TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistเมื่อ Perfectionist.... เนี้ยบเกิน จนเพื่อนร่วมงานเอือม... ทำอย่างไรดี ?

เมื่อ Perfectionist…. เนี้ยบเกิน จนเพื่อนร่วมงานเอือม… ทำอย่างไรดี ?

คุณรู้จักคนแบบนี้ในที่ทำงานมั้ย?

ทุกอย่างต้อง perfect ต้องเป๊ะ ต้องเนี้ยบ ไม่ปล่อยผ่าน ถ้างานที่รับผิดชอบไม่สมบูรณ์แบบ

เพราะความมาตรฐานสูงในการทำงาน ทำให้ทุ่มเททำงานออกมาให้ดีมากกว่าคนส่วนใหญ่ จึงไม่น่าแปลกใจที่คนกลุ่มนี้จำนวนไม่น้อยได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นมาเป็นผู้บริหาร และถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Talent

อาจเป็นไปได้ว่าคุณคือคนนั้น…

แต่ก็เหมือนทุกเรื่องที่ถ้าสุดโต่ง เกินความพอดีมากเกินไป ก็อาจส่งผลลบต่อการทำงาน และกระทบความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน จนบางครั้งเพื่อนร่วมงานเอือมที่จะทำงานด้วยหรืออาสาช่วยเพิ่มเติม

ถ้าคุณเป็นคนนั้น คุณอาจจะคิดว่าตัวเองทำงานออกมาดี ทำไมต้องปรับ คนอื่นต่างหากที่ต้องปรับ ซึ่งผมอยากจะแชร์อีกมุมที่ต้องระวังของคนที่เป็น Perfectionist

ความเสี่ยง burnout มากกว่าคนอื่น

เนื่องจากทุ่มเททุกเรื่องเกิน 100% จึงต้องใช้พลังงาน และเวลาในทุกรายละเอียดเพื่อให้งานออกมาสมบูรณ์แบบ ยิ่งในสถานการณ์ที่ต้องทำงานแบบ Virtual หรือ Hybrid ที่การสื่อสารในทีมยังไม่มีประสิทธิภาพก็ยิ่งเพิ่มเวลา และการทำงานซ้ำ ๆ มากกว่าปกติทำให้เพิ่มโอกาสการ burnout มากกว่าเพื่อนร่วมงาน

อาจไม่กล้าออกนอกกรอบลองคิดหรืออะไรใหม่ ๆ

คนที่เป็น Perfectionist ส่วนใหญ่จะกลัวความผิดพลาด ซึ่งส่งผลกับการลองคิด ลองทำอะไรใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน เพราะโอกาสที่จะพลาด ไม่ดีอย่างที่ตัวเองคาดหวังจะมีสูงถึงสูงมาก ทำให้ติดอยู่ในกรอบสิ่งที่ตัวเองทำได้ดี และควบคุมผลลัพธ์ให้ออกมาดีตามมาตรฐานของตัวเองได้

ความรู้สึกที่ตัวเองไม่ดีพอ

การคาดหวังต่อตัวเอง และผลงานที่ต้องการความสมบูรณ์ ไม่ผิดพลาดเลย เกิดขึ้นยากมากในการทำงานจริง หลายคนอาจรู้สึกกดดัน และคิดว่าตัวเองดีไม่พอ เพราะทำพลาดแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย ซึ่งส่งผลกับความมั่นใจในการทำงานหรือการนำเสนอผลงานของตัวเอง

ข้อดีของการเป็นคนที่มาตรฐานสูงมีไม่น้อย ผมไม่ได้ต้องการให้คุณเปลี่ยน หรือลดมาตรฐานในการทำงานลง แต่ตั้งใจจะให้ข้อสังเกตเพื่อสร้างการตระหนักรู้ โดยเฉพาะคนที่เป็น Perfectionist มาก ๆ จนอาจกระทบกับการทำงาน และความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานโดยไม่รู้ตัว

สิ่งที่สามารถปรับได้ คือการปรับ mindset ต่อการมองเรื่องความผิดพลาดหรือล้มเหลว

แทนที่จะมองว่าความล้มเหลว หรือผิดพลาดนั้นเป็นเพราะตัวเราเอง เราไม่ดี ลองเปลี่ยนเป็นความผิดพลาดนั้นเกิดจากวิธีการ หรือการกระทำที่เราเลือก ซึ่งถ้าผลไม่ได้เป็นอย่างที่เราคาด ก็เป็นบทเรียนให้เราเข้าใจและปรับวิธีการทำในการทำงานครั้งต่อไป ซึ่งเป็นวิธีคิดของคนที่มี growth mindset

อีกเรื่องที่อาจปรับได้คือการเลือกว่างานไหนจำเป็นต้องทุ่มเท 100% ให้งานออกมาสมบูรณ์แบบ ต้องเป๊ะ งานไหน 80% ก็เพียงพอ เพื่อบริหารเวลา ทรัพยากร และเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานได้มากขึ้น

เพราะการทำงานเป็นเหมือนการวิ่งทางไกล จึงจำเป็นต้องวางแผนการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งเวลา ความทุ่มเท และความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานให้ดี ไม่หมดพลัง หรือเพื่อนร่วมงานที่จะช่วยสนับสนุนเราไปก่อนระหว่างทาง

ผู้เขียน: ชัชพล ยังวิริยะกุล

บทความอื่น ๆ ของผู้เขียน

เคล็ดลับในการถาม …. เมื่อคำถาม สำคัญกว่าคำตอบ

Employee Engagement สำคัญกับคุณอย่างไร

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ