TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessKX บริษัทในเครือ KBTG ส่ง Coral นำพลังของ DeFi ไปอยู่ในมือของคนจำนวนมาก ผ่านมาร์เก็ตเพลส NFT

KX บริษัทในเครือ KBTG ส่ง Coral นำพลังของ DeFi ไปอยู่ในมือของคนจำนวนมาก ผ่านมาร์เก็ตเพลส NFT

Decentralised finance มีทั้งบริการทางการเงินและบริการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเงิน ประโยชน์ของ DeFi ไม่ได้ตกอยู่ในมือคนจำนวนมาก มีคนไม่ถึง 1% ที่ได้รับประโยชน์จากโลก DeFi KX ต้องการนำ DeFi ไปอยู่ในมือของคนจำนวนมาก และ NFT (Non-Fungible Token) กับ Metaverse เป็นโอกาสใหม่ในโลก ที่ให้มนุษย์สร้างทรัพย์สินขึ้นมาได้จริงบนโลกดิจิทัล ทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจใหม่ โลกใหม่ และอาชีพใหม่

มูลค่าตลาด NFT ในประเทศไทยกำลังเติบโตอย่างมาก เป็นเค้กที่กำลังเติบโตถึง 3 หลักต่อปี (เติบโตหลายเท่าต่อปี) ความสวยงามของ NFT ไม่ได้อยู่ที่ขนาดของมูลค่าและการเติบของของตลาดแต่เพียงอย่างเดียว แต่ NFT คือ การสร้างอุตสาหกรรมใหม่ ช่วยให้คนสามารถเข้าถึงสินทรัพย์ดี ๆ และเป็นเจ้าของศิลปินดี ๆ ได้อย่างเท่าเทียมกัน กอปรกับ NFT นั้นกว้างมาก ไม่ได้จำกัดเพียงแค่ศิลปะและของสะสม แต่มีมากมายหลายแอปพลิเคชันที่ธุรกิจและแบรนด์จะจินตนาการและสร้างสรรค์ออกมาได้

ธนะเมศฐ์ อาริยวัฒน์ Head of Venture Builder, KASIKORN X หรือ KX กล่าวว่า พันธกิจของ KX คือ การสร้างความไว้วางใจ (Trust) ในโลกที่ไร้ความไว้วางใจ (Trustless World) สร้างสินค้าและบริการที่ง่ายให้กับคนจำนวนมากอย่างปลอดภัย ทั้งบริการทางการเงินและไม่ใช่บริการทางการเงิน (non-financial service) ดังนั้น KX โดย KBTG จึงเปิดตัว Coral แพลตฟอร์ม NFT คือ แพลตฟอร์มที่ง่ายทั้งการซื้อ การขาย และการชำระเงิน 

แพลตฟอร์มถูกออกแบบมาให้คนที่ไม่เคยมีความรู้เรื่อง NFT มาก่อนสามารถซื้อและเป็นเจ้าของ NFT ได้ภายในไม่เกิน 10 คลิก หรือไม่เกิน 5 นาที ให้ศิลปินสามารถนำศิลปะมาวางขายได้ง่ายในเวลาอันสั้น ภายใน 3 ขั้นตอนง่าย ๆ คือ อัปโหลดไฟล์ดิจิทัลชิ้นงาน กำหนดราคา และอนุมัติให้แพลตฟอร์มนำงานศิลปะนั้นมาสร้างเป็น NFT (เรียกว่า mint NFT)

“ถ้าคุณรู้ว่าจะขายของบนโซเชียลมีเดียอย่างไร คุณก็สามารถวางขายงานศิลปะบน Coral ได้” ธนะเมศฐ์ กล่าว

ความง่ายสำหรับผู้ซื้อด้วยการใช้วิธีการชำระเงินที่คนใช้กันอยู่แล้ว Coral สนับสนุนการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต บัตรเดบิต และโมบายแบงกิ้ง ในมุมของศิลปิน คือ สามารถเข้าถึงผู้ซื้อได้เป็นหลักล้านคนทันที 

“ผู้ซื้อสามารถสร้างคอลเลคชันบนแลพตฟอร์ม Coral ได้ และแสดง NFT เหล่านั้น วิธีการโชว์มีหลากหลาย” ธนะเมศฐ์ กล่าว

การขายงานบน Coral ไม่มี upfront cost แพลตฟอร์ม NFT ปกติจะต้องแปลงไฟล์งานศิลปะให้เป็น NFT ซึ่งตรงนี้จะเกิด upfront cost ศิลปินจะมีต้นทุนเกิดขึ้นทันทีโดยที่ยังไม่รู้ว่างานชิ้นนั้นจะสามารถครอบคลุมต้นทุนนั้นได้มากน้อยแค่ไหน 

Coral ใช้แนวคิด Lazy Minting จะแปลงไฟล์ดิจิทัลให้เป็น NFT (หรือเรียกว่าการ mint NFT) ต่อเมื่อมีการซื้อขายเกิดขึ้นและจบลงแล้วเท่านั้น 

Pain Point ของ NFT ในปัจจุบันสำหรับนักสะสม คือ ไม่รู้ว่า NFT ที่ซื้อนั้นเป็น NFT จากศิลปินที่เป็นออนิจินัลหรือไม่ แต่ที่ Coral จะมีการตรวจสอบทุกศิลปินและทุกแบรนด์ที่ขึ้นบนแพลตฟอร์ม ดังนั้น นักสะสม NFT ทั่นใจได้ว่าการซื้อ NFT บนแพลตฟอร์ม Coral ได้ของแท้แน่นอน และ NFT ที่ผู้ซื้อได้ไปเป็น NFT มาตรฐาน Ethereum Standard ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล

รูปแบบการสร้างรายได้ของ Coral เป็น NFT มาร์เก็ตเพลส มีแพลตฟอร์มฟรีซึ่งเป็นส่วนน้อย สิทธิในการเป็นเจ้าของ NFT ของผู้ซื้อ มี 3 ส่วน คือ อยู่ในกระเป๋าเงิน DeFi ลิขสิทธิ์ (Copyright) และเครื่องหมายการค้า (trademark) แต่สิทธิในการเแป็นเจ้าของ NFT ที่ซื้อไปเป็นของผู้ซื้อ 

เป้าหมายของ Coral

เป้าหมายของ Coral คือ นักสะสม NFT ทั่วโลก ส่วนศิลปินและแบรนด์ Coral โฟกัสที่เอเชีย ในอนาคตมีความเป็นไปได้ที่ Coral จะรับชำระ NFT ด้วยเงินดิจิทัลและสกุลเงินดิจิทัล Coral อยู่บน Ethereum Chain ณ ตอนนี้ใช้คริปโตซื้อไม่ได้ ต้องใช้เงินตรา หรือ เงินกระดาษ (Fiat Currency) เท่านั้น จะเปิดใช้งานในปีนี้ 

“ศิลปินและแบรนด์จะต้องนำงานออริจินัลเท่านั้นขึ้น Coral อยากจุดประกายคนไทยให้แปลงร่างมาเป็นศิลปิน  ต้องการโปรโมตและสนับสนุนศิลปิน เรามีระบบตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน และมีระบบที่ทำให้ศิลปินสามารถเข้าถึงคนจำนวนมหาศาลได้ผ่านระบบการชำระเงินที่ง่ายดาย” ธนะเมศฐ์ กล่าวว่า

Coral มี 2 ระยะ ระยะแรกที่เปิดตัวนี้ ยังเป็นระยะที่เป็นตลาดทางเดียว ผู้สะสมสามารถซื้อเพื่อสะสมได้ ระยะต่อจะสามารถซื้อและขายบน Coral ได้ 

บทบาทของ Coral ต่อศิลปินและแบรนด์ คือ เป็นที่ที่ศิลปินสามารถมาเผยแพร่ผลงาน โปรโมตผลงาน รวมถึงขายผลงาน NFT ไปได้ทั่วโลก สิ่งที่ทั้งศิลปินและแบรนด์จะได้ คือ กำไร (Capital Gain) หรือรายได้จากการขาย NFT เหล่านั้น ส่วนระยะถัดมา ศิลปินและแบรนด์สามารถใส่ loyalty fee ในงานศิลปะหรืองานสร้างสรรค์ได้ เมื่อเกิดการซื้อขาย NFT นี้ต่อ ๆ ไป loyalty fee จะเป็นเท่าใด 

ขณะนี้มีศิลปินไทยที่อยู่บนแพลตฟอร์ม Coral 9 ราย ได้แก่ ไป Lactobacillus, Tikkywow, ทรงศีล ทิวสมบุญ, เอกชัย มิลินทะภาส, ปัณฑิตา มีบุญสบาย, Benzilla, Pomme Chan, IllustraTU, และ Jiggy Bug 

พันธมิตรธุรกิจจะได้นวัตกรรม เทคโนโลยี และรูปแบบธุรกิจที่สามารถจะร่วมกันสร้าง (ทั้ง co-create และ re-imagine) เพื่อทำให้เป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ หัวใจสำคัญของแพลตฟอร์ม Coral คือ engagement ระหว่าง ศิลปิน แฟน และแบรนด์ มีกิจรรมร่วมกันทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่ง Coral จำเป็นต้องมีพันธมิตรธุรกิจที่มีความเชื่อมั่นและมีวิสัยทัศน์ร่วมกันว่า NFT ไม่ใช้เป็นเพียงเรื่องของนวัตกรรมแต่ NFT จะสร้างประโยชน์ให้กับทุกคนที่เกี่ยวข้อง 

อักเซล วินเทอร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดิจิทัล บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด

พันธมิตรแรกของ Coral คือสยามพิวรรธน์

อักเซล วินเทอร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดิจิทัล บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวว่า NFT คือ การสร้างเศรษฐกิจระหว่างแพลตฟอร์ม ชุมชนของคนรักงานศิลปะดิจิทัล รวมถึงแบรนด์ที่สามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ แพลตฟอร์ม NFT นี้ได้ ซึ่งสามารถสร้างแหล่งรายได้ใหม่ได้ รวมถึงสินค้าอื่น ๆ อาทิ เกม เพลง วิดีโอ หนังสือ สมาชิกสนามกอล์ฟ ก็สามารถมาเป็น NFT ได้ในอนาคต ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์มากจากการเข้าใจ NFT

แพลตฟอร์ม Coral KX กับ สยามพิวรรธน์ ซึ่งมีเครือข่ายกับศิลปินที่มาแสดงงานที่สยามพารากอนแลไอคอนสยาม จะเชื่อมศิลปินและศิลปะเหล่านี้สู่ Coral 

ทั้งนี้ Coral เปิดรับพันธมิตรธุรกิจ องค์กรที่อยู่ในอุตสาหกรรมค้าปลีก บันเทิง ท่องเที่ยว ไลฟ์สไตล์ และอื่น ๆ ติดต่อได้ที่ coralworld.co หรือ [email protected] 

เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่ม บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) 

The Previous Chapter ของ KBTG

เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่ม บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) กล่าวว่า KX และ Coral  คือ The Next Chapter ของ KBTG ที่เป็นผลิตผลล่าสุดของ The Previous Chapter ของ KBTG 

KX (KASIKORN X) คือ S-Curve venture builder ที่ก่อตั้งตั้งแต่ปี 2018 โดยมี Kubix เป็น spin off ตัวแรก และมี KTech ที่ดูแลธุรกิจของ KBANK ในจีน และ Coral คือ spin off ตัวล่าสุด

KBTG เป็นกรุ๊ปของบริษัทเทคโนโลยีที่มารวมกันเป็นแพลตฟอร์เทคโนโลยีช่วยธนาคารกสิกรไทย ซึ่งได้ spin off จากธนาคารกสิกรไทยตั้งแต่ปี 2016 ช่วง 3 ปีแรก (Foundation Years) คือ ปีก่อร่างสร้างตัว ปี 2019-2021 เป็นปีทรานส์ฟอร์เมชันและเติบโตท่ามกลางวิกฤติของศตวรรษ (Transformation & Rise in CrisisYears) ปี 2021 KBTG เติบโตด้วยการ synergy KBTG ทั้งกรุ๊ปมีพนักงานมากกว่า 2,000 คน พนักงาน คือ สินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดของ KBTG 

KBTG มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ทำทั้งเรื่องของ modernization ของเทคโนโลยี เพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพการทำงานมากกว่า 2 เท่าและขยายไปภูมิภาค เริ่มจากบริษัท KBTGSec ที่ดูเรื่อง Strategy, People, Branding และ Cyber Security 

KInfra ที่ดูเรื่องการทำ scalable infrastructure ทางด้านเทคโนโลยี ทำ infrastructure as a service ให้กับทุกบริษัทและทุกผลิตภัณฑ์ของ KBTG ที่สนับสนุน KBANK และลูกค้าของ KBANK ดูแลโครงสร้างพื้นฐานที่ดูแลธุรกรรมทางการเงินกว่า 4,000 ล้านธุรกรรมต่อปี”

ถัดมามี KSoft เป็นบริษัท best-in-class agile software development team ที่มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์กว่า 1,100 คน ที่ดูแลแอปพลิเคัชนกว่า 400 ตัว และมีทีมออกแบบชั้นนำอย่าง Beacon Interface ที่มี KLabs ที่ทำงานวิจัย deep tech ทำนวัตกรรมและทำนวัตกรรมร่วม (Co-Innovation) ทำเรื่องของ AI และ data science 

KBTG สร้างเทคโนโลยีที่สร้างพลังให้ช่องทางดิจิทัลของ KBANK ตั้งแต่ K PLUS ที่เป็นโมบายแบงกิ้งอันดับหนึ่งในไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มี LINE BK มีลูกค้ากว่า 3.2 ล้านคน หรือ KhunThong ที่มีชุมชนสมาชิกเกือบ 1 ล้านคน 

KBTG ช่วยเอื้อเทคโนโลยีการให้ยืมเงินผ่านช่องทางดิจิทัล (Digital Lending Technology) บน K PLUS และการเชื่อมต่อเทคโนโลยีการให้ยืมเงินผ่านช่องทางดิจิทัลกับระบบนิเวศพันธมิตรทำให้ลูกค้ามีการโตขึ้น 5 เท่า 

“หัวใจของ KBTG คือ 3S ได้แก่ Speed, Scale และ Synergy KBTG ดูแลธุรกิจของ KBANK ในหลายประเทศ” เรืองโรจน์ กล่าวทิ้งท้าย

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ