TH | EN
TH | EN
หน้าแรกSustainabilityAIS จับมือพันธมิตรสร้าง Ecosystem สู่เส้นทางการเป็น Zero E-Waste to landfill ของไทย

AIS จับมือพันธมิตรสร้าง Ecosystem สู่เส้นทางการเป็น Zero E-Waste to landfill ของไทย

ปัจจุบันสถานการณ์ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ในประเทศไทยมีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 400,000 ตัน ถูกนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีเพียง 10% ยิ่งใช้งานดิจิทัลมาก จำนวนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานยิ่งมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่ สายชาร์จ หูฟัง หรือแม้แต่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กอย่าง เมาส์ คีย์บอร์ด E-Waste ที่ถูกกำจัดอย่างไม่ถูกวิธีอาจก่อให้เกิดสารปนเปื้อนในดิน อากาศ และน้ำ ส่งผลร้ายต่อสิ่งมีชีวิต และประชาชน AIS จึงต้องสร้างความร่วมมือในการกำจัดขยะ E-Waste อย่างจริงจัง

สุทธิดา ฝากคำ ผู้จัดการอาวุโสด้านสิ่งแวดล้อม บริษัท เวสท์ แมเนจเม้นท์สยาม จำกัด (WMS) กล่าวถึงการสร้างความตระหนักถึงผลกระทบจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste ว่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยสารอันตรายและโลหะหนักจำนวนมาก เช่น ตะกั่ว ดีบุก ในแบตเตอรี่ ฉนวน สายไฟ, ปรอท จากหลอดไฟ จอภาพ, แคดเมียม สังกะสี แคโทด, คลอรีน ในฉนวนสายไฟ หรือ อาร์เซนิก (สารหนู) ดังนั้นเมื่อขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกกำจัดอย่างไม่ถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเผา หรือการฝังกลบ สารพิษเหล่านั้นจะก่อให้เกิดผลกระทบทางร่างกายของมนุษย์ผ่านการสูดดมจากการหายใจ โดยสารอันตรายต่าง ๆ จะเข้าไปทำลายระบบประสาท ทำให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ, เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ, หัวใจทำงานผิดปกติ, ปอดอักเสบ, ระคายเคืองผิวหนัง, ท้องเสีย อาเจียน และกล้ามเนื้ออักเสบเฉียบพลัน

ด้านสิ่งแวดล้อม สารพิษจะกระจายตัวผ่านแหล่งน้ำจากการถูกฝังลงดิน ส่งผลให้ชาวบ้านไม่กล้าดื่มน้ำฝนหรือน้ำจากแหล่งธรรมชาติ ส่งต่อสารพิษสู่ระบบนิเวศ ทำลายห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ รวมถึงทำลายชั้นบรรยากาศของโลกเป็นเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน

ด้านเศรษฐกิจ สูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจและธุรกิจจากการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่ถูกวิธี เนื่องจากโลหะต่างๆในขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นทรัพยากรที่มีค่า สามารถนำกลับมาใช้ในกระบวนการผลิตต่อไปได้หากได้รับการจัดการหรือผ่านกระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า สามารถแยกโลหะข้างในมาผ่านกระบวนการผลิตให้กลายเป็น ก้อนเงิน ก้อนทอง หรือทองแดง แล้วนำกลับเข้ามาสู่กระบวนการผลิตเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ สินค้าชนิดอื่นอีกครั้ง

พัฒนา E-Waste+ แอปพลิเคชัน

Hub of E-Waste

สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า ทาง International Telecommunication Union (ITU) ศึกษามูลค่าของขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกทิ้งหรือเผาทำลายเป็นตัวเลขสูงถึง 57,000 ล้านเหรียญดอลลาร์ แต่กลับมีขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกจัดเก็บอย่างถูกวิธีแล้วเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพียง 1 หมื่นล้านเหรียญดอลลาร์

จากการศึกษาข้อมูลเพื่อหาสาเหตุของการฉุดรั้งไม่ให้นำขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล พบว่า

  • 83% ของผู้คนไม่รู้ว่าต้องนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปรีไซเคิลที่ไหน รีไซเคิลอย่างไร
  • 60% ของคนไม่รู้ว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์สามารถนำไปรีไซเคิลได้
  • 58% คนไม่ต้องการเสียภาษีกับการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปรีไซเคิล
  • 52% เกิดความกลัวว่าข้อมูลที่อยู่ภายในจะเกิดการรั่วไหล บางคนจึงตัดสินใจเก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช้แล้วไว้กับตัว เช่น ข้างหัวเตียง

AIS จึงสร้างแนวทางในการเชิญชวนคนไทยให้ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้

  1. สร้าง Hub Knowledge ขึ้นมาในการทำ PR ร่วมกับอีจันเพื่อ Educate ผู้คน รวมถึงสร้างเว็บไซต์สำหรับโรงเรียน มหาวิทยาลัย บริษัท ผู้คนที่ต้องการข้อมูล เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงผลกระทบจากการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างผิดวิธีให้สังคมไทย
  2. สร้าง Community โดยเริ่มจากความตระหนักรู้ภายในบริษัท จากนั้นจึงขยายไปสู่การร่วมกับพาร์ทเนอร์กว่า 190 องค์กรทั่วประเทศเพื่อเป็น Hub of E-Waste ต่อยอด B2B2C
  3. สร้าง Drop point สร้างจุดรับทิ้ง รวมถึงนำเทคโนโลยี Blockchain เข้ามายกระดับการจัดการด้วยแอปพลิเคชัน E-Waste+ ให้สามารถตรวจสอบสถานะตลอดทั้งกระบวนการ รวมถึงติดตามเส้นทางการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้
  4. สร้างกระบวนการคัดแยกเพื่อนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกทิ้งไปรีไซเคิล อัพไซเคิล โดยปราศจากการฝังกลบ หรือ Zero E-Waste to landfill
  5. สร้างแรงจูงใจด้วย Reward เช่น AIS point, Partner point หรือ Carbon Score โดยลูกค้า AIS สามารถเปลี่ยนขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็น AIS point ได้ที่ศูนย์บริการ AIS Shop ที่ร่วมรายการผ่านแอปพลิเคชัน E-Waste+ รวมถึงคำนวณขยะที่ได้ออกมาเป็น Carbon Score เพื่อให้ทราบถึงปริมาณการช่วยลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการร่วมทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านแอปพลิเคชัน E-Waste+

ความฝันคือ AIS มีลูกค้าประมาณ 50 ล้านเลขหมาย มีซุปเปอร์แอปอย่าง MyAis ต้องการ integrated e waste plus ไปสู่ myais อนาคตจะปรับจากคาร์บอนสกอร์เป็นคาร์บอนเครดิต แล้วในอนาคตอาจสามารถนำคาร์บอนเครดิตไปใช้ในการบริจาค ลดหย่อนภาษี

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการร่วมสร้าง Ecosystem ของการแก้ไขปัญหาด้าน E-Waste ให้แข็งแรงสู่เส้นทางการเป็น Zero E-Waste to landfill ของไทยอย่างยั่งยืน

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

‘EV’olution การปฏิวัติยานยนต์ไฟฟ้า’ โลกไปทางไหน? ไทยได้อะไรบ้าง?

AIS ชี้ถึงเวลาผสานพลัง Green Network ดึงดิจิทัล Greenovation ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ