TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessKBANK/KBTG ส่ง Eatable พลิกวิกฤติเป็นโอกาสให้ธุรกิจร้านอาหาร

KBANK/KBTG ส่ง Eatable พลิกวิกฤติเป็นโอกาสให้ธุรกิจร้านอาหาร

KBTG กองทัพเทคโนโลยีของธนาคารกสิกรไทย พัฒนาเทคโนโลยีผลัดกดันให้ KBANK เข้าไปอยู่ในระบบนิเวศของหลายอุตสาหกรรม ล่าสุดได้พัฒนา Eatable เพื่อยกระดับและขับเคลื่อนระบบนิเวศอุตสาหกรรมร้านอาหารในประเทศไทยด้วยการเปิดตัว “Eatable by KBANK”

จากข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทยถึงการปรับตัวของธุรกิจร้านอาหารเข้าสู่มาตรฐานใหม่ คาดการณ์ว่า ธุรกิจร้านอาหารในปี 2020 จะมีมูลค่าราว 3.8 แสนล้านบาท หดตัวเกือบ 10% จากปีที่ผ่านมา เนื่องจากลูกค้ามีความระมัดระวังตัวในการออกไปทานอาหารนอกบ้าน จากปัญหาการระบาดของโควิด-19 ดังนั้น ร้านอาหารยุคใหม่จะต้องผสมผสานการให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าทั้งที่ทานที่ร้านและเดลิเวอรีไปพร้อม ๆ กัน

Eatable แพลตฟอร์มบริการสั่งอาหารรูปแบบใหม่ แปลงโฉมวงการร้านอาหารสู่ยุค 4.0 ด้วยความมุ่งมั่นที่จะ Redefine Dining Experience ด้วย 3D Restaurant [Dine In, Dine Out, Delivery]

Eatable บริการสั่งอาหารภายใต้แนวคิด “อร่อยครบ จบ เพียงปลายนิ้ว” คือ บริการสั่งอาหารรูปแบบใหม่จาก KBTG ที่ให้ลูกค้าสามารถสั่งอาหารผ่าน Web-based application ได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ว่าจะอยู่ในร้านหรือสั่งล่วงหน้าเพื่อรับกลับบ้าน เพียงสแกน QR Code ที่ติดอยู่บนโต๊ะ หรือเปิดลิงก์ที่ Eatable สร้างให้ ก็สามารถสั่งอาหารผ่านเมนูออนไลน์ได้แบบไร้สัมผัส (Contactless) โดยไม่ต้องรอให้พนักงานมารับออเดอร์ พร้อมตัวเลือกในการส่งเดลิเวอรีที่เปิดกว้าง จะให้คนของร้านไปส่งเอง หรือให้ผู้ให้บริการจัดส่งเจ้าไหนส่ง เลือกได้ตามชอบ ใช้งานง่ายทั้งสำหรับลูกค้าและผู้ประกอบการร้านอาหาร ไม่ต้องโหลดแอปหรือหาซื้ออุปกรณ์ใหม่

เรืองโรจน์ พูนผล ประธาน บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) กล่าวว่า Eatable คือ แนวคิดของ Restaurant 4.0 Vision ร้านอาหารเป็นอีกวงการหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างใหญ่หลวงจากวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 การล็อคดาวน์ทั่วประเทศทำให้ร้านอาหารไม่สามารถเปิดให้ลูกค้าเข้าไปนั่งทานกันได้

“Eatable เป็นบริการที่คิดมาก่อนหน้านี้และแพลนว่าจะเปิดตัวในเดือนเมษายน แต่เจอวิกฤติโควิดทำให้ต้อง pivot บริการ ออมาเป็น Eatable ภายใต้การแนวคิดการ empower ลูกค้าทุกคนของ KBANK” ที่ออกแบบเป็น web-based เพื่อให้ง่ายต่อทั้งฝั่งผู้ใช้งานและผู้ประกอบการร้านอาหาร ร้านอาหารไม่ต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์หรือเทคโนโลยีเพิ่มเติม ในขณะที่ลูกค้าไม่ต้องโหลดแอปพลิเคชัน เพียงแค่ใช้ QR Code สแกนเท่านั้น

และแม้จะคลายล็อคดาวน์ในภายหลัง ก็พบว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงไปเสียแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการหันมาสั่ง Delivery มากขึ้น ไปจนถึงการเลี่ยงรับประทานอาหารข้างนอกเพื่อคงระยะห่าง Social Distancing ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องเร่งปรับตัวครั้งใหญ่ ทาง KBTG จึงได้ออกแบบและพัฒนา Solution ช่วยรองรับในจุดนี้ 

ธุรกิจร้านอาหารเป็น sector ที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน อัตราการ recover ช้ามา ยังติดลบ 70% เทียบกับปีก่อนหน้า

Eatable เกิดจากการ pivot ด้วยการทำเทคโนโลยีที่ต้องการช่วยเหลือเรื่องการทำทรานส์ฟอร์เมชั่นให้กับธุรกิจร้านอาหาร เพื่อตอบโจทย์ทั้งหมดในโลกยุคโควิด-19 และหลังโควิด-19

Dining business ถูก disrupt ทุกร้านอาหารต้องมี social distancing ในขณะที่คนเริ่ม work- paly- stay at home ทำให้คนไปที่ร้านอาหารต้องการประสบการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป การไปนั่งที่ร้านอาหารเขาไม่อยากสัมผัสเมนู เมื่อจำนวนโต๊ะน้อยลง เพื่อให้มีรายได้เพียงพอต่อค่าเช่า ค่าดำเนินการ การให้บริการอาหารที่รับประทานในร้านและการ delivery ไม่เพียงพอ ร้านอาหารต้องการแหล่งรายได้อื่น ๆ นี่คือ โจทย์ของโลกใหม่

“เรามานั่งประชุมกันเห็นว่าร้านอาหารต้องเปลี่ยนจาก third place เป็น safe place จาก instore experience เป็น extended experience เมื่อลูกค้าเริ่มชอบการทานอาหารที่บ้านมากขึ้น ไม่ว่าจะทำเอง สั่ง delivery มาทาน หรือไปที่ร้านแล้วซื้อกลับมาทานที่บ้าน”

Eatable เกิดขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ตรงนี้ เป็น pool ในการทำ digital transformation ขั้นแรกของร้านอาหารเพื่อตอบโจทย์ Restaurant 4.0 ในยุค digital disruption และยุค post-COVID ภายใต้สโลแกน “อร่อยครบจบเพียงปลายนิ้ว”

“เรามองว่าธุรกิจร้านอาหาร คือ ลูกค้าหลักของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งจะมีทีมนักเทคโนโลยี นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล และทีมนักพัฒนาของ KBTG ช่วยสนับสนุนอยู่ ซึ่งตรงนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่มีค่าธรรมเนียม” เรืองโรจน์ กล่าว

สุรศักดิ์ จันทศิริโชติ Advanced Partnership Engineer, KBTG กล่าวว่า ให้คนที่ไปทานอาหารที่ร้านได้รับประสบการณ์ที่ดี สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย เป็นที่มาของ Eatable ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ร้านอาหารนำไปประยุกต์เข้ากับธุรกิจของร้านได้โดยง่าย ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ของคนทานอาหาร การใช้งานที่ใช้ง่าย ช่วยให้ลูกค้าที่ไปนั่งทานที่ร้าน ไม่ต้องคอยเมนู ไม่ต้องเรียกพนักงาน ก็สามารถสั่งอาหารได้ด้วยตัวเองได้ สามารถใช้มือถือสแกน QR Code สามารถดูเมนู สั่งอาหาร กดเรียกพนักงาน ช่วยลดการสัมผัสเมนูที่เป็นเล่ม นี่คือ ฟีเจอร์เริ่มแรกของ Eatable ที่ทำให้ประสบการณ์การทานอาหารที่ร้านสะดวกและปลอดภัย

Eatable แพลตฟอร์มสั่งอาหารรูปแบบใหม่จาก KBTG ที่เล็งเห็นความต้องการของคนที่มาทานอาหารที่ร้าน ให้สามารถออกมาสังสรรค์แต่ยังคงเว้นระยะห่าง Social Distancing ได้อยู่ โดยให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างเมนูออนไลน์ เปิดให้ลูกค้าเข้าถึงโดยการสแกน QR Code ที่ติดไว้ที่โต๊ะเพื่อสั่งอาหารผ่านหน้า Web App ได้เลย โดยไม่ต้องเรียกพนักงานมาที่โต๊ะ

นอกจากนี้ยังมีการทำเป็นลิงก์เฉพาะสำหรับตัวเลือกในการสั่งล่วงหน้าสำหรับ Dine-out และ Delivery ที่ให้ร้านอาหารสามารถเลือกเจ้าที่ต้องการให้ไปส่ง หรือจะส่งเองก็ได้ ใช้งานง่าย สะดวก ปลอดภัยทั้งลูกค้าและพนักงานในร้าน

การทานอาหารที่ร้านเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขที่ใช้ร่วมกันเพื่อนและครอบครัว Eatable จึงมีฟีเจอร์ที่ให้คนร่วมโต๊ะสามารถสั่งอาหารร่วมกันได้ เมนูที่สั่งร่วมกันจะแสดงผลเรียลไทม์บนมือถือของทุกคน นอกจากนี้ยังมี Inspirer Menu คือ เมนูมีชีวิต สร้างความอร่อยตั้งแต่แรกเห็น

ทั้งนี้ KBTG ไม่ได้สร้าง Eatable มาเพื่อช่วยสร้างประสบการณ์การทานอาหารของคนทานเท่านั้น แต่ Eatable สร้างมาเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการร้านอาหารมีความสามารถในการสร้างบริการและรายได้ได้ดีขึ้น ช่วยให้การดำเนินธุรกิจของร้านอาหารง่ายขึ้น

ด้วย Eatable ร้านอาหารไม่ต้องมี admin ด้วย Online Order Link ช่วยให้ร้านอาหารสามารถนำไปวางไว้บนช่องทางดิจิทัลต่าง ๆ ของร้านได้ ไม่ว่าจะเป็น LINE Official Account หรือ Facebook Page ลูกค้าสามารถคลิกเดียวดูเมนูร้านและสั่งอาหารได้ทันที โดยไม่ต้องคุยกับ admin

และยังมีฟีเจอร์ให้ลูกค้าเลือกว่าจะมารับที่ร้านหรือปักหมุดที่อยู่ให้ร้านอาหารจัดส่งให้ ด้วย 1-Click Copy Address ร้านอาหารสามารถนำหมุดที่ลูกค้าปักมาให้ไปวางที่แอปฯ ของ express service provider ทันที ซึ่งฟีเจอร์นี้มาพร้อมกับ Express Link ที่ทำให้ร้านอาหารสามารถเปลี่ยนพนักงานเสิร์ฟเป็นพนักงานส่งได้ง่ายขึ้น หรือจะใช้บริการของผู้ให้บริการได้

“ร้านอาหารสามารถเลือก express service ที่เหมาะสมกับร้านตัวเอง อาทิ Grab Lalamove และ Skootar ซึ่ง Eatable มีระบบหลังบ้านช่วยร้านคำนวณอัตราค่าส่งที่เหมาะสม ในกรณีร้านใช้บริการ express service แอปฯ ก็จะแนะนำว่าร้านค้าควรมีส่วนลดค่าส่งให้ลูกค้าเท่าใด ฟีเจอร์นี้สามารถทำให้ร้านอาหารประหยัดค่าธรรมเนียมได้มากกว่า 15% และลูกค้าจะไม่รู้สึกว่าต้องจ่ายค่าส่งที่แพง”

​”Eatable แพลตฟอร์มที่รองรับการสั่งอาหารได้ ไม่ว่าจะเป็นการมาทานที่ร้าน (Dine In) การสั่งแล้วมารับ (Din Out) รวมไปถึงการให้จัดส่ง (Delivery) สามารถทำงานได้บนทุกอุปกรณ์ ไม่ต้องโหลดแอปฯ ไม่ต้องซื้อเครื่องใหม่ เพราะเป็น we-based service ที่สำคัญใช้ฟรีไม่มีค่าธรรมเนียม เราต้องการช่วยให้ร้านอาหารสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน”​

ฟีเจอร์​ Dine In พัฒนาเสร็จมาแล้ว แต่มาเจอวิกฤติโควิด-19 พบว่าร้านอาหารเจอปัญหาและต้องการฟีเจอร์​ Dine Out เพื่อตอบโจทย์ให้ร้านค้าที่ไม่สามารถให้บริการแบบ Dine In ได้ในช่วงล็อคดาวน์

ร้านอาหารที่สนใจจะร่วมทดลองการใช้งาน Eatable Public Data สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://eatable.kasikornbank.com ได้แล้ววันนี้

KBTG ออกแบบพัฒนา Eatable พร้อมกับพันธมิตรธุรกิจ อาทิ ร้านเรือนเพชรสุกี้ ร้าน Beast & Butter และโรงแรมเครือกะตะธานี

อย่างไรก็ดี สุรศักดิ์ กล่าาวว่า การพัฒนา Eatable คือ มุ่งเน้นสร้างประสบการณ์การในการทานอาหารและผู้ประกอบการร้านอาหารให้ดีขึ้น ฟีเจอร์ที่ออกมากจะเน้นไปที่ การสั่งอาหาร การรับออร์เดอร์ การเรียกพนักงาน แต่ทว่าในอนาคตอันใกล้จะมีการเชื่อมแพลตฟอร์ม Eatable สู่การชำระเงิน

Eatable จะสามารถเชื่อมเข้าสู่บริการรับชำระเงินแบบออนไลน์ได้ในเดือนกันยายน 2563 นี้ ทำให้ลูกค้าสามารถสั่งครบจ่ายจบได้ในช่องทางเดียว ซึ่งจะเป็นทางออกในการช่วยแก้ไขปัญหาและความยุ่งยากที่ต้องเผชิญในธุรกิจร้านอาหารได้เป็นอย่างดี ต่อยอดนโยบายของธนาคารกสิกรไทยในการช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถรอดพ้นจากพิษวิกฤตโควิด-19 ไปได้ด้วยกัน

Eatable ตอบโจทย์ “ธุรกิจร้านอาหาร” ยุค New Normal

พงศ์ธรรช เลิศธนพันธุ์ Business Development manager ร้านเรือนเพชรสุกี้ กล่าวว่า ปัญหาของร้านค้า คือ บางครั้งจำนวนพนักงานไม่พอ ออร์เดอร์ผิดพลาด และพนักงานในร้านทุกวันนี้ไม่ใช่คนไทยทั้งหมด จะมีปัญหาเรื่องภาษาด้วย พอมาใช้ Eatable แล้ว ปัญหาเรื่องความผิดพลาดในการสั่งอาหารหมดไป

พงศ์ธรรช กล่าวว่า ได้เริ่มใช้ Eatable ที่ ร้านเรือนเพชรสุกี้ สาขาเซ็นทรัลบางนา และสาขาเซ็นทรัลพระรามสอง มา 2 เดือนแล้วสามารถลดความผิดพลาดการสั่งอาหารลงได้เยอะมาก ลดต้นทุนที่เสียไปจากการความผิดพลาดในการสั่งอาหารได้มาก

หลังเปิดร้านหลังกลับมาเปิดให้บริการได้ จำนวนพนักงานไม่พอ แต่ด้วย Eatable ทำให้พนักงานหนึ่งคนสามารถคีย์ออร์เดอร์อาหารที่สั่งเข้ามาให้กับทางครัวได้ แทนที่จะใช้พนักงาน 4 คน การใช้ Eatable ยังช่วยร้านประหยัดกระดาษ ทั้งเมนูและใบจดรายการอาหาร และประหยัด motion waste หรือการเดินไปเดินมาของพนักงานในพื้นที่ 200 ตารางเมตรของร้านอีกด้วย

“พนักงานไม่จำเป็นต้องปรับตัวมากในการใช้ Eatable แต่ Eatable ไม่ได้เข้ามาแทนที่พนักงาน 100% เรามองว่า Eatable คือ เครื่องมือที่ช่วยให้พนักงานที่ร้านสามารถปฏิบัติงานได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น”​ พงศ์ธรรช กล่าว

การที่มีร้านอาหารจำนวนมากเข้ามาใช้บริการแพลตฟอร์ม Eatable จะช่วยเพิ่มความสามารถในการพัฒนาฟีเจอร์ต่าง ๆ ของ Eatable ให้ดีมากยิ่งขึ้นไปอีก

จาก Food Truck ชื่อ Beast Burger บนถนนนิมมานเหมินทร์ที่เชียงใหม่ในปี 2014 สู่ร้าน Beast & Butter และในปี 2020 จะขยายมาเปิดร้านที่กรุงเทพฯ

เอสรา สดุดีวงศ์ เจ้าของร้าน Beast & Butter กล่าวว่า ช่วงล็อคดาวน์ เปิดร้านไม่ได้ ก็คิดจะทำบริการ delivery เอง ให้ลูกค้าสั่งทาง Line Official Account แล้วคุยตอบกันไปมานานกว่าจะปิดดีลได้ พอรู้จัก Eatable ช่วยทำให้ข้อผิดพลาดในการรับออร์เดอร์ลดน้อยลง ไม่ว่าการสื่อสารนั้นจะเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาไทย หรือภาษาจีน

“ที่ชอบมาก คือ เราสามารถเลือกได้ว่าจะให้ผู้ให้บริการรายไหนเป็นคนจัดส่ง ลูกค้าเสียค่าจัดส่งลดลง เราเองได้ขายของที่ราคาเท่าหน้าร้าน” เอสรา กล่าว

ตอนเปิดร้านเน้นให้ลูกค้าเข้ามาทานที่ร้าน (Dine In) เป็นที่พบปะสังสรรค์ ของครัวครอบและเพื่อนฝูง พอเจอวิกฤติโควิด-19 ร้านปิด ต้องปรับตัวมาทำ delivery แทน พอพึ่ง food delivery service ก็เจอค่า GP ค่อนข้างสูง เลยให้ลูกค้าสั่งตรง พบว่ามีหลายขั้นตอนมากและใช้เวลานานกว่าจะสามารถจบแต่ละออร์เดอร์ได้ บางเคสเป็นครึ่งชั่วโมง บางครั้งพนักงานตอบช้า ลูกค้าไม่รอ ยกเลิกออร์เดอร์ ทำให้เสียโอกาสในการขายไป

“Eatable เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่ายมาก การตอบโต้และการแชร์สถานที่ก็เกิดปัญหา เพราะลูกค้าบางคนเป็นชาวต่างชาติ พนักงานไม่ถนัดสื่อสารด้วย ด้วย Eatable รองรับภาษาอังกฤษก็สะดวก ลูกค้ากดดูเมนู กดสั่งเองได้เลย ออร์เดอร์เสร็จภายใน 10 นาที สามารถส่งได้เลย ส่วนโลเคชั่นก็สามารถคัดลอกลิงก์มาแปะได้เลย ซึ่งพอเราไม่ต้องเสียค่า GP เราสามารถเอาค่า GP มาเป็นส่วนลดให้ลูกค้าได้อีกด้วย” เอสรา กล่าว

นันทิดา อติเศรษฐ์ รองประธานบริหาร ฝ่ายการขายและการตลาด เครือกะตะธานี กล่าวว่า ช่วงล็อคดาวน์ก็ถือโอกาสปรับปรุงโรงแรมและหาโซลูชั่นที่มาช่วยปรับปรุงการให้บริการ ซึ่ง Eatable มาตอบโจทย์ความต้องการของเครือที่มีกว่า 40 จุดที่ให้บริหารอาหารและเครื่องดื่ม เป็นบริการที่ใช้ง่ายและสะดวกมาก

นันทิดา กล่าวว่า กำลังมองหาแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ก่อนโควิด-19 แล้ว เพราะลูกค้ามาจากหลากหลายชาติมาก ทางโรงแรมมีร้านอาหารทั้งหมด 40 ร้านใน 8 โรงแรม การจัดทำเมนูให้รองรับลูกค้าต้องใช้ทรัพยากรค่อนข้างมากและใช้เวลานาน แต่ Eatable ช่วยให้โรงแรมสามารถสร้างและอัปเดตเมนูได้หลายภาษาใส่รูปภาพได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายมาก

“ตอนกำลังเริ่มโหลดเมนู และรูปต่าง ๆ เข้าไปใน Eatable ใช้เวลาเพียง 2-3 วัน ซึ่งพนักงานอายุ 40-50 ปี ก็ใช้งานได้ง่ายมา Eatable คือ สิ่งที่โรงแรมอยากใช้มานานแล้ว ซึ่งไม่ใช่แค่มาตอบโจทย์ของกิน แต่ของใช้ต่าง ๆ จาก ร้านในโรงแรม ก็ใช้ Eatable ได้ สั่งที่ร้านแล้วให้ไปส่งที่ห้อง (Room Service) ได้ด้วย” ” นันทิดา กล่าว

ซึ่งสุรศักดิ์ กล่าวว่า การทำงานกับเครือกะตะธานีทำให้รู้ว่า Eatable มีจุดแข็งที่ภาษา ที่ตอนนี้รองรับได้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน แต่ในอนาคตจะมีการพัฒนาภาษาอื่น ๆ อีก นอกจากนี้ ยังพบว่า Eatable ไม่ได้ตอบโจทย์แค่ร้านอาหาร แต่ผู้ประกอบการขายสินค้าอื่นก็สามารถใช้ Eatable ได้

เจริญชัย บวรธรรมรัตน์ Senior Principle KBTG กล่าวว่า ร้านอาหาร SME เป็นฐานรากใหญ่ของระบบเศรษฐกิจ แนวคิดของ Eatable ต้องการ restructure ร้านอาหารทั้งหมด ทั้งฝั่งร้านอาหารและลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ เพื่อสนับสนุนวิถีชีวิตใหม่หลังโควิด-19

“เราอยากได้ร้านที่มีแนวคิด co-creation ได้พบร้านเรือนเพชรสุกี้ที่อยากจะทรานส์ฟอร์มร้าน โจทย์ของร้านคือ ทดสอบพีเจอร์ Dine In” เจริญชัย กล่าว

ส่วนโรงแรมเครือกะตะธานี เป็นเคสที่ตอบโจทย์ทั้ง 3 ฟีเจอร์หลัก คือ Dine In, Dine Out และ Delivery ร้านอาหารในโรงแรมหรือรีสอร์ทตอบโจทย์นี้ ในกลุ่มร้านอาหารของโรงแรมเครือกะตะธานีเป็นพันธมิตรยาวนานของ KBANK

“เราอาจจะมีการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ เพื่อรองรับธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19” เจริญชัย กล่าว

นอกจากนี้ Eatable จะมีบริการรับชำระเงินพร้อมให้บริการเดือนกันยายน 2563 นี้ ดังนั้น ลูกค้าสามารถสั่งครบจ่ายจบได้ในช่องทางเดียว และจะมีการเปิดตัวมินิโปรแกรมไคไท่เตี่ยนไช่ (Kai Tai Dian Cai) บริการสั่งอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวจีนผ่านแอปวีแชท (WeChat) ในช่วงปลายปีนี้ด้วยเช่นกัน รองรับนักท่องเที่ยวชาวจีนที่จะกลับมา

“Eatable คือ ความตั้งใจของ KBANK และ KBTG ที่ลงทุนเพื่อช่วยเหลือลูกค้า เราลงทุนเยอะแน่นอน ทุกโซลูชั่นเราทุ่มเทจริง ๆ เพื่อช่วยลูกค้าของธนาคารกสิกรไทยในทุกอุตสาหกรรม” เรืองโรจน์ กล่าวทิ้งท้าย

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ