TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusiness7 วิธีวางแผนการเงิน สำหรับคนโสด สวย(หล่อ) และรวยมาก

7 วิธีวางแผนการเงิน สำหรับคนโสด สวย(หล่อ) และรวยมาก

ก่อนที่จะถึงเทศกาลแห่งความรัก เหล่าคนโสด อาจจะแอบรู้สึกว่าเทศกาลนี้ ไม่ใช่ที่ของเรา จะให้หาคู่ตอนนี้ก็ไม่น่าทัน แต่การเป็นโสดก็สบายใจไปอีกแบบ เพราะได้ใช้ชีวิตแบบที่คุณต้องการเต็มที่ มีอิสระ จะไปไหนมาไหนก็สบายใจ ไม่แปลกที่สมัยนี้หลายคนจึงสมัครใจ ‘เป็นโสด’ แทนที่จะมองหาความสัมพันธ์

ครั้นพอเลือกที่จะเป็นโสด เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ก็ต้องคิดเยอะกว่าคนมีคู่ มีครอบครัว เพราะหารายได้คนเดียว ไหนจะเก็บไว้ใช้ตอนเกษียณ ไหนจะซื้อประกัน ต้องบริหารให้ดี

วันนี้ Jitta Wealth จึงแนะนำแนวทางการวางแผนการเงินของคน (ไม่) มีคู่ กับ 7 ขั้นตอนง่าย ๆ ที่คนโสดทุกคนทำตามได้

1. จดรายรับ-รายจ่าย

เงินเข้าเงินออกต้องรู้จุดเริ่มต้นของสุขภาพการเงินที่ดี การจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายจะทำให้คุณรู้ว่ามีเงินไหลเข้ากระเป๋าจากทางไหน และไหลออกกับอะไรบ้าง จริง ๆ ข้อนี้ทั้งคนโสด คนไม่โสดก็ควรทำเหมือนกัน แต่คนโสดอาจสบายใจกว่า ตรงที่ไม่ต้องแบ่งเงินกับใคร ที่แปลกแต่จริงก็คือถ้าคุณจดรายรับ-รายจ่ายติดกันสัก 2-3 เดือนแล้วเอามาทำบัญชีแบบง่าย ๆ ในสมุดสักเล่มหรือโปรแกรม Spreadsheet คุณจะเริ่มขยับตัว หาทางทำให้ตัวเองมีเงินเหลือเก็บเองโดยธรรมชาติ ถ้าไม่เชื่อให้ลองทำตามดู

ใช้ชีวิตปกติของคุณไป แล้วจดให้หมดว่าจ่ายอะไรไปเท่าไร โดยไม่ต้องรู้สึกผิด อย่าลืมว่าคุณกำลังจัดระเบียบการเงินของตัวเองอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก เดี๋ยวนี้มีวิธีจดรายรับ-รายจ่ายเยอะมาก ไม่ว่าจะจดโน๊ตง่าย ๆ ในมือถือ หรือจะหาแอปพลิเคชันที่ใช้งานง่ายและฟรีซึ่งมีให้เลือกเยอะ หยิบมือถือออกมากดแค่ไม่กี่ปุ่มก็เสร็จแล้ว

2. ตั้งงบประมาณ จัดระเบียบเงิน

หลังจากที่คุณจดรายรับ-รายจ่ายมาสักพัก ก็จะเริ่มเห็นว่าในแต่ละเดือนคุณใช้เงินไปกับอะไรบ้าง ทีนี้ถ้าคุณอยากปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายในแต่ละเดือนให้เป็นไปตามที่ต้องการ ต้องทำยังไง?

การ ‘ตั้งงบประมาณ’ สำหรับค่าใช้จ่ายแต่ละหมวด คือคำตอบครับ เช่น คุณอยากลดค่าใช้จ่ายในการดื่มกาแฟแต่ละเดือนลงจาก 4,000 ให้เหลือ 3,000 บาท คุณอาจตั้งงบค่ากาแฟในเดือนถัดไปให้เหลือ 3,500 บาทก่อนเพื่อไม่ให้ตึงเกินไป แล้วค่อยลดเหลือ 3,000 บาท อีกทีก็ได้

หรือถ้าใครอยากให้รางวัลตัวเองทุกเดือนแบบไม่บานปลาย ก็ตั้งงบประมาณตรงนี้เอาไว้ได้เหมือนกัน การตั้งงบประมาณช่วยให้คุณคุมค่าใช้จ่ายได้เป็นระบบมากขึ้น แต่คุณก็ต้องมี ‘วินัย’ ที่จะไม่ใช่จ่ายเกินงบที่ตัวเองตั้งมาด้วย ข้อนี้สำคัญ

3. เคลียร์หนี้ระยะสั้น

ก่อนพอกหางหมูหลังจากเห็นว่าเงินตัวเองไหลเข้า-ออกไปไหนบ้าง และเริ่มจัดระเบียบการใช้จ่ายได้แล้ว ถึงตอนนี้คุณน่าจะมีเงินเหลือเก็บในแต่ละเดือนที่อาจยังไม่รู้ว่าเอาไปทำอะไรดี

Jitta Wealth แนะนำว่าสิ่งแรกที่คุณควรทำคือการ ‘จ่ายคืนหนี้ระยะสั้น’ เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสดที่คิดดอกเบี้ยสูง และพร้อมจะพอกหางหมูเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ที่ทำให้หลายคนติดกับดักจนหาทางออกไม่ได้

ดังนั้น ถ้าสามารถจ่ายคืนหนี้ระยะสั้นได้ ให้รีบเคลียร์เป็นอันดับแรกเมื่อมีเงินเหลือครับส่วนหนี้สินระยะยาว เช่น ค่างวดผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ที่ต้องจ่ายทุกเดือนและอยู่ในงบรายรับ-รายจ่ายอยู่แล้ว ถ้าสามารถโปะเงินต้นได้ก็ดี แต่ถ้ามีเรื่องสำคัญกว่าที่ต้องใช้เงินก็ไม่เป็นไร อยู่ที่การบริหารเงินของแต่ละคน

4. เงินสำรองฉุกเฉิน มีหรือยัง?

หลังจากที่เคลียร์หนี้ระยะสั้นหมดแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการป้องกันความเสี่ยง โดยเงินก้อนแรกที่ทุกคนต้องมีคือ ‘เงินสำรองฉุกเฉิน’ จำนวน 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน

สมมติว่าจากที่คุณจดรายรับ-รายจ่ายมา คุณใช้เงินเฉลี่ยเดือนละ 20,000 บาท คุณก็ควรมีเงินส่วนนี้อยู่ 6 x 20,000 = 120,000 บาท หรืออย่างน้อยมีสักครึ่งนึงก็ยังดีเงินก้อนนี้จะถูกใช้ในยามที่ชีวิตเดินเข้ามาถึงจุดเปลี่ยน เช่น ถูกให้ออกจากงาน ขาดรายได้กะทันหัน คุณจะยังพอมีเวลาให้ตระเตรียมหัวใจ ตั้งหลักให้ชีวิตอีกครั้ง แต่ห้ามใช้เงินก้อนนี้ไปกับเรื่องอื่นที่ ‘ไม่ฉุกเฉิน’ เด็ดขาด

5. ทำแผนการออม พร้อมเกษียณอย่างสำราญ

เมื่อคุณมีเงินก้อนนึงเตรียมไว้สำหรับเหตุฉุกเฉินที่จำเป็นสำหรับทุกคนแล้ว ก็เริ่มวางแผนใช้ชีวิตเกษียณให้มีความสุขได้แล้วครับวิธีคำนวณว่าต้องเก็บเงินเท่าไร ทำได้ง่าย ๆ โดยการนำจำนวนเงินที่คุณวางแผนจะใช้ต่อเดือนในยามเกษียณ มาคูณด้วยจำนวนเดือนที่คุณ (คิดว่า) จะมีชีวิตอยู่แบบไม่มีรายได้ เพื่อหาจำนวนเงินที่ต้องเก็บได้เลย

สมมติว่าคุณจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี คิดว่าจะอยู่ไปถึงอายุ 80 ปี และน่าจะต้องใช้เงินเดือนละ 30,000 บาท (ไม่รวมเงินเฟ้อ) เท่ากับว่าคุณต้องเก็บเงินให้ได้อย่างน้อย 30,000 x 240 เดือน (20 ปี) = 7.2 ล้านบาท 7.2 ล้านบาทนี้คือเป้าหมายที่คุณต้องเก็บเงินไปให้ถึงเป็นอย่างน้อย เพราะจริง ๆ แล้วต้องคิดถึงเรื่องเงินเฟ้ออีก

อาจวางแผนเก็บเงินทุกเดือน เดือนละกี่บาทก็ว่าไป เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายนี้เห็นจำนวนเงินแล้ว เหล่าคนโสดอย่าเพิ่งท้อครับ เพราะจริงๆ แล้วเราเก็บเงินคนเดียวก็ไปถึงจุดนั้นได้ ถ้ามีตัวช่วยที่เรียกว่า ‘การลงทุน’ เพื่อให้เงินช่วยเราทำงาน

6. เรียนรู้การลงทุน ให้เงินทำงานแทนหลายคนพอเห็นคำว่า ‘การลงทุน’

คุณอาจจะรู้สึกว่ายากไป อย่าเพิ่งเลื่อนผ่านนะ Jitta Wealth อยากบอกว่าคุณไม่จำเป็นต้องลงทุนเก่ง ก็สามารถทำผลตอบแทนเฉลี่ยได้ปีละ 6-8% สบายๆ ด้วย ‘การลงทุนอิงดัชนี’ หรือจะใช้กลยุทธ์ที่ทำตามง่ายแต่ได้ผลจริง อย่างการลงทุนแบบ ‘DCA’ ด้วย

ถ้าคุณไม่เคยรู้จักคำเหล่านี้มาก่อน แปลว่าคุณต้อง ‘หาความรู้’ เรื่องการลงทุนเพิ่มเติม โดยอาจจะเริ่มจากหนังสือด้านการลงทุน หรือแหล่งความรู้ฟรีบนอินเทอร์เน็ตที่มีเยอะมากในสมัยนี้ ยิ่งคุณมีความรู้ในการลงทุนมากขึ้น แผนเกษียณของคุณก็จะยิ่งยืดหยุ่นมากขึ้นตามไปด้วย ไม่แน่ว่าพอศึกษาเรื่องการลงทุนมากขึ้นแล้ว คุณอาจจะมีเงินใช้ตอนเกษียณมากกว่าที่วางแผนไว้ก็ได้

7. อยู่ตัวคนเดียว ประกันต้องพร้อม

หลังจากนี้ไปคือการจัดการความเสี่ยง และการสร้างความมั่งคั่งคู่ขนานกันไปตามความเหมาะสมของชีวิตแต่ละคนแล้ว ซึ่งในเรื่องความเสี่ยง สิ่งที่คนโสดต้องคำนึงถึงมากกว่าคนมีคู่ก็คือเรื่อง ‘สุขภาพ’ เพราะถ้าเกิดเจ็บป่วยหนักขึ้นมาต้องจ่ายเองหมด ไม่มีคนแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายตรงนี้ การทำประกันสุขภาพหรือประกันชีวิตตามความเหมาะสมกับช่วงชีวิตนั้น ๆ เป็นเรื่องสำคัญและต้องคิดให้ละเอียด เพื่อไม่ให้การเจ็บป่วยมาทำลายแผนเกษียณที่คุณออกแบบมา Trick

คุณอาจเทียบค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลที่คุณใช้บริการบ่อย ๆ เพื่อดูว่าต้องซื้อความคุ้มครองแค่ไหน หรือดูว่ามีคนที่รอรับรายได้ต่อจากคุณอยู่มากแค่ไหน โดยอาจจะเป็นพี่น้อง พ่อแม่หรือหลาน ๆ ก็ได้

ที่สำคัญคือ เบี้ยประกันสุขภาพสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ด้วย เป็นผลประโยชน์ต่อที่ 2 ที่เหล่าคนโสดสายมนุษย์เงินเดือนน่าจะรู้กันดี

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

แก้ชง ดูดวง เช่าวัตถุมงคล เปิดเส้นทางมูออนไลน์ครบจบที่เดียวบนแอป LINE

จิตตะ ชูแคมเปญ ‘ฤกษ์ที่ดีคือเลิกรอ’ ส่ง Wallpaper สไตล์ VI เอาใจนักลงทุนสายมู

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ