TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistเบียร์ช้างไทย จะไปสร้างความแข็งแกร่งให้ตลาดทุนต่างประเทศ อีกแล้ว?

เบียร์ช้างไทย จะไปสร้างความแข็งแกร่งให้ตลาดทุนต่างประเทศ อีกแล้ว?

เมื่อไม่นานมานี้มีกระแสข่าว บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือ ไทยเบฟ ผู้ผลิตเครื่องดื่มชั้นนำในประเทศไทย เตรียมนำธุรกิจเบียร์มูลค่าราว 1 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 3 แสนล้านบาท เปิดขายหุ้นต่อสาธารณชนครั้งแรก หรือ IPO (ไอพีโอ) ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (เอสจีเอ็กซ์) โดยเตรียมจะยื่นเอกสารขอระดมทุนและน่าจะเข้าซื้อขายหุ้นในตลาดสิงคโปร์ได้อย่างเร็วที่สุดในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2564

ในเวลาต่อมา ไทยเบฟได้ออกหนังสือชี้แจงตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ระบุว่า จนถึงขณะนี้ บริษัทยังคงประเมินเรื่องความเป็นไปได้ในการนำธุรกิจเบียร์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และยังไม่มีหลักประกันว่าสุดท้ายแล้วจะมีการจดทะเบียนใด ๆ เกิดขึ้น

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ ไทยเบฟ อยากจะแยกธุรกิจเบียร์ออกมาแล้วเข้าระดมเงินทุนในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562  ไทยเบฟพยายามในการแยกธุรกิจเบียร์ เข้าระดมทุนในตลาดหุ้นสิงคโปร์มาแล้ว กระแสข่าวครั้งนั้น ส่งผลให้ราคาหุ้นของไทยเบฟในตลาดสิงคโปร์พุ่งขึ้น 5.2% ซึ่งสูงสุดในรอบ 3 เดือน

-Art Marketing ตัวช่วยสร้างความแตกต่าง และสร้างเม็ดเงินของแบรนด์
-เมื่อ WATER PLUS จะเป็นตลาด “เรด โอเชียน”

ย้อนหลังกลับไปเมื่อครั้งไทยเบฟยังเป็นบริษัท จำกัด แต่มีความอยากเป็นบริษัทมหาชน จึงมีการเตรียมตัวตั้งแต่ปี 2546 กลุ่มคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี ตัดสินใจรวบบริษัทผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 58 บริษัทในไทยเข้าด้วยกัน แล้วจดทะเบียนเป็น บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ไทยเบฟ

ปี 2548  มีการต่อต้าน ไทยเบฟไม่ให้เข้าตลาดหลักทรัพย์ โดยนายจำลอง ศรีเมือง และพวกล่ารายชื่อกว่า 60,000 ชื่อ และม็อบกว่า 3,000 คน ชุมนุมทั้งที่ตลาดหลักทรัพย์ และรัฐสภา ด้วยเหตุผล เพราะเป็นกิจการที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีขัดต่อหลักศาสนาพุทธในเรื่อง ศีล 5 ทำให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. ไม่กล้าสวนกระแสต่อต้าน และถอนวาระการพิจารณาเบียร์ช้างระดมทุนออกไปเพื่อรอ พ.ร.บ.ธุรกิจแอลกอฮอล์ของกระทรวงสาธารณสุขก่อน

ก่อนหน้านี้ ไทยเบฟ ได้รับการเชิญชวนจากประธานบริหารตลาดหลักทรัพย์ สิงคโปร์ถึง 3 ครั้ง เพราะสิงคโปร์ต้องการผลักดันและขยายตลาดหลักทรัพย์ให้ใหญ่ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งหาก ไทยเบฟ เข้าไปจดทะเบียน ก็จะทำให้ตลาดหุ้นสิงคโปร์มีมูลค่ามากขึ้น ซึ่งในขณะนั้นตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์มีมูลค่าอยู่ 45 ล้านล้านบาท ซึ่งขณะนั้นมีบริษัทที่ผลิตแอลกอฮอล์จดทะเบียนอยู่แล้ว 4 บริษัท

การที่ กลต.เลื่อนพิจารณาที่จะนำเอาเบียร์ช้างเข้าตลาดหลักทรัพย์อย่างไม่มีกำหนดนั้น ทำให้ไทยเบฟคิดจะนำ บริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ โดยเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2549 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้ประชุมพิจารณา แล้วเห็นว่า ไทยเบฟคุณสมบัติครบถ้วนที่จะเสนอขายหลักทรัพย์ในต่างประเทศได้จึงอนุญาต ให้ขายหลักทรัพย์ในตลาดหุ้นต่างประเทศได้

ดังนั้นเพื่อเป็นการเพื่อยุติความขัดแย้ง ในขณะนั้น ไทยเบฟ ในขณะนั้นมูลค่ากิจการ 400,000 ล้านบาท จึงตัดสินใจเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์แทน (Singapore Exchange Ltd. – SGX) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 ซึ่งในเวลานั้นถือเป็นหุ้น IPO ใหญ่ที่สุดในรอบ 10 ปีของตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ 

การเข้าระดมเงินทุนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ในครั้งนั้น ทำให้ ไทยเบฟ มีเงินลงทุนและขยายธุรกิจ ในส่วนของเหล้า เบียร์ เครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ และอาหาร  จำนวนมาก วันนี้ไทยเบฟมีบริษัทในเครือ 158 บริษัท มีผลิตภัณฑ์จำหน่ายใน 5 ทวีปและกว่า 90 ประเทศทั่วโลก

ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ไทย (GDP) ปี พ.ศ. 2562 ประมาณ 16.9 ล้านล้านบาท รายได้ไทยเบฟ ปี พ.ศ. 2562 ประมาณ 267,000 ล้านบาท คิดเป็นของ GDP 1.6% ประเทศ เป็นหุ้น ‘บลูชิพ’ ที่มีความมั่นคง และน่าลงทุนที่สุด ในระดับ “ท็อป 50” ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX) 

ผ่านมา 15 ปี ครั้งนี้ ไทยเบฟ อยากแยกบริษัทเบียร์ออกมาจากพอร์ต เพื่อระดมเงินทุนในตลาดหลักทรัพย์อีกครั้ง หลายคนแอบลุ้นให้ ไทยเบฟ เอาธุรกิจเบียร์เข้ามาระดมทุนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับตลาดทุนไทย ช่วยพยุงสถานการณ์เศรษฐกิจของไทย แต่บางคนยังมีทัศนคติว่า ยังไงก็ของมึนเมา ยังไงก็ผิดศีล 5

ปัจจุบันธุรกิจเบียร์ของไทยเบฟ ในพอร์ตโฟลิโอ ประกอบด้วย

-ช้าง คลาสสิก (Chang Classic) เป็นการรีลอนช์แบรนด์ และปรับภาพลักษณ์ให้ดูทันสมัย เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มคนรุ่นใหม่ จากเดิมที่มีภาพลักษณ์ดูเก่า เป็นเบียร์สำหรับผู้ใหญ่

-ช้าง โคลด์ บรูว์ (Chang Cold Brew) เป็นเบียร์ที่ถูกผลิตขึ้น เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 25 ปีแบรนด์ช้าง ซึ่งตลาดตอบรับดีมากจึงผลิตเป็นเบียร์ Affordable Premium เพื่อขยายฐานผู้ดื่มใหม่ และรักษาฐานผู้ดื่มเดิม

-เฟเดอร์บรอย (Federbräu) เป็นเบียร์พรีเมียม

-แทปเปอร์ (Tapper) เป็นเบียร์ ดีกรีเข้ม

-อาชา (Archa) ทำตลาดเซ็กเมนต์ Economy

นอกจากนี้ ไทยเบฟ ปั้น Portfolio ในกลุ่ม Specialty Beer 2 แบรนด์คือ

-ฮันทส์แมน (Huntsman)

-แบล็ค ดราก้อน (Black Dragon)

ที่สำคัญไทยเบฟเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท Saigon Beer บริษัทเบียร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเวียดนามอีกด้วย

ยุทธศาสตร์การบุกตลาดเบียร์ในต่างประเทศ ที่ไทยเบฟได้ประกาศแผน Passion 2025  คือ นำเบียร์ช้างมุ่งสู่การเป็นที่ 1 ของเบียร์สัญชาติไทยในระดับสากล ทั้งในด้านปริมาณการขายและในด้านผลิตภัณฑ์ที่จะต้องเป็นที่ 1 ในใจลูกค้าในระดับสากล 

จำนวนการขายเบียร์ไม่ใช่น้อย สัดส่วนจากการขายปี 2563  แบ่งเป็น

-ธุรกิจสุรา 46% / ปริมาณการขาย 711 ล้านลิตร

-ธุรกิจเบียร์ 42% / ปริมาณการขาย 2,463 ล้านลิตร

-ธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 7% / ปริมาณการขาย 1,578 ล้านลิตร

-ธุรกิจอาหาร 5%

คงต้องมาลุ่นกันว่า ถ้าหาก ไทยเบฟ นำธุรกิจเบียร์เข้าตลาดหลักทรัพย์ที่สิงคโปร์ จะเป็นการที่บริษัทไทย ไปสร้างความแข็งแกร่งให้กับตลาดทุนต่างประเทศเป็นครั้งที่ 2 หรือไม่ แต่หาก ไทยเบฟ เอาธุรกิจเบียร์เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ของไทย จะถูกต่อต้านจากคนบางกลุ่มหรือไม่ วัดกันว่า ปัญหาสังคมจากเรื่องแอลกอฮอล์ และประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ ตลาดทุน อะไรทำให้ประเทศชาติเสียประโยชน์มากกว่ากัน

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ