TH | EN
TH | EN
spot_imgspot_imgspot_img
หน้าแรกBusiness4 ช่องทางสร้างรายได้ของ Creator บน YouTube เพื่อความยั่งยืนที่มากขึ้น

4 ช่องทางสร้างรายได้ของ Creator บน YouTube เพื่อความยั่งยืนที่มากขึ้น

ภายในงาน Mini YouTube Exhibition มีการจัดเซสชัน กลยุทธ์การกระจายรายได้เพื่อความยั่งยืนของครีเอเตอร์ขึ้น โดย ศิขรินทร์ กลัดเข็ม, Head of MPN WebTVAsia Thailand และ คณพล โฮมชัย, Senior Creator Development ที่ได้รวบรวมการสร้างรายได้จาก YouTube ที่ไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่เพียงกับค่าโฆษณาเท่านั้น เนื่องจากมีช่องทางการสร้างรายได้เพิ่มเติมที่ผู้ใช้ YouTube สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาดูกันว่ามีช่องทางการสร้างรายได้เพิ่มเติมจากการทำช่อง YouTube อะไรบ้าง

Mini YouTube Exhibition

Creator ในปี 2024 ต้องมี BUSINESS MINDSET

ในยุคที่ใคร ๆ ก็สามารถการสร้างสรรค์เนื้อหา (Content) ได้กันหมด แต่ถ้าหากสามารถมีแนวคิดด้านธุรกิจ (Business Mindset) ก็จะส่งผลดีต่อการสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้กับ Creator ได้ ซึ่งการพึ่งพารายได้เพียงช่องทางเดียวอย่างค่าโฆษณา (Advertising Revenue) อาจจะไม่เพียงพออีกต่อไป เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยง 4 ปัจจัยดังนี้

  • Copyrights หากมีการละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้เสียหายสามารถดำเนินคดีตามกฎหมายต่อผู้ที่ละเมิด และเรียกร้องรายได้ภายในคลิปวิดีโอได้ทั้งหมด
  • Made for Kids คือเนื้อหาสำหรับเด็ก ที่ระบบอัลกอริทึม (Algorithm) สามารถตรวจจับได้ และไม่ลดอัตราการแสดงโฆษณาทำให้รายได้ลด
  • Advertiser-friendly Content Guidelines คำที่รู้จักกันดีคือ ‘ติดเหลือง’ เนื่องงจากมีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม, เนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ และ เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยง
  • Unforeseen External Factor คือ ปัจจัยภายนอกที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน ซึ่งสามารถมีผลกระทบต่อสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น สงคราม โรคระบาด เศรษฐกิจ เป็นต้น

Subscribers ไม่ใช่แค่ตัวเลข

การเป็น Creator ไม่จำเป็นต้องมีคนมากถึงล้านคนถึงจะทำเงินได้ แต่ต้องหาแฟนที่แท้จริง 1,000 (1,000 True Fans) คนให้ได้ ยกตัวอย่างค่ายเพลง GMM Music ที่มีศิลปินชื่อดังอย่าง เป๊ก ผลิตโชค ที่มีฐานแฟนคลับมากมายหลักล้านคน แต่มีแฟนคลับที่พร้อมจ่ายเงินเพื่อมา Concert จำนวน 13,000 คน ซึ่งผู้ทำช่องต้องวิเคราะห์ออกมาเพื่อหาผู้ติดตามที่มีความจงรักภักดีกับช่อง (Loyalty) โดยแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับตามความเหนียวแน่นและการมีส่วนร่วมกับช่องที่เรียกว่า ‘4 Layers of Fans’ ดังนี้

  1. Audience เป็นกลุ่มผู้ชมที่พบเจอวิดีโอจากการค้นหาหรือการแนะนำ เข้ามาดูวิดีโอเป็นครั้งเป็นคราว
  2. Casual Fan เป็นผู้ชมที่กดติดตามช่อง มีการกดไลค์ คอมเมนท์ และแชร์วิดีโอของเราไปยังช่องทางต่าง ๆ
  3. True Fan คอมเมนท์ทุกวิดีโอ เข้ามาดูวิดีโอตั้งแต่เพิ่งปล่อย มีส่วนร่วมในโพล หรือโพสต์ต่าง ๆ มักจะสนับสนุนช่องเป็นครั้งคราวด้วยราคาที่แพงมากนัก
  4. Super Fan ติดตามทุกช่องทาง พร้อมสนับสนุนทุกช่องทางได้แทบทุกรูปแบบที่มี ซึ่งเป็นขั้นที่เกิดและหาได้ยากมากที่สุด

Advertiser-friendly Content Guidelines

4 ช่องทางการสร้างรายได้จาก YouTube

อย่างที่กล่าวได้ข้างต้นว่า การพึ่งพารายได้เพียงช่องทางเดียวอย่างค่าโฆษณา (Advertising Revenue) อาจจะไม่เพียงพออีกต่อไป เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ จึงพามาดู 4 ช่องทางการสร้างรายได้เพิ่มเติมจากการทำช่อง YouTube ดังนี้

1. Support-based Revenue (รายได้ที่ได้มาจากการรับบริจาคหรือการสนับสนุนจากผู้ติดตาม)

  • Advertising คือการเปิดให้โฆษณาทั่วไปบนช่องทาง YouTube
  • Commission Video คือวิดีโอที่ถูกสร้างขึ้นโดยผู้ใช้งาน YouTube โดยเป็นการสั่งทำโดยตรงโดยผู้อื่นหรือลูกค้า แล้วได้ถูกโพสต์หรืออัพโหลดบนช่องของผู้ใช้งานนั้น ๆ บน YouTube โดยทั่วไปจะมีการจ่ายค่าบริการหรือค่าตอบแทนให้กับผู้สร้างเนื้อหาเพื่อสร้างวิดีโอตามคำสั่ง
  • Microtransaction คือการที่ผู้ชมสามารถทำเพื่อสนับสนุนช่อง YouTube โดยการให้การสนับสนุนทางการเงินขนาดเล็ก ๆ เช่น ซื้อสินค้าในระหว่างการสตรีม (Stream), การเปิดรับบริจาค (Donation) ที่มีมูลค่าเล็กน้อย เป็นต้น
  • Crowdfunding คือการระดมทุนหรือเก็บเงินสนับสนุนโดยตรงจากผู้ชมในการสร้างเนื้อหา (Content) ใหม่ ๆ หรือโปรเจกต์ที่ผู้ชมสนใจ

2. Sale-based Revenue (รายได้ที่ได้มาจากการขายสินค้าหรือบริการจากผู้ติดตาม)

  • Merchandise คือการขายสินค้า (Merchandise) เป็นวิธีที่ Creator สามารถทำรายได้เสริมได้โดยตรงและช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง Creator กับผู้ติดตามได้อีกด้วย
  • IP / Content ID คือระบบที่ใช้ในการจดสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาและการจัดการสิทธิ์ต่าง ๆ ของเนื้อหาทางด้านความเป็นเจ้าของ โดยเฉพาะในสื่อดิจิทัล เช่น วิดีโอ ภาพถ่าย เสียง เป็นต้น โดย Creator สามารถเก็บค่าลิขสิทธิ์ได้
  • Affiliate Marketing คือการได้รับค่าคอมมิชชั่นตามปริมาณการขายที่เกิดขึ้นจากการจากสร้างเนื้อหา (Content) ของ Creator ซึ่งในปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมมาก

3. Fame-based Revenue (รายได้ที่ได้มาจากพื้นฐานความมีชื่อเสียงของ Creator)

  • Mainstream Media คือการที่เรานำความเชี่ยวชาญของตนเอง ไปร่วมสร้างเนื้อหา (Content) เพื่อออกสื่อหลัก เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และเว็บไซต์ข่าวออนไลน์
  • Spin off Business คือการต่อยอดจากชื่อเสียง และต่อยอดจากความเชี่ยวชาญของ Creator ไปสู่ธุรกิจใหม่ ๆ ที่ไม่ใช่ Merchandise
  • Event คือการออกงานตามสถานที่ต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับตัวของ Creator โดยใช้ความมีชื่อเสียง
  • Sponsorship คือการสนับสนุนจากแบรนด์ต่าง ๆ  เพื่อสนับสนุน Creator ที่มีคุณภาพ ซึ่งสปอนเซอร์อาจจะให้การสนับสนุนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจ่ายเงินสำหรับการสร้างเนื้อหา การมอบสินค้าหรือบริการฟรี เป็นต้น

4. Subscription-based Revenue (รายได้ที่ได้มาจากการสมัครรายเดือนของผู้ติดตาม)

  • Membership คือฟีเจอร์พิเศษที่เปิดให้ Creator บน Youtube สามารถเสนอสิทธิพิเศษต่าง ๆ ให้กับผู้ชมที่สมัครเป็นสมาชิกของช่อง โดยผู้ชมจะต้องจ่ายค่าสมาชิกรายเดือนเพื่อแลกรับสิทธิพิเศษเหล่านี้

การจัดลำดับหนทางสร้างรายได้กับ 4 Layers of Fans

1. Audience สามารถใช้การสร้างรายได้ได้ดังนี้

  • Advertising การเปิดให้โฆษณาทั่วไปบนช่องทาง YouTube
  • Affiliate Marketing ปักตะกร้าแปะลิงก์แนะนำสินค้าหรือบริการ ยกตัวอย่างประเภทเนื้อหา (Content) เช่น How to จากช่อง Alochar Channel ที่สอนการใช้งานแอปพลิเคชัน 7-11 พร้อมแนบลิ้งค์ Affiliate เป็นต้น

2. Casual Fan สามารถใช้การสร้างรายได้ได้ดังนี้

  • Microtransaction ให้ของขวัญหรือสนับสนุนตามอัธยาศัย ยกตัวอย่างประเภทเนื้อหา (Content) เช่น Horror จากช่อง คืนเผาผี Ghost Night ที่ไลฟ์ผ่านช่อง YouTube ให้ผู้ติดตามได้ส่งของขวัญตามอัธยาศัย หรือแม้แต่การทำเนื้อหา (Content) ที่เป็น Personality สนุก เฮฮา จากช่องคุณเก้ง ก็สามารถสร้างรายได้ผ่าน Microtransaction ได้เช่นกัน

3. True Fan สามารถใช้การสร้างรายได้ได้ดังนี้

  • Membership สมัครสมาชิกอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างประเภทเนื้อหา (Content) เช่น Personality สนุก ตลกขบขัน จากช่อง ผัวน้อยแชแนล ที่หากผู้ติดตามสมัครเป็นสมาชิกก็จะได้รับ Badges & Stickers แสดงผลว่าเราคือแฟนคลับที่สนับสนุน Creator นอกจากนี้บางช่องอย่าง Kim Property Live ที่เป็น Creator สาย Business & Invest ก็ได้มีการเปิดรับสมัครสมาชิกเพื่อรับชมเนื้อหา (Content) พิเศษเกี่ยวกับการเงินการลงทุน ที่สมาชิกทั่วไปไม่สามารถรับชมได้
  • Merchandise คือการขายสินค้าที่มีเอกลักษณ์ (Identity) ช่องของ Creator ยกตัวอย่างประเภทเนื้อหา (Content) เช่น สายท่องเที่ยวจากช่อง Precha is happy ที่เน้นท่องเที่ยวด้วยรถจิ๊บ ก็ได้มีการขายของที่ระลึกอย่าง Stickers, เสื้อยืด และที่กันโคลนรถ (Mudguard) เป็นต้น

4. Super Fan สามารถใช้การสร้างรายได้ได้ดังนี้

  • Crowdfunding เปิดรับบริจาคเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างของช่อง ยกตัวอย่างประเภทเนื้อหา (Content) Gaming จากช่อง JAI RAW ใจร้าว ที่ได้เปิดให้ผู้ชมบริจาคเพื่อนำมาสร้างเนื้อหา (Content) ใหม่ ๆ ตามความต้องการของผู้ติดตามช่อง
  • Spin off Business ขายสินค้าหรือบริการต่อยอดจากชื่อเสียงของ Creator ยกตัวอย่างประเภทเนื้อหา (Content) Dating & English Learning จากช่อง Pugun wisad ที่ก็ได้ต่อยอดจากชื่อเสียงของตนเองในด้านความรู้ภาษาอังกฤษ ออกมาเป็นสินค้ามากมาย เช่น คู่มือการเดทกับชาวต่างชาติ, หนังสือสอนภาษาอังกฤษ เป็นต้น

3 ข้อคิดสำหรับ Creator

สำหรับ Creator ที่กำลังทำช่องของตนเองอยู่นั้น หรือใครที่กำลังเริ่มทำช่อง อยากฝาก 3 ข้อคิด ดังนี้

  1. Be Versatily : พยายามทำให้ตนเองมีความยืดหยุ่นและหลากหลายตลอดเวลา ไม่ควรยึดติดกับหนทางการสร้างรายได้ช่องทางเดียว
  2. Trial & Error : ไม่มีสิ่งไหนที่สมบูรณ์แบบ ดังนั้นแผนการที่สมบูรณ์แบบก็ย่อมไม่มีอยู่จริง เราอยากทำสิ่งไหนให้ลงมือทำได้เลยทันที เริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ และความเสี่ยงที่ต่ำก่อนก็ไม่เสียหาย
  3. Offer Value is not Ask for Money : พยายามสื่อสารและรับฟังเสียงหรือความต้องการของแฟนคลับ ช่วยให้ Creator สร้างความไว้วางใจและความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับผู้ติดตาม โดยที่ไม่จำเป็นต้องขายสินค้าหรือบริการโดยตรง

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

รวม 10 ข้อที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดในการทำช่อง YouTube

AI และความยั่งยืน – สองพลังสำคัญเพื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ คือหัวใจจากงานสัมมนา The Story Thailand Forum 2024

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ