TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistการออกแบบเลนส์ตาใหม่ให้เหมาะกับพฤติกรรมการใช้สายตา

การออกแบบเลนส์ตาใหม่ให้เหมาะกับพฤติกรรมการใช้สายตา

พฤติกรรมคนไทยส่วนใหญ่ที่ใช้วิถีแบบดิจิทัล มีผลกับสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่อง สายตา ล่าสุดจากกรายงานของ We Are Social และ Hootsuite ระบุ ประเทศไทยมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต 69.5% ของจำนวนประชากร ใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 8 ชั่วโมง 44 นาทีต่อวัน โดยพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต เช่น ดูทีวีผ่านสื่อออนไลน์ วันละ 3 ชั่วโมงครึ่ง เล่น Social Media 2 ชั่วโมง 48 นาทีต่อวัน อ่านข่าวสารวันละ 2 ชั่วโมง 48 นาที ใช้ในการเล่นเกม 1 ชั่วโมง 38 นาทีต่อ

ไม่รวมการซื้อสินค้า E-Commerce ผ่านมือถือ 74% เป็นอันดับ 2 ของโลก ทำธุรกรรมผ่าน Mobile Banking 68.1% ต่อเดือน เป็นอันดับ 1 ของโลก ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นการใช้สายตาอย่างต่อเนื่อง ในระยะเวลายาวนาน

รศ.นพ.ปริญญ์ โรจนพงศ์พันธุ์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านจักษุวิทยา โรงพยาบาลเมดพาร์ค เปิดเผยกับ The Story Thailand ว่า คนไข้ทางจักษุมีจำนวนมากขึ้น และมีทุกช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิด จนอายุมาก ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน การใช้สายตา ทำให้คนไทยมีปัญหาเรื่องสายตามากขึ้น ในขณะที่วิทยาการทางการแพทย์ด้านจักษุมีความหลากหลายและทันสมัยมากขึ้น การรักษาด้วยการใช้เทคโนโลยีชั้นสูง (State-of-The-Art technique) โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องการออกแบบสายตาให้คนไข้แบบเฉพาะตัว

-ดวงชะตา พนักงานการบินไทย เดี้ยงมากกว่ารอด
-ถอดบทเรียน เรือเอเวอร์ กิฟเวน ความเสียหายต่อการค้าโลก

“การที่คนไข้มีความต้องการในการออกแบบสายตาใหม่ หมอต้องมีการหาข้อมูลจากคนไข้ จากญาติ คนในครอบครัว เพราะต้องทราบพฤติกรรมทั้งหมดของคนไข้ ซึ่งบางครั้งคนไข้ไม่สามารถถ่ายทอดให้หมอได้ จากนั้นต้องประเมินต้นทุนของคนไข้เป็นอย่างไร คนไข้ต้องการอะไร หมอให้ได้ขนาดไหน เมื่อประเมินเสร็จหมอจะอธิบายและให้ทางเลือก แต่คนไข้ต้องเป็นคนเลือกเอง และตัดสินใจร่วมกันกับหมอ หมอไม่ใช่ผู้ตัดสินใจแทนคนไข้ว่าจะใช้เลนส์อะไร ที่ผ่านมาคนไข้ไม่มีโอกาสเลือก เพราะไม่รู้จะเลือกอะไร หมอไม่ได้ข้อมูล”

“ในการออกแบบสายตาให้คนไข้แต่ละคน เป็นเรื่องเฉพาะและส่วนตัว ต้องรู้ถึง ไลฟ์สไตล์ การใช้สายตาของผู้ป่วยแต่ละคนให้เหมาะกับ เช่น การมองไกลมองใกล้ จำนวนชั่วโมงที่ขับรถตอนกลางวัน ตอนกลางคืน การใช้มือถือหรือคอมพิวเตอร์ จากนั้นจึงทำการออกแบบตาทั้ง 2 ข้าง ซึ่งแต่ละข้างอาจจะไม่เหมือนกันเลย เป็นเรื่องที่ยากและซับซ้อน ความเข้าใจของคนไข้ก็สำคัญ ความชำนาญของแพทย์ ในเรื่องการออกแบบเลนส์ ต้องอาศัยทั้งประสบการณ์และความชำนาญการของจักษุแพทย์ในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้วย”

รศ.นพ.ปริญญ์ กล่าวว่า ตัวอย่างการการผ่าตัดต้อกระจก ปกติเป็นโรคที่เกิดในผู้สูงวัยเป็นภาวะเลนส์ตามีความขุ่น ซึ่งเกิดกับอายุมากเป็นหลัก การโดนแสงอุลตร้าไวโอเลต หรือ อุบัติเหตุเพิ่มโอกาสเป็นเร็วขึ้น วิธีการรักษา อาจสลายต้อด้วยเครื่องสลายหรือรักษาด้วยการใส่เลนส์แก้วตาเทียม Monofocus ชนิดโฟกัสได้ระยะเดียว เข้าไป ทำให้เลนส์ใสแสงผ่านได้ สามารถมองเห็นได้เช่นเดิม แต่ในยุคสมัยนี้ อาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วยอีกต่อไป

ที่ผ่านมาไม่ได้ทำเรื่องต้อกระจกธรรมดา แต่ทำเรื่องการใส่เลนส์ใหม่ร่วมกับการแก้ทั้งปัญหา สายตายาว สั้น เอียง โดยใช้เทคโนโลยีในการตรวจวินิจฉัย และ รักษาด้วยเครื่อง ORA System ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่สามารถตรวจวัดค่าสายตาผู้ป่วยระหว่างการผ่าตัดแบบ Real-time ช่วยให้ทำให้สามารถเลือกเลนส์ได้แม่นยำขึ้น วางเลนส์ได้ถูกองศามากขึ้น ลดอาการแทรกซ้อน ทำให้ผู้ป่วยเห็นได้เร็วขึ้น

“การรักษาต้อกระจกไม่เพียงเอาเลนส์ขุ่นออกและเอาเลนส์ใสใส่แทน แต่จำเป็นต้องทราบว่า พฤติกรรมการใช้สายตาหลังจากการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์เป็นอย่างไร มีผลกับการออกแบบเลนส์แก้วตาในการรักษาต้อกระจกแบบเฉพาะตัว (customized vision)” 

ปัจจุบันมีคนไข้ที่มีความต้องการเปลี่ยนเลนส์ตา โดยที่ไม่ได้เป็นต้อ แต่ต้องการออกแบบเลนส์ตาใหม่ให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิต และการใช้สายตา ซึ่งสามารถรับคำปรึกษาได้ นอกจากนี้ยังการรักษาโรคอื่น ๆ เกี่ยวกับจักษุ เช่น เด็กมีปัญหาสายตาสั้น เดิมจะใช้แว่นตาในการแก้ปัญหา แต่ทุกวันนี้สามารถชะลอสายตาสั้น หรือมีการรักษาแบบใหม่ โลกเปลี่ยนไป วิทยาการ เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้ามากขึ้น กติกา กฎเกณฑ์ของโรค เปลี่ยนไป แต่คนไข้ต้องแน่ใจว่า การตรวจวินิจฉัยและรักษา ต้องมีความถูกต้องแม่นยำ การรักษาต้องทำโดยหมอที่มีความชำนาญ มีประสบการณ์ ร่วมกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ