TH | EN
TH | EN
spot_imgspot_imgspot_img
หน้าแรกBusinessContent Strategy Framework เทคนิคสร้างคอนเทนต์ให้ช่องโต ฉบับ YouTuber ที่กำลังหมดไฟห้ามพลาด!

Content Strategy Framework เทคนิคสร้างคอนเทนต์ให้ช่องโต ฉบับ YouTuber ที่กำลังหมดไฟห้ามพลาด!

“Content is The King” ยังคงเป็นแนวคิดที่นำมาใช้ได้อยู่ในการสร้างคอนเทนต์วิดีโอโดยเฉพาะบนแพลตฟอร์มอย่าง YouTube แม้ในปัจจุบันผู้รับชมคอนเทนต์จะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป แต่จะทำอย่างไรให้คอนเทนต์ในช่อง YouTube ของเรามียอดเข้าชม (View) เพิ่มขึ้น มีจำนวนผู้ติดตามมากขึ้น และเป็นช่องที่อยู่ได้อย่างยาวนานขึ้น

อัง จารุเดช ผู้จัดการชุมชนครีเอเตอร์ Shorts ได้มาแชร์เทคนิคการสร้างคอนเทนต์แบบสั้น (Shot Form) และยาว (Long Form) บน YouTube ให้ลงตัวและส่งเสริมกัน สร้างช่องที่เติบโตต่อเนื่องอย่างคงที่ และเป็นคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ผู้ชมในทุก ๆ ประเทศ

อัง จารุเดช ผู้จัดการชุมชนครีเอเตอร์ Shorts

Creative Freedom เอกลักษณ์ของแพลตฟอร์ม YouTube

ด้วยโครงสร้างของ YouTube ที่มีรูปแบบการเผยแพร่วิดีโออยู่ 3 รูปแบบ ล้วนแล้วแต่เป็นรูปแบบที่ตอบโจทย์ผู้ชมทั่วโลก ได้แก่

  • วิดีโอแบบยาว (Long Form Video) วิดีโอที่ปรากฏภาพแนวนอน มีเนื้อหาสาระยาวตามหัวข้อที่ผู้สร้างอยากนำเสนอ ความยาวมากกว่า 1 นาทีขั้นไป เน้นการเล่าเรื่องด้วย Storytelling ที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างไปตามแต่ละช่อง มักสร้างตามความสนใจของกลุ่ม Subscriber ของช่องตนเอง
  • วิดีโอสั้น (ShotForm Video) วิดีโอที่ปรากฏภาพแนวตั้ง ความยาวไม่เกิน 1 นาที เนื้อหาระยะมีความกระชับ เน้นการเล่าเรื่องแบบเล่าใจความสำคัญ เปิดด้วยความน่าสนใจเพื่อให้กลุ่มผู้ชมเกิดความสนใจอยากดูดต่อ
  • วิดีโอถ่ายทอดสด (Live Stream) วิดีโอที่ถ่ายทอดสดแบบเรียลไทม์ เน้นการสร้างประสบการณ์ร่วมให้กับผู้รับชม สามารถเป็นสื่อแบบ Two Way Communication คือการโต้ตอบกับได้ทันที ด้วยเหตุนี้เองที่วิดีโอถ่ายทอดสดมักจะเป็นปัจจัยที่ทำให้แต่ละช่องเกิด Community ของผู้ชมขึ้นมา

ทั้ง 3 สิ่งนี้เปรียบเสมือน “เคร่ืองมือ” ให้ผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์ได้เลือกใช้ในการสร้างผลงานที่ดีขึ้น และหากมีการใช้ร่วมกันจะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพสูงขึ้นได้ เช่น ช่อง A มีการทำคอนเทนต์ประเภท วิดีโอแบบยาว (Long Form Video) มานานกว่า 10 ปี มีผู้ติดตามจำนวนหนึ่ง ต่อมาได้เริ่มสร้างคอนเทนต์ประเภท วิดีโอสั้น (ShotForm Video) โดยคัดเลือกช่วง Highlight สั้นๆ เพื่อดึงดูดกลุ่มผู้รับชมใหม่ๆ กระบวนการเหล่านี้จะเชื่อมต่อกลุ่มผู้ชม 2 กลุ่มเข้าด้วยกันโดยธรรมชาติจนต่อมากลุ่มคนเหล่านั้นได้กลายเป็น “Community” ที่สำคัญของช่อง และจะมีประโยชน์ในการต่อยอดอีกมากมายในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการสร้างรายได้ การต่อยอดประเภทคอนเทนต์ไปในหมวดหมู่อื่นๆ ที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน เป็นต้น

กล่าวคือสมการของ Creative Freedom ของแพลตฟอร์ม YouTube คือ

Community + Sustainability = เอกลักษณ์ (Identity) + การเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม (Tools)

หมายความว่า ชุมชนครีเอเตอร์ และความยั่งยืนของช่องในระยะยาว เกิดจาก การสร้างรูปแบบคอนเทนต์ที่มีเอกลักษณ์ และใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับคอนเทนต์นั่นเอง

เจาะลึก Content Strategy Framework

หากใครได้อ่าน 3 เรื่องที่ต้องรู้… ถ้าอยากสร้างช่อง YouTube ให้ดังและมีรายได้! คงจะผ่านตาเรื่อง Content Strategy ในการสร้างคอนเทนต์สำหรับแพลตฟอร์ม YouTube มาบ้าง และครั้งนี้จะมาเจาะลึกในแต่ละขั้นตอนเชิงลึก จนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับช่อง (Channel) ของตนเองเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่จะเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดยั่งยืน (Sustainability) ของคอนเทนต์

อัง จารุเดช กล่าวว่า การสร้าง Content Strategy Framework ที่ดีจะช่วยให้นักสร้างคอนเทนต์สามารถวางแผนและจัดการเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ชมของช่อง โดยเริ่มจาก

  • เริ่มจากการคิดว่า “ช่องของคุณมีแผนที่จะสร้างคอนเทนต์ได้มากแค่ไหน?” : เพราะเป็นการกำหนดเป้าหมายของช่องให้ชัดเจน เช่น จะสร้างคอนเทนต์อย่างสม่ำเสมอโดยการโพสต์วิดีโอทุกวันเพื่อให้สร้าง Awareness ให้ผู้รับชมมากขึ้น เป็นต้น แต่การสร้างคอนเทนต์นั้นไม่ง่าย เนื่องจากปัจจัยที่ผู้สร้างคอนเทนต์ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ระบบการทำงานอัลกอริทึมบางอย่าง จะเป็นอุปสรรคอย่าง ความหมดไฟ ที่อาจเกิดขึ้นจนล้มแผนไปนักต่อนัก
  • ทำความเข้าใจว่าคอนเทนต์แต่ละประเภทไม่ได้สร้างขึ้นมาง่าย ๆ : ไม่ว่าจะเป็น Hero Content คอนเทนต์ระดับไวรัล ที่สร้างการรับรู้ ภาพจำให้กับผู้ชมวงกว้าง อาจเป็นคอนเทนต์ประหลาดๆ แต่สามารถสร้างแรงดึงดูดผู้ชมมหาศาลได้ บางแบรนด์ทุ่มเงิน ทุ่มแรงกาย ทุ่มเวลาหลายปีเพื่อวางแผนทำให้คอนเทนต์ประเภทนี้เกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งครั้ง เพื่อให้คนรู้ว่า “มีช่องของฉันอยู่บนแพลตฟอร์มนี้”
  • ผลิตคอนเทนต์อย่างต่อเนื่อง : ลองนึกภาพว่าช่องคุณดังมากๆ แต่เมื่อกดเข้ามากลับไม่มีคอนเทนต์อื่นให้ชมเลย เป็นหายนะขั้นสุด นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม Hub Content จึงสำคัญเพราะเป็นคอนเทนต์หลักที่จะต้องสร้างไว้เพื่อเสิร์ฟกลุ่มผู้ชมที่เราดึงดูดมาได้จาก Hero Content โดยลักษณะของ Hub Content จะมีความจำเพาะขึ้นอยู่กับความชอบ ความถนัด รวมถึงวิสัยทัศน์ของผู้สร้าง ยิ่งคอนเทนต์มีแนวทางที่โดดเด่นจะยิ่งสร้าง Community ให้เกิดขึ้นโดยง่าย และสิ่งนี้เองที่จะกลายเป็นกลุ่มคนดูรากฐานที่มั่นคงให้กับช่อง
  • ผลิต Help Content สำรองไว้ : คอนเทนต์มีขาขึ้นและลง ช่วงขาลงที่คนห่างหายจากการรับชมคอนเทนต์จะส่งผลให้ยอดเข้าชมของช่องลดลง อัลกอริทึมอาจปิดการมองเห็นของคอนเทนต์ไปได้ แต่ Help Content จะเป็นตัวคอนเทนต์กันเหนียวที่สร้างไว้เพื่อให้ใครก็ตามสามารถ “ค้นหา (Search)” ได้ เช่น วิธีคำนวณภาษีเบื้องต้น วิธีการผูกเชือกรองเท้า เป็นต้น

ขั้นตอนทั้งหมดที่กล่าวมานี้ มีความเกี่ยวเนื่องกับ ผู้ชม และผู้สร้างคอนเทนต์ รวมไปถึงแพลตฟอร์มผู้ให้บริการอย่าง YouTube หากมีการวางแผนที่ดีจะช่วยให้ผู้สร้างคอนเทนต์ไม่หลงทาง หากมีเหตุการณ์ไม่ดีเกิดขึ้น อาทิ ยอดไม่ขึ้น ไม่มีผู้ติดตาม Content Strategy Framework จะเป็นตัวช่วยนำทางด้วยเป้าหมายที่ชัดเจนว่าแท้จริงแล้วผู้สร้างต้องการมุ่งไปเป้าหมายแบบใด จงซื่อสัตย์กับเป้านั่น และไม่ย่อท้อหรือหมดไฟไปง่ายๆ

เทคนิคสร้างคอนเทนต์แบบ Long & Shot VDO ให้ส่งเสริมกัน

“ทำ 10 วินาทีแรกบน YouTube Shot ให้ดึงดูดผู้ชม เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ชมหน้าใหม่ ๆ ได้เข้ามาชมอีก 40 วินาทีที่เหลือของคอนเทนต์ในช่องเรา” ประโยคฮุกคืออะไร ความน่าสนใจคืออะไร ต้องการสื่ออะไร ใส่ไปแบบไม่ต้องกั๊ก! YouTube Shot VDO นับเป็นหนึ่งเทคนิคที่ YouTuber เริ่มทำกับเนื่องจากผลสำรวจของ YouTube พบว่า ช่องที่ผลิต วิดีโอแบบยาว (Long Form Video) มานาน ได้ผลิต วิดีโอสั้น (Shot Form Video) ควบคู่ไปด้วย มียอดเข้าชม (View) และระยะเวลาที่ผู้ชมใช้ในการดูวิดีโอ (Watch Time) เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว

รวมถึงเรื่องการสร้างรายได้จาก YouTube วิดีโอสั้น (ShotForm Video) และ วิดีโอถ่ายทอดสด (Live Stream) ก็สามารถช่วยเพิ่มรายได้อีกทาง นั่นคือรายได้ที่แบ่งตามรูปแบบของคอนเทนต์ของ YouTube ดังนี้

  • วิดีโอแบบยาว (Long Form Video) ได้รายได้จาก Ad Revenue เป็นรายได้ที่เกิดขึ้นจากการรับชมโฆษณาระหว่างวิดีโอของผู้ชมที่แพลตฟอร์ม YouTube แบ่งมาให้ผู้สร้างคอนเทนต์ หรือมาจากการที่แบรนด์สินค้าให้การสนับสนุนช่องโดยตรง
  • วิดีโอสั้น (ShotForm Video) ได้รายได้จาก Shot Ad Revenue เป็นรายได้ที่เกิดขึ้นจากการรับชมโฆษณาระหว่างวิดีโอสั้นของผู้ชมที่แพลตฟอร์ม YouTube แบ่งมาให้ผู้สร้างคอนเทนต์
  • วิดีโอถ่ายทอดสด (Live Stream) ได้รายได้จากฟังก์ชัน Super Chat และ Super Stickers เป็นวิธีการสร้างรายได้ให้กับช่องผ่านโปรแกรมพาร์ตเนอร์ YouTube ซึ่งให้ผู้ชมซื้อข้อความแชตสดที่มีความโดดเด่น หรือรายได้จากการบริจาค (Donate)

โดยธรรมชาติของมนุษย์จะมีการรับรู้ (Perception) ในการรับชมคอนเทนต์แบบไม่รู้ตัว เมื่อได้เห็น Hero Content จนเข้ามาชม Hub Content ที่มีอยู่มากมาย หรืออาจเห็น Help Content บ้างประปราย จะเป็นกระบวนการสร้างภาพจำของคนดูในอัตโนมัติ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้สร้างคอนเทนต์ในการถ่ายทอดเอกลักษณ์หรือจุดยืนให้กับผู้ชมได้รับรู้ เพื่อที่จะดึงกลุ่มคนเหล่านี้มาเป็นผู้ติดตามตลอดจนเป็น Community ของช่องก่อนต่อยอดไปเป็นการสร้างรายได้ เป็นอาชีพ YouTube ที่มั่นคงอย่างยั่งยืน

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ธุรกิจจำเป็นต้องรีแบรนด์หรือไม่? ถอดรหัสการทำ Rebranding อย่างไรให้สำเร็จ

เทคนิคแก้ปัญหาธุรกิจยุคใหม่ ด้วยการใช้ Martech

‘เปลี่ยนผ้าถูกทิ้งให้มีคุณค่า’ เรียนรู้เส้นทางจาก 0 สู่ 1 ล้านกิโลคาร์บอนของ ‘Moreloop’

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ