TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistวิธีจัดการเรื่องาน เรื่องส่วนตัว และเรื่องในหัวที่ต้องคิด: ซูเปอร์ CEO ศุภจี สุธรรมพันธุ์

วิธีจัดการเรื่องาน เรื่องส่วนตัว และเรื่องในหัวที่ต้องคิด: ซูเปอร์ CEO ศุภจี สุธรรมพันธุ์

ใครฟัง “คุณแต๋ม” เล่าเรื่องต่าง ๆ ต้องเพลิน จนลืมเวลา เชื่อมั้ย?

ด้วยน้ำเสียงนุ่มเย็น เป็นสุภาพสตรีนักบริหารแนว “Solf-speaking” บุกคลิกภาพในแบบพี่สาวใจดี

เธอมีประสบการณ์เลอค่าทั้งในและต่างประเทศ พรั่งพร้อมเรื่องราวจากการงาน เรื่องส่วนตัว และมีวิธีคิดที่ฟังเข้าใจง่าย

ที่สำคัญที่สุด ทั้งหมด…จับต้อง และทำตามได้

นักศึกษาที่เรียนไม่เก่ง แต่รู้ว่าชอบทำอะไร พอจบจิตวิทยา ก็ต่อบัญชี ไปไฟแนนซ์ ได้เข้าทำงานที่ IBM ได้ทำงานหลายแผนกมาก โดนจับโยกย้ายบ่อยจน…ชิน (25 ตำแหน่ง งานที่สั้นที่สุดคือ 2 เดือน)

“ตอนแรก ๆ ก็ Frustrated (คับข้องใจ)” เธอเล่า แต่ต่อมา นั่นล่ะทำให้กลายเป็นคนรู้จัก…การปรับตัว

เป็นผู้หญิงคนแรก และอายุน้อยที่ขึ้นสู่ตำแหน่ง Managing Director ของ IBM (Thailand) บินไปสะสมประสบการณ์ทำงานต่างประเทศ กลับมาเป็น CEO ไทยคม แก้ปัญหาขาดทุน ได้เข้าเป็นกรรมการดุสิตธานี เพียงแค่ 3 เดือน คุณชนินทธ์ โทณวณิก กับเธอเห็นวิชั่นเดียวกัน เขาเลยมอบตำแหน่ง CEO เธอจึงเป็นคนนอกตระกูลคนแรกที่มาบริหารเครือดุสิต เพื่อก้าวใหม่ของเครือดุสิตต่อสายตาชาวโลก

Win Small, Win Often

ทุบดุสิตธานีตรงหัวถนนสีลม สัญลักษณ์กรุงเทพฯ แล้วสร้างใหม่ ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เธอบรรจุไว้เป็นแผน 9 ปีว่าต้องทำอะไรบ้าง อะไรที่ยาวนานผู้คนอาจรอคอย ดังนั้น…

ระหว่างทาง ต้องทำแผนระยะสั้น และทำให้ทีมงานรู้สึก “Win” ไปด้วยกัน แนวคิดนี้นำไปใช้ได้ดีในแทบทุกเรื่อง เธอย้ำ

เกิดโควิด ต้องตั้งสติให้ดี สร้างขวัญและกำลังใจ สื่อสารกับคนบ่อย ๆ ทำให้ชัดเจน แจ้งสถานการณ์จริง เพราะคนคือแรงผลักดันสำคัญที่สุดในธุรกิจ ไม่ใช่ Technology Tools

นั่นทำให้เราได้เห็นภาพ CEO ท่านนี้บ่อย ๆ ในลักษณะ “ทำให้เห็น เป็นให้ดู”

เธอไปยืนลวกเส้นก๋วยเตี๋ยว ขายของ ทำขนม คลุกฝุ่นกับพนักงานเพื่อให้คนของเธอรู้ว่า พวกเขามีคนที่คอยสนับสนุน คอยอยู่เคียงข้าง และทำให้เขารู้วิธี

“ชนะในทุก ๆ วัน” สะสมแต้มไปเรื่อย ๆ 

“จังหวะที่มีวิกฤติ คือ ช่วงเวลาที่จะร่วมแรงร่วมใจ และพวกเราจะได้ออกจาก Comfort Zone ถ้าออกจากวิกฤติได้ เราจะแข็งแรงขึ้นแน่นอน” เธอย้ำ

ช่วงรับตำแหน่งที่ดุสิตใหม่ ๆ ก่อนจะนำเสนอแผนงานเปลี่ยนดุสิตธานี แบรนด์ไทยที่อายุกว่า 70 ปี ครั้งใหญ่ เธอใช้วิธีพาคณะกรรมการบริษัทไปดูดุสิตธานีที่หัวหิน 2 วัน พาไปดูสภาพของโรงแรม (ซึ่งมีอายุน้อยที่สุดในเครือ คือ ราว 20 ปี) พาไปดูคู่แข่งที่แย่งลูกค้าไป และทำให้บอร์ดเห็นในที่สุดว่า

ถึงเวลาหรือยังที่ดุสิตธานี…ต้องเปลี่ยน

บริหารเวลา

ถ้าใครอ่านแล้ว ยังบอกว่า ไม่มีเวลาออกกำลังกาย…นะ! 

CEO วัย 50+ ท่านนี้หาเวลาออกกำลังกายเป็นประจำ เพราะเธอเชื่อว่า รักงาน รักลูก รักครอบครัวแล้ว ก็ต้องรักตัวเอง เธอจะหาเวลาอย่างน้อย 30 นาทีเพื่อสุขภาพ ยามเดินทางไปต่างประเทศจะพกรองเท้าวิ่ง ถ้าไม่มีที่วิ่ง ก็ work-out ในห้องโรงแรมนั่นแหละ

“ปกติ จะออกกำลังกาย 7 กิโล วันละชั่วโมง เดินเร็ว ๆ ช่วยให้เราสดชื่นมากยิ่งขึ้น เราจะมีไอเดียดี ๆ ความคิดดี. ๆ ค่อนข้างเยอะ ถ้าเราเจอปัญหาหมกมุ่นจะแก้ไม่ได้ บางทีเบา ๆ สมองโปร่ง ๆ จะช่วยได้ “ เธอเล่า

วิธีวลาอ่านอีเมล์ก็สำคัญ

เป็น CEO ที่มีธุรกิจอยู่ทั่วโลก ย่อมมีอีเมล์เป็นร้อย เธอใช้วิธีนี้ ถ้ายังไม่คิดจะทำอะไรกับอีเมล์ ก็จะยังไม่เปิด

ถ้าเปิด จะอ่านให้จบ แล้ว Take Action ทันที เพราะอะไร? เพราะจะได้จบไป ไม่ต้องมาเปิดอ่านซ้ำอีก วิธีนี้แบบนี้ช่วยประหยัดเวลาได้ดี

คำมั่นสัญญา เวลาที่ต้องให้กับลูก

มีช่วงหนึ่ง ลูกสองคนอยู่สิงคโปร์ และคุณแม่อยู่เมืองไทย แต่สัญญากับลูกไว้ว่า ทุกวันหยุดสุดสัปดาห์จะไปอยู่ด้วย คำพูดคุณแม่ย่อมศักดิ์สิทธิ์ และเป็นคนพูดแล้ว ลงมือทำ ทุกเย็นวันศุกร์ เธอก็จะบินไปสิงคโปร์ แล้วก็ใช้เวลาอยู่กับลูกจริง ๆ

ทำแบบนี้…เป็นเวลา…สองปี เพราะเธอคือผู้ที่เชื่อว่า

“Work-Life Balance ไม่มี มีแต่ Work-Life Integration”

หมายถึง ผู้บริหารสามารถปรับเปลี่ยนและจัดการบริหารเรื่องงานและเรื่องครอบครัวได้โดยไม่ต้องแบ่งว่า หลังห้าโมงเย็น หยุดงาน เพราะเป็นเวลาของครอบครัว

“Work-Life Integration คือ ทำรวมกันไปเลย ไม่มีปัญหาไรนี่คะ หลักของมันคือ ต้องมีสติ แยกแยะได้ ทำงาน 9 โมงเช้า ลูกเกิดมีปัญหา เราก็ตอบได้ เราเลือกที่จะจัดการได้ อย่างเวลานั่งคุยกับเพื่อน ถ้านั่งตรงนี้ ก็จะโฟกัสคนตรงหน้า จะไม่ดูโทรศัพท์ เราจะทำตรงนั้นให้มีคุณภาพที่สุด”

บริหารความคิด

คนเรียนไม่เก่ง แต่ต้องคิดเป็น มาทางนี้

“ตอนเด็ก ๆ ซน เรียนไม่เก่ง ชอบอ่านวันสุดท้ายก่อนสอบ ตอนเรียนมหาวิทยาลัย ก็ยืมเลคเชอร์เพื่อน ตอนจบก็ต้องไปไหว้เครื่องซีร็อกซ์ สอบวันรุ่งขึ้น ก็รีบอ่าน กลายเป็นคนอ่านเร็ว สามารถเรียงร้อยข้อความยาก ๆ อ่านเร็ว ๆ ได้ กลายเป็นการพัฒนาทักษะลักษณะนี้ไป” เธอเล่าในการบริหารงาน

คุณแต๋มใช้หลักนี้กับการบริหารความคิดเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ และลงมือทำ เพราะยึดหลักการ

Focus-Prioritize-Execute เช่น ใน 100 อย่างที่ต้องทำ ต้องทำอะไรบ้าง เอามาเรียงลำดับความสำคัญก่อน และต้องให้ความสำคัญอย่างจริงใจ แล้ววิธีทำ ต้องทำยังไง (Execution) อย่างไร

“ถ้าเจอปัญหา ให้ใช้วิธีแยกปัญหาเป็นส่วน แล้วแก้ปัญหาเป็นส่วน ๆ”

แล้วทำงานในฐานะผู้นำแต่เป็นผู้หญิง ต้องคิดยังไง?

“เวลาทำงานจะไม่นึกถึงเรื่องผู้หญิงผู้ชาย เรื่องของเพศเป็นเรื่องของความคิด เราเอาเนื้องานเป็นตัวตั้ง ผู้หญิงถูกมองว่า ขี้บ่น จู้จี้ ตัดสินใจไม่รวดเร็ว ดังนั้น ก่อนเราจะรับงาน เราก็ทำการบ้าน รวมถึงมีวิธีการตัดสินใจ

โดยส่วนตัว ไม่ได้มองว่า เป็นผู้หญิง หรือเป็นผู้ชาย จะเป็นข้อได้เปรียบ หรือเสียเปรียบ เราก็ทำงานของเราไป” เธอเล่า

เป็นไงล่ะฮะ คุณผู้อ่าน อยากจะปรับเปลี่ยนจุดไหนในตัวเราบ้าง?

แหล่งที่มา:

ศุภจี สุธรรมพันธุ์ – พา ดุสิต ธานี “Take off ฝ่ามรสุม”

ล้วงกลยุทธ์ ศุภจี สุธรรมพันธุ์ นำทัพ 7,000 ชีวิต เปลี่ยน ‘ดุสิตธานี’ สู่ยุคดิจิทัล

Rethink Reimagine Reskill ไม่คิดคนเดียว ไม่ทำซ้ำกับคนอื่นพาธุรกิจเดินหน้าแบบ ศุภจี แห่ง ดุสิตธานี

ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ ตอน ศุภจี สุธรรมพันธุ์ ผู้พลิกฟื้นไทยคม จากขาดทุน 6 ปี เป็นกำไรใน 3 เดือน

ศุภจี สุธรรมพันธุ์ CEO พันธุ์แกร่ง “ยิ่งมีปัญหา ยิ่งต้องใกล้ชิดพนักงาน

ผู้เขียน: วิทยา แสงอรุณ ผู้รักการเฉลิมฉลองชัยชนะ ระหว่างทาง ด้วยการกินน้ำปั่น

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ