TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyAI และนวัตกรรม เปิดบทธุรกิจไทยปี 2567

AI และนวัตกรรม เปิดบทธุรกิจไทยปี 2567

เศรษฐกิจไทยในปี พ.ศ. 2567 คาดว่าจะฟื้นตัวจากแรงขับเคลื่อนของภาคท่องเที่ยวที่กลับมาคึกคักและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล นอกจากนี้ยังจะเป็นปีที่ AI และเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะเปิดประตูให้กับธุรกิจไทยได้เติบโต

ในทศวรรษที่ผ่านมา มีการใช้งาน AI อย่างหลากหลายและเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม Generative AI ก็ได้ทำให้ AI รุ่นใหม่ ๆ เป็นที่น่าจับตามอง บทความนี้จะสรุปเทรนด์ธุรกิจและเทคโนโลยีสำคัญที่จะเปิดบทใหม่ให้กับธุรกิจไทย ควบคู่ไปกับแนวทางการนำเทรนด์มาใช้:

AI กลายเป็นเทคโนโลยี “ที่ต้องมี”… แต่หลายองค์กรยังไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

อุตสาหกรรม AI คาดว่าจะเติบโตจาก 95,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็น 1.8 ล้านล้านภายในปี พ.ศ. 2573 โดยจะเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจโลกในทศวรรษหน้า แต่หลาย ๆ บริษัท ยังไม่พร้อมที่จะใช้ประโยชน์จากโอกาสนี้ได้อย่างเต็มที่[2] นอกจากนี้ผลสำรวจ AI Readiness Index จัดทำโดยซิสโก้ พบว่ามีเพียง 1 ใน 5 (20%) องค์กรในประเทศไทยเตรียมพร้อมอย่างเต็มที่ในการปรับใช้และใช้ประโยชน์จาก AI โดย 74% ยอมรับถึงความกังวลอย่างรุนแรงเกี่ยวกับผลกระทบต่อธุรกิจหากไม่ปรับพี่ตัวในอีก 12 เดือนข้างหน้า[3]

ข่าวดีก็คือ ธุรกิจในไทยมองเห็นความเร่งด่วนในการคว้าโอกาสจาก AI กันมากขึ้น ในช่วงครึ่งปีหลังที่ผ่านมา เกือบทั้งหมด (99%) ยอมรับว่าองค์กรมีความตื่นตัวต่อการใช้เทคโนโลยี AI และองค์กรมากถึง 97% มีกลยุทธ์ AI ที่แข็งแกร่งอยู่แล้วหรืออยู่ในกระบวนการพัฒนา อย่างไรก็ดี ยังพบช่องว่างสำคัญในเสาหลักต่างๆ ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน ข้อมูล การกำกับดูแล บุคลากร และวัฒนธรรมองค์กร เช่น การทำให้แน่ใจว่าข้อมูลของพวกเขาพร้อมสำหรับ AI รวมถึงการสร้างบุคลากรด้าน AI ที่มีคุณภาพ, แผนการจัดการการเปลี่ยนแปลง ฯลฯ ในปี พ.ศ. 2567 บริษัทไทยจะต้องต่อสู้กับวิธีจัดการกับ AI ภายในองค์กร รวมถึงบุคลากรที่พร้อมใช้งานเทคโนโลยีนั้นด้วย

ฉากทัศน์อนาคตระเบียบโลก ในยุค AI ที่ปัญญาประดิษฐ์ทรงอิทธิพล

AI ที่มีความรับผิดชอบจะเริ่มด้วยการทำงานอย่างมีจริยธรรม สนับสนุนด้วยความไว้ใจ และความโปร่งใส

แม้ว่า AI จะมีประโยชน์มหาศาล แต่ยังคงเป็นดาบสองคมที่มาพร้อมความเสี่ยง องค์กรจำเป็นต้องมีนโยบายและโปรโตคอลที่รัดกุม  เพื่อการจัดการข้อมูลและระบบ AI อย่างมีความรับผิดชอบ ขณะที่องค์กรไทยตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ AI อย่างมีจริยธรรม แต่ก็ยังมีอีกหลายส่วนที่ต้องปรับปรุง เช่น เรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลโดยผลสำรวจเผยว่า น้อยกว่าครึ่ง (43%) มีนโยบายและโปรโตคอล AI ที่ครอบคลุม และ 17% ขององค์กรยังมี bias โดยไม่มีกลไกอย่างเป็นระบบในการตรวจจับ data bias

เมื่อผลกระทบของ AI แพร่หลายมากขึ้น การกำกับดูแลยิ่งต้องพัฒนาต่อไป ทำให้บริษัทต่าง ๆ จำเป็นต้องพัฒนากฎระเบียบ ปรับใช้นโยบายภายในที่แก้ไขเรื่องความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัยของข้อมูล และการใช้เทคโนโลยี AI รวมถึงการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่งโดยสามารถจัดการช่องโหว่ที่อาจเกิดขึ้นจากระบบ AI รวมถึงการฝึกอบรมและยกระดับทักษะบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานยังคงมีความสามารถในการรับมือกับความเสี่ยง บริษัทที่สร้างแอปพลิเคชัน AI จะต้องคำนึงถึงการรักษาความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว และสร้างความไว้วางใจโดยกระบวนการออกแบบนวัตกรรมที่ครบวงจรในผลิตภัณฑ์ บริการ และการดำเนินงานขององค์กร

ยุคใหม่ของโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย ที่ใช้งานง่ายจะเกิดขึ้น เพื่อสร้างความปลอดภัยและความอัจฉริยะให้กับธุรกิจ

ในขณะที่บริษัทต่าง ๆ หันมาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลยิ่งมีความสำคัญอย่างคาดไม่ถึง การสร้างเครือข่ายอัจฉริยะที่ทันสมัยกลายเป็นหัวใจสำคัญในการเติบโตของบริษัท ความยืดหยุ่นและการบูรณาการเครือข่ายกับ AI หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ อาจเป็นตัวแปรสำคัญที่กำหนดความสำเร็จ นอกจากนี้บริษัทต่าง ๆ จะตระหนักถึงความจำเป็นของแพลตฟอร์มความปลอดภัยแบบครบวงจรที่สามารถมองเห็นแบบ end-to-end โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความท้าทายด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้มีความซับซ้อนขึ้นในยุคของแอปพลิเคชันและมัลติคลาวด์ และพนักงานทำงานจากสถานที่ต่าง ๆ ได้โดยใช้การเชื่อมต่อหลายรูปแบบ เข้าถึงข้อมูลข้ามแพลตฟอร์ม เครือข่ายจะมีบทบาทสำคัญในการให้ visibility ของผู้ใช้ อุปกรณ์ และเอนทิตีในระบบทั้งหมด ส่งผลให้สามารถเป็นจุดควบคุมเพียงจุดเดียวในการตรวจจับ ป้องกัน และแก้ไขภัยคุกคาม รวมถึงบังคับใช้กฎความปลอดภัยเพื่อจำกัดการแพร่กระจายของภัยคุกคามในเครือข่ายและลดเวลาการแยกภัยคุกคาม

มองหลากมุม สังคมไทยต้องการการกำกับดูแลการใช้ AI อย่างมีจริยธรรมหรือไม่?

ปี 2567 จะเป็นปีแห่งการต่อสู้กับวิกฤตการณ์โลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

เนื่องจากปีที่ผ่านมาเป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีมา เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจำกัดอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อหลีกเลี่ยงภัยพิบัติทางสภาพภูมิอากาศ เมื่อใกล้ถึงจุดเปลี่ยนสำคัญนี้ บทบาทของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนจะยิ่งชัดเจนในการสร้างระบบวัดผลความก้าวหน้าที่แม่นยำและสม่ำเสมอ ทั้งภายในประเทศ ภายในกลุ่มอุตสาหกรรม และระดับโลก แรงกดดันต่อการเปิดเผยข้อมูลอย่างเป็นทางการจะยิ่งทวีความสำคัญ โดยหน่วยงานกำกับดูแลจะเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนแผนสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม บริษัทต่างๆ จะเผชิญแรงกดดันในการพัฒนาความยั่งยืน โดยเทคโนโลยีจะมีบทบาทสำคัญในการจัดหาข้อมูลเชิงลึกให้กับองค์กรเพื่อให้มีการวัดผลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างแม่นยำ รวมถึงการวางแผนสร้างอาคารและพื้นที่ทำงานอัจฉริยะ ผู้ให้บริการ ซึ่งต้องรับผิดชอบต่อเป้าหมายความยั่งยืนจะเร่งพัฒนาความยืดหยุ่นของโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับเวิร์กโหลดที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ลดการใช้พลังงานไปพร้อมกัน

บุคลากร และการเปิดกว้างต่อการเปลี่ยนแปลง จะเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน

บริษัทไทยที่กำลังมุ่งสู่ยุคดิจิทัล จำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรให้ทันกับการเติบโต แม้ว่าอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในไทยจะเฟื่องฟู แต่ยังคงขาดแคลนบุคลากรเทคโนโลยี ทักษะเฉพาะทางในด้านต่าง ๆ เช่น ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ data science และเครือข่าย เป็นที่ต้องการอย่างมาก ซึ่งนับเป็นโอกาสให้บริษัทต่าง ๆ ผลักดันการพัฒนาบุคลากรเทคโนโลยีให้พร้อมก้าวสู่โลกอนาคต บริษัทต่าง ๆ ยังต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นในจุดมุ่งหมาย โดยส่งผลต่อความสามัคคีของทีมงานและความเชื่อมั่นต่อบริษัท โดยเฉพาะในช่วงที่ต้องเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ สิ่งนี้ยังช่วยให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่บริษัทเองก็ต้องปรับตัวเข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

บทความโดย วีระ อารีรัตนศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทย และเมียนมาร์

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ITEL ทุ่ม 40 ล้าน ซื้อกิจการ โกลบอล ลิโธทริปซี่ย์ เซอร์วิสเซส ลุย Health Tech

AMD เปิดตัวเทคโนโลยีสำหรับรถยนต์ที่งาน CES 2024

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ