TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessCoral NFT Marketplace by KX ยกงานศิลปะไทยที่แสดงที่ TDAF 2022 มาให้เป็นเจ้าของได้ง่าย ๆ ด้วยสกุลเงินทั่วไป

Coral NFT Marketplace by KX ยกงานศิลปะไทยที่แสดงที่ TDAF 2022 มาให้เป็นเจ้าของได้ง่าย ๆ ด้วยสกุลเงินทั่วไป

Thailand Digital Art Festival 2022 หรือ TDAF 2022 ปรากฏการณ์ครั้งสำคัญครั้งแรกในเอเชีย กับมหกรรมงานศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในวงการศิลปะไทยที่จะได้พบกับนิทรรศการงานศิลปะ Digital Art ของศิลปวัฒนธรรมไทยจัดแสดงและจัดจำหน่ายในรูปแบบของ NFT ครบทุกมิติครับสำหรับ NFT Creator และ NFT Collector มีการรวบรวมผลงานศิลปะกว่า 1,300 ชิ้นงานจากศิลปินกว่า 130 ท่าน ศิลปินชั้นแนวหน้าของประเทศบนพื้นที่สุดยิ่งใหญ่ครับ 1,200 ตารางเมตร

เป็นการร่วมมือครั้งสำคัญของบริษัท สยาม พิวรรธน์ จำกัด และบริษัท ไอคอน สยาม จํากัด ร่วมกับพิพิธภัณฑ์บ้านดำของ ดร.ถวัลย์ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ KASIKORN X ผู้สร้างสรรค์ Coral Platform NFT Marketplace และบริษัท Plan B Media จำกัด (มหาชน)

ปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ศิลปะเป็นการเชื่อมโยงในทุกมิติ ในชีวิตมนุษย์ เป็นภาพสะท้อนเรื่องราวที่เกิดขึ้น เป็นวัฒนธรรมและความเป็นมาของสังคมในแต่ละยุคแต่ละสมัย ในวันที่เทคโนโลยีนั้นได้เข้ามีส่วนสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงของโลกศิลปะ ได้เห็นงานศิลปะไปเชื่อมต่อกับเทคโนโลยี ส่งผลให้ผลงานศิลป์เหล่านั้น กลายเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีมูลค่ามากขึ้น

งาน Thailand Digital Arts Festival 2022 ถือว่าเป็นงาน Digital Arts ครั้งแรกในประเทศไทย และครั้งแรกของทวีปเอเชีย ทั้งยังเป็นการสร้างปรากฏการณ์ในวงการศิลปะไทย โดยรวบรวมผลงานของศิลปินทุกรุ่น ทั้งศิลปินแห่งชาติและศิลปินดาวรุ่ง ทุกสาขากว่า 130 ชีวิต มาแสดงผลงานในรูปผลงานจริง และผลงานที่แสดงแพลต์ฟอร์มออนไลน์ ซึ่งมีมากกว่า 1,300 ชิ้น เรียกว่าเป็นการผสมผสานของศิลปะดิจิทัลและเทคโนโลยีไว้ด้วยกันในคราวเดียวกัน

ดร.ดอยธิเบศร์ ดัชนี ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์บ้านดำ T-DAFF Art Curator/Creative director กล่าวว่า ศิลปินที่มาร่วมครั้งนี้มีตั้งแต่ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินชั้นเยี่ยม ศิลปินรุ่นใหญ่ ศิลปินรุ่นใหม่ ศิลปินหน้าใหม่ และศิลปินมืออาชีพ ครบทุกแขนงและครบทุกประเภท รวม 130 ศิลปิน กว่า 1,300 ชิ้น

“งานนี้เราจะนำเสนอความหลากหลายของศิลปะ และเอกลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปินทุกท่าน” ดร.ดอยธิเบศร์ กล่าว

ดร.ดอยธิเบศร์ เล่าถึงแนวคิดที่มาของงาน Thailand Digital Art Festival 2022 หรือ TDAF 2022 ว่า เกิดจากวิกฤติหนึ่งที่งานของอาจารย์ถวัลย์ถูกนำไปละเมิดขายบนแพลตฟอร์มต่างประเทศ จำนวน 50 กว่าภาพ มีคนซื้อไป และติดต่อเข้ามาสอบถามว่า “งานนี้เป็น Original ไหม”

“ผมบอกมันไม่ได้ของจริงนะ เรื่องไปทราบถึงแพลตฟอร์มที่นู้น เขาเลย burn รูปทั้งหมดทิ้ง หลังจากนั้นมีคนติดต่อเข้ามาตลอดว่าอยากจะเอางานอาจารย์ถวัลย์ไปทำเป็น NFT  ผมก็คิดว่าถ้าเราเอางานอาจารย์ถวัลย์ออกมาทำเป็น NFT แล้วเดินไปข้างหน้าคนเดียว หันมามองข้างหลัง ศิลปินเป็นร้อยเป็นพัน ผมเดินไปคนเดียวไม่ได้ เพราะฉะนั้น เป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้เราเชิญศิลปินทั้งประเทศ เป็นศิลปินที่ระดับชั้นนำ ระดับหัวแถว ระดับที่มีชื่อเสียงทุกท่านมาร่วมงาน Thailand Digital Art Festival 2022 หรือ TDAF 2022” ดร.ดอยธิเบศร์ กล่าว

Super Simple NFT Marketplace

ธนะเมศฐ์ อาริยวัฒน์ Head of Venture Builder, KASIKORN X หรือ KX กล่าวว่า สถานการณ์ในโลกของศิลปะออนไลน์มีโอกาสมากมายมหาศาล และ Coral สามารถที่จะ Unlock /Unleash Coral สามารถสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับทุก ๆ ศิลปิน ทุก ๆ งานศิลปะ 

เมื่อปัญหาคือ ศิลปินต่าง ๆ ถูกขโมยงานไปเผยแพร่โดยที่เจ้าตัวไม่รู้ เพราะฉะนั้น จำเป็นที่จะต้องค้นคว้าและสร้างนวัตกรรมมาแก้ไขปัญหาตรงนี้ ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสใหม่ให้ศิลปินและงานศิลปะ

สิ่งที่ Coral แตกต่างจากทุกที่ มี 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นแพลตฟอร์มที่ยืนยันตัวตนของศิลปินทุกท่านก่อนที่จะนำงานศิลปะขึ้นมาแสดงบนแพลตฟอร์ม ตรงนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของฟันเฟืองที่จะปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาทรัพย์สินทางความสามารถต่าง ๆ ได้ในระยะยาว

“คนที่เป็นนักสะสมสามารถมีความอุ่นใจว่างานที่เขาซื้อไปเป็นของแท้แน่นอน” ธนะเมศฐ์ กล่าว

สิ่งต่อไปที่สำคัญต่อมา คือ โลกของ NFT เป็นโลกของ Crypto Currency ทั้งหมด Coral ค้นพบว่าจริง ๆ แล้วคนที่ต้องการสร้างงานสร้างสรรค์ ไม่ได้อยากจะคิดถึง Crypto Currency เสมอไป รวมถึง NFT collector ก็ไม่ได้อยากที่จะคิดถึง Crypto Currency เช่นกัน ดังนั้น สิ่งที่ Coral ทำคือสิ่งที่เรียกว่า Super Simple Payment นั่นคือ การจ่ายเงินด้วยเงินบาท ด้วยวิธีการชำระเงินแบบปกติ ในการที่จะซื้อ NFT ไม่ว่าจะเป็น Mobile Banking, QR code Prompt Pay, Debit/Credit Card

ธนะเมศฐ์ กล่าวว่า ความพิเศษ คือ วิธีการซื้อขายผลงานบนแพลตฟอร์ม Coral จะทำให้การสร้างและการซื้อขายงานศิลปะ NFT เป็นเรื่องง่าย เสมือนกับการชอปปิ้งออนไลน์ทั่วไป โดยมีจุดที่แตกต่าง คือ บนแพลตฟอร์ม Coral สามารถซื้องานศิลปะ NFT ด้วยสกุลเงินทั่วไป ในขณะที่แพลตฟอร์มอื่น ๆ ต้องแลกเหรียญสกุลคริปโทเพื่อนำมาซื้องานศิลปะอีกที ซึ่งมีความยุ่งยากมากกว่า เป็นความตั้งใจที่จะทำให้ Coral เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่ายสำหรับทุกคน ทั้งศิลปิน นักสร้างสรรค์ ที่สนใจเข้าสู่การทำงานศิลปะในรูปแบบดิจิทัล และนักสะสมงานดิจิทัลอาร์ต ช่วยสร้างโมเดลธุรกิจ อาชีพ ไปจนถึงระบบเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ ที่จะเปิดโอกาสที่ไร้ขีดจำกัดให้ทั้งศิลปินและนักสะสมศิลปะเชื่อมต่อกันง่ายขึ้น

“ศิลปินสามารถเข้าถึงคนมากมายมหาศาลได้ทันที คนที่เป็น collector หรือคนที่ชื่นชมงานสามารถที่จะมีความสุขกับผลงานที่ชื่อชอบได้ หลงรักก็ซื้อได้เลยและเราสามารถทำให้คนต่างชาติซื้อผลงานของคนไทยเราได้เช่นกัน  นี่คือ Super Simple Payment ของ Coral” ธนะเมศฐ์ กล่าว

สิ่งที่แตกต่างประการสุดท้าย คือ เมื่อซื้อเสร็จ ผู้ซื้อจะได้ NFT หรือ Non-Fungible Token ซึ่งในโลกมีหลายมาตรฐานของ NFT ซึ่งมาตรฐานที่ Coral เลือกมา เป็นมาตรฐานระดับโลกสำหรับงานศิลปะชั้นครูที่เป็นมาสเตอร์พีซอย่างแท้จริง คือ Ethereum ERC-1155 ซึ่งคนที่อยู่ในโลกการ collect งาน NFT จะรู้จักกันดี เป็นหนึ่งในมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก

“NFT มาตรฐานที่เราเลือกมาคืออะไร ถ้าชอบถ้าถูกใจ สามารถซื้อได้เลย ใช้เงินธรรมดาของพวกเราใช้ Mobile Banking ใช้ QR Code หรือว่า Credit Card Debit Card ได้เลย และนี่คือสิ่งที่พิเศษของตัว Coral และนี่เป็นแค่สิ่งเริ่มต้น เราสามารถเปิดโอกาสได้มากมายมหาศาลได้ต่อไป” ธนะเมศฐ์ กล่าว

เป็นครั้งแรกของโลกที่มีการนำผลงานศิลปะมาจัดแสดงในรูปแบบผลงานจริงและรูปแบบไฟล์ดิจิทัลบนแพลตฟอร์มของ Coral แล้ว ผลงานของศิลปินทุกท่านยังไม่เคยจำหน่ายในรูปแบบ NFT ART มาก่อน และผู้ที่สนใจสามารถซื้อผลงานทั้งสองรูปแบบได้ภายในงานเดียว ผลงานทั้งหมดจะนำขึ้นบนแพลตฟอร์มของ Coral ในภายหลัง ดังนั้น จึงเป็นการการันตีได้ว่า ผลงานที่นักสะสมซื้อไปจากงานนี้ เป็นผลงานของจริง ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานมีตัวตน มีบันทึกอยู่ในระบบที่เรียกว่า Blockchain ทุกคนสามารถเข้าไปตรวจสอบได้

NFT สำหรับงานศิลปะที่ได้รับความนิยมอยู่บน Ethereum blockchain network ซึ่งแบ่งเป็น 2 มาตรฐานหลัก คือ ERC-721 และ ERC-1155

“ERC-721 เป็นมาตรฐานที่เกิดมาก่อน ERC-1155 เป็นการพัฒนาต่อยอด ERC-721 ทำให้เราสามารถสร้างงานศิลปะที่เป็นและ edition of one และ limited edition print run ได้ คือ มีเพียง 1 ชิ้น หรือ หนึงรูปมีหลาย copy ในหนึ่ง collection ได้ ซึ่งทำให้เราสามารถลดต้นทุนค่า mint ได้โดยการเฉลี่ยต้นทุนไปในแต่ละ copy ใน collection นอกเหนือจากนี้ blockchain เริ่มมีหลายยี่ห้อ ทำให้เกิดมาตรฐานใหม่ ๆ ขึ้น แต่สำหรับงานศิลปะ Ethereum ยังคงเป็น main avenue สำหรับ Art Collector” ธนะเมศฐ์ กล่าว

ปานเทพ นิลสินธพ ประธานบริหารสายงานประสบการณ์ลูกค้า บริษัท สยาม พิวรรธน์ จำกัด กล่าวว่า ในฐานะผู้นำแห่งวิสัยทัศน์ (Visionary Icon) สยามพิวรรธน์มองว่าศิลปะคือส่วนหนึ่งที่จะมาเติมเต็มประสบการณ์ให้กับลูกค้า และเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์ สร้างแรงบันดาลใจให้กับลูกค้าในทุก ๆ วัน  ในชีวิตประจำวันของเขา

“เราให้ความสำคัญมากกับการทำงานร่วมกับศิลปินทั้งไทยทั้งระดับโลก ในช่วงเวลาที่ผ่านมาและในอนาคต ในการที่จะเป็นเวทีและเป็นแพลตฟอร์มที่ศิลปินจะได้สร้างสรรค์ผลงาน และได้สร้างสรรค์มูลค่าต่าง ๆ เหล่านั้น ให้กับทั้งตัวของศิลปินเอง และให้กับลูกค้าของเรานะครับที่เข้ามาในศูนย์การค้าของเรา” ปานเทพ กล่าว

ตอนนี้โลกของศิลปะไม่ได้อยู่แค่ในรูปของ physical แล้ว โลกของศิลปะ ไปสู่โลกดิจิทัล (Digital Art) จึงจับมือกับ KASIKORN X  ซึ่งได้ประกาศความร่วมมือ ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ต้องการที่จะสนับสนุนศิลปินไทยได้ก้าวไปสู่โลกของศิลปะในยุคใหม่ให้ได้ก้าวไปสู่สายตาเวทีโลกได้ง่ายขึ้นมีแพลตฟอร์มให้สามารถที่จะไปได้ง่ายขึ้น

“ลักษณะเด่นของการร่วมมือในครั้งนี้เป็นการรวมระหว่างออนไลน์กับออฟไลน์ คือ Coral Platform และ One Siam Super App มาบวกกับออฟไลน์ คือ ศูนย์การค้า และงานที่จะมีขึ้น บวกกับจำนวนศิลปินที่ทำให้ครั้งนี้เป็น เป็นครั้งแรกและที่แรกในโลก ซึ่งจะเป็นประสบการณ์สุดพิเศษกับคุณลูกค้า เป็นการเปิดโอกาสให้กับศิลปินไทยที่เปี่ยมไปด้วยศักยภาพมากมายไปสู่สายตาระดับโลก” ปานเทพ กล่าว

สุพจน์ ชัยวัฒน์ศิริกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอคอน สยาม จํากัด กล่าวว่า เจตนารมณ์ครั้งแรกในการสร้างไอคอนสยามของผู้ร่วมทุนทั้งหมด คือ การเชิดชูความเป็นไทยในทุกมิติโดยเฉพาะเรื่องของศิลปะวัฒนธรรม ที่ Icon Siam มีการ engage เรื่องของศิลปะและวัฒนธรรมในทุกรูปแบบ ทั้งสถาปัตยกรรม การตกแต่งในทุกพื้นที่

“วิธีการตกแต่งของ Icon Siam ได้รวมวิศวกรและสถาปัตยกรรม และบริษัทต่าง ๆ รวม 15 ชาติในการสร้างสรรค์สิ่งเหล่านี้ให้กับคนไทยได้เห็น เราเองมีเป้าหมายอย่างชัดเจนในการที่จะสนับสนุนศิลปินต่าง ๆ ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นศิลปินยุคใหม่ๆ  ที่ต้องการเวทีในการที่จะแสดงศิลปะต่าง ๆ ที่อาจจะไม่สามารถที่จะแสดงที่ไหนได้ ในอดีตก่อนที่จะมีเรื่องของ Digital Art ออฟไลน์เป็นสถานที่เดียวที่สามารถที่จะแสดงศิลปะต่าง ๆ และความรู้ออกมาให้กับคนไทยได้เห็น ดังนั้น Icon Siam มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะนำศิลปะของคนไทยสู่สายตาชาวโลก ซึ่งเราได้ทำในโหมดของออฟไลน์มาหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริม Local hero to Global hero เช่น สุขสยามชั้นล่าง เป็นต้น ที่ช่วย SMEs หรือ OTOP กระจายสินค้าออกสู่ทั่วโลก” สุพจน์ กล่าว

ดร.ดอยธิเบศร์ กล่าวว่า NFT อาจจะรู้จักแค่บางกลุ่ม คนอาจจะรู้จักไม่มาก การซื้อ NFT จะได้เฉพาะไฟล์ดิจิทัล แต่ผู้จัดงานต้องการดึงทั้งกลุ่มนักสะสมเก่าและใหม่ที่สนใจ NFT ให้มาร่วมงานจึงได้นำสองโลกคู่ขนานมารวมกันทั้งโลกของออฟไลน์และออนไลน์ คือทั้ง physical และ digital

“ใครที่ซื้อ NFT ในงานนี้ จะได้ทั้งสองอย่างเป็นแพกเกจ คือว่าจะได้ทั้งงานเป็น One of One หรือชิ้นงานจริง (สำหรับบางคนที่ทำโมเดล) และ NFT ไฮไลท์อย่างอื่นอีก คือ Personalize NFT เช่น ซื้อ NFT งานของช่างภาพพี่เปิ้ล วสันต์ แล้ว พี่เปิ้ล ครีเอท รูปของคุณหรือรูปของคนที่คุณรักหรือครอบครัว หรือ Object อะไรก็ได้ที่คุณอยากให้ถ่าย หลังจากนั้นพอทำเสร็จแล้วเนี่ย ก็จะทำเป็น NFT ให้เลย เพราะฉะนั้นจะได้งานทั้ง 2 ชิ้น นี่คือ ความพิเศษที่เกิดขึ้นกับสองโลกคู่ขนาน เราจัดมาให้อยู่ในงานนี้ พอใจแน่นอนทั้งสำหรับ NFT Creator และ NFT collector” ดร.ดอยธิเบศร์ กล่าว

ศาสตราจารย์เกียรติคุณปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์สาขาย่อยการ (จิตรกรรม) ปี 2552 กล่าวว่า ตัวชี้วัดของ Soft Power ของไทยขึ้นอันดับ 5 ของโลก เกิดจาก สุนทรียศิลป์ หมายถึง องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นกับมนุษยชาติตั้งแต่เกิดโลกใบนี้ ภาษาศิลปะเกิดก่อนภาษาพูด ภาษาเขียน เรียกว่าสุนทรียศิลป์ ประกองด้วยงานจิตรกรรม ประติมากรรมสถาปัตยกรรม วรรณศิลป์ คีตศิลป์ มากมายจนถึงปัจจุบัน หรือว่ามัลติมีเดียศิลป์ หลากสื่อ ทุกสิ่ง

“ในอดีตที่ผ่านมาเขาใช้การ Peer Review คือ การเผยแพร่ถ่ายทอดระหว่างคนสู่คนผ่านสถานที่ ผ่านที่แสดง แต่ปัจจุบันใช้ช่องทางอีกช่องทางที่เรียกว่า Digital Art เป็นอีกช่องทางสำคัญมากที่เหมาะกับโลกยุคปัจจุบันและอนาคต ที่จะเสพสุนทรียศิลป์ทางสื่อมีเดียตรงนี้”​ ศาสตราจารย์เกียรติคุณปรีชา กล่าว

ศาสตราจารย์ถาวร โกอุดมวิทย์ ศิลปินชั้นเยี่ยม สาขาภาพพิมพ์ จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ปี 2535  กล่าวว่า ลักษณะของศิลปะในโลกมีอยู่ 3 ประเภท คือ งานที่เป็นเหมือนจริงที่เรียกว่า Reflective Approach งานที่การสื่อความหมาย Intentional Approach และงานสำหรับคนรุ่นใหม่ที่ไปดูตาม Biennale (เวนิสเบียนนาเล่)  ต่าง ๆ ที่ดูเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง เพราะเป็น Construction Approach 

ซึ่ง 3 อย่างนี้กำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ 3 กลุ่ม ที่จะไปดูงานศิลปะ แต่ตรงนี้ประตูเปิดกว้าง อาจจะไม่จำเป็นต้องบินไปเวนิสเบียนนาเล่ ไม่ต้องบินไป Documenta ก็สามารถดูและซึมซับงานศิลปะได้มากมายและหลากหลาย

“เราอาจจะชอบงานลักษณะหนึ่ง แต่เมื่อมันผ่านเข้ามาในประตูนี้ในช่องนี้ เราอาจจะมีความสนใจ เป็นการแชร์ รสนิยมที่เราไปชอบอย่างใดอย่างหนึ่งให้ขยายตัวมากขึ้น ทำให้คนให้เข้าใจศิลปะมากขึ้น” อาจารย์ถาวร กล่าว

ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ ศิลปินงานศิลปะไทย อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาศิลปะไทย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า ปกติจิตรกรรม ประติมากรรม ศิลปะภาพพิมพ์ และสื่อผสมหรือเพอร์ฟอร์มานซ์ ล้วนเป็นของที่จับต้องได้ สัมผัสได้ เป็น Art Object แต่ NFT จับต้องไม่ได้ มันเหมือนกับจิตใจของคน ใครจับต้องไม่ได้ สัมผัสไม่ได้ แต่รู้สึกได้ว่ามีจริง NFT  จับต้องไม่ได้ แต่มีสุนทรียภาพ

ในโลกสมัยใหม่ ศิลปินจะต้องก้าวออกไปในสื่อต่าง ๆ ที่ยังไม่รู้จัก ณ ขณะนี้เชื่อว่าศิลปิน ราว ๆ 20% เท่านั้นรู้จัก NFT อย่างถี่ถ้วน อีก 80 % ยังมอง NFT เป็นเรื่องใหม่ การปรับตัวเข้าไปทำความเข้าใจกับเรื่องของสุนทรียภาพอันใหม่ในโลกใหม่ที่อาจจะจับต้องไม่ได้แต่มันมีอยู่จริง สะท้อนว่าโลกศิลปะได้เปลี่ยนไป คนที่จะสื่อสารในโลกของศิลปะจะต้องมองสื่อใหม่ตัวนี้

จิตสิงห์สมบุญ กล่าวว่า ศิลปะทุกยุคทุกสมัยมีประตูใหม่เปิดขึ้นอยู่เสมอ ประตูเหล่านี้มันทำให้เกิดศิลปินรุ่นใหม่ ๆ ขึ้น ศิลปินปรับงานตัวเองให้เข้ากับยุคนี้ เป็นแนวทางอื่นต่อให้กับรุ่นน้องดูเป็นตัวอย่าง สนุกไปกับทุกประตูบานใหม่ ๆ ที่เข้ามา

เมื่อศิลปินเข้าสู่วงการ NFT Art

ประภากาศ อังศุสิงห์ แฟชั่นดีไซเนอร์ชื่อดัง กล่าวว่า เข้าสู่วงการ NFT Art ได้เพราะมีโอกาสได้ร่วมงานกับดร.ดอยธิเบศร์ จริง ๆ ตนทำสายแฟชั่น แต่มีความคิดมีไอเดียมาตลอดว่าอยากจะเป็น Artist บ้าง เพราะจริง ๆ ชอบงานศิลปะ 

“ส่วนตัวต้องยอมรับว่า ผมทำแรงบันดาลใจจากโลกอนาคต หรือจินตนาการมาตลอด พอเจอกับโปรเจกต์ NFT นี้ ต้องยอมรับว่าแปลกใหม่สำหรับตัวเอง และพบว่าจริง ๆ แล้ว เรายังทำตัวเป็นคนรุ่นเก่าอยู่เลย ถึงแม้ว่างานมันจะดูโมเดิร์นมาก ๆ แต่จริง ๆ แล้วต้องใช้เวลาปรับความรู้สึก โลกตอนนี้ต้องปรับตัวอย่างมาก ใครปรับตัวได้เร็วกว่าก็อยู่รอด ใช้ได้กับทุกวงการ วงการนี้ก็เหมือนกัน” ประภากาศ กล่าว

ประภากาศ กล่าวว่า เริ่มเข้าวงการ NFT art  จากการชักชวนของดร.ดอยธิเบศร์ จากการเป็นคนที่ทำงานจิตรกรรมลงบนผืนผ้าใบที่จับต้องได้มาโดยตลอด สิ่งนี้เป็นสิ่งใหม่ และเริ่มรู้สึกว่าเป็นโลกใหม่ที่ควรจะเรียนรู้และเป็นเรื่องดีที่ควรจะต้องลอง

เฉลิมพล จั่นระยับ นักวาดภาพประกอบ กล่าวว่า เริ่มเข้าสู่วงการ NFT Art ประมาณที่กลางปี 2564 จริง ๆ รู้จัก NFT มาตั้งหลายปีแล้วแต่ว่ายังไม่ได้มีโอกาสทดลองจริง ๆ จัง ๆ ซึ่งมาทดลองตอนที่เริ่มจับตัวแว่น VR เห็นโอกาสว่า 1-2 ปีนี้ Metaverse และ NFT น่าจะเป็นอีกประตูหนึ่งที่จะทำให้เชื่อมระหว่างโลกเก่ากับโลกใหม่เข้าด้วยกัน และอาจจะเกิดอาชีพอีกหลายในโลกนั้น

“VR ที่เราเล่นกับมันน่าจะเริ่มต่อยอดไปได้ เลยเริ่มเข้ามาศึกษา  NFT มาเรื่อย ๆ และคิดว่าปีนี้น่าจะมีอาชีพใหม่เกิดขึ้น อาจจะเป็นพวก VR Artist ตอนนี้มี  NFT Artist แล้ว เลยคิดว่าอันนี้น่าจะเป็นประตูอีกประตูหนึ่งที่ทำให้เราแบบเชื่อมโยงคนรุ่นเก่ารุ่นใหม่เข้าด้วยกัน แล้วก็น่าจะไปต่อในอนาคตอีกด้วย” เฉลิมพล กล่าว

ไตรภัค สุภวัฒนา นักเขียนการ์ตูนอิสระ กล่าวว่า นิยามตัวเองว่าเป็นนักเขียนการ์ตูน เป็นคนชอบลองทำอะไรแปลก ๆ ใหม่ ๆ เฝ้ามองวงการ NFT มาสักระยะ ตอนแรกไม่เข้าใจว่า NFT คืออะไร ไม่เข้าใจว่าทำไมคนต้องมาซื้อไฟล์ดิจิทัล พอเฝ้ามองมาสักพักเห็นว่ามีกระแสเกิดขึ้นว่า NFT มีมูลค่าสูงมาก ทั้งมูลค่าและคุณค่าบางอย่างที่เป็นสิ่งใหม่จริง ๆ

“บางทีคนซื้อ NFT เพื่อจะบอกสถานะอะไรบางอย่างของเขานะครับ จิตใจลึก ๆ บางอย่างที่เขารู้สึกแบบนั้น ผมเลยรู้สึกว่ามันน่าจะดีนะ ถ้าเราได้ลงมาเรียนรู้มันจริง ๆ ว่ามันคืออะไร แล้วหลังจากนั้นก็เริ่มมาสนใจแล้วก็ทำมัน แล้วก็สร้างโปรเจกต์ขึ้นมาเรื่อย ๆ” ไตรภัค กล่าว

Thailand Digital Art Festival 2022 หรือ TDAF 2022  เรียกได้ว่าเป็นครั้งแรกในเอเชียกับปรากฏการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์วงการศิลปะไทย เป็นจุดก้าวกระโดดที่จะทำให้วงการศิลปะไทยก้าวไกลทัดเทียมกับนานาชาติ โดยมีศิลปินที่มาร่วมแสดงผลงานในครั้งนี้มากกว่า 130 ท่าน เป็นศิลปินแห่งชาติและศิลปินชั้นเยี่ยม กลุ่มศิลปินชั้นยอดรุ่นใหญ่ และศิลปินดาวรุ่ง รวมทั้งดาราและอินฟลูเอนเซอร์มากมาย รวมผลงานครบทุกมิติกว่า 1, 300 ชิ้นงาน ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ดิจิทัลอาร์ต อนิเมชั่น กราฟิกดีไซน์ สตรีทอาร์ท อาร์ตทอย แฟชั่น ดนตรี ศิลปะการแสดง เรียกได้ว่าครอบคลุมมากที่สุดทุกผลงาน มีความหลากหลาย และเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในรูปแบบของ NFT หรือสินทรัพย์ดิจิทัล

Thailand Digital Art Festival 2022 หรือ TDAF 2022 มีตั้งแต่วันที่ 5 ถึง 20 มีนาคม เวลา 10:00 – 21.00 น  ณ เจริญนครฮอล ชั้น M และ Icon Art and Culture Space ชั้น 8 Icon Siam

ความพิเศษในงาน คือ การเชื่อมโยงกันระหว่างสองโลก ทั้งโลกเสมือนและโลกแห่งความจริง ได้รับชิ้นงานทั้ง 2 ชิ้นงาน เป็นชิ้นงานหนึ่งเดียวที่มีเป็นผลงานจับต้องได้ และเป็นผลงานที่เป็น NFT ที่ไม่สามารถคัดลอกได้ มีหนึ่งเดียวเท่านั้น

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ดร.ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล เทคลีดเดอร์แห่ง KBTG ผู้ฝันสร้าง Impact ให้ประเทศ

KX บริษัทในเครือ KBTG ส่ง Coral นำพลังของ DeFi ไปอยู่ในมือของคนจำนวนมาก ผ่านมาร์เก็ตเพลส NFT

เป้าหมาย “ท๊อป จิรายุส” Bitkub ไม่ใช่แค่ Good company แต่เป็น Great company

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ