TH | EN
TH | EN
หน้าแรกInterviewดร.ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล เทคลีดเดอร์แห่ง KBTG ผู้ฝันสร้าง Impact ให้ประเทศ

ดร.ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล เทคลีดเดอร์แห่ง KBTG ผู้ฝันสร้าง Impact ให้ประเทศ

KBTG บริษัทของคนไทยที่พยายามยกมาตรฐานให้เป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกเพื่อดึงดูดคนที่มีความสามารถทั้งคนไทยและต่างชาติให้เข้ามาทำงาน ด้วยมุมมองเปิดกว้าง ทั้งเชื้อชาติ ศาสนา หรือการรับฟังความเห็นที่แตกต่างรวมถึงมีพื้นที่ให้แสดงออก รวมถึงผลตอบแทนที่จะได้รับ เพื่อมุ่งหวังพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรในอนาคต

ดร.ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล วิศวกรคอมพิวเตอร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ ผู้มีส่วนในทีมพัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญของ Google ผู้ที่เป็นหนึ่งในหลายคนไทยที่ใช้ความสามารถทำงานให้บริษัทเทคโนโลยีระดับโลกในซิลิกอน วัลเลย์ 

เส้นทางชีวิตของดร.ทัดพงศ์ เหมือนกับเส้นทางของคนเทคโนโลยีทั่วไปที่พอเรียนจบระดับปริญญาตรีทางด้าน Computer Engineer ก็ได้รับทุนทั้งปริญญาโทและเอกไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกาทางด้านคอมพิวเตอร์ และได้มีโอกาสรับหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิจัยทางด้าน Computer Scicence และ Research

เดอะมอลล์กรุ๊ป จับมือ บิทคับ ตั้ง JV “บิทคับ เอ็ม” ดันไทยเป็นฮับสินทรัพย์ดิจิทัลภูมิภาคเอเชีย

“จันทนารักษ์ ถือแก้ว” กับเป้าหมายเล็ก ๆ ที่ชัดเจน เพื่อขับเคลื่อนการศึกษาไทย

พอจบการศึกษาระดับปริญญาเอก ก็มีคนมาเสนองานทางด้านไอทีให้ทำ ซึ่งบริษัททางด้าน Tech Company ต่าง ๆ ซึ่งแม้จริง ๆ แล้วเขามีความคิดอยากกลับไทย แต่เขาคิดว่าอยู่ตรงนั้นถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ได้รับจึงตัดสินใจลองรับโอกาสนั้นไว้  

“อยากลองดูสิว่าการทำงานที่อเมริกาที่ซิลิกอน วัลเลย์ เป็นยังไง เลยตัดสินใจทำงานที่นั่นก่อน”

ดร.ทัดพงศ์ มีโอกาสได้ไปทำงานทั้งในส่วนของ Financial Industry คือ Bloomberg และได้ทำงานที่ซิลิกอน วัลเลย์ นั่นคือ Google จึงตัดสินใจทำงานอยู่ที่อเมริการะยะหนึ่งราว 6-7 ปี ที่ทำงานเป็น Software Engineering และ Hi-tech Agritech ด้วยจุดประสงค์หลัก คือ อยากเก็บประสบการณ์ตรงนั้น เพราะคิดว่าจะสามารถนำมาต่อยอดในอนาคตได้

อดีต Software Engineer ที่ Google 

ส่วนใหญ่ชีวิตการทำงานที่อเมริกาของดร.ทัดพงศ์ คือการเป็น Software Engineer อยู่ที่ Google  หน้าที่ประจำคือ ประจำทีมที่มีชื่อว่า Google Web Crawler 

บทบาทของ Google Web Crawler มีความสำคัญกับบริการ search engine อย่างมาก เพราะจะทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลของเว็บทั่วโลกมาสร้างเป็น search index เพื่อให้คนสามารถมาค้นหาและพบเจอสิ่งที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การที่จำนวนเว็บไซต์ในโลกเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลทุกปี คือความท้าทายของทีม Google Web Crawler และเป็นทีมที่มีความสำคัญมากในมิติของความเสถียรภาพและรองรับการใช้งานพร้อมทั่วโลกได้รวมถึงคัดกรองสแปมด้วย ซึ่งงานของทีม Google Web Crawler เป็นการบริหารจัดการซอร์ฟแวร์ที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ คอมพิวติ้งที่ต้องดีลกับฐานข้อมูลจำนวนมหาศาล เบต้ามากมาย ทั้งหมดนี้คือส่วนหนึ่งของ Google Search Engine

“Google Search Engine ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ อันแรก คือ Crawler การที่เราไปดูดเว็บต์ต่าง ๆทั่วโลกมามาเป็นเดต้าก้อนใหญ่ ๆ ก้อนหนึ่ง ส่วนที่สอง Index คือการสร้างดัชนี สมมติเว็บต์ชื่อเดอะสตอรี่ไทยแลนด์ดอทคอมมันมีเนื้อหาอะไรอยู่บ้างเราก็ต้องเขียนซอร์ตแวร์เพื่อไปแกะคอนเทนท์นั้นมาทำให้ข้อความเมื่อเขียนแล้วต้องโชว์เว็บนี้ขึ้นมา ส่วนสุดท้ายเอา index นี้ไปวางไว้ที่กูเกิลดอทคอมเวลาคนเสิร์ชคีย์เวิร์ดนี้มากูเกิลก็ไปจะเวิร์สอินเด็กและรีเทิร์นไปให้หน้าเว็บนั้น”

ดร.ทัดพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของการทำงานทั้ง 3 ส่วน มันมีความท้าทายที่แตกต่างกันเพราะมีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน อย่าง Crealer เป็นการดึงข้อมูลส่วนที่สำคัญมาให้มากที่สุดหรือเปล่า จัดการสแปมได้มากสุดไหม ถ้ามีเว็บสแปมและเว็บผิดกฎหมายขึ้นมามาก แล้ว Crawler ไปดึงมาหมดจะทำให้คุณภาพของเสิร์จไม่ดีไม่มีคุณภาพ

ส่วนที่เป็น index ความสามารถในการเข้าใจคอนเทนต์ดีแค่ไหน เข้าใจว่าคีย์เวิร์ดนี้หมายถึงเว็บนี้หรือไม่ หรือคำ ๆ นี้ หมายถึงตัวบุคคลไหน อันนี้ก็จะยากเพราะเป็นความเห็น และส่วนที่เป็น Google Search Engine ต้องบอกว่าสำคัญ คือ เรื่องระบบความเสถียร เพราะว่าหาก google.com ล่มไปสิบนาที ความเสียหายน่าจะเป็นพันล้าน เพราะฉะนั้นความสำคัญตรงนี้จะเป็นเรื่องการรองรับจำนวนของลูกค้าที่เข้ามาใช้งานพร้อม ๆ กัน

ชีวิตหน้าที่การงานเติบโตตามวิถีของความเก่งและความสามารถแต่ทว่าเขากลับมีความรู้สึกในใจว่ามีบางอย่างที่อยากเติมเต็ม… 

ดร.ทัดพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กสิกรบิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป จำกัด หรือ KBTG ที่ดูแลรับผิดชอบงานส่วนของ KLabs กล่าวกับ The Story Thailand ว่า อยากใช้ชีวิตมีความหมายจึงตัดสินใจกลับเมืองไทย

“ถ้าเราอยากอยู่สบายใช้ชีวิตเรื่อย ๆ ให้อยู่ที่โน่น แต่ถ้าคุณอยากใช้ชีวิตให้มีความหมายได้มาผลักดันสิ่งต่าง ๆให้ดีขึ้นคุณต้องกลับไทย”

ช่วงจังหวะนั้น ตลาดเทคโนโลยของอเมริการและยุโรปเริ่มอิ่มตัว คนเริ่มพูดว่ากันว่าที่เอเชียคือตลาดต่อไป (Next Customer Market) ประกอบกับเขาเองตระหนักได้ว่าจริง ๆ แล้วเรื่องเทคโนโลยี ไม่ต้องอยู่ที่อเมริกาหรือยุโรปก็สามารถเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ เพราะเกิดการแพร่หลายของเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ ๆ มากขึ้น

“เพราะฉะนั้น ต่อไปคุณอยู่ที่ไหนก็สามารถหาความรู้ สามารถเรียนรู้เทคโนโลยีที่เป็นระดับสูงได้ จริง ๆ ตรงนี้เป็นโอกาสที่ดีที่เราจะเอาสิ่งที่เรียนมาประสบการณ์ที่สะสมมาเข้ามาทำอะไรที่เมืองไทยทำให้เกิด Impact ของประเทศเราได้”

ระหว่างที่เขายังอยู่ที่อเมริกา เขาได้มีโอกาสได้พูดคุยกับผู้บริหารของ KBTG ในขณะนั้น แล้วรู้สึกว่ามี tech company ที่ประเทศไทยอยู่จริง มีบริษัทที่มีจุดมุ่งเป้าหมายและวัฒนธรรมการทำงานที่สอดคล้องกับตัวเขา เขาจึงตัดสินใจเบนเข็มชีวิตกลับสู่ประเทศไทยด้วยความเชื่อมั่นว่าที่ KBTG จะเป็นที่ที่เอื้อให้เขาสามารถใช้ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ที่มีอยู่มาสร้างแรงขับเคลื่อนและสร้างคุณค่ารวมถึงผลกระทบให้กับสังคมและประเทศชาติได้

ความแตกต่าง คือ ข้อดีทำให้คิดรอบด้าน

จากประสบการณ์การทำงานที่ซิลิกอน วัลเลย์ประมาณ 4-5 ปี มีสิ่งหนึ่งที่รู้สึกว่าคนไทยและต่างชาติมีเหมือนกัน คือ คนไทยมีสกิลมีความเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก มีคนไทยจำนวนมากที่ทำงานอยู่ที่ซิลิกอน วัลเลย์ เขาเชื่อว่าคนไทยที่เก่งอยู่ที่อเมริกาหรืออยู่ที่ไทยก็คือคนเก่งเหมือนกัน ดังนั้น การได้มาทำงานที่ KBTG ซึ่งเป็นแหล่งรวมของคนเก่งด้านเทคโนโลยีที่หนึ่งในประเทศไทย ทำให้ดร.ทัดพงศ์ไม่รู้สึกต่างจากการทำงานที่ซิลิกอน วัลเลย์

จะมีความต่างก็ตรงที่ การทำงานกับซิลิกอน วัลเลย์ คือ การทำงานแบบแบบตะวันตก ที่มีความเป็นปัจเจกบุคคลสูง (individualism) คือ ทุกคนเคารพกัน แต่ก็ไม่ได้สนิทสนมกันมากมันเหมือนคนไทย ที่ไทยจะมีความเป็นพี่เป็นน้อง มีวัฒมนธรรมเดียวกัน สีผมเดียวกัน ตรงนี้อาจจะทำให้การทำงานในองค์กรมีความสนิทสนมแน่นแฟ้นมากกว่า  

แต่อยู่ที่นั่นจะพยายามส่งเสริมให้คนที่มีแนวคิดหลาย ๆ แบบมาอยู่ด้วยกัน เพราะจะช่วยให้สามารถคิดโซลูชันได้รอบด้านมากขึ้น จะมีการยอมรับ และโปรโมท ซึ่งในเมืองไทยอาจจะไม่มีวัฒนธรรมอะไรแบบนั้น 

และอีกส่วนคือการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเทคโนโลยี ต้องยอมรับว่าที่นั่นเป็นศูนย์กลางของเทคโนโลยีหลายอย่าง มีการวางแผนมานานกว่าระบบต่าง ๆ อาจจะพร้อมกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของนโยบายระดับภาครัฐ แหล่งเงินทุน ระบบนิเวศ หรือว่าความรู้พื้นฐานต่าง ๆ ที่ทำให้คนสามารถที่จะเรียนรู้ มีทางเลือกที่มีความท้าทายได้ง่ายกว่า 

บริษัทระดับโลกทำโซลูชันให้คนทั้งโลกใช้ ต้องทำให้คนใช้ภาษาต่าง ๆ กัน คนต่าง ศาสนา เชื้อชาติต่างกันใช้ทุกอย่าง ต้องเป็นระดับเวิลด์คลาสทุกระดับ

เขาคิดว่าในเมืองไทยกำลังไปในทิศทางนั้น เพราะว่ามีหลาย ๆ มีการพยายามทำให้ระบบนิเวศทางเทคโนโลยีในเมืองไทยดีขึ้นเรื่อย ๆ เป็นทางที่ดี รวมถึงที่ KBTG เองก็จะเป็นต้นแบบหนึ่งของระบบนิเวศทางเทคโนโลยีที่เป็นองค์กรมาตรฐานสากลเพื่อรับคน (talent) ต่างชาติเข้ามาร่วมงานด้วย

ปัจจุบัน KBTG พยายามรวบรวมคนที่มีชุดความคิดที่เปิดเข้ามา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น บริษัทของคนไทยที่มีการเปิดกว้างทางด้านความคิด ให้ทุกคนมีโอกาสที่ได้ทดลอง ได้มีสิทธิ์เสนอความคิดเห็น และคุยกันด้วยเหตุผลเป็นหลัก

“เราอาจจะยังไม่มีคนต่างชาติมาทำงานบริษัทเราเยอะมาก แต่ว่าเราอาจจะปลูกฝังเรื่องการรับฟังความเห็นที่ต่างกัน รับชุดความคิดที่ต่างกัน รับฟังคนที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน เราอาจจะปูทางให้เราสามารถขยายธุรกิจหรือขยายผลิตภัณฑ์บริษัทไปที่ที่ไม่ใช่ประเทศไทยได้ดี”

ดร.ทัดพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ลักษณะของบริษัทเทคโนโลยีที่นั่นจะมีบริษัทเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่มีอายุก่อตั้งบริษัทไม่ถึง 20 ปี ที่ทำผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีขึ้นมาตรง ๆ มีจำนวนมาก และจะเป็นบริษัทผลิตซอฟต์แวร์ เว็บ และโซเชียล ในขณะที่เมืองไทยจะเป็นบริษัทที่ evolution หรือ transform มาจากธุรกิจขนาดใหญ่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟแนนซ์ รีเทล หรืออสังหาริมทรัพย์ มาเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยี

การเปลี่ยนองค์กรขนาดใหญ่ที่มีความเชี่ยวชาญและความสามารถรวมถึงประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมมใดอุตสหากรรมหนึ่งมาสู่บรษัทเทคโนโลยีหรือบริษัทที่ทำเทคโนโลยีของตัวเอง จะมีลักษณะอย่างหนึ่ง จะต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง เพื่อปรับโครงสร้าง ปรับวิธีการทำงาน และปรับผลตอบแทน ให้สามารถเป็นบริษัทเทคโนโลยีได้จริง ๆ

“ปัญหานี้ไม่ได้เป็นเฉพาะที่ประเทศไทย วอลสตรีทก็เป็นแบบนี้ เพราะเป็นไฟแนนซ์มาก่อนและแปลงมาเป็นฟินเทคก็จะเจอลักษณะนี้เหมือนกัน เนื่องจากที่ไทยไม่มีบริษัท  tech company ใหญ่ ๆ จริง ๆ เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็จะเป็นจุดที่บริษัทใหญ่ ๆ จะเจอเหมือนกัน ”

คนไทยสามารถเรียนรู้เทคโนโลยีระดับโลกได้

สำหรับเทคโนโลยีแล้วไม่ว่าอยู่ในประเทศไทยหรืออยู่ที่ต่างประเทศ ไม่มีความต่างกันแล้ว เมื่อสิบปีก่อนหลาย ๆ เทคโนโลยี หรือความรู้หลาย ๆ อย่างยังกระจุกอยู่ในกลุ่มบริษัทที่เป็นท็อปของเทคโนโลยี แต่ว่าพอสิบปีผ่านมามีเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นมา มีการเปิดเผยองค์ความรู้ออกมาเพื่อแลกเปลี่ยนกันจำนวนมาก กลายเป็นว่าเทคโนโลยีเป็นอุตสาหกรรมเป็นอะไรที่ศึกษาค้นคว้าและแบ่งปันกันได้ซึ่งตัว  Search Engine โซเชียลต่าง ๆ ล้วนมาจากเทคโนโลยีมีคนพร้อมแชร์ มีคนพร้อมให้ความรู้และมีคนเรียน 

ดังนั้น ประเด็นจะอยู่ที่ตัวบุคคลหรือทรัพยากรของประเทศว่าพร้อมจะเรียนรู้เทคโนโลยีแค่ไหน กระหายที่จะเรียนรู้มากแค่ไหน เพราะตอนนี้คุณอยู่ที่ไหนมุมไหนของโลกถ้าคุณมีอินเทอร์เน็ตคุณสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่เป็นระดับโลกได้ 

“องค์กรในไทยส่วนใหญ่กำลังเปลี่ยนผ่านแต่จะทำการทรานส์ฟอร์มได้เร็วแค่ไหน อยู่ที่ว่าเรามีพื้นที่ให้คนคิดใหม่ทำใหม่ได้แค่ไหน ทำให้เค้าสามารถเอาความรู้ที่ไปค้นหาค้นเจอมาปรับทดลองตั้งแต่ระดับเล็กจนขยายสู่ระดับใหญ่ได้แค่ไหน ซึ่งหากองค์กรใหญ่ ๆ ในประเทศไทยทรานส์ฟรอ์มสู่บริษัทดทคโนโลยีได้จำนวนมมาก จะทำให้ช่องว่างของบริษัท หรือของประเทศลดลงถ้าเปรียบเทียบกับองค์กรหรือประเทศใหญ่ ๆ ระดับโลก”

สำหรับน้อง ๆ บางคนที่ทำงานอยากจะมูฟไปทำงานที่ต่างประเทศบ้างเพื่อจะไ ด้เห็นความรู้วิธีการทำงานใหม่เพื่อเพิ่มโลกทัศน์หลายๆครั้งก็จะเห็นคนที่แบบผมหรือเพื่อนๆหลายคนสุดท้ายเราอยู่จุดนี้เมืองไทยน่าจะตอบโจทย์เรื่องครอบครัวอาชีพการงาน impactที่จะทำได้ ปัญหาเรื่องคนจะไปทำงานต่างประเทศแล้วไม่กลับก็จะมีแต่ไม่มาก มันก็อยู่ในสภาวะที่มีการไหลเข้าไหลออกไม่ได้มีส่วนไหนเยอะกว่ากัน 

“ตอนนี้หลาย ๆ อย่างเป็นความพยายามของพี่ ๆ หลายคนในเมืองไทยที่ทำให้เกิดแพลตฟอร์มที่จะรองรับคนที่อยู่เมืองนอก ให้กลับมาใช้พลังความสามารถพัฒนาประเทศไทย คนเริ่มมองเห็นและสนใจที่จะทำงานกับประเทศไทย The Best Support of the Word คุณได้ทำงานในที่วัฒนธรรมมันถูกจริต คุณมีโอกาสเติบโตในโลกของเทคโนโลยี ในขณะเดียวกันคุณก็อยู่ใกล้ชิดกับครอบครัว”

เป้าหมาย KBTG กับการเป็น “The Best Technology of Thailand”

บทบาทของดร.ทัดพงศ์ใน KBTG ปัจจุบันดูแลทางด้าน Technology and Innovation คือทำอย่างไรให้บริษัทเป็นบริษัทเทคโนโลยีของคนไทยมีความสามารถเทียบเท่ากับบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก สามารถนำเทคโนโลยีจากซิลิกอน วัลเลย์มาปรับเข้ากับวัฒนธรรมและโครงสร้างแบบของไทยให้ดีที่สุดเป็น The Best Tecnology of Thailand 

“ซึ่งความรู้เหล่านี้ไม่ได้จำเป็นที่ KBTG อย่างเดียวอะไรที่แชร์หรือแบ่งปันทำให้เกิดการกระตุ้นในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของประเทศไทยหรือต่อสังคมไทย ดังนั้น ที่นี่ยังมีอะไรให้ทำอีกมาก”

สำหรับปัญหาเรื่องการขาดแคลนคนซึ่งเป็นปัญหาระดับโลก แม้แต่อเมริกาและยุโรปก็ประสบปัญหาเช่นกัน ดร.ทัดพงศ์ กล่าวว่า คนที่ทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีอย่างไรก็ไม่พอ ส่วนหนึ่งคือประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แรงงานที่เป็นเด็กและเติบโตขึ้นมาจะน้อยลงเรื่อย ๆ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องช่วยกันแก้ไข 

“ตอนนี้เราก็พยายามจะสร้างบริษัทเทคโนโลยีระดับประเทศให้ได้และมีการทำงานร่วมกับหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล หน่วยงานวิจัยและภาคการศึกษาที่เรียกว่า Tech Campas ในการส่งผู้เชี่ยวชาญที่ดึงมาจากซิลิกอน วัลเลย์ไปพูดคุยกับอาจารย์เลยว่ามหาวิทยาลัยน่าจะมีอะไรเพิ่มควรจะสอนอะไรถ้าทำแบบนี้น่าจะเป็นที่ต้องการของตลาด ไปจับมือกับหน่วยงานวิจัยทำ Co-Inovation ร่วมกันคิดว่าเรื่องนี้ทุกฝ่ายต้องจับมือร่วมกันทำให้เกิด Eco Systeam ที่มันจะสร้างซัพพลายและดีมานด์ให้เกิดขึ้น” ดร.ทัดพงศ์ กล่าวทิ้งท้าย

อศินา พรวศิน – สัมภาษณ์
ศศิธร จันทศร – เรียบเรียง

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ