประสาน Smart contract เข้ากับ Blockchain เพื่อสร้างเป็น Decentralized Application (DApp) หรือ Decentralized Finance (DeFi) จึงเรียกได้ว่า Bitcoin เป็นการเบิกทางไปสู่อนาคตแห่งวงการการเงินได้อย่างแท้จริง

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ