TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessMed Park โรงพยาบาลเอกชนสำหรับ Next Generation

Med Park โรงพยาบาลเอกชนสำหรับ Next Generation

เมดพาร์ค ต้องการเป็นโรงพยาบาลที่รักษาโรคยาก ๆ มีความซับซ้อน เป็นโรงเรียนแพทย์ ผลิตงานวิจัย เป็น Destination Medicine และเป็น Medical Hub แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

-ไอเน็ต จับมือ IBM ส่งเทคโนโลยีรักษาวัณโรค 75 โรงพยาบาลทั่วไทย
-เมดพาร์ค ทุ่ม 7 พันล้าน ตั้งเป้าศูนย์กลางบริการทางการแพทย์เฉพาะทาง แห่งเอเชียอาคเนย์

นายแพทย์พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช รองประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีพีพี เฮลท์แคร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้บริหารโรงพยาบาลเมดพาร์ค (Med Park) กล่าวกับ The Story Thailand ว่า โรงพยาบาลเมดพาร์ค ตามความตั้งใจต้องการเป็นโรงพยาบาลที่รักษาโรคยาก ๆ มีความซับซ้อน ที่โรงพยาบาลอื่นรักษาไม่ได้ และเป็นโรงเรียนแพทย์ มีงานวิจัย เรียกว่า เป็น Destination Medicine มีความกระชับกระเฉง ดังนั้น เมดพาร์คจึงเป็นศูนย์รวมของหมอเก่ง มีความรู้ ความสามารถ กระตือรือร้นในการทำงาน

“เรามีหมอ 300 ท่านในเมดพาร์ค เป็นหมอประจำและหมอล่วงเวลา ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางกว่า 30 สาขา มีประสบการณ์และความชำนาญสูง ทีมแพทย์หลักเกือบ 70% ผ่านการฝึกอบรมในต่างประเทศ”

“ทั้งแพทย์ที่จบอเมริกันบอร์ด และผ่านหลักสูตรการอบรมในอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และไต้หวัน เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ”

นอกจากนี้ ยังมีการสร้างเครือข่ายโรงพยาบาลเอกชนต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เช่น กรณีให้หมอที่เมดพาร์คเป็นที่ปรึกษา หรือการใช้เครื่องมือแพทย์ รวมทั้งการส่งตัวมารับการรักษาที่เมดพาร์คเมื่อดีขึ้นก็ย้ายกลับไปรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งจะเป็นแนวทางนำไปสู่การเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

เราต้องการแข่งขันกับสิงคโปร์ในการเป็น Medical Hub เพราะปัจจุบัน โรงพยาบาลในไทยรักษาผู้ป่วยต่างชาติมากกว่า สิงคโปร์ 4 เท่า แต่มีรายได้ใกล้เคียงกันมาก เท่ากับว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของเราราคาถูกว่าสิงคโปร์มาก”

นายแพทย์พงษ์พัฒน์ กล่าวถึง การแข่งขันในธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนว่า โรงพยาบาลเอกชนทั้งหมดในประเทศไทยถือเป็นโรงพยาบาลทางเลือก เพราะการรักษาพยาบาลของภาครัฐโดยปกติมี 3 ระบบ คือ ระบบประกันสังคม กองทุนประกันสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กองทุนสวัสดิการข้าราชการ ที่สามารถดูแลครอบคลุม 99% ของประชากรในประเทศ ภายใต้งบประมาณที่จำกัด

ทั้งนี้ มีประชาชนจำนวนหนึ่งที่เลือกรับบริการจากโรงพยาบาลเอกชน ปัจจุบัน ประชาชนใช้บริการภาคเอกชนที่เป็นผู้ป่วยนอกประมาณ 60 ล้านจาก 200 กว่าล้านของผู้ป่วยทั้งหมดต่อปี ส่วนผู้ป่วยใน 1 ล้านคน จากผู้ป่วยในทั้งสิ้นประมาณ 70 ล้านคน

เท่ากับโรงพยาบาลเอกชนดูแลครอบคุลมผู้ป่วยประมาณ 20% ไม่รวมคลินิก

“สถานการณ์ของโรงพยาบาลเอกชนช่วงต้นปีนี้ทีมีการแพร่ระบาดของ ไวรัสโควิด-19 ได้รับผลกระทบ เนื่องจากผู้ป่วยยังไม่มั่นใจในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แต่เนื่องจากอาการเจ็บป่วยบางครั้งไม่สามารถรอได้ จึงจำเป็นต้องมารับการรักษาแต่จำนวนน้อยลง”

สำหรับโรงพยาบาลเอกชนที่มีกลุ่มเป้าหมายลูกค้าต่างประเทศ ยิ่งกระทบมากเพราะไม่มีลูกค้าเลย ในขณะที่โรงพยาบาลภาครัฐมีผู้มาใช้บริการน้อยไม่ได้รับผลกระทบอะไรเนื่องจากยังได้รับงบประมาณเช่นเดิม

โรงพยาบาลเมดพาร์ค ตั้งอยู่บนถนนพระราม 4 ประกอบด้วยอาคาร 25 ชั้น พื้นที่ประมาณ 90,000 ตารางเมตร มีห้องผู้ป่วยวิกฤตหรือ ICU 30% ของเตียงทั้งหมดประมาณ 140 – 150 เตียง สามารถให้บริการห้องตรวจผู้ป่วยนอกถึง 300 ห้อง

“จุดแข็งของเมดพาร์ค ที่แตกต่างจากโรงพยาบาลอื่น คือ เป็นโรงพยาบาลที่ลงทุนโดยหมอ ออกแบบโดยหมอ และรักษาโดยหมอ เพื่อคนไข้ของเรา ดังนั้น จะทราบว่า หมอต้องการอะไร ผู้ป่วยต้องการอะไร”

สิ่งที่คำนึงถึงอีกอย่าง คือ นโยบายความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย เวลามาโรงพยาบาลอาจจะมีปัญหาเรื่องการพบปะผู้คน ดังนั้น จึงมีการออกแบบให้ผู้ป่วย มีที่จอดรถเฉพาะ สามารถเข้ารับการตรวจรักษาได้โดยไม่ต้องพบใคร แต่หมอและเครื่องมือจะเคลื่อนเข้าไปหาผู้ป่วย

ครอบครัวที่อยากดูแลผู้ป่วยเอง แต่ผู้ป่วยมีอาการหนัก ก็สามารถปรับห้องพักผู้ป่วยเป็นห้อง ICU พิเศษให้ญาติอยู่ได้ มีเครื่องมือ อุปกรณ์พิเศษ และพยาบาลประจำ ซึ่งห้องดังกล่าวมีประมาณ 20 กว่าห้อง ทางโรงพยาบาลพยายามการออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วย

สำหรับค่ารักษาพยาบาลนั้น ถ้าสามารถบริหารจัดการประสิทธิภาพ การทำต้นทุนในการซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ ยารักษาโรค ทำให้มีต้นทุนที่เหมาะสม จะสามารถจัดเก็บค่ารักษาพยาบาลในอัตราที่เหมาะสมได้ ไม่แพงมาก เนื่องจากเมดพาร์คิดตาม Value of Care มาจาก ผลที่ได้จากการรักษา หารด้วย ต้นทุน หรือขยะที่เกิดขึ้น

“สิ่งที่ทำให้ค่ารักษาพยาบาลแพง เกิดจากสิ่งที่เรียกว่า Redefinition เกิดการหวาดระแวงระบบโรงพยาบาล จึงต้องเกิดการตรวจสอบ ผู้ป่วยใช้เงินเยอะมากในการรักษา”

ในอเมริกาใช้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ 17% ของ GDP แต่ 40% ของ 17% ถูกนำไปใช้ในการตรวจสอบระบบ เท่ากับงบประมาณด้านสุขภาพถูกใช้จริงแค่ 10% ของ GDP

เมดพาร์ค แม้จะเป็นโรงพยาบาลเอกชนรายใหม่ที่เพิ่งเปิดให้บริการ แต่ถ้าผู้ป่วยหาสาเหตุไม่ได้ หรือรู้สาเหตุแต่รักษาไม่หาย หรือมีความซับซ้อนในการรักษา Med Park เหมาะสมกับคุณนายแพทย์พงษ์พัฒน์ กล่าวสรุป

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ