TH | EN
TH | EN
spot_imgspot_imgspot_img
หน้าแรกSustainability'เปลี่ยนผ้าถูกทิ้งให้มีคุณค่า' เรียนรู้เส้นทางจาก 0 สู่ 1 ล้านกิโลคาร์บอนของ 'Moreloop'

‘เปลี่ยนผ้าถูกทิ้งให้มีคุณค่า’ เรียนรู้เส้นทางจาก 0 สู่ 1 ล้านกิโลคาร์บอนของ ‘Moreloop’

เมื่อพูดถึงกระแสหนึ่ง ที่มนุษย์ควรตระหนักรู้มากที่สุด และร่วมมือกันอย่างจริงจังเลยก็คือ กระแสของการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติจากการผลิตและการบริโภค ที่มนุษย์ใช้อย่างไม่รู้จักพอ และปัญหาการจัดการของเสียตกค้างที่กลายเป็นภาระของโลกในระยะยาว ทำให้เกิดการรณรงค์หลากหลายช่องทางในการขอความร่วมมือการลด ละ เลิกใช้ทรัพยากรใหม่ และหันมาใช้ทรัพยากรแบบหมุนเวียนแทน แต่การจะทำให้เกิดเป็นรูปธรรมได้นั้น อาจต้องพึ่งพาการขับเคลื่อนในรูปแบบของเศรษฐกิจมากขึ้นกว่าการลงมือทำคนละไม้คนละมือ

เศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีแนวคิดหมุนเวียนใช้ทรัพยากรเพื่อความยั่งยืน โดยมีการวางแผนให้สิ่งของที่ใช้ให้สามารถคืนสู่สภาพเดิมหรือพร้อมนำกลับมาใช้ใหม่ได้

‘Moreloop’ เป็นแบรนด์ที่ต้องการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เกิดขึ้นจริง ด้วยการเปลี่ยนผ้าที่ถูกทิ้งให้มีค่า แก้ปัญหาผ้าเหลือจากการผลิตของโรงงานในอุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอ เพื่อช่วยโลกลดขยะและลดโลกร้อน พร้อมกับสร้างเครือข่ายธุรกิจไปพร้อมกัน

มาฟังเส้นทางจาก 0 สู่ 1 ล้านกิโลคาร์บอนของธุรกิจรักษ์โลกจาก อมรพล หุวะนันทน์ ผู้ก่อตั้ง Moreloop, ธมลวรรณ วิโรจน์ชัยยันต์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Moreloop ร่วมกับพาร์ตเนอร์ที่มี Passion ในทิศทางเดียวกันกับ อานนทวงศ์ มฤคพิทักษ์ VP of People at LINE MAN Wongnai และ อิทธิกร เทพมณี Circular Economy Officer at ใจกล้า : JAIKLA ภายใต้หัวข้อบทเรียนจากเส้นทาง 1 ล้านกิโลคาร์บอน ของ Moreloop ในงาน AP Thailand presents CREATIVE TALK CONFERENCE 2024 “Creative Generation” มาร่วมเดินทางและเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน

จุดเริ่มต้นของ Moreloop

อมรพล หุวะนันทน์ ผู้ก่อตั้ง Moreloop กล่าวว่า Moreloop เริ่มต้นขึ้นจาก Passion ที่สนใจในเรื่องของ Waste หรือของเหลือจากขยะ ซึ่งเป็นเรื่องที่ติดอยู่ในใจตั้งแต่เด็กในคำที่บอกกันว่า พลาสติกใช้เวลากว่า 450 ปีในการย่อยสลาย และทำให้รู้สึกว่าขยะอาจจะล้นโลกจริง ๆ ก็ได้ ทำให้โตมารู้สึกอยากที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหา ซึ่งในยุคใหม่นี้ที่มีการใช้ดิจิทัลเข้ามาแก้ปัญหาธุรกิจ เราก็คิดว่าจะสามารถแก้ปัญหาขยะได้อย่างไรหากนำเทคโนโลยีหรือดิจิทัลเข้ามาช่วย จึงก่อให้เกิดเป็น Online Marketplace ขึ้นในการที่จะรวบรวมของเหลือหรือขยะ เพราะมีแนวคิดที่ว่าขยะจากอีกคนอาจเป็นวัตถุดิบที่ดีสำหรับอีกคนหนึ่งก็ได้ นี่จึงเป็นคอนเซ็ปต์หนึ่งที่ได้มาจากเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy)

ซึ่งขยะที่มองเห็นและดูจะเป็นโอกาสสำหรับการทำธุรกิจคือ ขยะที่เป็นของเหลือจากโรงงานหรือ pre-consumer แถมยังเป็นขยะที่มีเหลืออยู่เยอะมาก และมีมากกว่าปริมาณขยะในฝั่งของ post-consumer หรือขยะในชุมชนโดยทั่วไปด้วยซ้ำ อย่างในประเทศไทยของเราจะมี post-consumer อยู่ที่ประมาณ 25 ล้านตันต่อปี แต่ขยะในโรงงานมีมากถึง 35 ล้านตันต่อปี

โดยขยะประเภท post-consumer เองก็ดูเหมือนจะนำมาต่อยอดในการทำธุรกิจได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากมีการแข่งขันสูงอยู่แล้ว อมรพลจึงเลือกใช้ขยะแบบ pre-consumer มา ซึ่งไม่ใช่การตัดสินใจเลือกเลยเสียทีเดียว แต่ได้รับรู้ Pain Point มาจาก ธมลวรรณ วิโรจน์ชัยยันต์ ที่เป็นทายาทรุ่นที่ 2 ของโรงงานผลิตเสื้อผ้าส่งออก ซึ่งในทุกออเดอร์ที่ทำการผลิตมักจะมีการสั่งเกินหรือสั่งเผื่อการสูญเสีย ทำให้มีจำนวนผ้าเหลือเป็นม้วนเป็นพับใหญ่ ๆ จำนวนมาก (ตามภาพ) จุดนี้ทำให้คิดต่อว่าจะทำอย่างไรให้เศษผ้าเหล่านี้ได้นำกลับมาใช้ เพราะวัตถุดิบเหล่านี้ยังเป็นวัตถุดิบที่มีคุณภาพ เมื่อมาเจอกันจึงกลายเป็นเหมือนจิ๊กซอว์ 2 ชิ้นที่เข้ามาประกอบกันจนกลายเป็น Moreloop

Businees Model ของ Moreloop

“ผ้าเหล่านี้จะมีข้อมูลที่ติดมากับผ้า เราจึงนำ Data เหล่านี้มาใช้ โดยนำมาใช้ 3 ทางด้วยกันคือ 1. การเป็นพ่อค้าผ้าเหลือ 2. นำผ้าผลิตเป็นสินค้าให้กับองค์กรต่าง ๆ 3. ผลิตเสื้อภายใต้แบรนด์ Moreloop ซึ่งช่วง 3 เดือนแรกของการทำ Businees Model ของการเป็นพ่อค้าขายผ้าสามารถขายผ้าเหลือไปได้ถึง 600 กิโลกรัม ฟังดูอาจจะเยอะ แต่ถ้ามาดู Net Profit จริง ๆ แล้วไม่ได้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่จะทำเป็นธุรกิจได้ จึงตามหาต่อว่าจะพัฒนาธุรกิจอย่างไร ก็เจอกับทาง SCG ในช่วงปี 2019 ที่กำลังอินกับธีม circular economy จึงเกิดการร่วมมือกันในการทำเสื้อ และกลายเป็น Use Case แรกที่นำผ้าเหลือออกแบบเป็นของชำร่วยให้กับองค์กร”

ทำไมองค์กรจึงเลือกที่จะร่วมงานกับ Moreloop ทั้งที่ผ้าเหลืออาจไม่ตรงกับ CI ของแบรนด์

อานนทวงศ์ มฤคพิทักษ์ VP of People at LINE MAN Wongnai เป็นอีกหนึ่งหัวเรือขององค์กร LINE MAN Wongnai ที่ร่วมงานกับทาง Moreloop กล่าวถึงเหตุผลของการร่วมมือถึงแม้ว่า ผ้าเหลือทั้งหลายจะไม่สามารถควบคุมเรื่องสีเพื่อให้สีของผ้าตรงตาม CI หรือ Corperate Identity ได้ โดยจุดเริ่มต้นนี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2022 ที่คนยัง Work from home กันอยู่ จึงเกิดไอเดียการส่ง Gift Box ให้กับพนักงาน และได้ใช้ผ้าจาก Moreloop ในการผลิตของต่าง ๆ ส่งให้กับพนักงาน และได้รับ Feedback ที่ค่อนข้างดีกลับมา จึงคิดว่าจะทำสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นในทุก ๆ เดือน เนื่องจาก LINE MAN Wongnai มีพนักงานใหม่เข้ามาอยู่ตลอด จึงคิดว่าของเหล่านี้จาก Moreloop น่าจะตอบโจทย์ เพราะมีผ้าให้เลือกเยอะ แต่สีอาจจะไม่ได้มีตรงกับ CI จึงเลือกดีไซน์ที่เหมาะสม และคิดว่าพนักงานน่าจะชอบ เนื่องจากคนรุ่นใหม่มี Awareness ในเรื่องของสิ่งแวดล้อมค่อนข้างมาก จึงกลายเป็น New Joiner kit สำหรับพนักงานใหม่ในทุก ๆ เดือน

การร่วมมือกันของธุรกิจ Sustainable JAIKLA x Moreloop

สำหรับ อิทธิกร เทพมณี Circular Economy Officer at ใจกล้า : JAIKLA ที่ก็เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่ทำธุรกิจในเชิง Sustainable ด้วยเช่นเดียวกัน โดยเป็นแบรนด์ขนมสุนัขจากโปรตีนแมลง ที่เชื่อว่าการดูแลรักษาโลกสามารถทำได้ในฐานะ Dog Lover ซึ่งอิทธิกรก็ได้บอกเล่าเรื่องราวการร่วมมือกันระหว่างสองแบรนด์ผ่านการออกแบบสินค้าประเภท Non-food ของทางแบรนด์ JAIKLA เช่น เสื้อผ้าพันคอสุนัข ฯลฯ หรือในช่วง Covid-19 เองทาง JAIKLA ก็ได้ใช้บริการทำหน้ากากอนามัยสำหรับพนักงาน จึงทำให้ทั้งสองแบรนด์กลายเป็นพาร์ตเนอร์ที่แข็งแรงในแง่ของการทำธุรกิจเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีการร่วมมือกันผ่านการสร้าง Workshop เพิ่มเติม ซึ่งเกิดจากการเข้าเยี่ยมชมโรงงานของทาง Moreloop และได้เห็นส่วนที่เป็นขอบผ้าเหลือใช้จึงนำมาผลิตเป็น Hero Product ตัวใหม่ นั่นคือ การประดิษฐ์ขอบผ้าออกมาเป็นของเล่นสำหรับสุนัขมากขึ้น

Covid-19 จุดเปลี่ยนที่ทำให้เกิด Businees Model ที่ 3 และชื่อเสียงที่ดังไกลถึงต่างแดน

อมรพล เล่าว่า ในช่วง Covid-19 เป็นช่วงที่ Moreloop ไม่สามารถจัดอีเวนต์หรือ Workshop ได้ตามปกติทำให้ลูกค้าทยอยหายไป จึงได้นำผ้าเหลือเหล่านั้นมาผลิตเป็นหน้ากากอนามัย จากเนื้อผ้าที่เหมาะสำหรับการทำหน้ากากอนามัยด้วยเนื้อผ้าที่มีคุณภาพ เกิดเป็นขาของ Businees Model ที่ 3 ในการผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ของ Moreloop เพิ่มขึ้นนอกจากเสื้อที่ขายดีและ Sold Out อยู่ก่อนหน้านี้ และได้รับการสั่งซื้อสินค้าจากชาวต่างชาติทำให้ Moreloop ได้ขยายฐานลูกค้าสู่ประเทศเนเธอร์แลนด์จากผู้ที่สนใจแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) นอกจากนี้ ยังได้รับความสนใจจากนิตยสาร Forb Japan ที่ได้พบกับสินค้าของทาง Moreloop นำไปสู่การได้เผยแพร่เรื่องราวของธุรกิจในนิตยสารชื่อดังอีกด้วย

จะเห็นว่า Moreloop เป็นธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยความเชื่อ เปลี่ยนผ้าที่ถูกทิ้งให้มีค่า และยังช่วยลดขยะให้กับโลกใบนี้ ไปพร้อม ๆ กับการเผยแพร่แนวคิดให้กระจายสู่ผู้คนที่อาจจะไม่เคยได้คำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมมาก่อน หรืออาจจะเป็นกลุ่มคนที่เข้าใจและตระหนักอยู่แล้ว แต่อาจจะไม่ได้มีโอกาสสร้างแรงกระเพื่อมนี้ด้วยตัวเองได้มีพื้นที่ในการสนับสนุนเพิ่มเติม และนี่คือการเดินทางจากจุดเริ่มต้นแรกที่เกิดขึ้นจากความเชื่อ จนวันนี้เดินทางสู่ 1 ล้านกิโลคาร์บอนที่ลดไปได้แล้วจากธุรกิจ

วันนี้ Moreloop พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เราสามารถช่วยโลกผ่านธุรกิจที่ทำได้หากเราเชื่อและลงมือทำอย่างไม่หยุดนิ่ง

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

แสงสว่างช่วยเปิดโลกคนบนดอย ‘GULF – AIS – สวพส.’ มอบพลังงานสะอาดเชื่อมเครือข่ายให้เข้าถึง “ไฟฟ้า-อินเทอร์เน็ต”

เทคนิคแก้ปัญหาธุรกิจยุคใหม่ ด้วยการใช้ Martech

รวม 10 ข้อที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดในการทำช่อง YouTube

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ