TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistดวงชะตา พนักงานการบินไทย เดี้ยงมากกว่ารอด

ดวงชะตา พนักงานการบินไทย เดี้ยงมากกว่ารอด

หลังจากแผนฟื้นฟู ของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีการนัดนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการในวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 เวลา 09.00 น. ที่ ศูนย์ประชุมธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งจากการทำแผนฟื้นฟูพบว่า มีหนี้ที่เกิดขึ้นจำนวน 356,389 ล้านบาท ประกอบไปด้วย

-หนี้ค่าเช่าเครื่องบิน 191,525 ล้านบาท
-หนี้หุ้นกู้ 73,829 ล้านบาท
-หนี้ค่าซ่อมเครื่อง 39,418 ล้านบาท
-หนี้สถาบันการเงิน 31,228 ล้านบาท
-เจ้าหนี้ส่วนราชการ 20,389 ล้านบาท เป็นส่วนของค่าธรรมเนียม  ภาษีอากร

ชาญศิลป์ ตรีนุชกร รักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จำนวนหนี้ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะในส่วนของหนี้ค่าเช่าเครื่องบิน ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นหนี้ในอนาคต ที่ยังไม่เกิดขึ้นและหนี้บางส่วนน้อยกว่านี้ มูลหนี้จริงประมาณ 170,000 ล้านบาทเท่านั้น นอกจากนั้นมีความพยายามในการเจรจากับเจ้าหนี้ กลุ่มหุ้นกู้ และ กลุ่มสถาบันการเงิน แปลงหนี้เป็นทุนด้วย

-ย้อนรอย ก่อนปิดตัวศูนย์ซ่อมอากาศยานไทย
-การตลาดล้ำ ๆ ที่ผู้บริโภคต้องรู้เท่าทัน ก่อนเป็นเหยื่อ

เมื่อการทำแผนเสร็จสิ้น จากบริหารจัดการเรื่องอื่น ๆ ก็ตามมา ลดขนาดฝูงบิน การปรับปรุงสัญญาเช่าเครื่องบิน เพราะจะมีการลดเส้นทางการบินที่ไม่มีกำไร บริการลูกค้ากลุ่มพิเศษ และลดประเภทเครื่องบินจาก 12 แบบเหลือ 5 แบบ จำนวน 86 ลำ เพื่อตัดค่าใช้จ่ายบำรุงรักษา นั่นหมายถึง ต้องมีการจำหน่ายเครื่องบินออกไป ซึ่งสถานการณ์อุตสาหกรรมการบิน คงหาวิธีในการขายเครื่องบินยาก เนื่องจากเป็นสถานการณ์ของอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก ดังนั้นไม่มีใครซื้อเครื่องบิน ไม่ใช่สถานการณ์ปกติที่สายการบินนี้มีกำไร สายการบินนั้นขาดทุน

เรื่องต่อไป คือ การปรับโครงสร้างบริษัท เพื่อลดต้นทุนและกระชับองค์กร เพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน ยุบบางแผนกเพื่อลดความซ้ำซ้อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อ โครงสร้างพนักงาน เพราะค่าบุคลากรในแต่ละปีสูง 30,000 ล้านบาท ต้องเหลือลงให้เหลือปีละ 12,000 ล้านบาท หรือลดพนักงานกว่า 50% ซึ่งก่อนหน้านี้มีโครงการให้พนักงานเสียสละ เพื่อให้บริษัทผ่านพ้นวิกฤติและสามารถทำแผนฟื้นฟูได้หลายโครงการ เช่น โครงการลาหยุดโดยไม่รับเงินเดือนและค่าตอบแทน (Together We Can) และ โครงการลาระยะยาว (LW20) รวมทั้งโครงการร่วมใจจาก Mutual Separation Plan (MSP A, MSP B และ MSP C)

พนักงานจำนวน 19,537 คน (ณ สิ้นปี 2563) ก็ต้องลดลงอีกประมาณ 6,000 คน ให้เหลือประมาณ 13,000 คน คาดว่าหากทำสำเร็จภายในปี 2565 จะลดค่าใช้จ่ายรวมได้ถึง 50,000 ล้านบาท และคาดว่า ในปี 2568 การบินไทยจะกลับมามีกำไร

จากจำนวนพนักงานที่เหลืออยู่ยังเกิดจำนวน ทำให้ฝ่ายบริการบนเครื่องบิน (DO) จึงมีการกำหนดเกณฑ์ ในส่วนพนักงานต้อนรับบนเครื่อง คือ ต้องมีอายุไม่เกิน 55 ปี ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 และต้องมี ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ตามมาตรฐานที่กำหนด คือ ชายไม่เกิน 27.5 หญิงไม่เกิน 25 เพราะเชื่อว่าจะมีพนักงานจำนวนหนึ่งที่ไม่ผ่านเกณฑ์

จากนั้นยังขอความร่วมมือพนักงานยินยอมเปลี่ยนสภาพการจ้างงานตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยไม่ต้องลาออกก่อนเปลี่ยนสัญญาและนับอายุงานให้ต่อเนื่อง โดยให้พนักงานเขียนใบสมัครใหม่ภายในวันที่ 19 มีนาคม 2564 จากนั้นขยายระยะเวลา เป็นวันเสาร์ที่ 20 มีนาคม 2564 เวลา 23.59 น.โดย จะมีการประกาศรายชื่อพนักงานที่ได้ไปต่อ ในวันที่ 1 เมษายน และเริ่มใช้โครงสร้างพนักงานและอัตราเงินเดือนใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคมนี้  

มีพนักงาน เขียนใบสมัครเข้าสู่กระบวนกลั่นกรอง ประมาณ 13,500 คน จากจำนวนพนักงานทั้งหมด 17,121 คน (ไม่รวม Outsource และพนักงานสำนักงานสาขาต่างประเทศ) ที่สำคัญยังมีพนักงานประมาณ 1,000 คนที่ไม่ดำเนินการร่วมโครงการใด ๆ ทั้งสิ้น

วันนี้การบินไทย ยังมีสถานะฐานะสายการบินแห่งชาติ และแผนฟื้นฟูเสร็จสิ้นเรียบร้อย รอการประชุมร่วมกับเจ้าหนี้ทั้งหลาย ซึ่งเจ้าหนี้มีตั้งแต่ระดับอะลุ่มอล่วยสุด ๆ จนถึงเจ้าหนี้ที่มีความแข็งแกร่งในการต่อรอง เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง  องค์กรอาจจะรอดพ้นวิกฤติในครั้งนี้ และต้องต่อสู้ในอุตสาหกรรมการบินต่อไปหลังสถานการณ์โควิด- 19 ผ่านไป จึงเป็นที่มาของคำถามที่ว่า หากประเทศไทยจำเป็นต้องมีสายการบินแห่งชาติ จำเป็นต้องเป็นการบินไทยหรือไม่

ภาพประกอบจาก thaiairways

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ