TH | EN
TH | EN
หน้าแรกStartupครม. ผ่านมาตรการภาษีส่งเสริมสตาร์ตอัพ (startup)

ครม. ผ่านมาตรการภาษีส่งเสริมสตาร์ตอัพ (startup)

HIGHLIGHT

  • ครม. ผ่านมาตรการภาษีส่งเสริมการระดมทุนในวิสาหกิจเริ่มต้น (startup) โดยอนุมัติหลักร่าง พ.ร.ฎ. ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ยกเว้นภาษีเงินบุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรจากการโอนหุ้นและหน่วยทรัสต์ของการลงทุนใน Startup
  • เพื่อสนับสนุนและกระตุ้นการระดมทุน ให้ Startup
  • เปิดให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้ามาลงทุน ไม่ว่าเป็นการลงทุนโดยตรงหรือการลงทุนผ่านกิจการเงินร่วมลงทุน

ธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี อนุมัติหลักการ ร่าง พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ปรับปรุงมาตรการภาษีจากมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุกิจการเงินร่วมลงทุนเดิม ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัฐฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 597) พ.ศ. 2559 พระราชกฤษฎีกา ฯ (ฉบับที่ 636) พ.ศ. 2560 โดยยกเว้นภาษีเงินบุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรจากการโอนหุ้นและหน่วยทรัสต์ของการลงทุนในวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) โดยตรงและฝ่านกิจการเงินร่วมลงทุน โดยให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเษกษา – 30 มิถุนายน 2575

ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนและกระตุ้นการระดมทุน ให้ Startup โดยเปิดให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้ามาลงทุน ไม่ว่าเป็นการลงทุนโดยตรงหรือการลงทุนผ่านกิจการเงินร่วมลงทุน หรือ Venture Capital (VC) ซึ่งได้แก่ บริษัทที่ประกอบกิจการเงินร่วมลงทุน หรือ Corporate Venture Capital (CVC) และผู้ถือหน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมทุน Private Equity Trust (PE Trust) ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อจะเป็นการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของ COVID –19

ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.ฎ. ดังกล่าว มีสาระสำคัญเป็นการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ดังนี้

1.การลงทุนโดยตรงของบุคคล ธรรมดาหรือบริษัทห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่จดทะเบียนในไทย และต่างประเทศ (มาตรการเดิม ไม่ได้กาหนดไว้)

  • บุคคลธรรมดาหรือบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนในไทยและต่างประเทศ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรายได้จากการโอนหุ้นของ Startup ทั้งนี้ เฉพาะหุ้นที่ถือครองมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 24 เดือนก่อนการโอนหุ้น และเป็น Startup ในอุตสาหกรรมเป้าหมายตามที่รัฐสนับสนุน ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มและก่อให้เกิดรายได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของรายได้ทั้งหมดในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ของ 2 รอบระยะเวลาบัญชี

2.การลงทุนผ่าน VC (คือ CVC และ PE Trust)

  • CVC ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรายได้จากการ โอนหุ้นของ Startup ที่ถือครองมาแล้วไม่น้อยกว่า 24 เดือนก่อนการโอนหุ้น โดย Startup ต้องประกอบ อุตสาหกรรมเป้าหมายตามที่รัฐ สนับสนุน ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มและก่อให้เกิดรายได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของรายได้ทั้งหมดในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ของ 2 รอบระยะเวลาบัญชี และผู้ลงทุนใน CVC ได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรายได้จากการโอนหุ้นของ CVC
    -PE Trust ไม่อยู่ในบังคับต้อง เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และผู้ลงทุนใน PE Trust ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ รายได้จากการโอนหน่วยทรัสต์ ของ PE Trust

ทั้งนี้ คาดว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับ ทำให้ Startup ไทยสามารถระดมทุนจากนักลงทุนได้เพิ่มขึ้น VC ไทยสามารถระดมทุนจากนักลงทุนได้เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ Startup ไทยสามารถระดมทุนจากนักลงทุนได้ง่ายขึ้น และเศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าภายในปี 69 ประเทศไทยมีเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 3.2 แสนล้านบาท GDP เพิ่มขึ้น 7.9 แสนล้านบาท จำนวน Startup เพิ่มขึ้น 5,000 – 10,000 แห่ง และการจ้างงานเพิ่มขึ้น 200,000 – 400,000 ตำแหน่ง

“รัฐบาลมุ่งสนับสนุน Startup ไทย ซึ่งมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด ด้วยการดึงดูดให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้น ด้วยการระดมทุนจากทั่วโลก เพื่อให้ Start up ไทยป็นส่วนหนึ่งที่จะเพิ่ม GDP ให้กับประเทศไทยได้อย่างจริงจัง และเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคตด้วย “ ธนกร กล่าว

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

BOI ผนึกกำลัง NIA-เอกชน เสริมแกร่ง Deep Tech สตาร์ตอัพ เล็งให้ทุนด้านบุคลากร เพิ่มขีดความสามารถแข่งขัน

AIS Academy ชวนคนรุ่นใหม่เข้าร่วมอบรมการเป็นสตาร์ตอัพ ผ่านโครงการ “JUMP Bootcamp 2022” โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ORZON Ventures ประกาศลงทุนใน 5 สตาร์ตอัพ ต่อยอดกลยุทธ์ Mobility และ Lifestyle ของโออาร์

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ