TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistความเป็นกลางทางคาร์บอน vs การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

ความเป็นกลางทางคาร์บอน vs การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมระดับผู้นำในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP26 ณ เมืองกลาสโกว์ 

โดยมีสาระสำคัญตอนหนึ่ง คือ ประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2050 และ บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี 2065

สำหรับคนที่ไม่ได้คุ้นเคยกับคำว่าความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emission) นั้น อาจจะสับสนว่าสองคำนี้แตกต่างกันอย่างไร และทำไมถึงมี เวลาที่แตกต่างกันถึง 15 ปี กว่าเราจะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้

ความเป็นกลางทางคาร์บอนจะเป็นการพูดถึงเชิงนโยบายว่า เราจะไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนเพิ่มขึ้น และพยายามจะหาคาร์บอนเครดิตมาชดเชย (carbon credit offset) ส่วนที่ปล่อยออกไป แต่สำหรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์หมายถึงความเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงคือการทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงให้เหลือน้อยที่สุดและใช้การชดเชยคาร์บอนเป็นส่วนสุดท้ายในการทำให้เหลือสุทธิเป็นศูนย์ 

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การออกนโยบายสามารถทำได้ก่อน แต่การจะได้ผลลัพธ์ที่ทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์นั้นต้องใช้เวลามากกว่า 

ซึ่งทั้งสองกรณีก็พูดถึงการชดเชยคาร์บอน แต่การทำโครงการเพื่อนำคาร์บอนมาชดเชยนั้น มีข้อบังคับอยู่ว่า จะต้องเป็นโครงการที่ทำแล้วเกิดผลอย่างถาวรและต้องได้รับการรับรองจากสถาบันที่ได้รับความน่าเชื่อถือเสียก่อน โครงการเหล่านี้มีความแตกต่างกันไป เป็นไปได้ตั้งแต่การปลูกต้นไม้ที่เราคุ้นเคย ไปจนถึงการให้ทุนกับ ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อให้ลดการใช้พลังงานจากถ่านหินหรือน้ำมัน หรือแม้แต่การเปลี่ยนอาหารของวัว ในฟาร์มเพื่อลดก๊าซมีเทนที่ออกมาจากวัว เป็นต้น 

ในประเทศไทยก็มีความตื่นตัวเรื่องการชดเชยคาร์บอนมากขึ้น ดังจะเห็นได้ว่าเรามีโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาตลาดคาร์บอนภายในประเทศ เพื่อขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือน กระจกของภาคเอกชนไทย ได้มีการลงนามในความร่วมมือดังกล่าวเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา ระหว่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และองค์กรเอกชนที่เป็นกลุ่มสมาชิกของ ส.อ.ท. เพื่อผลักดันให้เกิดตลาดคาร์บอนภายในประเทศ ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่จะส่งเสริมให้ประเทศไทยมีโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

บล็อคฟินท์ สนับสนุนภารกิจคาร์บอนเครดิต เพื่อช่วยลดภาวะก๊าซเรือนกระจก ด้วยการส่งแพลตฟอร์ม energy trading ในชื่อ Gideon ให้กับกลุ่มคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทยได้ใช้งานฟรี โดยมีมูลค่ากว่า 5 ล้านบาท ซึ่ง แพลตฟอร์ม Gideon จะเป็นการกระจายอำนาจในการซื้อขายคาร์บอนเครดิต (decentralize) เปิดโอกาสให้ผู้ที่ทำโครงการเพื่อนำคาร์บอนมาชดเชยสามารถนำเสนอคาร์บอนเครดิตให้กับองค์กรหรือหน่วยงานที่ต้องการได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดระบบนิเวศใหม่สำหรับคาร์บอนเครดิต ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยที่ทำให้ประเทศไทย สามารถบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ 

ผู้เขียน: นิสิตาศิรธรานนท์ (มิ้งค์) ที่ชื่นชอบด้านเทคโนโลยีเป็นการส่วนตัว ผู้บริหารด้านการตลาด

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ