TH | EN
TH | EN
หน้าแรกSustainability“สระบุรีแซนด์บ็อกซ์” เมืองต้นแบบขับเคลื่อนสังคมไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

“สระบุรีแซนด์บ็อกซ์” เมืองต้นแบบขับเคลื่อนสังคมไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

จากการเปลี่ยนแปลงของโลกเข้าสู่สภาวะโลกเดือด ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมไทย บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG จึงร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ ภาคเกษตร และภาคประชาสังคม เข้ามามีส่วนร่วมในการ ร่วม เร่ง เปลี่ยน เพื่อนำประเทศไทยเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ พิชิต Net Zero

รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เสนอมุมมองต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกว่า ขณะนี้โลกกำลังเข้าสู่สภาวะโลกเดือด ส่งผลกระทบต่อชีวิตของทุกคนบนโลก กระทบต่อทุกอย่างทั้ง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น การแปรปรวนของสภาพอากาศ ไปจนถึงทรัพยากรธรรมชาติที่กำลังลดน้อยลงและเริ่มเกิดการเสื่อมโทรมมากขึ้น รวมถึงการขาดแคลนอาหารและพลังงาน ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เศรษฐกิจ ภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวอย่างรุนแรง

เอสซีจีจึงสร้างความร่วมมือเพื่อเข้ามาแก้ไขสถานการณ์วิกฤติในครั้งนี้ ผ่านการระดมความคิดจากทุกภาคส่วน ทั้งภาคอุสาหกรรม ภาคธุรกิจ ภาครัฐ และภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วม กว่า 500 คน เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหานำเสนอต่อท่านนายกรัฐมนตรี ในงาน ESG Symposium 2023 วันที่ 5 ตุลาคม 2023

ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า เอสซีจีได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ปัญหาใหญ่ของการระดมความคิดในครั้งนี้ คือทำอย่างไรให้ประเทศไทยยังคงอัตราการเติบตาทางเศรษฐกิจได้ควบคู่ไปกับการลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เพื่อเปลี่ยนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

ปัจจุบันการเติบโตด้าน GDP ของประเทศไปมาคู่กับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีค่าสูงกว่า GDP ของประเทศ ในขณะที่ประเทศเริ่มแก้ไขปัญหาให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเติบโตขึ้น แต่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกกลับมีอัตราลดลง การความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนเล็งเห็นว่าจุดหลักในการแก้ไขปัญหาคือการเปลี่ยนผ่านสู่ Low Carbon

เพื่อให้การเปลี่ยนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำเกิดขึ้นได้จริง จึงเสนอแนวคิด 4 แนวทางความร่วมมือ 1) รัฐจับมือเอกชนร่วมสร้าง สระบุรีแซนด์บ็อกซ์ นำสระบุรีมาเป็นเมืองต้นแบบของการสร้าง Low Carbon City แห่งแรกของประเทศไทย 2) เร่งผลักดันระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากยิ่งเพิ่มการผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียน ส่งผลให้อัตราการปล่อยคาร์บอนลดลง ในขณะที่ทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มสูงขึ้น 3)เปลี่ยนสู่พลังงานสะอาด ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จึงสร้างความร่วมมือคิดค้นแนวทางเพื่อปลดข้อจำกัดให้ประเทศไทยสามารถใช้พลังงานแสง พลังงานลม ที่มีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 4)ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง การเปลี่ยนผ่านเป็นสิ่งที่ยาก ส่งผลให้กลุ่มเปราะบางที่ไม่มีกำลัง ความรู้ และบุคลากร ไม่สามารถก้าวสู่การเปลี่ยนผ่านได้อย่างแน่นอน ดังนั้นจึงต้องช่วยเหลือทุกคนโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ให้มีความตระหนักรู้ เข้าถึงเทคโนโลยีลดคาร์บอนและแหลางเงินทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมมือกันช่วยให้ประเทศไทยเติบโตแบบคาร์บอนต่ำสร้างความสมดุลให้สิ่งแวดล้อม

‘สระบุรี แซนด์บ็อกซ์’ – จังหวัดต้นแบบ ‘เมืองคาร์บอนต่ำ’ ตามแนวทาง BCG ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

สร้างเมืองต้นแบบ

ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวว่า จะร่วมสร้าง สระบุรีแซนด์บ็อกซ์ เป็นเมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำที่เป็นฐานไปสู่การเป็นพื้นที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero emission แห่งแรกของประเทศไทย แม้สระบุรีจะเป็นโมเดลขนาดเล็กแต่มีความท้าทายสูง เนื่องจากสระบุรีเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมหนักและมีปัญหาสิ่งแวดล้อมสะสม ซึ่งหากสามารถเปลี่ยนสระบุรีให้กลายเป็นเมืองคาร์บอนต่ำได้ มั่นใจว่าจะสามารถเปลี่ยนเมืองอื่นให้เข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำได้เช่นกัน

สอวช. มี 4 ประเด็นสำคัญในการทำงานให้สัมฤทธิ์ผลได้จริง

  1. ความร่วมมือ สลายการทำงานแบบเฉพาะกลุ่มแล้วหันมาร่วมมือ ระดมความคิดเพื่อหาแนวทางร่วมกัน จากท้องถิ่น จังหวัด หน่วยงานต่างๆทั้งภาคอุตสาหกรรม การค้า และนวัตกรรม
  2. ทำ Ease of Doing Business เพิ่มความง่ายในการประกอบธุรกิจ ลดระยะเวลาการจดทะเบียนทำธุรกิจ
  3. จัดระบบการสนับสนุน ไฟแนนซ์ ฟันดิง ช่วยเหลือผู้ประกอบการรายเล็กทั้งภาคเกษตรกรและภาคอุตสาหกรรม
  4. นวัตกรรม การทำ Climate Change ประเทศไทยต้องสร้างขีดความสามารถทางนวัตกรรมขึ้นเอง ผ่านความร่วมมือจากต่างประเทศบางส่วน เพื่อนำนวัตกรรมมาช่วยในการขับเคลื่อนในการรับมือกับ Climate Change

พรรรัตน์ เพชรภักดี รองผู้อำนวยการใหญ่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เผยถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาในส่วนของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ขณะนี้ประเทศไทยมี 3 อุตสาหกรรมที่ได้นำร่องจนเกิดผลสำเร็จแล้วได้แก่

  1. ที่อยู่อาศัย/สิ่งปลูกสร้าง เริ่มการวิจัยวัสดุงานก่อสร้างให้เกิดประโยชน์หรือเป็นแบบคาร์บอนต่ำ เพื่อลดปัญหาโลกเดือด ตั้งแต่การใช้วัสดุเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปูนคาร์บอนต่ำไปจนถึงการรีไซเคิล
  2. รถยนต์ ร่วมกันระดมความคิดเพื่อหาแนวทางการนำรถยนต์ที่หมดอายุกลับมารีไซเคิล เนื่องจากในอนาคตซากรถเหล่านี้จะกลายเป็นทรัพยากรที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้
  3. บรรจุภัณฑ์ ขยายความรับผิดชอบในการจัดการขยะ เริ่มจากการทำโมเดลต้นแบบที่ชลบุรี ให้เห็นกรอบของการเร่งโดยเอกชน ผู้ประกอบการ เข้ามาช่วยภาครัฐในการจัดการว่าสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ก่อนจะกระจายไปสู่พื้นที่อื่นให้เกิดการจัดการอย่างแพร่หลาย จากการทดลองที่ชลบุรี ปรากฏว่าขยะที่ทิ้งไปแล้วถูกดึงกลับมาประมาณ 60 ตันต่อเดือนในแต่ละพื้นที่ กลายเป็นว่าส่งผลให้เริ่มมองเห็นกลไกในทำงาน

เจริญชัย เฉลียวเกรียงไกร ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.สระบุรี พูดถึงประเด็น Energy Transition ว่า ก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 70 ในประเทศไทยมาจากภาคพลังงาน เป็นที่มาของการนำสระบุรีขึ้นเป็นเมืองต้นแบบสังคมคาร์บอนต่ำ เนื่องจากสระบุรีเป็นแหล่งรวมกำลังการผลิตซีเมนต์ 80% ของประเทศไทย ธุรกิจซีเมนต์เป็นวัสดุพื้นฐานที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ต้องแลกมาด้วยก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกไป จึงจำเป็นต้องร่วมมือกับภาครัฐ ภาคชุมชน และอุตสาหกรรมในพื้นที่ รวมทั้งการท่องเที่ยวกับภาคการเกษตร เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานสะอาดอย่างจริงจัง

พลังงานที่เข้าถึงได้ง่ายที่สุดคือพลังงานไฟฟ้า ปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล จากการระดมความคิดพบว่าสิ่งที่ต้องการจากการร่วมมือกันคือการปลดล็อคการใช้เครือข่ายไฟฟ้าของประเทศให้เป็นพลังงานสะอาดมากขึ้น โดยภาครัฐ ภาคเอกชนต้องจับมือกันปลดล็อคข้อจำกัดต่างๆที่ทำให้ยังไม่สามารถผลิตพลังงานสะอาดให้มากขึ้น เร่งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีในการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ด้วยการสนับสนุนจากภาครัฐเพื่อให้เกิดขึ้นในประเทศไทยให้เร็วที่สุด

ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง

จิตใส สันตะบุตร คนรุ่นใหม่ใจรักษ์โลก กลุ่ม SDG7 Global Youth Ambassador for Southeast Asia กล่าวในฐานะตัวแทนคนรุ่นใหม่เกี่ยวกับ Just Transition ว่า ประเทศไทยจะสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำได้อย่างราบรื่น ต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่ขาดทรัพยากร และความรู้ความเข้าใจในการปรับตัว ได้แก่ SMEs แรงงาน เกษตรกร และชุมชน ที่อาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านไปถึงการประกอบอาชีพ ในการเปลี่ยนผ่านจำเป็นต้องคำนึงถึงคนกลุ่มนี้ก่อนจะนำเงินมาลงทุน

ควรแบ่งกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบแล้วจัดสรรความช่วยเหลือให้เหมาะสมกับแต่ละภาคส่วนแต่ละคน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางให้มีความตระหนักรู้ เข้าถึงเทคโนโลยีลดคาร์บอน และโอกาส รวมไปถึงแหล่งเงินทุนและสิ่งแวดล้อมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีมากถึง 52 ล้านล้านบาท กลุ่ม Just Transition จึงขอเสนอให้ประเทศไทยตั้งเป้ารับเงินสนับสนุนโครงการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำปีละ 350,000 ล้านบาท เพื่อนำไปพัฒนาโครงการเช่น กองทุน นวัตกรรม จัดการน้ำให้กลุ่มเกษตรกรรับมือกับภาวะอากาศแปรปรวน

เมื่อได้รับกองทุนมาแล้วควรมีกลไกในการการันตีว่าผลที่ได้รับจะลงไปถึงกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากภาวะโลกร้อน แต่มีข้อจำกัดในการปรับตัว นอกจากนี้จำเป็นต้องพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเปลี่ยนผ่านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคน

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Climate Governance หัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

KFC จับมือกสศ. แก้ปัญหาเด็กไทยหลุดออกจากระบบการศึกษา

DITTO ประเดิม “Digital Twin” คว้าโปรเจกต์กนอ. ระยะ 2 ยกระดับ 13 นิคมฯ อัจฉริยะ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ